ชีวิตที่พอเพียง : 3035. เรียนรู้จาก PMAC Retreat : 5. โครงสร้างการทำงาน



หัวข้อนี้ประชุมหารือกันในวันที่สอง  ๒๗ กันยายน ๒๕๖๐   ต่อเนื่องจากการกำหนดเป้าหมาย ของการประชุม PMAC ในวันแรก    ให้มีสีสันของวงการนโยบาย วงการการเมือง และเศรษฐกิจการเมืองมากขึ้น    ลดความเป็นวิชาการหรือเทคนิคลง     แต่ยังคงความเป็นการประชุมประจำปีไว้อย่างเดิม    แต่จะเพิ่มงานด้าน การขับเคลื่อน agenda ในระดับโลก  ระดับภูมิภาค  และระดับประเทศ (ได้แก่ SDG, UHC)      รวมทั้งทำงานให้มี ข้อมูลหลักฐาน สนับสนุน (evidence-based) มากขึ้น

ประเด็นแรกคือโครงสร้างกลไกกำกับดูแล (governance)    ตกลงกันว่า ให้ลดขนาดของ IOC และทำงานด้านนโยบายเท่านั้น มีคนไทยเป็นประธาน    และเพิ่ม Advisory Committee ดูแลงานเทคนิค และมี co-chair จาก co-host 

งานที่ต้องปรับปรุงคืองานเชื่อมโยงกับนักวิชาการที่ทำงานวิจัยพัฒนานโยบาย    โดยการ call for abstract เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเชิญมาเป็นสมาชิกของ panel discussion   หรือมานำเสนอ poster presentation    ที่จะต้อง สื่อสารว่าเราสนใจเฉพาะงานวิชาการเชิงนโยบาย หรือเชิงระบบเท่านั้น

กลไกทำงานที่สำคัญคืองานสื่อสารสังคม    และงานเชื่อมโยงกับกลไกนโยบายระดับโลก ซึ่งเป็นเรื่อง ใหญ่มาก    และการดึงการมีส่วนร่วมจากองค์กรวิชาชีพสุขภาพ    

มีการพูดถึงกลไก South – South Cooperation ()    ว่า PMAC ควรเอื้อให้ภาคีของ SSC ทำงานส่งเสริม SSC ได้ดียิ่งขึ้น   

มีการพูดถึงการติดตามผลการดำเนินการของแต่ละ co-host  ตามข้อเสนอในการประชุม PMAC ครั้งก่อนๆ ในการประชุม IOC แต่ละครั้ง    เป็นกลไกอย่างหนึ่งของการติดตามการขับเคลื่อนผลการประชุม ครั้งก่อนๆ 


การเสวนาในที่ประชุม ตั้งข้อสังเกตว่าการสื่อสารในสื่อมวลชนไทยเกี่ยวกับผู้รับพระราชทานรางวัล กว้างขวางมาก    แต่การสื่อสารสาระใน PMAC น้อยมาก    ทำให้ผมได้ความคิดว่า ผมต้องไปบอกทีมงาน ของมูลนิธิให้เข้ามาช่วย งาน ปชส. PMAC ด้วย เชื่อมโยงสู่อุดมการณ์ “เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์” ของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล    โดยจัดให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์ผู้ใหญ่ในวิชาชีพสุขภาพหลากหลายวิชาชีพ    ให้ท่านได้กล่าวถึงความสำคัญ ต่อชีวิตของผู้คน จากมุมมองของท่าน    โดยเรื่องนี้ต้องมีการเตรียมการณ์มาก


ควรใช้สำนักงานสื่อต่างชาติในกรุงเทพ  เป็นกระบอกเสียงสื่อสารออกไปยังต่างประเทศด้วย    โดยมีการจัดการร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ     


ที่ตกลงกันชัดเจน คือต้องขยายความเข้มแข็งของทีม secretariat     ที่อาจต้องมีเจ้าหน้าที่วิชาการ (professional staff) ประจำ    หน้าที่อย่างหนึ่งคือคอยสื่อสารติดตามข่าวคราวการขับเคลื่อนผลการประชุม ของ co-host


เมื่อวานมีการนำเสนอโดยทีมประเมิน ว่าควรพิจารณาหาทางให้กระจายผู้เข้าร่วมประชุม PMAC ตามพื้นที่ภูมิศาสตร์    แต่วันนี้มีคนเสนอว่าไม่ควรทำ     เพราะพื้นที่ที่มีคนมาประชุม PMAC น้อย    ได้แก่ Francophone Africa, Latin America, ตะวันออกกลาง ก็มีการประชุมด้านระบบและนโยบายสุขภาพของเขา อยู่แล้ว    สิ่งที่ควรทำคือหาทางเชื่อมโยงกับองค์การที่เป็นเจ้าภาพของการประชุมเหล่านั้น  


รวมทั้งมีคนย้ำว่า PMAC เป็นการประชุมที่ดี   และทีม secretariat ก็ทำงานดีมาก    ในการปรับปรุงงาน ให้ระวังหลงเน้นทำงานที่มีคนแนะนำให้ทำเพิ่ม จนงานส่วนสำคัญย่อหย่อน   


สิ่งที่ผมชื่นใจที่สุดคือ วันนี้ทีมไทยรุ่นใหม่ที่ไปประชุมแสดงบทบาทเพิ่มขึ้นมาก    และครบถ้วนทุกคน


ในการประชุมแบบนี้ เน้นการระดมความคิด เน้นการเสนอแบบสวมหมวกเขียว (ริเริ่มสร้างสรรค์) ทีมไทยเราเน้นเป็นฝ่ายฟังและให้ข้อมูล    ยังไม่ถึงเวลาสรุปประเด็นสร้างสรรค์ ว่าจะเลือกทำแบบใด    ผมชื่นชม ศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา ที่บอก co-host บางคนที่พยายามให้ตกลงรายละเอียด ว่ายังไม่ใช่เวลาตัดสิน    ต้องขอเวลาย่อยข้อมูลและความเห็นต่างๆ จากที่ประชุมก่อน  

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ย. ๖๐

ห้อง 116, Davenport House, Greenwich, London

 


 

หมายเลขบันทึก: 639783เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2017 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2017 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท