สรุปโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา



ดร. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ผู้อำนวยการโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาของ สกว. สรุป โครงการส่งให้ท่าน รมต. สุวิทย์ เมษิณทรีย์  และกรุณาส่งให้ผมด้วย     ผมขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ    ท่านอนุญาตโดยบอกว่าบางตอนต้องมีการขยายความเพื่อให้คนที่ไม่รู้เรื่องโครงการนี้มาก่อนได้เข้าใจ    แต่ผมไม่ได้ปรับปรุงต้นฉบับเดิมเลย

อะไรคือเพาะพันธุ์ปัญญา

โครงการวิจัยเชิงทดลองในการพัฒนาครูและนักเรียนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สนับสนุนโดย สกว. และ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย  ระยะเวลา 4 ปีการศึกษา (ต่อ phase 2 อีก 2 ปีการศึกษา)

 

ความเชื่อ 

จากประสบการณ์การศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ 2546  มีข้อค้นพบที่นำไปสู่ความเชื่อใหม่ ดังนี้



เราทำงานอย่างไร

  • หาทีมพี่เลี้ยงจาก 8 มหาวิทยาลัย   พัฒนาพี่เลี้ยงให้เข้าใจวิจัยว่าเป็นกระบวนการของการศึกษา  เรียนรู้ RBL เข้าใจบริบทโรงเรียน 6 เดือน  (โครงการนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงประมาณ 30 คน)
  • แต่ละทีมดูแล 10 โรงเรียน  มีทั้งหมด 80+ โรงเรียนใน 18 จังหวัด  ขยายออกสู่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ 69 โรง
  • Workshop จิตตปัญญา 2-3 วันพัฒนาจิตวิญาณครูใหม่  ลบระบบอำนาจ  เปิดพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน  สร้างบรรยากาศส่งเสริมการคิด  และการกล้าลงมือทำเองของนักเรียน  ส่งเสริมกระบวนการให้เกิด growth mindset
  • Workshop พัฒนาระบบคิดเหตุและผลให้ครู (2 วันในภาคเรียนที่ 1)  เปลี่ยนกระบวนการคิดแบบ mind map มาเป็น casual diagram เพื่อให้ครูสามารถเห็นโจทย์วิจัยแบบเพาะพันธุ์ปัญญาได้   สามารถ coach นักเรียนคิดโจทย์ RBL ออกแบบงานวิจัยได้  พัฒนาทักษะ backward thinking and forward questioning เพื่อเปลี่ยนจากการ “สอนโดยบอก” มาเป็น “สอนโดยถาม” ต้อนความคิดให้นักเรียนรู้จากการสังเคราะห์คำตอบเอง
  • Workshop พัฒนาระบบคิดวิเคราะห์-สังเคราะห์ให้ครู (2 วันในภาคเรียนที่ 2)  เพื่อให้เห็นความหมายข้อมูลมากกว่าที่ตาเห็น  ให้สามารถ coach นักเรียนแปลความหมายข้อมูลงานของตนเองได้  สร้างความรู้เอง
  • นักเรียน 1 ห้องทำ 10 project ใน theme เดียวกัน  แต่แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ วิทย์-คณิต  สังคม-เศรษฐศาสตร์  มนุษยศาสตร์-ประวัติศาสตร์ (ท้องถิ่น)   มีคาบเรียน 3 ชม. ติดกัน  ที่ครูทุกสาระมารวมตัวกันให้นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันข้ามสาระ
  • หลัก 3 ประการ “ถามคือสอน” “สะท้อนคิด (reflection) คือเรียน” “เขียนคือคิด”  ถามเป็นหน้าที่ครู  reflection เป็นหน้าที่ครูและนักเรียน (ครูทำใน PLC  เด็กทำในตอน share ประสบการณ์)  reflection แบบนี้ทำให้เกิด transformative learning ได้ง่าย   การเขียนเป็นงานนักเรียน  ต้องหัดเขียน proceeding paper เพื่อเรียนรู้ความแม่นยำการใช้ภาษา  การให้เหตุผลละตรรกะ
  • พี่เลี้ยงเป็นเพื่อนครูตลอดเวลาที่ต้องการ  เพราะในสภาพจริงของโรงเรียนครูทำไม่ได้  มันติดที่ระบบโรงเรียน  ระบบประเมิน  ระบบแข่งขัน (พพปญ. ไม่แข่งขัน เน้นการทำงานเป็นทีม share ความรู้และประสบการณ์กัน)  กระบวนการของพี่เลี้ยงคือเป็น coach หลายด้าน  แต่ที่เน้นคือ PLC  เพื่อให้ครูสร้างสังคมการเรียนรู้ของตนเอง

 

ขยายผลอย่างไร

  • ไม่ง่าย (แต่ทำได้ถ้าปัจจัยพร้อม; ปัจจัยเงินไม่สำคัญเท่าปัจจัยระบบและกลไก)  เพราะต้องพลิก paradigm จำนวนมากและของหลายคน  โดยเฉพาะระบบการผลิตและพัฒนาครูของครุศาสตร์และ สพฐ.  ระบบความคิดเรื่องวิจัยคืออะไรแน่ในการศึกษา  วิจัยที่เป็นกระบวนการสร้างปัญญาทำอย่างไร  ถ้าครูสภาไม่เล่นด้วยก็ไม่ง่าย (เพราะครุสภากำหนดเรื่องวิจัยในชั้นเรียนที่ทำแบบครุศาสตร์  ไปเน้นว่าเป็นงานของครู)
  • แก้ระบบประเมิน  ระบบการประกวดแข่งขันของการศึกษาไทยให้มาเอื้อ RBL พพปญ. เพราะมันblock การทำงานของครู พพปญ.
  • ใช้โอกาสโครงการคูปองครู  สพค. สถาบันครุพัฒนา  ให้มาใช้กระบวนการนี้
  • ใช้โอกาสเครือข่ายอุดมศึกษา 9 เครือข่ายที่มีงบ สกอ. ให้ช่วยการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตอนนี้ปล่อยตามอัธยาศัยของคณะที่เกี่ยวกับการศึกษา จึงตกร่องเดิมหมด)
  • Empower กรรมการสถานศึกษาและชุมชนให้เข้าใจเป้าหมายการศึกษาที่แท้จริง  จะได้เป็น monitoring unit โรงเรียนแทนการเป็นตรายางให้ ผอ. อย่างที่เป็นอยู่  มันจะรองรับการกระจายอำนาจการจัดการการศึกษา  ทำให้การศึกษามีบริบทชีวิตจริงมากขึ้น  (เรียนแล้วเอาไปใช้งานได้)
  • ใช้กลไก top down  เช่นนโยบาย  โดยต้องลดภาระงานอื่นที่สร้างการเรียนรู้น้อยกว่าลงให้หมด  (งานนี้ต้องการเวลาต่อเนื่อง)  ระบบอำนาจในกระทรวงศึกษาทำให้หนีไม่พ้นต้อง top down มาทางนโยบาย

 

SEEEM คืออะไร

  • ใน phase 2 ของเพาะพันธุ์ปัญญาเราผนวก STEM เข้ากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งเป็นความคิดใหม่ที่คนสภาพัฒน์ฯ ตามฟัง 3 รอบ (จากการบอกต่อของการฟังรอบแรก  ผมจัด workshop ให้ครูเข้าใจเรื่องนี้ 2 วัน จำนวน 6 ครั้ง)  แต่จะพยายามอธิบายง่ายๆ แค่ concept
  • มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ   การพัฒนาคือการใช้ความรู้มาดัดแปลงธรรมชาติให้รับใช้มนุษย์  ดังนั้น การพัฒนาจะสวนทางกับความเสื่อมโทรมของธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ปศพพ. (ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) จึงต้องมีบทบาทในการพัฒนาให้สมดุล  เพื่อเกิดความยั่งยืน
  • แปลจากข้อ 2 ว่า  ยั่งยืนเป็นผลของสมดุล  อะไรสมดุลก็ต้องเข้าใจโลก 2 โลกก่อน
  • มนุษย์และธรรมชาติที่เป็นสิ่งมีชีวิตเป็นโลกอินทรีย์ (organic world) เป็นอยู่ตามระบบวิวัฒนาการมาก่อน  ระบบวิวัฒนาการ (evolution) คือระบบรักษาสมดุล  แต่เมื่อมนุษย์ก้าวเข้าสู่ระบบพัฒนาการ (development)  การบริโภคจากการใช้ความรู้ดัดแปลงธรรมชาติมีมากขึ้น  จนเกิดทัศนคติว่าปัญญามนุษย์สามารถพิชิตธรรมชาติได้  จึงแยกตัว ไม่คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ  โลกอินทรีย์นี้ผมเรียกโลกตามระบบดาร์วิน
  • กฎที่กำกับความเป็นไปของธรรมชาติกลายมาเป็นความรู้ที่มนุษย์ค้นคว้าจากการทำวิจัย  เมื่อรู้กฎธรรมชาติมนุษย์ก็รู้กลไก  จึงเกิดโลกกลไก (mechanistic world) ที่ดัดแปลงธรรมชาติให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ (และอำนาจ)  โดยไม่รู้ว่ากำลังทำลายความสมดุลที่โลกอินทรีย์ต้องการ  ความยั่งยืนจึงสั่นคลอน   ผมเรียกโลกกลไกว่าเป็นโลกระบบนิวตัน
  • STEM คือกระบวนการคิดตามโลกกลไก  ปศพพ.คือการคิดตามโลกอินทรีย์  SEEEM จึงเกิดขึ้นเป็น พพปญ. Phase 2 
  • SEEEM ใช้กระบวนการ RBL แต่ พพปญ. พัฒนาความคิดเชิงระบบ (systems thinking) ให้ครูเข้าใจโลกกลไก (STEM) กับโลกอินทรีย์ (ปศพพ.)  เพื่อ coach นักเรียนให้เห็นโจทย์ RBL เชิงระบบของสองโลก
  • ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากมากครับ  แต่ก็จำเป็นที่ต้อง install SEEEM ให้โรงเรียน พพปญ. เพื่อสู้กับ STEM ที่เน้นโลกกลไก (development) ซึ่งผมคิดว่าไม่เหมาะกับการศึกษาไทย  STEM ปัจจุบันจะยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพราะเป็น STEM ตามความคิดคนกรุงเทพ  แต่เยาวชนไทยในระบบการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนเพื่อออกไปทำอาชีพ STEM เขาต้องอยู่กับทรัพยากร  ดูแลให้สมดุล ยั่งยืน  หากไม่ทำเช่นนี้จะมีคนถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกมาก  ที่อาจารย์มาบรรยายในงาน 50 ปีวิศวฯ ม.อ. ผมเห็นว่า SEEEM ตอบโจทย์ได้

 

ขออนุญาตสรุปคร่าวๆ แค่นี้ก่อน  มันยังมีส่วนสำคัญอีกมากที่ไม่ใช่ content  ซึ่งต้องเปลี่ยนจากนโยบายเพื่อการขยายผล  และหมายความว่ากระทรวงศึกษา  กรรมการอิสระปฏิรูปการศึกษาต้องเข้าใจ  ไม่เช่นนั้นไม่มีทางสร้างคนไทย 4.0 จากการปรับเปลี่ยนการศึกษา 14 ข้อที่อาจารย์ต้องการเตรียมคนไทย 4.0 ตามวาระที่ 1  ได้ 

 

ขอแถมอีกนิด สกว.ประชุมผู้ประสานงานที่ทำการศึกษาเมื่อวันวานนี้ (9 ต.ค. 60) ผมให้ความเห็นหลักๆ ดังนี้

  • การพยายามปฏิรูปพระศาสนาขณะนี้คือโอกาสเปลี่ยน paradigm ของสังคมโดยรวม  ที่ผ่านมาความผิดเพี้ยนของวัดทำให้เกิด paradigm ของคนจำนวนมากที่ติดศรัทธา  ไม่เกิดปัญญา  การติดศรัทธาสร้างกระบวนทัศน์การพึ่งผู้อื่น  การอ้อนวอน  ไม่สนใจเหตุผล  มโนทัศน์แคบ  เห็นแก่ตัว (ยอมรับการโกงถ้าตนได้ประโยชน์ด้วย)  ขาดจิตสาธารณะ  ไม่เห็นสรรพสิ่งเกี่ยวโยงเป็นระบบตามกฏเหตุและผล  มันกระทบถึงพัฒนาการความคิดทางการเมืองการปกครองนานหลายทศวรรษ  ตอนนี้คือโอกาสเปลี่ยนศรัทธามาเป็นปัญญา  สร้าง paradigm ใหม่ให้เกิดในสังคม
  • เราลืม กศน. ไปมาก  มัวแต่ สพฐ PISA O-Net  โลกที่เปลี่ยนเร็ว  คนจำนวนมากไม่ได้มีทักษะการเรียน (เพราะการศึกษาที่ผ่านมาไม่สร้างให้เขา) คนพวกนี้จะตามไม่ทัน เป็นภาระทางสังคม  เป็น inertia การเข้าสู่ 4.0 จะถูกแรงเฉื่อยนี้ฉุดไว้  คนนอกระบบการศึกษาต้อง un-learn และ re-learn  เราต้องเร่งพัฒนา กศน.
  • เราลืมคน 40,000 คนที่เป็นเด็กด้อยโอกาสในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ  สพฐ. ไม่สนใจ  สำนักพุทธฯ ไม่รู้เรื่อง  วัดกับโรงเรียนแยกกันบริหาร  โรงเรียนตามชายขอบชายแดนถูกละเลย  มันเป็นเรื่องความมั่นคง trans-border 
  • คนในคุกเข้าๆ ออกๆ เพราะออกมาแล้วไม่มีที่ยืนได้เอง  คนล้นคุก  ขาดงบพัฒนาคนต้องโทษให้เปลี่ยนแปลงในระดับ transformation  เป็นภาระด้านงบประมาณมาก  แถมเสียกำลังการผลิตไปอีก
  • สถาบันครอบครัวอ่อนแอมาก   วัยก่อนเข้าโรงเรียนเป็นวัยที่ต้องพัฒนาให้ถูกต้อง  แต่กลับถูกละเลย  มาเพิ่มปัญหาตอนเป็นวัยรุ่น  ประเทศสูญเสียมาก   การศึกษาปฐมวัยเพี้ยนไปสู่ระบบแข่งขันทางวิชาการ  วัดที่ความเก่ง  ไม่ใช่ EQ หรือสมองด้าน EF
  • เรื่องโรงเรียนขนาดเล็กผมเคยให้ความเห็น ดร. ปิยะบุตร ชลวิจารณ์  ประธาน กพฐ. ไว้  จะส่งแยก file ครับ

สุธีระ  ประเสริฐสรรพ์


10 ต.ค. 60

วิจารณ์ พานิช


 


หมายเลขบันทึก: 640799เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2017 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2017 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Thank you for sharing many insightful points (in education and living). Though it may seem a 'mission almost impossible', its importance on Thailand's social (mindset) development seems 'essential'. Thus this must be attempted.

May I point out a typographical error that may confuse many readers? In the paragraph "...Workshop พัฒนาระบบคิดเหตุและผลให้ครู (2 วันในภาคเรียนที่ 1)  เปลี่ยนกระบวนการคิดแบบ mind map มาเป็น casual diagram เพื่อให้ครูสามารถเห็นโจทย์วิจัยแบบเพาะพันธุ์ปัญญาได้..." causal diagram is a much improved expression of dynamic relationships.


Thank you for sharing many insightful points (in education and living). Though it may seem a 'mission almost impossible', its importance on Thailand's social (mindset) development seems 'essential'. Thus this must be attempted.

May I pointed out a typographical error that may confuse many readers? In the paragraph "...Workshop พัฒนาระบบคิดเหตุและผลให้ครู (2 วันในภาคเรียนที่ 1)  เปลี่ยนกระบวนการคิดแบบ mind map มาเป็น casual diagram เพื่อให้ครูสามารถเห็นโจทย์วิจัยแบบเพาะพันธุ์ปัญญาได้..." causal diagram is a much improved expression of dynamic relationships.


หลักคิด ๓ ประการ "ถามคือสอน สะท้อนคือเรียน เขียนคือคิด"  ... ชอบมาก และจะไปเล่าต่อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท