ชีวิตที่พอเพียง : 3025. ความฝันกับการตื่นรู้



บทความเรื่อง The Stuff of Dreams : Studying the dreaming brain offers a window on consciousness  ใน Scientific American Mind ฉบับเดือนกันยายน ๒๕๖๐   เล่าวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาความฝัน จากคลื่นสมอง     วัดด้วยเครื่องมือ high-density EEG    ในอาสาสมัคร ๓ ชุด  

ชุดแรก ๓๒ คน    เขาปลุกอาสาสมัครเป็นระยะๆ และให้เล่าความฝัน    เพื่อเอามาเทียบกับ คลื่นไฟฟ้าสมอง    รวมทั้งสิ้นได้ข้อมูลจากการปลุก ๒๐๐ ครั้ง

ชุดที่สอง เป็นอาสาสมัครที่ฝึกวิธีการเล่าความฝัน    จำนวนคนน้อยกว่า แต่จำนวนการปลุก ๘๐๐ ครั้ง

จากผลของการทดลองสองชุดพบว่า

  • ความฝันเกิดขึ้นทั้งในช่วง REM (Rapid Eye Movement)  และช่วงไม่มี REM    เป็นการยืนยันผลการทดลองที่แย้งความเชื่อเดิมที่บอกว่าความฝันเกิดในช่วง REM sleep
  • ระหว่างฝันเกิดคลื่นสมองความถี่สูงที่ส่วนหลังของสมองชั้นนอก    การค้นพบว่าสมอง ด้านหลังเกี่ยวข้องกับการฝันนี้  ต่างจากความเชื่อเดิมว่าสมองส่วนด้านหน้าเกี่ยวข้อง

ชุดที่สาม ๗ คน    นักวิทยาศาสตร์ดูคลื่นไฟฟ้าสมองแล้วทำนายว่ากำลังฝัน    แล้วปลุกขึ้นมาถาม    พบว่าทำนายได้ถูกต้องร้อยละ ๘๗

เขาบอกว่า ข้อค้นพบนี้ และที่จะมีการค้นคว้าต่อ จะมีผลทำให้เราเข้าใจ กลไกของการตื่นรู้ (consciousness) ของมนุษย์



วิจารณ์ พานิช

๑๗ ก.ย. ๖๐

 


 

หมายเลขบันทึก: 639066เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2017 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2017 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I only have access to free-to-public research papers. So a lot of papers are out of my reach.

Are there recent researches on 'daydream' or 'lapses of consciousness while awake'? This daydream has implications on safety while operating machinery (eg. driving a car, milling timber, and sewing clothes). Perhaps, we would benefit more from  studying of dreams in waking time than in sleeping time.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท