ครูผู้มีผลงานกระจ่างชัด ๘. บทบาทสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก


บันทึกชุด ครูผู้มีผลงานกระจ่างชัด  นี้ตีความจากหนังสือ Visible Learning for Teachers : Maximizing Impact on Learning เขียนโดย John Hattie ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๕๕  


ตอนที่ ๘ บทบาทสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก ตีความจากบทที่ 9 Mind frames of teachers, school leaders, and systems  หน้า ๑๘๗ - ๑๘๘ Mind frame 7 : Teachers / leaders belief that it is their role to develop positive relationship in classrooms/staffrooms


ความสัมพันธ์เชิงบวกที่สำคัญที่สุดต่อบรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียน และในห้องพักครู คือการไม่รู้สึกอับอาย หรือเสียหน้าเมื่อทำผิดพลาด    และมองความผิดพลาดเป็นโอกาสเรียนรู้ที่ดีที่สุด    การทำผิดพลาดจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่    แต่เป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้ในมิติที่ลึก  


บรรยากาศเช่นนี้ นักเรียนและครูมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจกัน   นักเรียนกล้าที่จะบอกว่า ตนยังไม่เข้าใจส่วนใด   โดยเชื่อมั่นว่าจะไม่โดนครูดุว่า หรือโดนเพื่อนดูหมิ่นหรือเยาะเย้ย    


ครูมีหน้าที่ประเมินตรวจจับ ความคิดที่ผิด ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง  และความไม่รู้    แล้วหาวิธีสร้างบทเรียนให้ เกิดการเรียนรู้


ผู้บริหารต้องทำหน้าที่สร้างบรรยากาศดังกล่าวระหว่างครูด้วยกัน และระหว่างครูกับผู้บริหาร    เพื่อให้ครู ได้เรียนรู้จากข้อบกพร่องในการทำหน้าที่ของตน    ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ทรงคุณค่าที่สุด    ผมขอเพิ่มเติมว่ากระบวนการ PLC – Professional Learning Community  หรือชุมชนเรียนรู้ของครู ที่มีการเรียนรู้อย่างลึก ตั้งอยู่บนฐานของความสัมพันธ์เชิงบวกนี้


วิจารณ์ พานิช

๒๙ ส.ค. ๖๐

ห้องรอขึ้นเครื่องบินหาดใหญ่


หมายเลขบันทึก: 639782เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2017 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2017 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท