รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๓๐๐๕ การประยุกต์คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน _ ๐๑ แนวทางการปรับปรุงเอกสารประกอบการสอน


วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไปร่วมกับอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ๐๐๓๓๐๐๕ การประยุกต์คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน จัดอบอรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) อาจารย์ผู้สอนรายวิชา เพื่อรับฟังแนวทางจากผู้ทรงคุณวุฒิหลัก คือ ศาสตราจารย์ปรีชา ประเทพา และ KM ให้ได้แนวทางการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน  กลุ่มเป้าหมายคืออาจารย์ผู้สอน ๑๖ ท่านที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการประจำสำนักฯ แล้ว มีอาจารย์ผู้สอนมาร่วม ๗ ท่าน ... หากเป็นการประชุม ยังถือว่าไม่ครบองค์ประชุม ตอนท้ายของการอบรม จึงได้นัดหมายวันเวลาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกครั้งในวันที่ (๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๒.๐๐ น.) เพื่อนำเอาผลการ KM วันนี้ไปทำความเข้าใจร่วมกัน 

ผมทำหน้าที่เป็น "คุณอำนวย" เช่นเดิม และเขียนบันทึกนี้เพื่อ สื่อสารบทเรียนหรือข้อสรุปสำคัญ ๆ นำมาให้อาจารย์ผู้ประสานงานและอาจารย์ผู้สอนนำไปใช้พัฒนาเอกสารประกอบการสอนต่อไป ... ผมขอสรุปทั้งหมดด้วยภาพดัานล่าง และอธิบายสาระเพิ่มเติมเพียงสังเขป 

แนวทางการเขียนเอกสารประกอบการสอน


ศาสตราจารย์ปรีชา ท่านเน้นดังนี้ครับ 
  • เป้าหมายของรายวิชานี้ (Learning Outcome) ไม่ใช่ความจำ แต่เป็นทักษะและเจตคิ ที่จะนำเอาคณิตศาสตร์และสถิติไปประยุกต์ใช้  ผู้เรียนต้อง "ได้คิด" เรียนแล้ว ความคิดติดในสมอง เกิดแรงบันดาลใจ สงสัยอยากรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป สามารถอ่านกราฟ อ่านข้อมูลทางสถิติที่พบบ่อยได้ เช่น ผลสำรวจโพล (Polls) เป็นต้น 
  • บทที่ ๑ ต้องเขียนให้เห็นอย่างน้อย ๓ ประการ ได้แก่ ธรรมชาติของคณิตศาสตร์และสถิติ ความสำคัญและความจำเป็นของคณิตศาสตร์และสถิติ และ เห็นภาพรวมของทุกบท ภาพรวมที่นำเอาคณิตศาสตร์และสถิติไปใช้เป็นเครื่องมือ 
  • บทที่ ๒ เป็นต้นไป  ควรเป็นตัวอย่างการนำเอาคณิตศาสตร์และสถิติไปใช้ เช่น เรื่อง Polls  เรื่องเงินฝากและสินเชื่อดีแล้ว เพียงให้เขียนให้ อ่านง่าย เชื่อมโยงมากขึ้น 
  • หลักในการเขียน คือ "อ่านง่าย ทันสมัย ได้คิด" 
  • แต่ละบทควรมีแบบฝึกหัด หรือ ใบงาน ให้นิสิตได้ ฝึกคิด ฝึกนำไปใช้  (ท่านยกตัวอย่างเรื่องเอกสารเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล...บันทึกถัดไปจะมานำเสนอครับ)
  • ข้อแนะนำสำหรับวิธีเขียน  คือ ๑)  การกำหนดและเลือก "คำสำคัญ" หรือสาระสำคัญต่าง ๆ ก่อน แล้วนำมาเขียนร้อยเรียง เชื่อมโยงกัน ให้เห็น "Chain of keywords" เห็นทั้งทฤษฎีและการนำไปใช้ในแต่ละสาขา  ๒) เขียนให้อ่านผู้อ่านอ่านแล้วเกิดท้าทาย (Challenges) เห็นความมหัศจรรย์ของจำนวน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับคณิตศาสตร์และสถิติ  ๓) เรียนแล้วได้เครื่องมือ (Tools) ไม่จำกัดความรู้ ส่งเสริมให้ใช้ความรู้ในตนและใฝ่หาความรู้อื่นเพิ่ม
ข้อสรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาจารย์ผุ้สอน (เพิ่มเติม)

ผมจับข้อสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ได้ดังนี้ครับ 
  • บทที่ ๑ ผู้เขียนคือ ผศ.ดร.มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์ ผศ.ดร.อนุสรณ์ แสงประจักษ์ และ ผศ.ดร.มนตรี ทองมูล 
  • บทที่ ๒ เขียนเกี่ยวกับ สมการและระบบสมการ พื้นที่ และปริมาตร  มอบให้ ผศ.ดร.ประภาส ผิวอ่อน และ ผศ.ดร.บรรจบ วันโน
  • บทที่ ๓ เขียนเรื่อง อัตราส่วนร้อยละ ผู้รับผิดชอบเบื้องต้นคือ ดร.ณภัสนันท์ ศรีสารคามและ ผศ.ดร.วสันต์ ด้วงคำจันทร์
  • บทที่ ๔ เขียนเรื่อง เงินฝาก สินเชื่อ และการลงทุน ผู้รับผิดชอบเบื้องต้นคือ ดร.บุษกร คงเอียด และ รศ.ดร.นิภาพร ชุติมันต์ (ประสาน ดร.ปกรณ์ สัจคง)
  • บทที่ ๕ เขียนเรื่อง การประกันภัย  ผู้รับผิดชอบเบื้องต้นคือ ผศ.ดร.ดรุณี บุญชารี และ ดร.มนชยา เจียงประดิษฐ์ 
  • บทที่ ๖ เขียนเกี่ยวกับ การสำรวจ Polls และการนำสถิติไปประยุกต์ใช้  ผู้รับผิดชอบเบื้องต้นคือ ผศ.ดร.สุจิตตา สุระภี และ ผศ.ดร.ประภาส ผิวอ่อน
ความเห็นส่วนตัว ผมอยากให้มีเรื่อง "หุ้น" และเรื่อง "หวย"  ฝากท่านพิจารณาครับ หากนำวิทยาศาสตร์มาจับสองเรื่องนี้ นิสิตจะมีภูมิคุ้มกันในชีวิตแน่นอน 


หมายเลขบันทึก: 639071เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2017 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2017 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

I read the summary and feel that the KM session was biased towards 'teaching' instead of 'learning' - that is the teachers were looking for ways to teach from their (accumulated and normalised) knowledge; no mention of learners participating in developing solutions of their own or on thier own ingenuity or imagination. I feel that innovation and imagination are very much needed for lives in 21c when people are expected to find their niche for survival within high-technology environment (robots, automation, AI,...).

Foundational concepts and theories are essential in advanced learning but imagination and courage (to learn, test, try,...) must always be encouraged. Let us use KM not as the magic wand but as one tool.

ขอบพระคุณอาจารย์ sr มากครับ  สถานการณ์ตอนนี้เป็นแบบที่ท่านกล่าวถึงครับ การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยตอนนี้ เหมือนยังไม่มีไม้คานงัดขนาดใหญ่ จึงต้องขยับแบบเขยิบไปทีละนิด  ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ "วิธีเรียน" ของนิสิตยังไม่เปลี่ยนทิศ  ....  ยากจะบอกว่าวิธีไหนเร็วกว่า ระหว่าง "เปลี่ยนวิธีสอนเพื่อปรับวิธีเรียน" หรือ "ปรับวิธีเรียนเพื่อเปลี่ยนวิธีสอน" 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท