ACCISS Multi-Stakeholder Meeting ที่ Amsterdam (2)


การเข้าถึงและการใช้อินซูลินมีเรื่องราวมากมายหลายมุม ตลาดของอินซูลินมีมูลค่าหลายพันล้าน USD ราคาซื้อ-ขายก็ varies ประเทศต่าง ๆ มีเบื้องหลัง การจัดการ และมี priorities แตกต่างกัน

ตอนที่ 1

วันที่ 11 กันยายน 2560 (ต่อ)

ภาคบ่ายเริ่มเวลา 13.30 น. เป็น Panel Discussion ในหัวข้อ Is Access to Affordable Insulin in Our Reach? ในหลายมุมมองของผู้ร่วมงานจากประเทศอินเดีย Kyrgyzstan, Tanzania, American Diabetes Association (ADA) และผู้แทนจากบริษัทผู้จำหน่ายอินซูลิน โดยมี Dr. David Beran เป็น moderator ดิฉันฟังข้อมูลได้ไม่ครบถ้วนนัก เพราะภาษาอังกฤษของคนอินเดียและ Kyrgyzstan ฟังยากมาก (เป็นปัญหาของคนฟัง)

  • ที่ Kyrgyzstan มีการจ่ายอินซูลินให้คนไข้ฟรี ซื้อยาแบบ centrally ใช้งบประมาณสูงมาก
  • ที่ Tanzania พบว่า clinical guidelines มักไม่ค่อย available ที่ facilities level อินซูลินมีราคาสูง ต้องมี capacity building เพื่อให้บุคลากรมีความรู้และตัดสินใจได้
  • บริษัทจำหน่ายอินซูลินพูดถึง pricing policy และ availability
  • ADA ทำอะไรบ้าง เช่น สนับสนุน annual meeting, educating people with diabetes, support คนที่เป็นเบาหวานและครอบครัว
  • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้อินซูลิน
  • มีคนตั้งคำถามว่า ทำไมจึงไม่ผลิตอินซูลินในประเทศ LMICs เป็นต้น
  • donation ไม่ใช่ long-term action
  • ความโปร่งใสในเรื่องราคาของอินซูลินมีความสำคัญมาก
  • ไม่ได้มีการ include analogue insulin ใน essential lists
  • กำลังมีการทำ guideline, package ของ intervention ใน primary care level
  • จะมีการออก recommendation ในการใช้ analogue insulin
  • จะมีการ facilitate procurement ของ member states
  • ความจำเป็นที่จะต้องมีการให้ความรู้แก่บุคลากรด้านสุขภาพ ผู้ป่วย และครอบครัว
  • Activities ของ ISAD มี E-learning ด้วย
  • ความสำคัญของ self-management and support
  • การทำงานของ NGO ในประเทศ Mali สามารถช่วยให้อินซูลินที่แพงมีราคาถูกลงและมี availability สูงขึ้น
  • หลายประเทศมีการจัดการและมี priorities ต่างกัน บางประเทศยังไม่มี price regulation system
  • อินโดนีเซีย : มีการใช้อินซูลินเพิ่มขึ้น อินซูลินมีราคาแพง การเลือก การตั้งราคา และกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นอย่างไร สิ่งที่เป็น priorities คือ improve the rational use, upgrading ทักษะของบุคลากรระดับ primary health care เพื่อเพิ่มการคัดกรองและการวินิจฉัย upgrading ทักษะด้าน pricing และ procurement process
  • เปรู : national priorities คือ จัดให้การใช้อินซูลินเป็นหนึ่งในการรักษาเบาหวาน ให้มี national guideline สำหรับบุคลากรในระดับ primary health care จัดให้อินซูลินอยู่ใน essential list พัฒนาบุคลากรระดับ primary care ใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

หลังจากจบ panel discussion เป็น coffee break เวลา 15.30 น. เป็นเรื่องของ Global Priorities for Access to Insulin 2018-2023 โดย Margaret Ewen, Gojka Roglic (WHO) และ Carine de Beaufort (ISPAD) 

เวลา 16.15 น. เป็นเรื่อง National Priorities for Access to Insulin โดยผู้ที่ทำงานอยู่ในประเทศ Mali, Kyrgyzstan, Indonesia และ Peru 

17.00 น. ช่วงสุดท้ายมีการ wrap up โดย Richard Laing จาก Boston University พอจะสรุปได้ว่า

  • มี achievement ในหลายประเทศ
  • หลายประเทศยังไม่มี guideline หลายประเทศมีแต่ก็ไม่ได้มีการ update guideline
  • National health system หลายเรื่อง need evaluation
  • Insulin pen เป็นของแพง ทำอย่างไรให้ผู้ป่วย aware เรื่องนี้
  • ราคายาไม่เฉพาะอินซูลินในแต่ละ sector แตกต่างกัน transparency เรื่องราคา เป็นสิ่งสำคัญ
  • การเข้าถึงอินซูลิน มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่แค่เรื่องราคา
  • Local production
  • การรับอินซูลินได้เฉพาะที่โรงพยาบาล
  • ความยั่งยืนในการ provide human insulin สำหรับคนยากจน (low income people)
  • Diabetes education เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การรักษาประสบความสำเร็จ
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ป่วยเบาหวานต้องดูแลตนเอง
  • Analogue insulin

การเข้าถึงและการใช้อินซูลินมีเรื่องราวมากมายหลายมุม ตลาดของอินซูลินมีมูลค่าหลายพันล้าน USD ราคาซื้อ-ขายก็ varies ประเทศต่าง ๆ มีเบื้องหลัง การจัดการ และมี priorities แตกต่างกัน การเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ได้เปิดมุมมองของดิฉันในด้านที่แตกต่างจากประสบการณ์ที่เคยมี แม้ว่าไม่ใช่การประชุมใหญ่ แต่ผู้จัดการประชุมให้ความสำคัญกับทุกเรื่อง ผู้เข้าประชุมจากประเทศ  Kyrgyzstan ซึ่งใช้ภาษารัสเซีย เขาก็จัดล่ามแปลภาษาให้ตลอดการประชุม พอตัวแทนจากประเทศนี้นำเสนอเป็นภาษาของเขา เราก็ใช้หูฟังเป็นภาษาอังกฤษ

ค่ำนี้มี Dinner เจ้าภาพต้องการให้ผู้เข้าประชุมได้พบปะและพูดคุยกันอย่างกว้างขวาง พอพวกเราเริ่มอาหารเบา ๆ พร้อมเครื่องดื่มไปสักพัก เขาเรียกให้ย้ายที่นั่งเพื่อจะได้ทำความรู้จักและคุยกับคนอื่นบ้าง ดิฉันและ Dr. David ลุกจากที่นั่งเพื่อย้ายโต๊ะใหม่ แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมานั่งที่เดิมเพราะโต๊ะอื่นไม่มีใครย้ายออก มีผู้แทนจากบริษัทยาที่ทักษะทางสังคมดีเขาย้ายไปคุยตรงนั้นตรงนี้ได้เรื่อย ดิฉันได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของ HAI นายแพทย์จากออสเตรเลียซึ่งรู้จักกับ รศ.พญ.สภาวดี ลิขิตมาศสกุล แพทย์หญิงจากประเทศมาลี และชายหนุ่มอีกคน

วัลลา ตันตโยทัย

บันทึกเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560

หมายเลขบันทึก: 640055เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2017 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2021 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท