นำเสนอความก้าวหน้า โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ปี ๒๕๖๐


นอกจากอำเภอสระใครสมัครใจแล้ว  มีอำเภอโพนพิสัยด้วยเป็น  ๒  อำเภอของจังหวัดหนองคาย  ที่ร่วมโครงการพัฒนา Self care  ประเด็นสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย  ของเขตบริการสุขภาพที่ ๘  บริหารจัดการโครงการภาพรวมโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู  โรงพยาบาลโนนสัง

และยังมีอีก ๒ ประเด็นสุขภาพที่ทำในโครงการพัฒนา Self care นี้ คือ  โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง)  และสารเคมีในเกษตรกร

๒-๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐  เจ้าภาพบริหารจัดการโครงการเชิญประชุมเชิงปฏิบัติการ  ที่โรงแรมประจักษ์ตราดีไซน์  อุดรธานี

นายแพทย์สุรพงษ์  ผดุงเวียง  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภูกล่าวเปิดงาน

การสร้างเสริมสุขภาพปรับเปลี่ยนแค่พฤติกรรมไม่พอ  มโนกรรมสำคัญที่สุด  กายกรรมทำได้ด้วย  วจีกรรมที่จะสื่อสารเสริมพลังให้คนอื่นปรับเปลี่ยนชุดความคิด (Paradigm shift) ก็สำคัญเช่นกัน

เคยเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการ  ฟังอาจารย์ พญ.สุพัตรา  ศรีวณิชชากร  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน มาก่อน  วันนี้ค่อย ๆ ชัดเจนอีก  การจะให้ใคร ๆ มี self care  ดูแลตัวเองได้ระดับหนึ่ง  ก่อนจะรู้ว่าควรถึงขั้นที่ต้องพึ่งคนอื่น  มีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงระดับความคิดของคน ๆ นั้นอะไรบ้าง

ความตระหนักและรับรู้เป็นด่านแรก  ก่อนจะตัดสินใจว่าฉันจะทำหรือไม่ทำอะไร  ด้วยใจของเขาตัดสินเอง

อาจารย์ชี้ความแตกต่างของการให้สุขศึกษาแบบเดิม  และกระบวนการที่ให้คน ๆ นั้น (เจ้าของสุขภาพ) มีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร ที่เป็นการดูแลการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ

วันนี้เวลาน้อย  ค่อยมาเติมเนื้อหาอีก  ถ้ามีโอกาสนะคะ

อาจารย์อีกท่าน  ผศ.ดร.ภัทระ  แสนไชยสุริยา  จากคณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  สองท่านมาช่วยกันวิพากษ์  และชี้แนะต่อว่าแต่ละพื้นที่อำเภอจะปรับแผนปฏิบัติการขั้นต่อไปอย่างไร

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  และการประเมินผลชัดเจนพอที่จะรู้ว่าปัจจัยใดแรงพอ  มากน้อยแค่ไหนที่ทำได้สำเร็จ  หรือถ้าไม่สำเร็จจะได้ไม่ต้องทำแบบนั้น  หาวิธีใหม่

^_,^

อำเภอสระใคร  จังหวัดหนองคาย  นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ

วันนี้เป็นนำเสนอความก้าวหน้าระหว่างดำเนินการ  อำเภอสระใครเองตัวแทนมาด้วยกัน  ๕  คน 

๑. ทพญ.ธิรัมภา  ลุพรหมมา  โรงพยาบาลสระใคร

๒. คุณกมลมาลย์  บุญเปีย  เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน  รพ.สต.คอกช้าง

๓. คุณภตณัช  ทัศพงษ์   เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข  รพ.สต.บ้านฝาง

๔. คุณอนุสรา  เถื่อนลือชัย  พยาบาลวิชาชีพ  รพ.สต.บ้านฝาง

๕. คุณวราพร  ซ้อนกลิ่น  พยาบาลวิชาชีพ  รพ.สต.สระใคร

ทีมที่เราทำงานด้วยกันมากกว่านี้  ทั้งทีมสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก  ทีม NCDs  ทีมหมอครอบครัวทุกตำบล  ทีมบริหาร คปสอ.สระใคร

ได้ประโยชน์มิเพียงประเด็นช่องปาก  เราทำงานบูรณาการกับงาน NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) ด้วยกันอยู่แล้ว  การพัฒนาสมรรถนะทีมหมอครอบครัวให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ  ที่ทำตัวเองให้เป็นต้นแบบสุขภาพ  เป็นผู้เหนี่ยวนำ (Mentor) ที่ต้องเปลี่ยนใจตัวเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ดี  อย่างมีความสุขด้วย 

เป็นเรื่องที่ต้องวางแผนปฏิบัติการต่อ  เพื่อหวังผลขยายงานสร้างเสริมสุขภาพในระยะยาว

นำเสนอแล้วจึต้องร่วมคุย  ร่วมคิดต่อยอดจากงานที่นำเสนอ  ร่วมกับทีมโพนพิสัย  ที่น้องกุ้ง  รพ.สต.กุดบง  น้องอ๋อย  โรงพยาบาลโพนพิสัย  มาเป็นตัวแทน  เพื่อปรับแผนปฏิบัติการของจังหวัดหนองคายต่อในปี ๒๕๖๑

กลับมาบ้านแล้วปรับ Slides อีกนิดหน่อย  ปรับความเป็นไปได้ที่จะต้องวางแผนเก็บข้อมูลประเมินผล

ซึ่งมีทั้งเชิงปริมาณ  ประเมินความรู้   สังเกตทักษะการแปรงฟัน  ระดับปัจเจกบุคคล (Individual) 

และประเมินเชิงคุณภาพ  ระดับครอบครัวและชุมชน  ประเมินระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกครอบครัวและแกนนำองค์กรชุมชน  ในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก ๐ - ๓ ปี 

เตรียม Slides เผื่อเสนอผู้บริหาร  ทีมบริหาร คปสอ.ด้วย  ในการเสนอแผนปฏิบัติการปี ๒๕๖๑ พรุ่งนี้

20171105153355.pptx

ขอไปสรุปเป็นตารางความก้าวหน้าตามหัวข้อ  เป้าหมาย  กิจกรรม  ผลลัพธ์  งบที่ใช้ของโครงการนี้

และแผนปฏิบัติขั้นต่อไป  ที่ต้องวางแผนละเอียดให้เห็นชัดเจนมาก ๆ  คือ  สิ่งที่จะวัดที่เป็น Key Performance Indicator จริง ๆ   นำไปสู่เครื่องมือ  จนถึงตัวแปรที่ต้องวัด  ตามที่อาจารย์ทั้งสองสอนและชี้แนะ  หนักใจนิดหน่อยตรงประเมินเชิงคุณภาพนี่แหละ  คงใช้เวลาพอควรในการเก็บ  ตรวจสอบ  วิเคราะห์ข้อมูล  และสรุปแบบอุปนัย

ขอบคุณมากนะคะที่ติดตาม

สวัสดีค่ะ

^_,^

หมายเลขบันทึก: 640514เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2017 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2018 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับพี่หมอ

-นักจับประเด็น/บรรยายได้ละเอียดมาก ๆครับ

-เป็นกำลังใจให้พี่หมอนะครับ

-ว่างเมื่อไหร่ก็แวะมา ที่นี่ ด้วยนะคร้าบ 55

ขอบคุณมากค่ะคุณเพชรฯ

รายละเอียดน้อยนะคะเนี่ย  ช่วงนี้ Time management ติด ๆ ขัด ๆ มากค่ะ

โดยส่วนตัวแล้ว ...ผมเ็นด้วยกับถ้อยประโยคนี้นะครับ

ความตระหนักและรับรู้เป็นด่านแรก  ก่อนจะตัดสินใจว่าฉันจะทำหรือไม่ทำอะไร  ด้วยใจของเขาตัดสินเอง

ขอบคุณค่ะ อ.แผ่นดิน  ตอนทำให้ตระหนักและรับรู้นี่ละค่ะยากสุด  พอใจเปิดแล้ว  ถัดไปก็ไม่ยากเท่าไหร่ละค่ะ  เห็นทางออกสว่างขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท