บันทึกการฝึกงานประสบการณ์วิชาชีพ(ครั้งที่ 60)วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2560


วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2560 ทางคณะนักศึกษาได้เชิญชวนชาวบ้านให้มาร่วมในการจัดเวทีประชาคมในครั้งนี้เพื่อเสนอโครงการต่างๆทั้ง5โครงการ เพื่อให้ชาวบ้านที่ได้เข้ามาร่วมในการทำเวทีประชาคมนั้น ได้ทราบว่า คณะนักศึกษานั้น ได้ทำโครงการใดบ้าง และมีวัตถุประสงค์ อย่างไรในการทำโครงการนั้น และเมื่อทำการเสนอหรือรายงานโครงการ ในที่ประชุมเสร็จ ก็ได้ให้ชาวบ้านแยกย้าย ตามฐานของโครงการต่างๆ อันดับแรกเป็นโครงการ วิถีพอเพียง สมุนไพรรักษาโรค โดยการจัดทำโดย นางสาว สุพัตรา นำช้าง และนางสาว อรวีร์ ประเสริฐสิทธิพร โดยบอกสรรพคุณของยาสมุนไพรชนิดต่างๆว่ามีประโยชน์และสามารถใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง ต่อมาอันดับที่สองได้แก่ โครงการ น้ำยาอเนกประสงค์  เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยการจัดทำโดย นายอิสระ ผานาคและนางสาว สุธิดา เท่งฮวง โดยได้แนะนำผลิตภัณฑ์น้ำยาปรับผ้านุ่มและได้ทำการสาธิต การผสมน้ำยาปรับผ้านุ่ม วิธีการและขั้นตอนในการผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มใช้เองให้แก่ชาวบ้านที่ได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรม และอันดับต่อมาอันดับที่สาม ได้แก่โครงการ นำความรู้สู่ชุมชน (การประดิษฐ์บายศรีจากใบตอง) โดยการจัดทำโดย นาย ยุทธภูมิ ชุมเพ็ญ และนาย ศุภเศก กลิ่นเกษรเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีการให้ทำแบบทดสอบก่อนการทำบายศรี ว่าชาวบ้านนั้นมีความรู้มากหรือน้อยเพียงใด ในการที่จะะทำบายศรีนี้  เพราะการทำบายศรีนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องมีครู และไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่าย ต้องใช้ประสบการณ์และความชำนาญ ถึงได้ทำออกมาได้อย่างละเอียด ถี่ถ้วนสวยงามและมีปารแจกอาหารว่างตอนพักเบรกคือการ แจกน้ำและขนมปัง และในช่วงบ่ายเป็น อันดับที่ 4 ได้แก่โครงการ ส่งเสริมภูมิปัญญาทางด้านอาหารแปรรูป โดยการจัดทำโดยดิฉัน นางสาว อัจฉราวรรณ ลีทองและนางสาว แพรวพรรณ ใจดี โดยการทำกิจกรรมคือมีการ พูดอภิปรายถึงการทำปลาตากแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ว่ามีกระบวนการและขั้นตอนอย่างไรและได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ของการจัดทำโครงการนี้ว่าจะส่งผลอย่างไรต่อชาวบ้านและ ชุมชน และในช่วงบ่าย ก็ได้ให้ชาวบ้าน ออกมาดูวิธีการสาธิตการทำปลาตากแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งแต่การขอดเกล็ดปลา แล่ปลา การล้างปลา การแช่ปลาในน้ำเกลือ การตากปลาและการห่อหุ้มปลาเก็บเพื่อการถนอมอาหารที่จะให้คงอยู่ได้นานและได้ให้ชาวบ้านชักถามตลอดการสาธิต อีกด้วยค่ะและอันดับต่อมาอันดับที่ 5 คือโครงการ การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์จากใบไม้ เพื่อทดแทนการเผาทำลาย คือ การนำใบไม้มาทับถมลงกับขี้ควาย แล้วราดน้ำหมัก แล้วทิ้งไว้ จนปุ๋ยนั้นเป็น และต่อมา เมื่อปฏิบัติเสร็จทุกโครงการ ก็ได้เชิญชาวบ้านเข้ามานั่งในที่ประชุมอีกครั้ง และคณะนักศึกษาั้งหมดได้กล่าวคำขอบพระคุณชาวบ้านที่ได้มาร่วมทำเวทีในครั้งนี้และต่อมาท่าน ผู้ใหญ่ สุวรรณ ศรีนาค ได้กล่าวปิดงานอย่างเป็นทางการและก่อนกลับก็ได้มีการแจกน้ำยาปรับผ้านุ่มและปลาแดดเดียวอีกด้วค่ะ

                          จุดลงทะเบียน

          ต้อนรับชาวบ้านที่มาลงทะเบียน

        ลุงบูรณ์ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร

                  เสนอโครงการ ต่างๆ

ชาวบ้านยกมือเพื่อแสดงความเห็นด้วยในการจัดทำโครงการ

โครงการวิถีพอเพียงสมุนไพรรักษาโรค

            โครงการ น้ำยาอเนกประสงค์

                   โครงการบายศรี

โครงการ ปลาตากแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

                   สาธิตวิธีการทำปลา

                   สาธิตวิธีการล้างปลา

                   สาธิตวิธีการตากปลา

     ตากปลาในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

              โครงการ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

คณะนักศึกษากล่าวคำขอบคุณชาวบ้านที่มาร่วมทำโครงการ

ผู้ใหญ่ สุววรณ ศรีนาค กล่าวปิด กิจกรรมในวันนี้

      นำปลาใส่ถุงเพื่อแจกให้กลับชาวบ้าน

                     แจกนำยาปรับผ้านุ่ม

         ร่วมกันถ่ายภาพ ก่อนเดินทางกลับ


หมายเลขบันทึก: 638894เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2017 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2017 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท