กลยุทธ์การขับเคลื่อนการปลอดนักเรียน อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้


กลยุทธ์การขับเคลื่อนการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

ดร. ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นม.เขต 4

-------------

          การอ่านออกเขียนได้ เป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพราะการอ่านออกเขียนได้นั้นเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ของนักเรียน ถ้านักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องแล้วไซร้ ก็ยากที่จะแสวางหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

สำหรับกลยุทธ์ที่ขอเสนอแนะ หรือเป็นแนวทาง ควรเป็นดังนี้

ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนักร่วมกัน

ขั้นที่ 2 ให้ความสำคัญแก่ครูและนักเรียน

ขั้นที่ 3 พากเพียรนำวิธีสอนสู่การปฏิบัติ

ขั้นที่ 4 เร่งรัด นิเทศติดอย่างกัลยาณมิตร

ขั้นที่ 5 ประเมินผลสัมฤทธิ์เพื่อการพัฒนา

ขั้นที่ 6 ชื่นชมความก้าวหน้าและให้ขวัญกำลังใจ

ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนักร่วมกัน

ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ต้องตระหนักรู้ และร่วมด้วยช่วยกันว่าจะต้องฝึกนักเรียนให้อ่านออกเขียนได้ทุกคน โดยการประสานงานร่วมมือกัน นักเรียนอยู่ที่โรงเรียน ครูก็ฝึกให้นักเรียนเพื่ออ่านออกเขียนได้ นักเรียนอยู่ที่บ้าน พ่อแม่ พี่ เพื่อนๆ ก็ช่วยกันฝึก

ขั้นที่ 2 ให้ความสำคัญแก่ครูและนักเรียน

มอบหมายให้ครูที่จบเอกวิชาภาษาไทยหรือมีความรู้และประสบการณ์ในการสอนภาษาไทย โดยการอบรมพัฒนาครูโดยเฉพาะครูชั้น ป. 1-3 ให้มีทักษะในการสอนแบบแจกลูกผสมคำอย่างถูกวิธี วิธีการออกเสียงและผันวรรณยุกต์ตามอักษรสามหมู่ คืออักษรกลางอักษรสูงและอักษรต่ำเน้นห้องเรียนเปลี่ยนสมอง ต้องพลิกกระบวนการเรียนรู้ มุ่งสู่หนังสือเรียนและใบงานและผสานด้วยสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ระยะเวลาดำเนินการตลอดปีการศึกษา ส่วนการอบรมครูควรกระทำในช่วงปิดภาคเรียนหรือเสาร์ อาทิตย์ คัดกรองนักเรียนที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ทำเป็นข้อมูลสารสนเทศหรือเป้าหมายของการพัฒนาอย่างเร่งด่วนต่อไปเป็นระยะ ฝึกให้นักเรียนทำกิจกรรมพี่สอนน้องช่วยเหลือนักเรียนร่วมชั้นและระหว่างชั้น

ขั้นที่ 3 พากเพียรนำวิธีสอนสู่การปฏิบัติ

3.1 โรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้วิธีการสอนเพื่อให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้

3.1.1 สอนให้นักเรียนรู้จักพยัญชนะ จำพยัญชนะให้ได้ทุกตัว โดยการท่องทุกวัน

3.1.2 สอนให้นักเรียนรู้จักสระและจำสระได้ทุกตัว โดยการท่องทุกวัน

3.1.3 สอนโดยการแจกลูกผสมคำในแม่ ก กา โดยให้นักเรียนฝึกทุกวัน

3.1.4 สอนโดยให้นักเรียนฝึกผันวรรณยุกต์ตามอักษรสามหมู่และแม่ ก กา

3.1.5 สอนให้อ่านเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

3.1.6 สอนให้นักเรียนฝึกผันวรรณยุกต์คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

3.1.7 สอนให้นักเรียนฝึกเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา

3.1.8 สอนให้นักเรียนฝึกอ่านคำควบกล้ำ

3.1,9 สอนให้นักเรียนฝึกอ่านคำที่มีตัวอักษร นำ

3.1,10 สอนให้นักเรียนฝึกเขียนคำที่มีตัวการันต์ ฤ ฤา ฦ ฦา และคำที่มีลักษณะพิเศษ

3.2 พลิกโฉมโรงเรียน นักเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ใน 1 ปี ด้วย การสอนแบบ BBL มุ่งเน้นกุญแจห้าดอกสู่ความสำเร็จคือทำสนามเด็กเล่น ห้องเรียนเปลี่ยนสมอง พลิกกระบวนการเรียนรู้ หนังสือเรียนแบะใบงาน และสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้

3.3 โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมอิสระตามความสมัครใจ เช่น ชมรมรักการอ่าน ชมรมนักเขียน ฯลฯ

ขั้นที่ 4 เร่งรัดนิเทศติดตามอย่างกัลยาณมิตร

4.1 นิเทศภายใน โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูนิเทศซึ่งกันและกัน และร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์ในลักษณะพูดเรื่องเล่าเร้าพลัง ระยะเวลาอย่างน้อยเดือนละครั้ง

4.2 นิเทศภายนอก โดย ผอ.เขต และรอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ระยะเวลาอย่างน้อยเดือนละครั้ง

4.3 ใช้วิธีการนิเทศหลากหลาย เช่น นิเทศแบบคู่สัญญา นิเทศแบบร่วมใจ นิเทศผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นิเทศโดยวารสารและสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ระยะเวลา ตามที่เห็นสมควร แต่อย่างน้อยเดือนละครั้ง

4.3 นิเทศออนไลน์ผ่ายสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook และเว็บไซต์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเว็บไซต์ KM สพฐ. ระยะเวลา ตามที่เห็นสมควร แต่อย่างน้อยเดือนละครั้ง

ขั้นที่ 5 ประเมินผลสัมฤทธิ์เพื่อการพัฒนา

5.1 สอบก่อนเรียน เพื่อทราบพื้นฐานผู้เรียนรายคนก่อนสอน เช่นให้ทดสอบอ่าน ทดสอบเขียน เป็นต้น ระยะเวลา เมื่อจะสอนเนื้อหาในแต่ละบทเรียน

5.2 ทดสอบระหว่างเรียน เพื่อทราบความก้าวหน้าในการอ่านการเขียนหลังจากเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งจบก็สอบเพื่อดูความก้าวหน้า ระยะเวลาเมื่อสอนแต่ละเนื้อหาหรือบทเรียน

5.3 ทดสอบหลังเรียนเพื่อตัดสินผลการเรียนหรือเพื่อเลื่อนชั้นเมื่อสิ้นปีการศึกษา

5.4 สอบ Pre-O-NET สอบ NT ทดสอบศักยภาพผู้เรียน ฯลฯ ระยะเวลาเมื่อปลายภาคเรียนที่ 2 ประมาณ มกราคม กุมภาพันธ์ ของปีการศึกษา

5.5 เข้าประกวดแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนประจำปี

ขั้นที่ 6 ชื่นชมความก้าวหน้าและให้ขวัญกำลังใจ

6.1 ส่งเสริมความก้าวหน้า (จัดการแลกเปลี่ยน ถอดประสบการณ์ กิจกรรมการประกวด การเผยแพร่ผลงาน นิทรรศการทางวิชาการในแต่ละภาคเรียน หรือก่อนสิ้นปีการศึกษาประมาณ มกราคม กุมภาพันธ์)

6.2 ให้ขวัญ กำลังใจ ยกย่อง ชมเชย โล่ รางวัล เกียรติบัตร ความดีความชอบ

6.2.1 ยกย่องชมเชย ตามที่เห็นสมควร อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเช่น นักเรียนยอดนักอ่าน ยอดนักเขียนประจำสัปดาห์

6.2.2 โล่ รางวัล เกียรติบัตร มอบในคราวประชุมผู้บริหารเมื่อสิ้นภาคเรียนหรือสิ้นปีการศึกษา

6.2.3 ให้บำเหน็จความดีความชอบ โดยผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ผู้อำนวยการสถานศึกษา รอง ผอ.เขตฯ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตฯ และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (กศจ.) เมื่อถึงระยะเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือเลื่อนเงินเดือน ตอน เมษายน และตุลาคม

หมายเลขบันทึก: 640361เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2017 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2017 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท