การบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา "กลุ่มบริหารงานบุคคล"


<h1>การบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา “กลุ่มบริหารงานบุคคล”</h1><h1>แนวคิด</h1><p>          การบริหารงานบุคคลในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการบริหารที่ก่อให้ิเกิดมาตรการจูงใจให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองภารกิจของหน่วยงานโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ ระบบคุณธรรมมากกว่าระบบอุปถัมภ์และยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้
การบริหารจัดการมีความคล่องตัว เกิดความอิสระในการปฏิบัติงานภายใต้กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนา มีความรู้ความสามารถ มีขวัญกำลังใจ นำไปสู่การบริการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  เป็นการบริหารที่คนสำราญ งานสัมฤทธิผล
คนสำราญ คือคนที่มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน ทำงานเต็มกำลังความรู้ความสามารถแลเะเต็มใจ
ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนต่อไป</p><p>  </p><p> </p><p>วัตถุประสงค์ </p><p>            ๑. เพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริหารงานบุคคล ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล สนองตอบความต้องการของหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>            ๒. เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและมีจิตสำนึกในการปฏิบัติภารกิจที่รับผิดชอบ        ให้เกิดผลสำเร็จตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ </p><p>            ๓. เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติงานเต็มตามศักยภาพ โดยยึดมั่นในระเบียบวินัย จรรยาบรรณ อย่างมีมาตรฐานแห่งวิชาชีพ
            ๔. เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานวิชาชีพได้รับการยกย่อง
เชิดชูเกียรติ มีความมั่นคงและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นสำคัญ</p><p>  </p><p>ขอบข่าย/ภารกิจ </p><p>            ๑.   งานธุรการ </p><p>            ๒.   กลุ่มงานวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง </p><p>           ๒.๑    งานวิเคราะห์และวางแผนอัตรากำลังคน </p><p>                    ๒.๑.๑ การวิเคราะห์และวางแผนอัตรากำลังคน </p><p>                    ๒.๑.๒ การเกลี่ยอัตรากำลัง การตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน </p><p>           ๒.๒   งานกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะ </p><p>            ๓.   กลุ่มงานสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง </p><p>                  ๓.๑    งานสรรหาและบรรจุ </p><p>                           ๓.๑.๑  การสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือก การคัดเลือก </p><p>                           ๓.๑.๒ การบรรจุเข้ารับราชการใหม่ </p><p>                  ๓.๒   งานแต่งตั้ง ย้าย โอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                           ๓.๒.๑ การแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                           ๓.๒.๒ การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                           ๓.๒.๓ การโอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                           ๓.๒.๔ การบรรจุกลับเข้ารับราชการ </p><p>                           ๓.๒.๕ การรักษาราชการแทน </p><p>                  ๓.๓   งานออกจากราชการ </p><p>                           ๓.๓.๑ การเกษียณอายุราชการ </p><p>                           ๓.๓.๒ การลาออกจากราชการ </p><p>                           ๓.๓.๓ การให้ออกจากราชการกรณีอื่น ๆ </p><p>                                      (ขาดคุณสมบัติ,ทุพพลภาพ,หย่อนสมรรถภาพ)            </p><p>                           ๓.๓.๔  การออกจากราชการกรณีถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ </p><p>            ๔.   กลุ่มงานบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ </p><p>            ๔.๑    งานบำเหน็จความชอบ </p><p>            ๔.๒   งานทะเบียนประวัติ </p><p>            ๔.๓   งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ </p><p>            ๔.๔   งานบริการบุคลากร </p><p>                     ๔.๔.๑  การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร </p><p>                     ๔.๔.๒ การขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ </p><p>                     ๔.๔.๓ การขอหนังสือรับรอง </p><p>                     ๔.๔.๔ การขออนุญาตให้ข้าราชการไปต่างประเทศ </p><p>                     ๔.๔.๕ การขออนุญาตลาอุปสมบท </p><p>๔.๔.๖ การลาไปประกอบพิธีฮัจย์ </p><p>                     ๔.๔.๗ การขอพระราชทานเพลิงศพ </p><p>            ๕.   กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร </p><p>                  ๕.๑    งานฝึกอบรมและลาศึกษาต่อ </p><p>                           ๕.๑.๑ การฝึกอบรม </p><p>                           ๕.๑.๒ การศึกษาต่อ </p><p>                  ๕.๒   งานส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ </p><p>                  ๕.๓   งานพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ </p><p>                           ๕.๓.๑ การขอรับใบอนุญาตและการขอต่อใบอนุญาตวิชาชีพ </p><p>                           ๕.๓.๒ การส่งเสริมความมั่นคง ผดุงความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ </p><p>๕.๔  งานประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคล </p><p>            ๖.   กลุ่มงานวินัยและนิติการ </p><p>                  ๖.๑    งานวินัย </p><p>                  ๖.๒    งานอุทธรณ์และร้องทุกข์ </p><p>                           ๖.๒.๑ การอุทธรณ์ </p><p>                           ๖.๒.๒ การร้องทุกข์ </p><p>                  ๖.๓    งานกฎหมายและการดำเนินคดีของรัฐ </p><p>            ๗.  กลุ่มงานเลขานุการ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา </p><p> </p><p>งานธุรการ </p><h5>       ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h5><p>          ๑.  ศึกษา วิเคราะห์ วางแผนจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและการบริหารงานของกลุ่ม ให้สามารถ  ดำเนินงานตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ </p><p>          ๒. ศึกษา วิเคราะห์สภาพของกลุ่ม และออกแบบ ระบบงานสารบรรณให้เหมาะสม  และสอดคล้องกับระบบงานสารบรรณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>          ๓. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมภายในกลุ่มบริหารงานบุคคล </p><p>          ๔. ประสานงานกับกลุ่มงาน หน่วยงานและสถานศึกษาในงานธุรการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของกลุ่ม </p><p>         ๕.  ประสานการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารและผลงานของกลุ่มให้ครู  บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไปทราบ </p><p>          ๖. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่มงาน </p><h1>     ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h1><p>          การปฏิบัติงานของบุคลากรในกลุ่มงานเป็นระบบ  สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ </p><p>            กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>          ๑.  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม </p><p>          ๒. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๑๗ </p><p>          ๓. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ </p><p>          ๔.  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.  ๒๕๒๙ </p><p>          ๕.  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ
(ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๓๓ </p><p>          ๖. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวราชการ  พ.ศ. ๒๕๒๕ </p><p>          ๗. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ </p><p> . กลุ่มงานวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง</p><p>     .  งานวิเคราะห์และวางแผนอัตรากำลังคน
</p><p>               ..   การวิเคราะห์และวางแผนอัตรากำลังคน </p><h2>  ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h2><p>                      ๑.  วิเคราะห์ภารกิจและแผนอัตรากำลังคน ของครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๒.  ประสานการดำเนินการและประเมินสภาพความต้องการกำลังคนกับภารกิจของหน่วยงานและสถานศึกษา </p><p>                      ๓.  กำหนดจำนวนอัตรากำลังของสถานศึกษาตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด </p><p>                      ๔.  จัดทำแผนอัตรากำลังของเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                      ๕.  เสนอแผนอัตรากำลังเพื่อขอความเห็นชอบจาก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                      ๖. ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำแผนอัตรากำลังของสถานศึกษา </p><p>                      ๗. นำแผนสู่การปฏิบัติ </p><p>                      ๘. ติดตามและประเมินผลการใช้อัตรากำลังตามแผน  </p><h2>         ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h2><p>                      ๑.  มีแผนอัตรากำลังในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                      ๒. มีแผนอัตรากำลังของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา </p><h2>         กฎหมาย ระเบียบ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง</h2><p>                      ๑.  แผนอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษาของ ก.ค.ศ </p><p>                      ๒.  แนวทางการบริหารงานบุคคลของ ก.ค.ศ </p><p>                      ๓.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ </p><p>                      ๔.  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๕.  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม </p><p>               ..   การเกลี่ยอัตรากำลัง  การตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน </p><h2>       ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h2><p>                      ๑.  ประสานการจัดทำระบบข้อมูล  </p><p>                      ๒.  การวิเคราะห์ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อตรวจสอบการใช้ ตามความจำเป็น ความต้องการ ความขาดแคลน เทียบกับเกณฑ์และแผนอัตรากำลังสถานศึกษา </p><p>                      ๓.  เสนอการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการเกลี่ยอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อ  อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                      ๔.  เสนอการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติ </p><h3>   ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h3><p>                      ๑   เขตพื้นที่การศึกษามีหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติด้านการเกลี่ยอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ชัดเจน </p><p>                      ๒.  เขตพื้นที่การศึกษาสามารถบริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด </p><p>                      ๓.  สถานศึกษามีมาตรฐานด้านบุคลากรสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็น </p><h2>     กฎหมาย ระเบียบ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง</h2><p>                      ๑.  แผนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ ก.ค.ศ. </p><p>                      ๒.  หลักเกณฑ์และวิธีการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                           ๓.   หลักเกณฑ์และวิธีการเกลี่ยอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษาที่  ก.ค.ศ. กำหนด </p><p>      .  งานกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะ </p><h2>  ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h2><p>            ๑.  ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>            ๒.  นำแผนอัตรากำลังมากำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>            ๓.  รับคำขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง/ขอเลื่อนวิทยฐานะ/ขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตำแหน่ง/ขอกำหนดตำแหน่งเพิ่มจากสถานศึกษา </p><p>               ๔.   ดำเนินการให้มีการประเมินเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษาตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด </p><p>            ๕.  นำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และหรือ  ก.ค.ศ.  แล้วแต่กรณี พิจารณาอนุมัติ </p><p>            ๖.  ผู้มีอำนาจตามกฎหมายมีคำสั่งการปรับปรุงตำแหน่ง   เลื่อนวิทยฐานะ  เปลี่ยนแปลง    เงื่อนไขตำแหน่ง กำหนดตำแหน่งเพิ่ม </p><p>            ๗. เสนอแนะการพัฒนาแก่หน่วยงานตามความเหมาะสม </p><h2>  ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h2><p>            ๑. มีการกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>            ๒.  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะตามกฎหมาย </p><h2>   กฎหมาย ระเบียบ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง</h2><p>            ๑.  มาตรฐานกำหนดตำแหน่งครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ…….. </p><p>            ๒.  กฎ ก.ค.ศ. ฉบับที่….พ.ศ. …. ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>            ๓.  กฎ  ก.ค.ศ ฉบับที่ …. พ.ศ. ….ว่าด้วยวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>            ๔.  ระเบียบการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตำแหน่ง     </p><p> .  กลุ่มงานสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง</p><p>      .    งานสรรหาและบรรจุ </p><p>               ..การสอบแข่งขัน  สอบคัดเลือกและการคัดเลือก </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  สำรวจอัตราว่างข้าราชการครูและบุคลากรในสถานศึกษาและหน่วยงาน
ทางการศึกษา </p><p>                      ๒.  วางแผนจัดทำโครงการและงบประมาณค่าใช้จ่ายในการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก การคัดเลือก </p><p>                      ๓.  ประสานการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินการ </p><p>                      ๔. ขออนุมัติดำเนินการเปิดรับสมัครสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก คัดเลือก ต่อ อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                      ๕. ดำเนินการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก การคัดเลือก </p><p>                      ๖.  ขออนุมัติประกาศผลการสอบแข่งขันฯ สอบคัดเลือก การคัดเลือก และการเรียกตัวฯบรรจุแต่งตั้งหรือเลื่อนและแต่งตั้ง </p><p>               ..   การแต่งตั้งหรือเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบคัดเลือกหรือผู้ได้รับการคัดเลือก </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  มีหนังสือเรียกตัวผู้สอบคัดเลือกหรือผู้ได้รับการคัดเลือกมาเลือกสถานศึกษา </p><p>                           ๒.   ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้บริหารสถานศึกษาแล้วแต่กรณี ลงนามคำสั่งแต่งตั้ง </p><p>                      ๓.  ส่งตัวผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือเลื่อนและแต่งตั้งไปรายงานตัวในสถานศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลื่อนและแต่งตั้ง </p><p>                      ๔. สถานศึกษารายงานตัวเข้ารับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งหรือเลื่อนและแต่งตั้ง </p><p>               ..   การบรรจุเข้ารับราชการใหม่ </p><h1>  ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h1><p>                      ๑. มีหนังสือเรียกตัวผู้สอบแข่งขันได้มาเลือกสถานศึกษา </p><p>                      ๒. ส่งตัวผู้สอบแข่งขันได้ไปรายงานตัวที่สถานศึกษา </p><p>                      ๓. สถานศึกษารับรายงานตัว ปฐมนิเทศและรายงานสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาทราบ </p><p>                      ๔.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา    นำเสนอ   อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาอนุมัติ  ให้ผู้บริหารสถานศึกษาบรรจุและแต่งตั้งและแจ้งสถานศึกษาทราบ </p><p>                      ๕.  ผู้บริหารสถานศึกษาออกคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่   การศึกษาอนุมัติ </p><p>                      ๖. ผู้บริหารสถานศึกษารายงานและส่งคำสั่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                      ๗.  ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาหรือดำเนินการทดลองปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนดและรายงานผลการดำเนินการต่อสำนักงาน    เขตพื้นที่การศึกษา </p><h2>  ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h2><p>                      ได้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่ง </p><h2>  กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง</h2><p>                      ๑.  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๒.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ </p><p>      .   งานแต่งตั้ง  ย้าย  โอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา          </p><p>               ..   การแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑. ศึกษา วิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๒. เสนอหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                      ๓.  สำรวจความต้องการและความจำเป็นในการแต่งตั้ง ตามที่หน่วยงานทาง    การศึกษาเห็นสมควร รวมทั้งตรวจสอบตำแหน่งว่างและอัตราเงินเดือนที่ใช้รับย้าย และรวบรวม  ข้อมูลตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประสงค์ที่จะให้มีการแต่งตั้ง </p><p>                      ๔.  จัดทำข้อมูลรายละเอียดของผู้ประสงค์แต่งตั้ง ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาให้ความเห็นชอบ </p><p>               ..  การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>       ()   การย้ายผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                          ๑.  ศึกษาวิเคราะห์กฎหมาย    ระเบียบ   ที่เกี่ยวข้องกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                          ๒. เสนอหลักเกณฑ์การย้าย ต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                          ๓.  สำรวจความต้องการและความจำเป็นในการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหรือย้ายตามที่หน่วยงานทางการศึกษาเห็นสมควร รวมทั้งตรวจสอบตำแหน่งว่างและอัตราเงินเดือนที่ใช้รับย้าย </p><p>                          ๔.  เขตพื้นที่การศึกษารวบรวมข้อมูล ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประสงค์ขอย้ายและจัดทำรายละเอียดข้อมูลของผู้ประสงค์ขอย้าย </p><p>                           ๕.   จัดทำข้อมูลรายละเอียดของผู้ประสงค์แต่งตั้ง ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาให้ความเห็นชอบ </p><p>    () การย้ายผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาต่างเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                          ๑.  ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแจ้งความประสงค์และเหตุผลความจำเป็นในการขอย้ายไปยังเขตพื้นที่การศึกษาที่ประสงค์ขอย้าย </p><p>                          ๒.  เขตพื้นที่การศึกษาที่รับย้ายตรวจสอบคุณสมบัติข้อมูลรายละเอียด ตรวจสอบตำแหน่งว่างและอัตราเงินเดือนที่ใช้รับย้าย </p><p>                          ๓.   เสนอข้อมูลรายละเอียด ต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาที่รับย้ายพิจารณาอนุมัติ </p><p>                          ๔.  แจ้งผลการพิจารณาให้เขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดทราบ </p><p>                         ๕.   ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแล้วแต่กรณีลงนามแต่งตั้ง (ย้าย) </p><p>  ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                          ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล </p><p>   กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                        ๑.   พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖</p><p>                        ๒.  กฎ ก.ค.ศ. ฉบับที่ ..พ.ศ. ….ว่าด้วยเงินเดือนและเงินวิทยฐานะ </p><p>                        ๓.  หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการย้ายครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>               ๓..  การรับโอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  รวบรวมรายชื่อ ข้อมูล และรายละเอียดของผู้ประสงค์ขอโอน </p><p>                      ๒.  ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอโอน และตรวจสอบตำแหน่งว่างและอัตราเงินเดือนที่ใช้รับโอน </p><p>                      ๓.  เสนอข้อมูลรายละเอียดให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณารับโอนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด </p><p>  ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล </p><p>   กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๒.  กฎ ก.ค.ศ.ฉบับที่ ….พ.ศ. …. ว่าด้วยเงินเดือนและเงินวิทยฐานะ </p><p>                      ๓.  หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>        ..  การบรรจุกลับเข้ารับราชการ </p><p>                    ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑. ตรวจสอบวิเคราะห์กฎหมาย ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๒. ผู้ประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการยื่นความประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการ </p><p>                      ๓. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการ </p><p>                      ๔. เสนอข้อมูลรายละเอียดให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาอนุมัติ </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๒. กฎ ก.ค.ศ.ฉบับที่ …พ.ศ. …. ว่าด้วยเงินเดือนและเงินวิทยฐานะ </p><p>                      ๓. หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการย้ายครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๔. มติคณะรัฐมนตรีและระเบียบที่เกี่ยวข้อง </p><p>        .. การรักษาราชการแทน </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  ให้สถานศึกษาเสนอรองผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อแต่งตั้งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน </p><p>                      ๒.  กรณีสถานศึกษาไม่มีรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้สถานศึกษาเสนอครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเหมาะสมเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้รักษาราชการแทน </p><p>                      ๓. เสนอผู้มีอำนาจแต่งตั้งครูหรือบุคลากรทางการศึกษาให้รักษาราชการแทน </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล </p><p>          กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                    ๑.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๒.  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ </p><p>      .   งานออกจากราชการ </p><p>               ..  การเกษียณอายุราชการ </p><p>ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑. ประสานการดำเนินการตรวจสอบรายชื่อผู้จะเกษียณอายุราชการในแต่ละปี </p><p>                      ๒.  ส่งรายชื่อให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ประกาศในเดือนมีนาคมของทุกปี </p><p>                      ๓.  แจ้งประกาศรายชื่อผู้เกษียณอายุราชการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเจ้าตัวทราบ </p><p>               ..  การลาออกจากราชการ </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑. รับเรื่องการลาออกจากราชการของครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๒.  เสนอผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งพิจารณาอนุญาตการลาออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด </p><p>               ..  การให้ออกจากราชการ </p><h1>       ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ</h1><p>                      ๑. ตรวจสอบข้อมูลของผู้ออกจากราชการ </p><p>                      ๒. เสนอผู้มีอำนาจพิจารณาออกคำสั่ง </p><p>                      ๓. แจ้งสถานศึกษาและผู้ออกให้ลงนามรับทราบคำสั่งและแจ้งกลุ่มงานบริหารการเงินและสินทรัพย์ </p><p>                      ๔. สถานศึกษาส่งคำสั่งที่รับทราบกลับคืนพร้อมบัตรประจำตัวข้าราชการ </p><p>                      ๕. รายงาน ก.ค.ศ.ให้ทราบ </p><p>                ..๔  การออกจากราชการกรณีถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ</p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑. รับข้อมูลการไม่ผ่านการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม พ.ร.บ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๒. ตรวจสอบข้อมูลและเสนอผู้มีอำนาจสั่งบรรจุให้มีคำสั่งให้ออกจากราชการ </p><p>                      ๓. แจ้งสถานศึกษาและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ลงนามรับทราบคำสั่งและแจ้งกลุ่มงานบริหารการเงินและสินทรัพย์ทราบ </p><p>                      ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ขอลาออกจากราชการได้ออกจากราชการตามความประสงค์ </p><p>         กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑.  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ </p><p>                      ๒.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๓.  พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ </p><p> . กลุ่มงานบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ</p><p>       .   งานบำเหน็จความชอบ</p><p>               ..   การเลื่อนขั้นเงินเดือน/ค่าจ้าง </p><p>                           (การเลื่อนขั้นเงินเดือน/ค่าจ้างกรณีปกติ </p><p>              ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                          ๑.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา     ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด </p><p>                          ๒.  คณะกรรมการเสนอหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณาความดี ความชอบของเขตพื้นที่การศึกษา ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาให้ความเห็นชอบ </p><p>                          ๓. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แจ้งหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติให้สถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทราบและถือปฏิบัติ </p><p>                          ๔.  ดำเนินการรวบรวมข้อมูลผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่สมควรได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนเสนอขอความเห็นชอบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                           () การเลื่อนขั้นเงินเดือน/ค่าจ้างกรณีพิเศษ   มี ๔ กรณี ประกอบด้วย </p><p>                          ๑)   กรณีกลับจากศึกษาต่อ </p><p>                          ๒) กรณีบรรจุใหม่ </p><p>                          ๓)  กรณีลาออกไปสมัครผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและกลับเข้ามาปฏิบัติราชการ </p><h5>ขั้นนตอนและแนวการปฏิบัติ</h5><p>              ๑. รับเรื่องจากสถานศึกษา/ตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสาร หลักฐาน (แบบขอเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ที่ขาดคุณสมบัติพร้อมผลการปฏิบัติงานในระดับดีหรือดีเด่น/คำสั่งให้ไปและกลับจากศึกษาต่อ/คำสั่งบรรจุแต่งตั้ง คำสั่งลาออกและกลับเข้ารับราชการแล้วแต่กรณี รวมทั้งคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งสุดท้าย)</p><p>               ๒. วิเคราะห์และเสนอความเห็นผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการ แล้วเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาอนุมัติ</p><p>               ๓. แจ้งสถานศึกษาทราบ</p><p>               ๔.บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงในทะเบียนควบคุมบัญชีถือจ่ายและทะเบียนประวัติ</p><p>                                 ๔)   กรณีการขอบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ เมื่อข้าราชการถึงแก่ความตาย ทุพพลภาพ หรือพิการ เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ </p><p>                               ๔.๑)  สถานศึกษารายงานมายังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามแบบรายงาน เพื่อขอรับบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้บำเหน็จความชอบกรณีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๒๑ และตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานดังนี้ </p><p>                                -    สำเนาคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย </p><p>                                -   บันทึกรายละเอียดพฤติการณ์ของผู้เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับ การพิจารณาบำเหน็จความชอบ โดยผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ลงชื่อรับรองความถูกต้อง </p><p>                                 -   สำเนารายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวน บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือผลการสอบสวนของคณะกรรมการที่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและแผนที่แสดงที่เกิดเหตุโดยสังเขป </p><p>                                 - ในกรณีถึงแก่ความตาย เนื่องจากได้รับการป่วยเจ็บให้แนบ รายงานของแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ซึ่งได้ตรวจอาการป่วยของข้าราชการผู้นั้นว่าป่วยเจ็บถึงตายเพราะโรคอะไร และเกี่ยวเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไม่ มีเอกสารหลักฐานดังนี้ </p><p>                                      -   สำเนามรณบัตร </p><p>                                      -   สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย </p><p>                                      -   สำเนาคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งสุดท้าย </p><p>                               ๔.๒) รวบรวมเอกสารและหลักฐานประกอบคำขอส่งสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อดำเนินการต่อไป ดังนี้ </p><p>                                      -   รับผลการพิจารณา และจัดทำคำสั่ง </p><p>                                      -   ส่งคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง </p><p>                                      -   บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงในทะเบียนควบคุมบัญชีถือจ่ายและทะเบียนประวัติ </p><p>                                     -    ร่วมกับสถานศึกษาจัดสวัสดิการให้แก่ครอบครัวผู้ถึงแก่กรรม อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด </p><h2>            ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h2><p>                                      ๑.  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่ การศึกษามีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการมากยิ่งขึ้น </p><p>                                      ๒.  กลุ่มบริหารงานบุคคลสามารถให้บริการความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ </p><h2>    กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง</h2><p>                                      ๑.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษา  พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                                      ๒.  หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๒๐๔/ว ๖๔ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๔ เรื่อง การปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานราชการ </p><p>                                      ๓.  หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๒๐๓/ว ๑๐๒ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๘ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ </p><p>                                      ๔. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๔ </p><p>                                      ๕. กฎ ก.ค.ศ. ฉบับที่.. พ.ศ….. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                                      ๖. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๐๗๐๘.๑/ว ๑๖ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๐ เรื่อง การใช้ระบบเปิดในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ </p><p>                                      ๗.  ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเลื่อนขั้นค่าจ้าง ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔ </p><p>                                      ๘. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค ๐๕๒๗/.๔/ว ๑๑๑๗๑ ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๔ เรื่อง  การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ </p><p>                                      ๙. หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๕๓๐.๔/ว ๕๓ ลงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔ เรื่อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงิน ตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๔ </p><p>                                     ๑๐.  หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร ๐๗๐๘.๑/ว ๕ ลงวันที่   ๒ สิงหาคม ๒๕๔๔ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญ </p><p>                                     ๑๑.  พระราชบัญญัติสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือการเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๔๙๘ </p><p>                                     ๑๒. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้บำเหน็จ ความชอบกรณีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๒๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม </p><p>               ..   การดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีถือจ่าย </p><p>                           ()  การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือนข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ </p><p>                                 ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ </p><p>                                 ๑.  การจัดทำบัญชีถือจ่ายประจำปีชั่วคราว  บัญชีถือจ่าย คือเอกสารที่ใช้ประกอบการเบิกจ่าย จึงกำหนดให้จัดทำแยกตามหน่วยเบิก </p><p>                               -   วิเคราะห์ผลการเลื่อนขั้นประจำปีและตรวจสอบความถูกต้อง </p><p>                               -    ประมวลผลข้อมูลและจัดทำบัญชีถือจ่ายตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด </p><p>                               -  เสนอเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขออนุมัติกรมบัญชีกลาง </p><p>                               -   เมื่อได้รับแจ้งผลการอนุมัติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งบัญชี ถือจ่ายให้หน่วยเบิกดำเนินการเบิกจ่าย </p><h1>  ๒. การจัดทำบัญชีถือจ่ายประจำปี</h1><p>                   -   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำรวจข้อมูลการตัดอัตราข้ามหน่วยเบิก ตรวจสอบความถูกต้องระหว่างหน่วยเบิกและสรุปจำนวนอัตราของ ปีงบประมาณเดิมจำแนกรายอัตรา </p><p>                   -   จัดทำทะเบียนควบคุมบัญชีถือจ่ายของปีงบประมาณใหม่ซึ่งมีลักษณะเป็นบัญชีถือจ่ายรายตัว แสดงรายละเอียดของเงินถือจ่ายปีงบประมาณเดิม เงินถือจ่ายปีงบประมาณใหม่ เงินปรับลด เงินเลื่อนขั้น และเงินเพิ่มพิเศษต่าง ๆ </p><p>                   -   ประมวลผลข้อมูลและจัดทำบัญชีถือจ่าย บัญชีรายละเอียดประกอบบัญชีถือจ่ายตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด </p><p>                   -  ตรวจสอบความถูกต้อง ความต่อเนื่องของจำนวนอัตราที่ถือจ่าย ปีงบประมาณเดิมและปีงบประมาณใหม่เป็นรายอัตรา/ความสอดคล้องของข้อมูล เงินถือจ่าย ปีที่แล้ว เงินถือจ่ายปีนี้ เงินปรับลด และเงินเลื่อนขั้น </p><p>                   -   เสนอเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขออนุมัติกรมบัญชีกลาง </p><p>                   -   เมื่อได้รับแจ้งผลการอนุมัติ ส่งบัญชีถือจ่ายให้หน่วยเบิกดำเนินการเบิกจ่าย </p><h1> ๓. การจัดทำบัญชีถือจ่ายเพิ่มเติม</h1><p>                               -  สำรวจและรวบรวมข้อมูลข้าราชการที่ได้ปรับอัตราเงินเดือนให้ สูงขึ้นกรณีต่าง ๆ เช่น ปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับตามวุฒิที่สูงขึ้น ปรับอัตราเงินเดือนตามที่ ได้รับโอน ปรับอัตราเงินเดือนเนื่องจากเลื่อนระดับ เลื่อนเงินเดือนเพิ่มเติม ฯลฯ </p><p>                               -   ประมวลผลข้อมูลและจัดทำบัญชีถือจ่ายตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด </p><p>                               -   เสนอเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขออนุมัติกรมบัญชีกลาง </p><p>                               -  เมื่อได้รับแจ้งผลการอนุมัติ ส่งบัญชีถือจ่ายให้หน่วยเบิกดำเนินการเบิกจ่าย </p><p>                           () เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง </p><h4>               ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h4><p>                          ๑.  รวบรวมข้อมูลข้าราชการครูที่มีสิทธิได้รับเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน </p><p>                          ๒.  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำทะเบียนตำแหน่งส่งไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ.เพื่อเสนอสำนักงบประมาณ พิจารณาให้ความเห็นชอบ  ขอถือจ่ายไปยังกรมบัญชีกลาง </p><p>                           ๓.   เมื่อได้รับแจ้งผลการอนุมัติ ส่งบัญชีถือจ่ายให้หน่วยเบิกดำเนินการเบิกจ่าย </p><h2>   ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h2><p>                     ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา มีความ พึงพอใจในการบริการ </p><p>           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>          กฎหมายว่าด้วยเงินเดือน  เงินวิทยฐานะ  และเงินประจำตำแหน่ง สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>               ..๓    งานขอรับเงินรางวัลประจำปี </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการให้ เงินรางวัลประจำปีของครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๒.  คณะกรรมการเสนอหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการขอรับเงินรางวัลต่อ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                      ๓.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเสนอขอ ความเห็นชอบต่อ อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                      ๔.   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติให้สถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาทราบ </p><p>                      ๕.  ผู้บริหารสถานศึกษาเสนอรายละเอียดครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ ได้รับเงินรางวัลประจำปีให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ </p><p>                      ๖.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเสนอ อ.ก.ค.ศ. ให้ความเห็นชอบ </p><p>  ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ๑.  ครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ </p><p>                      ๒.  ครูและบุคลากรทางการศึกษาพอใจที่จะได้รับเงินรางวัลประจำปี </p><p>       กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>             ๑.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ…….   
 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเงินรางวัลประจำปีนำเสนอผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจลงนามนำเสนอผู้มีอำนาจ</p><p> </p><p>      .  งานทะเบียนประวัติ </p><p>               ..  การควบคุมการเกษียณอายุราชการ </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                ๑.  เจ้าหน้าที่บันทึกวัน เดือน ปี เกิด ลงใน </p><p>                          ๑.๑    บัตรเกษียณอายุราชการ </p><p>                          ๑.๒   เครื่องคอมพิวเตอร์ </p><p>                  ๒.  คำนวณผู้ที่จะมีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ และต้องพ้นจากราชการเมื่อ สิ้นปีงบประมาณนั้น </p><p>                          ๒.๑  วิธีคำนวณ </p><p>                                  ๒.๑.๑  ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ ๒ ตุลาคม – ๓๑ ธันวาคม ให้ใช้  ๖๑ บวก  พ.ศ. เกิด </p><p>                                  ๒.๑.๒  ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ ๑ มกราคม – ๑ ตุลาคม ให้ใช้ ๖๐ บวก พ.ศ. เกิด </p><p>                      ๓.  แจ้งรายชื่อข้าราชการดังกล่าวไปส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๔.  ตรวจสอบและยืนยันพร้อมแจ้งรายชื่อผู้ที่จะเกษียณอายุราชการให้ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ </p><p>                      ๕.  ประกาศรายชื่อผู้เกษียณอายุราชการ </p><p>                      ๖.  ส่งประกาศให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบแล้วดำเนินการ </p><h2>     ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h2><p>                      ผู้เกษียณอายุราชการ  และหน่วยงานราชการดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ </p><h2>    กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง</h2><p>                      ๑.  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๕/ว ๔๒ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๘ </p><p>                      ๒.  หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค ๐๕๑๓/๒๒๖๓ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม  ๒๕๓๘ </p><p>               ..  การแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด ของข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้าง </p><h2> ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h2><p>                      ๑.  ผู้มีความประสงค์ขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนด โดยแนบเอกสารต่อผู้บังคับบัญชาขั้นต้นประกอบด้วย </p><p>                          -   ทะเบียนราษฎร </p><p>                          -   หลักฐานทางการศึกษา </p><p>                          -   หลักฐานทางราชการ </p><p>                          -   หลักฐานทางราชการแสดงวัน เดือน ปี เกิด </p><p>                          -   หลักฐานอื่น ๆ ของทางราชการที่ระบุ วัน เดือน ปีเกิด โดยชัดเจน </p><p>                      ๒.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง </p><p>                      ๓. นำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นถึงผู้มีอำนาจ </p><p>                      ๔. ดำเนินการแก้ไขในทะเบียนประวัติ ถ้าได้รับอนุญาต </p><p>                      ๕.  แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไข </p><h3>       ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h3><p>           ทะเบียนประวัติถูกต้องตามความเป็นจริง </p><h3>        กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง</h3><p>                      ๑.  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด ในทะเบียนประวัติข้าราชการ </p><p>                      ๒.  หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ ๔๔๘๖/๒๕๐๓ ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๐๓ </p><p>               ๔.๒.๓   การจัดทำ และเก็บรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้าง </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  เจ้าของประวัติกรอกรายละเอียดข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติของตนเองพร้อมลงลายมือชื่อ </p><p>                      ๒.  เจ้าหน้าที่ตรวจรายละเอียดความถูกต้อง </p><p>                      ๓.  เก็บรักษาทะเบียนประวัติไว้เป็นความลับในที่ปลอดภัย </p><p>                      ๔.  เปลี่ยนแปลง บันทึกข้อมูล ลงใน ก.พ. ๗ / สมุดประวัติ / แฟ้มประวัติ </p><p>                      ๕.  ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหาย / ทำขึ้นใหม่ตามสภาพ </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      หน่วยงานมีข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารบุคคลได้อย่าง มีประสิทธิภาพ </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการจัดทำ เก็บรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                    ๔.๒.๔     การจัดทำข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้าง </p><p>                       ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                    ๑.  เจ้าหน้าที่ดำเนินการ </p><p>                      ๑.๑   ให้ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้างกรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ </p><p>                      ๑.๒  เจ้าหน้าที่นำข้อมูลที่ได้ </p><p>                                  ๑.๒.๑  เก็บไว้ในแฟ้มปกติ </p><p>                                  ๑.๒.๒  เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ </p><p>                      ๒.  เจ้าหน้าที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงประวัติ บันทึกรายการเกี่ยวกับประวัติที่เกิดขึ้น </p><p>                      ๓.    เก็บข้อมูลไว้เป็นความลับในที่ปลอดภัย </p><p>                      ๔.  นำข้อมูลไปใช้ในการบริหารงานบุคคล </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      สามารถนำข้อมูลที่ได้มาบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ </p><p>                     กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการจัดทำ เก็บรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา……… </p><p>            ๔.๒.๕ การขออนุญาตการลา และเบิกจ่ายเงินเดือนระหว่างลาในส่วนที่เกิน ๖๐ วันทำการ </p><p>                    ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  ผู้มีสิทธิขออนุญาต เสนอใบลาพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบ การพิจารณาอนุญาต โดยนำใบลาทุกฉบับ (ฉบับจริง) พร้อมเอกสารประกอบ เช่น ใบรับรองแพทย์ นำเสนอผู้บังคับบัญชาขั้นต้น </p><p>                      ๒.  ผู้บังคับบัญชาเสนอผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไป </p><p>                      ๓.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                          ๓.๑  ใบลา </p><p>                          ๓.๒   ตรวจนับวันลา (ภายในปีงบประมาณ) </p><p>                          ๓.๓   ใบรับรองแพทย์ </p><p>                      ๔.  ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงสุด นำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติการลาและเบิกจ่าย ในส่วนที่เกิน ๖๐ วันทำการ</p><p>                     ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ผู้มีสิทธิได้รับอนุญาตการลา และได้รับเงินเดือนในระหว่างลา มีความพอใจ ในการปฏิบัติงาน และได้รับความคุ้มครอง </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                           ๑.   ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕ </p><p>                      ๒.  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินบำเหน็จบำนาญและเงินอื่น ในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ </p><p>               ๔.๒.๖    การดำเนินการเกี่ยวกับแฟ้มประวัติของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ลาออกจากราชการและถึงแก่กรรม </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.   เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการรองรับข้อมูลประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๒.  เจ้าหน้าที่เสนอผู้บังคับบัญชาลงนามรับรองในเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับ การรับรองข้อมูลประวัติ ทะเบียนประวัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๓.  เจ้าหน้าที่มอบเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองข้อมูลประวัติทะเบียนประวัติและแฟ้มประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผู้บังคับบัญชาลงนามรับรอง    ข้อมูลแล้ว ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเรื่องเงินบำเหน็จบำนาญและเงินอื่น ๆ ต่อไป </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ผู้ที่ลาออกจากราชการและทายาทของผู้ถึงแก่กรรมพอใจในเรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการขอรับเงินบำเหน็จบำนาญและเงินอื่น ๆ </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๒. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ </p><p>                ๔.๒.๗   การบันทึกวันลาประจำปีในแฟ้มประวัติข้าราชการ</p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.   สถานศึกษาและหน่วยงานในสังกัดจัดทำบัญชีรายงานการลาประเภทต่างๆ  ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  โดยนับตามปีปฏิทิน (๑ มกราคม - ๓๑ ธันวาคม) เสนอเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>                      ๒.   สถานศึกษาและหน่วยงานในสังกัดจัดส่งบัญชีรายงานการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามลำดับขั้น </p><p>                      ๓.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและรายงานผู้บังคับบัญชา </p><p>                      ๔.  เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามาลงปกแฟ้มประวัติข้าราชการของแต่ละคน </p><p>                      ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      หน่วยงานมีข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารบุคคลได้อย่าง มีประสิทธิภาพ </p><p>                     กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๒. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕ </p><p>               ๔.๒.๘   การให้บริการสำเนาทะเบียนประวัติและ ก.พ.๗ </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.   เจ้าของประวัติยื่นความจำนงในการขอสำเนาทะเบียนประวัติและ ก.พ.๗  ด้วยตนเอง หรือเจ้าของประวัติมอบฉันทะให้บุคคลอื่นยื่นเสนอการขอจัดทำสำเนาทะเบียนประวัติและ ก.พ. ๗ โดยเจ้าของประวัติทำหนังสือมอบฉันทะพร้อมแนบบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของเจ้าของประวัติและผู้รับมอบฉันทะด้วย </p><p>                      ๒. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจดูความถูกต้อง </p><p>                      ๓.  เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทำการจัดทำสำเนาทะเบียนประวัติและ ก.พ. ๗ พร้อมรับรองข้อมูลถูกต้อง และส่งมอบให้แก่ผู้ยื่นความจำนงหรือผู้ได้รับมอบฉันทะ </p><p>            ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      เจ้าของประวัติที่ยื่นความจำนงมีความพอใจในการได้รับการบริการสำเนาทะเบียนประวัติและ ก.พ.๗ เพื่อนำไปใช้ได้ตามประสงค์ </p><p>             กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๒. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ </p><p>               ..   การจัดส่งทะเบียนประวัติ และ ก..๗ ของข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาที่ย้ายไปสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือส่วนราชการอื่น </p><p>         ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  เจ้าหน้าที่เสนอผู้บังคับบัญชารับรองข้อมูลในทะเบียนประวัติและ ก.พ.๗ และแฟ้มประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ย้ายไปสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือส่วนราชการอื่น </p><p>                      ๒. เจ้าหน้าที่จัดทำหนังสือนำส่งแฟ้มประวัติ ทะเบียนประวัติ และ ก.พ.๗ ถึงเขตพื้นที่การศึกษาหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง </p><h1>    ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h1><p>                      ผู้ที่ย้ายไปสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือส่วนราชการอื่นมีความพึงพอใจ ในการได้รับเอกสารและหน่วยงานต้นสังกัดใหม่มีข้อมูลที่จะใช้ในการบริหารงานบุคคล </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๒. หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>              ..๑๐  การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนประวัติ </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑. ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติเสนอคำร้องตามลำดับขั้น </p><p>                      ๒. ผู้บังคับบัญชาเสนอผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไป </p><p>                      ๓. เจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                          -   ทะเบียนสมรส (คร.๓) </p><p>                          -   ทะเบียนหย่า (คร.๗) </p><p>                          -   เอกสารการขอเปลี่ยนชื่อ (ทร.๓) </p><p>                          -   เอกสารการขอเปลี่ยนชื่อสกุล (ท.๔) </p><p>                          -   ทะเบียนบ้าน (ทร.๑๔) </p><p>                          -   ใบรับรองคุณวุฒิ หรือปริญญาบัตร </p><p>                      ๔.  เปลี่ยนแปลง บันทึกข้อมูลลงใน ก.พ.๗ / สมุดประวัติ / แฟ้มประวัติ </p><p>                      ๕.  แจ้งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      หน่วยงานมีข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นปัจจุบันที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>              ..๑๑  การรายงานบุคลากรทางการศึกษาถึงแก่กรรม </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  ส่วนราชการรายงานการถึงแก่กรรมของบุคลากรทางการศึกษาตามลำดับขั้น </p><p>                      ๒.  เจ้าหน้าที่รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น </p><p>                      ๓.  ตอบรับทราบหน่วยงานที่รายงานการถึงแก่กรรม </p><p>                      ๔.  ออกหนังสือแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้ถึงแก่กรรม </p><p>                      ๕.  รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      การบริหารงานบุคคลมีข้อมูลอัตรากำลังที่เป็นปัจจุบัน ครอบครัวผู้ถึงแก่กรรมมีขวัญและกำลังใจ </p><p>                           กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                     ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>      .   งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ </p><h2>       ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h2><p>            ๑.  ตรวจสอบผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ </p><p>            ๒.  ดำเนินการในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลาแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด </p><p>            ๓. จัดทำทะเบียนผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์ และผู้คืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ </p><h2>   ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h2><p>            ข้าราชการมีความพึงพอใจและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน </p><h2>  กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง</h2><p>            ๑. พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์  พ.ศ.  ๒๕๓๘ </p><p>            ๒. พระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา  พ.ศ.  ๒๔๘๔ </p><p>            ๓. พระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๔๘๕ </p><p>            ๔. พระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา (ฉบับที่ ๓)  พ.ศ. ๒๕๐๗ </p><p>            ๕.  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ  ๒๕๓๖ </p><p>       .  งานบริการบุคคล</p><p>               ๔.๔.๑   การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                   ๑.  ผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้น กรอกรายละเอียดตามแบบที่กำหนดก่อนเดือนเมษายนของปี </p><p>                   ๒.  แนบเอกสาร </p><p>                          -   สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ </p><p>                          -   ตารางการสอน/สัปดาห์ </p><p>                          -   จำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบ </p><p>                          -   สำเนา สด. ๓๕ , สด. ๙ </p><p>                      ๓.  เจ้าหน้าที่นำเสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อลงนามนำเสนอผู้มีอำนาจ </p><p>                      ๔.  ผู้มีอำนาจออกใบสำคัญยกเว้น  แล้วแจ้ง </p><p>                          ๔.๑   ท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของผู้นั้น </p><p>                          ๔.๒ แจ้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร ไม่เกิดผลเสียหายต่อการเรียนการสอนของเด็ก </p><p>   กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>  พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม </p><p>               ๔.๔.๒   การขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  ผู้ขอมีบัตรกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ โดยมีเอกสารหลักฐานดังนี้ </p><p>                          -   ติดรูปถ่ายในแบบขอมีบัตร ๓ รูป </p><p>                          -   สำเนาทะเบียนบ้าน ๑ ฉบับ </p><p>                          -   ใบรับรองหมู่โลหิต ๑ ฉบับ </p><p>                          -   เสนอผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับ </p><p>                      ๒.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารความถูกต้อง </p><p>                      ๓.  เจ้าหน้าที่นำเสนอผู้มีอำนาจลงนามในบัตรประจำตัว โดยผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับ โดยคุมทะเบียนประวัติไว้ </p><p>                      ๔.  ส่งคืนบัตรประจำตัวถึงสถานศึกษา </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ผู้ขอมีบัตรได้รับบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้เป็นบัตรประจำตัว </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.๒๕๔๒ </p><p>               ๔.๔.๓   งานขอหนังสือรับรอง </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  ผู้ขอหนังสือรับรองแจ้งเหตุผลและความจำเป็นในการขอหนังสือ </p><p>                      ๒.  เสนอต่อผู้บังคับบัญชาขั้นต้น </p><p>                      ๓.  เจ้าหน้าที่ตรวจรายงานเหตุผล ความจำเป็น </p><p>                      ๔.  นำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติลงนามหนังสือรับรอง </p><p>                      ๕.  ส่งหนังสือรับรอง </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ผู้ขอหนังสือรับรองได้รับความพอใจและใช้สิทธิในการเป็นข้าราชการ </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ .๒๕๒๖ </p><p>               ๔.๔.๔   งานขออนุญาตให้ข้าราชการไปต่างประเทศ </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  ผู้มีความประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศ กรอกรายละเอียดตามแบบที่กำหนด </p><p>                      ๒.  ในกรณีที่เดินทางอยู่ในระหว่างเปิดภาคเรียน ต้องแนบใบลาที่ได้รับการอนุญาต </p><p>                      ๓.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ </p><p>                          -   แบบขออนุญาต </p><p>                          -   บัญชีประมาณการค่าใช้จ่าย </p><p>                          -   ใบลากิจ หรือลาพักผ่อน หนังสือเชิญจากองค์การ หน่วยงาน </p><p>  </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ผู้ขออนุญาตเดินทางได้รับความพอใจ เดินทางอย่างมีความสุข </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑.  ระเบียบการลาของข้าราชการ  พ.ศ. ๒๕๓๕ </p><p>                      ๒.  แนวปฏิบัติการเดินทางไปต่างประเทศ </p><p>               ๔.๔.๕   งานขออนุญาตลาอุปสมบท </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  ผู้มีความประสงค์จะอุปสมบทกรอกรายละเอียดตามแผนที่กำหนด ผ่าน ผู้บังคับบัญชาตามลำดับ </p><p>                      ๒. เจ้าหน้าที่ตรวจคุณสมบัติ </p><p>                      ๓. นำเสนอผู้มีอำนาจ </p><p>                          ๓.๑   อนุญาตการลาอุปสมบท </p><p>                          ๓.๒ เสนอพระอุปัชฌาย์ เพื่อขออนุญาตให้ไปอุปสมบท </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ผู้ขออนุญาตมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา และได้รับความพึงพอใจ </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑.   ระเบียบการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕ </p><p>                      ๒. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การอนุญาตให้ข้าราชการลาอุปสมบท </p><p>               ๔.๔.๖    การลาไปประกอบพิธีฮัจย์ </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.   รับใบลาขอไปประกอบพิธีฮัจย์ ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของ ใบลาและเอกสารประกอบ </p><p>                      ๒.  เสนอใบลาให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจพิจารณาอนุญาต และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ลาทราบ </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      การลาไปประกอบพิธีฮัจย์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕ และ     ที่แก้ไขเพิ่มเติม </p><p>               ๔.๔.๗   งานขอพระราชทานเพลิงศพ </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.   เจ้าภาพแจ้งวัตถุประสงค์ของการขอพระราชทานเพลิงศพ </p><p>                      ๒.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ </p><p>                          -   หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ </p><p>                          -   วัน เดือน ปี ที่จะขอพระราชทานเพลิงศพ </p><p>                          -   สถานที่ </p><p>                          -   นำเสนอผู้มีอำนาจลงนาม เสนอเลขาธิการพระราชวัง </p><p>                          -   ติดต่อประสานงาน (เลขาธิการพระราชวัง   เจ้าภาพ) </p><p>                      ๓.  ดำเนินการตามขั้นตอนของสำนักพระราชวัง </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      เจ้าภาพพอใจที่ได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับบริการที่รวดเร็ว </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      แนวทางการขอพระราชทานเพลิงศพของสำนักพระราชวัง </p><h1> ๕. กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร     </h1><table> <tbody><tr> <td> <table> <tbody>

งานประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคล

</tbody></table></td></tr></tbody></table><p>
      .   งานฝึกอบรมและลาศึกษาต่อ </p><p>               ..   การฝึกอบรม </p><h2>    ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h2><p>              ๑.    สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย สภาพความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมพัฒนา
( Training  needs ) </p><p>                      ๒.  จัดทำแผนงาน/โครงการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร </p><p>                      ๓.  จัดทำและพัฒนาหลักสูตร คู่มือ นวัตกรรมและจัดหาเทคโนโลยี </p><p>                      ๔.  ประสานและส่งเสริมการดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่ง ทั้งกรณีเตรียมเข้าสู่ตำแหน่ง ( Pre - service  Training ) และพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ( Inservice  Training) รวมทั้งการอบรมลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว กรณีเข้าสู่ตำแหน่งใหม่และกรณีประจำการ </p><p>                      ๕. การประเมินผลการฝึกอบรม </p><p>                      ๖.  ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบและกระบวนการฝึกอบรมเพื่อ การพัฒนาวิชาชีพ </p><p>                      ๗.  ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา เสริมสร้างขวัญกำลังใจ ปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรมและยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานทางการศึกษา </p><p>                      ๘.  ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีการอบรมหรือประสานการฝึกอบรมและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งในวิชาชีพ </p><p>                      ๙.  สร้างเครือข่ายประสานการฝึกอบรมกับสถาบันการศึกษาและสถานศึกษา </p><p>                    ๑๐.  ประสานกับหน่วยงานทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อให้มี    การเทียบโอนประสบการณ์ ในการฝึกอบรมกับการพัฒนาวิทยฐานะของบุคลากรในสถาบัน   อุดมศึกษา </p><h6>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h6><p>                      ๑.   ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญยิ่งในการที่จะดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง </p><p>                      ๒.  ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑.  ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของ ส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๓๔ </p><p>                      ๒.  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ </p><p>                      ๓.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖         </p><p>                           ๔.   กฎ ก.ค. ศ. ฉบับที่ (พ.ศ. ….) ว่าด้วยการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะ ข้าราชการครู </p><p>               ..   การลาศึกษาต่อ </p><h3>           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h3><p>                      ๑.  ศึกษาความจำเป็นและดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีวุฒิและไม่มีวุฒิ ได้มีโอกาสศึกษาต่อ ตามความต้องการของตนและหน่วยงานทางการศึกษา โดยให้สอดคล้องกับนโยบายและหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือกระทรวงศึกษาธิการและตามข้อตกลงในการส่งไปศึกษาต่อกับสถาบันอุดมศึกษา </p><p>                      ๒.  ดำเนินการวางแผนและส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา   ลาศึกษาต่อทุกประเภท </p><p>       ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ๑.   ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาได้รับ    การศึกษาและพัฒนาอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง </p><p>                      ๒.  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล </p><p>                      ๓.  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการสูงขึ้น </p><h3>               กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง</h3><p>                      ๑.  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาและฝึกอบรม ภายในประเทศ  พ.ศ. ๒๕๓๘  </p><p>                      ๒.  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาและฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ พ.ศ. …… </p><p>      .   งานส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ </p><p>          ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>            ๑. ประสานการดำเนินการจัดสรรงบประมาณ สนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเป็น มืออาชีพ  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพและคุณภาพการศึกษา </p><p>            ๒.  เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ    </p><p>ยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ </p><p>            ๓.  ประกาศแจ้งสถานศึกษาดำเนินการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>            ๔.  เขตพื้นที่การศึกษาตั้งคณะกรรมการพิจารณาและนำเสนอ อ.ก.ค.ศ. ให้ความเห็นชอบ </p><p>            ๕.  ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและมอบเกียรติบัตร โล่รางวัล พร้อมเผยแพร่ ยกย่องอย่างกว้างขว้าง </p><p>            ๖. ให้นำผลงานไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ </p><h2>      ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h2><p>            ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่สูงขึ้นทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่ทางราชการ </p><p>               กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>            ๑. กฎกระทรวง ฉบับที่……(พ.ศ. …..) ว่าด้วยกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา </p><p>            ๒.  ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินวิทยพัฒน์ </p><p>            ๓.  ระเบียบคุรุสภาว่าด้วยการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษาผู้มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น </p><p>            ๔.  ระเบียบคุรุสภาว่าด้วยการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษาเพื่อรับรางวัลคุรุสดุดี </p><p>      .   งานพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ </p><p>               ..   การขอรับใบอนุญาตและการขอต่อใบอนุญาตวิชาชีพ </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑.  ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาและ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ </p><p>                      ๒. เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตรวจสอบและนำเสนอตามที่      ผู้มีอำนาจหรือองค์กรวิชาชีพมอบหมาย </p><p>                      ๓.  จัดทำทะเบียนควบคุม กำกับ ดูแล ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ </p><p>                      ๔. ประสานองค์กรวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถาบัน การศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และพัฒนาบุคลากรอย่าง ต่อเนื่องเป็นมืออาชีพ </p><p>                      ๕.  ส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ประพฤติตามระเบียบ วินัย มาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ </p><p>             ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ๑.  ครูและบุคลากรทางการศึกษามีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและสามารถต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ </p><p>                      ๒.  ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนามีความมั่นคงในการประกอบวิชาชีพ </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ </p><p>                      ๒.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ </p><p>                      ๓. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ </p><p>               ..  การส่งเสริมความมั่นคง ผดุงความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ </p><p>                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>                      ๑. วิเคราะห์งานความมั่นคงและความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ </p><p>                      ๒.  กำหนดหลักเกณฑ์การส่งเสริมความมั่นคงและผดุงความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ </p><p>                      ๓.  วางแผนดำเนินการส่งเสริมความมั่นคงและผดุงความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ </p><p>                      ๔.  ประเมินผลและรายงาน </p><p>                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>                      ๑.  ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความมั่นคงและได้รับความเป็นธรรม ในการประกอบวิชาชีพ </p><p>                      ๒.  มีการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด </p><p>                           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>                      ๑.  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ </p><p>                      ๒. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ </p><p>                      ๓.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>      .   งานประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคล </p><p>               ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>๑.   ศึกษา วิเคราะห์  วิจัยและกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับการจัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>๒.  กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีประเมินผลการปฏิบัติงานด้านพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล </p><p>๓.  พัฒนามาตรฐานคุณภาพโดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดภาระงานขั้นต่ำและเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>๔.  ส่งเสริมและจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคล </p><p>๕.  ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน </p><p>๖.   นำผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ </p><p>๗.  จัดทำรายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอ ต่อไปยัง ก.ค.ศ. </p><p>               ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>            ๑.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติงานและเครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล ทำให้สามารถดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรได้อย่างโปร่งใส เป็นธรรมตรวจสอบได้ </p><p>            ๒.  มีการจัดทำข้อมูลมาตรฐานคุณภาพงานและประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอ ก.ค.ศ. </p><p>               กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>            ๑. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.  ๒๕๔๖ </p><p>            ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ สร ๐๗๐๘.๑/ว ๕ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๔  เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญ </p><p>            ๓. หนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๒๐๔/ว ๖๔ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๔ เรื่อง การปรับปรุงประสิทธิภาพและประเมินผลของงานราชการ </p><p>            ๔.  กฎ ก.ค.ศ. ฉบับที่ ……. (พ.ศ……) ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผล การปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา </p><p>  </p><p>.   กลุ่มงานวินัยและนิติการ </p>

      .    งานวินัย
<p>               ..    การส่งเสริมวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><h1>   ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h1><p>                    ๑.    ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย สาเหตุการกระทำผิดวินัย การเสริมสร้างวินัย จริยธรรม ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวินัยและจริยธรรม </p><p>                      ๒.  ให้คำปรึกษา แนะนำเรื่องเสริมสร้าง และพัฒนาวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๓.  ส่งเสริมให้สถานศึกษามีการเสริมสร้างและพัฒนาวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๔.  จัดทำและสนับสนุนการจัดทำเอกสาร คู่มือ สื่อ เกี่ยวกับการรักษาวินัยและการป้องกันการกระทำผิดวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๕.  ติดตามประเมินผลการพัฒนาวินัย จริยธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>               ..    การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ                 </p><p>                           ()  การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง </p><h1>   ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h1><p>                          ๑. รับเรื่องร้องเรียน เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง </p><p>                          ๒.  ร่วมเป็นคณะกรรมการสืบสวน/สอบสวนวินัย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด </p><p>                          ๓.  ตรวจสอบสำนวนการสืบสวน สอบสวนพยานหลักฐานและเสนอ ความเห็นเพื่อให้มีการพิจารณาสั่งลงโทษทางวินัย หรือให้ความเห็นในระดับโทษทางวินัยที่ ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง   </p><p>                          ๔.  ประสานกับหน่วยงานหรือเขตพื้นที่การศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินการทางวินัยในกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทำผิดร่วมกัน </p><p>                          ๕.  ให้คำปรึกษาแนะนำ อบรม และพัฒนาผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการทางวินัย </p><p>                          ๖.  จัดทำสรุปรวบรวมเอกสารหลักฐานการดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เสนอต่อองค์คณะบุคคลผู้มีอำนาจพิจารณาหรือหน่วยงานบังคับบัญชา </p><p>                          ๗. ดำเนินการออกคำสั่งลงโทษตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด </p><p>                           () การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง </p><h1>   ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h1><p>                          ๑.  รับเรื่องร้องเรียนและสืบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น ตามกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย </p><p>                          ๒.  ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเมื่อสอบสวน ข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้ว ปรากฏกรณีมีมูลการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง </p><p>                          ๓. ร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสวนและพิจารณา </p><p>                          ๔.  ตรวจสอบสำนวนการสอบสวนพิจารณาพยานหลักฐานและเสนอ ความเห็นเพื่อให้มีการพิจารณาสั่งลงโทษทางวินัย หรือให้ความเห็นในระดับโทษทางวินัยที่ ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษวินัยอย่างร้ายแรง </p><p>                          ๕.  ประสานงานกับหน่วยงานหรือเขตพื้นที่การศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัย กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทำผิดร่วมกัน </p><p>                      ๖.  จัดทำสรุปรวบรวมเอกสารหลักฐาน การดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเสนอองค์คณะผู้มีอำนาจพิจารณาหรือหน่วยงานบังคับบัญชา </p><p>                      ๗. ดำเนินการออกคำสั่งลงโทษตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด </p><p>               ..   การสั่งพักราชการ สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน </p><h1>  ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h1><p>                      ๑. เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และมีสาเหตุให้สั่งพักราชการไว้ก่อน </p><p>                      ๒. เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และมีสาเหตุให้ออกจากราชการไว้ก่อน </p><p>               ..   การรายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ </p><h1>    ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h1><p>                      ๑.  ผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวน จัดทำรายงานผลการดำเนินการเมื่อมี การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษทางวินัยไม่ร้ายแรงข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษาเสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายพิจารณา </p><p>                      ๒.  จัดทำรายงานผลการดำเนินการเมื่อมีการดำเนินการทางวินัยและ การลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายพิจารณา </p><p>      .    งานอุทธรณ์และร้องทุกข์ </p><p>               ..    การอุทธรณ์ </p><h1>    ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h1><p>                      ๑.  ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ กรณี ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบและการใช้สิทธิทางกฎหมายและการรักษาสิทธิ </p><p>                      ๒.  รับเรื่องอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไม่ร้ายแรงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจพิจารณาและเสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายพิจารณา </p><p>                      ๓.  ให้คำปรึกษา แนะนำสิทธิการอุทธรณ์ และการฟ้องร้องต่อ ศาลปกครองตรวจสอบคำอุทธรณ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>               ..   การร้องทุกข์ </p><h1>ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h1><p>                      ๑. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ กรณี     ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ร้องทุกข์ เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระเบียบและการใช้สิทธิทางกฎหมายและรักษาสิทธิ </p><p>                      ๒. ให้คำปรึกษา แนะนำการร้องทุกข์ และตรวจสอบคำร้องทุกข์ของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา </p><p>                      ๓.  รับเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบพิจารณา และเสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายพิจารณา </p><p>     .     งานด้านกฎหมายและการดำเนินคดีของรัฐ </p><p>..๑  การดำเนินงานด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในหน่วยงาน </p><h1>ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h1><p>                      ๑. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งการจัดระบบการจัดเก็บให้บริการทางกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ </p><p>                      ๒.  ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และตอบข้อหารือเกี่ยวกับข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ กรณี ที่เป็นปัญหาทางกฎหมายให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และหน่วยงานในสังกัด  </p><p>                      ๓.  ส่งเสริม อบรม แนะนำให้ความรู้และพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับกฏหมายและระเบียบวินัย </p><p>               ..   การดำเนินงานด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน </p><h1>ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ</h1><p>                      ๑.  ตรวจสอบการดำเนินการจัดทำนิติกรรม หรือเอกสารมีผลผูกพันทางกฎหมาย ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานในสังกัดมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง สัญญาเช่า สัญญาลาศึกษาต่อ สัญญาค้ำประกัน หนังสือรับสภาพหนี้ หนังสือมอบอำนาจการบอกเลิกสัญญา ฯลฯ </p><p>                      ๒.  ดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการทางคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย คดีล่วงละเมิดสิทธิเด็ก คดีปกครอง ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาและหน่วยงานในสังกัด ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้เสียหาย หรือมีส่วนได้เสีย และประสานกับพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดี </p><p>                      ๓.  พิจารณาดำเนินการหาตัวผู้รับผิดชอบทางละเมิด และการใช้สิทธิเรียกร้องติดตาม ทวงถามให้ผู้ต้องรับผิดชำระหนี้แก่ทางราชการ </p><p>                      ๔.  ให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ปรึกษา แนวทางต่อสู้ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย คดีล่วงละเมิดสิทธิเด็ก คดีปกครอง รวมทั้งการเรียกค่าสินไหมทดแทน ในกรณี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานในสังกัด ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา ถูกจับกุมคุมขัง ถูกฟ้องคดีแพ่ง ถูกฟ้องคดีอาญา ถูกฟ้องคดีปกครองหรือถูกกระทำละเมิด </p><p>                      ๕.  ร่วมปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมายและปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย </p><h1>ผลสำเร็จที่คาดหวัง</h1><p>                      ๑.  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา มีมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด </p><p>                      ๒.  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้มีระเบียบ วินัย มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนอย่าง มี   ประสิทธิภาพ </p><p>                      ๓.  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามีความรู้และเข้าใจแนวทางดำเนินการทางวินัย การรักษาวินัย การอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง </p><h1>กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง</h1><p>                      ๑.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>                      ๒.  พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ.  ๒๕๔๖ </p><p>                      ๓.   กฎ ก.ค.ศ.  ฉบับที่…..(พ.ศ…….)  ว่าด้วยการอุทธรณ์และร้องทุกข์        </p><p>                      ๔.   กฎหมาย  กฎ  ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง    </p><p>กลุ่มงานเลขานุการ อ...เขตพื้นที่การศึกษา </p><p>            ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ </p><p>          ๑.  วิเคราะห์อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา จัดกลุ่มงานให้เป็น หมวดหมู่และกำหนดบุคลากรรับผิดชอบ </p><p>          ๒.  ออกแบบจัดทำทะเบียน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาให้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานและประสานงานได้สะดวก  รวดเร็ว  และมีประสิทธิภาพ </p><p>          ๓.  ร่างระเบียบสำหรับใช้บริหารบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ สถานศึกษา  เสนอ อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณากำหนด </p><p>          ๔.  วางแผนการประชุม </p><p>          ๕.  ประสานงานรวบรวมเรื่องที่จะนำเสนอ  อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำเอกสารการประชุม </p><p>          ๖.  เสนอประธาน อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่การศึกษา  กำหนดนัดประชุม จัดทำหนังสือเชิญประชุมและส่งเอกสารการประชุมให้กรรมการพร้อมหนังสือเชิญประชุม </p><p>          ๗.  ประสานงานการจัดสถานที่ประชุม  การจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์สำหรับใช้ใน การประชุม  เบี้ยประชุมกรรมการ  เอกสารหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุมตลอดจน เครื่องดื่ม และอาหารว่าง  </p><p>          ๘. ดำเนินการประชุมและจดบันทึกผลการประชุม </p><p>          ๙.  จัดทำรายงานการประชุมส่งให้อนุกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ ดำเนินการตามมติที่ประชุม </p><p>        ๑๐. ประสานงานติดตาม กำกับและรวบรวมผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามมติที่ประชุม </p><p>        ๑๑. ประเมินผลการดำเนินการประชุมนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น </p><p>          ผลสำเร็จที่คาดหวัง </p><p>            ๑.  การประชุม  อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่การศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล </p><p>            ๒. การบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลให้การจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ </p><p>           กฎหมาย  ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง </p><p>            ๑.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ. ๒๕๔๖ </p><p>            ๒. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง  พ.ศ. ๒๕๓๙ </p><p>            ๓. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ  พ.ศ.  ๒๕๒๖</p><p></p><p>
</p><p>
</p><p>
</p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 638598เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2017 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2017 01:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท