การบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา "กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์"


การบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

"กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์"

-----------

ดร.ถวิล  อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๔

งานบริหารการเงิน

                             

แผนผังกลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์

 ๑.  การรับเงิน

      การรับเงินทั่วไป

       ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

 ๑.  ออกใบเสร็จรับเงินเมื่อได้รับเงินสดหรือได้รับแจ้งการโอนเงินข้าบัญชีธนาคารโดยระบุในใบเสร็จรับเงินว่าจะเป็นเงินประเภทใด กรณีที่ได้รับเงินเป็นเช็คหรือ ดร๊าฟท์ให้ไปขึ้นเงินกับธนาคารก่อนจึงออกใบเสร็จรับเงิน

 ๒ กรณีใบเสร็จฉบับใดเขียนผิดให้เขียนคำว่า “เลิกใช้หรือยกเลิก”

 ๓. สรุปการรับเงินโดยสลักหลังใบเสร็จรับเงินในแต่ละวันว่ารับเงินตั้งแต่ใบเสร็จรับเงินเลขที่ 
     ถึงเลขที่  จำนวนกี่ฉบับ  เป็นเงินเท่าใด เมื่อสิ้นเวลารับเงิน

 ๔.  จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน โดยแยกประเภทเงินว่าเป็นประเภทใด  จำนวนเท่าใด

  ๕.  มอบเงินสดให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินพร้อมลงลายมือชื่อในสมุดรายงานเงินคงเหลือ
        ประจำวัน

  ๖.  มอบใบเสร็จรับเงินให้เจ้าหน้าที่บัญชี  เพื่อบันทึกรายการทางบัญชีและทะเบียนที่เกี่ยวข้องต่อไป

  ๗.  เสนอสมุดรายงานคงเหลือประจำวันต่อหัวหน้าส่วนราชการ

 การรับเงินจากคลังจังหวัด

 ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

 ๑.รับเอกสารการรับเงิน (คู่ฉบับฎีกา หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร)

 ๒.  บันทึกการรับเงินในสมุดคู่มือเบิกเงินจากคลังพร้อมวันที่ที่รับเงิน

 ๓.  เสนอสมุดคู่มือเบิกเงินจากคลังพร้อมสำเนาฎีกา นำเสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อทราบและลงลายมือชื่อรับทราบในสมุดคู่มือเบิกเงินจากคลัง

 ๔.  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกเงินจากคลัง

 ๕.  มอบสำเนาคู่ฉบับฎีกาให้กับเจ้าหน้าที่บัญชีเพื่อบันทึกรายการทางบัญชีและทะเบียนที่เกี่ยวข้องต่อไป

  ผลสำเร็จที่คาดหวัง

   ๑.  การรับเงินถูกต้องและเป็นระบบ

   ๒.  การเก็บรักษาเงินตรงตามกำหนดเวลา

   ๓.   การดำเนินการทางบัญชีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามขั้นตอนที่ระเบียบกำหนด

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๒๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การเบิกเงิน

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑.  ส่งสมุดคู่มือเบิกเงินจากคลังที่ผู้เบิก ผู้เบิกแทนลงลายมือชื่อพร้อมส่งบัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้เบิก  และผู้เบิกแทน  จำนวน  ๒  ชุด  เมื่อคลังจังหวัดดำเนินการเสร็จและส่งคืนแล้วให้ใช้สมุดคู่มือเบิกเงินจากคลังในการวางฎีกาขอเบิกเงินจากคลังต่อไป

๒. ตรวจสอบหลักฐานการขอเบิกให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด

๓.  ตรวจสอบเงินประจำงวด (สำหรับงบประมาณที่มีเงินประจำงวด) หรือเงินนอกงบประมาณที่นำฝากคลังจังหวัดว่ามีพอกับจำนวนที่ขอเบิกหรือไม่

๔.   เสนอรายการที่ขอเบิกพร้อมแสดงยอดคงเหลือของงบประมาณให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ

๕.  จัดทำรายละเอียดแนบฎีกา

๖.   เสนอสมุดคู่มือเบิกเงินจากคลัง ฎีกา พร้อมรายละเอียด ต่อผู้มีอำนาจลงนาม

๗.  วางฎีกาเบิกเงินต่อคลังจังหวัด

๘.  กรณีการเบิกเงินที่ต้องจ่ายในวันสิ้นเดือนให้วางฎีกาภายในวันที่ ๑๕ ของเดือน แต่ถ้าวางจ่ายเงินผ่านธนาคารให้วางฎีกาภายในวันที่  ๑๓  ของเดือน

๙.  จัดเก็บสมุดคู่มือเบิกเงินจากคลังให้เก็บรักษาไว้ในที่ที่ปลอดภัย

     ผลสำเร็จที่คาดหวัง

  การเบิกเงินถูกต้อง  รวดเร็ว  เป็นไปตามกำหนดเวลา

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  ๑. ระเบียบการจ่ายเงินจากคลัง  พ.ศ. ๒๕๒๐  และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  ๒. ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๒๐ และแก้ไขเพิ่มเติม

  ๓. ระเบียบว่าด้วยการใช้สมุดคู่มือวางฎีกา  พ.ศ. ๒๕๒๐

     การเก็บรักษาเงิน

     ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

      ๑.  ตั้งตู้นิรภัยไว้ในที่ที่ปลอดภัยในสำนักงาน

      ๒.  นำกุญแจอีก ๑ สำรับ  ฝากคลังจังหวัดในลักษณะหีบห่อ

      ๓.  แต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงินโดยพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งระดับ ๒ 
ขึ้นไปหรือเทียบเท่าอย่างน้อย ๓ คน
  และมอบหมายให้ถือกุญแจคนละดอก

      ๔.  คณะกรรมการรับเงินจากเจ้าหน้าที่การเงิน  ตรวจสอบจำนวนเงิน  ลงชื่อในสมุดรายงานเงินคงเหลือประจำวัน  นำเงินเข้าเก็บในตู้นิรภัย

      ๕.   คณะกรรมการลงลายมือชื่อบนกระดาษประทับตราครั่งไว้ที่บนเชือกที่พันตู้นิรภัย

       ๖.   คณะกรรมการเก็บรักษาเงินส่งเงินให้กับเจ้าหน้าที่การเงิน เพื่อจ่ายหรือนำส่งในวันทำการถัดไปโดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงลายมือชื่อรับเงินไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน

 ผลสำเร็จที่คาดหวัง

     ๑.  เก็บรักษาเงินไว้ในที่ปลอดภัย

     ๒.  การเก็บรักษาเงินเป็นระบบ  ถูกต้องตามระเบียบ  ตรวจสอบได้ง่าย

ระเบียบ  กฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

 ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๒๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 

 การจ่ายเงิน

 ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

 ๑. ายเงินให้กับเจ้าหนี้โดยตรงหรือจ่ายผ่านธนาคารตามคำร้องขอ

 ๒.  จ่ายเงิน (ทุกประเภท) ให้กับข้าราชการและลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว โดยผ่านธนาคาร

 ๓.  จ่ายเงินที่เป็นเงินสดที่มีเงินต่ำกว่า  ๒,๐๐๐ บาท หรือเช็คในกรณีที่จ่ายเป็นครั้งคราว

 ๔.  การจ่ายเงินด้วยเช็คให้ดำเนินการดังนี้

      ๔.๑   จ่ายให้กับเจ้าหนี้ในกรณีซื้อหรือเช่าทรัพย์สินหรือจ้างทำของ ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามของเจ้าหนี้  ขีดฆ่าคำว่า ”หรือตามสั่ง” “หรือผู้ถือ” ออกและขีดคร่อมด้วย

      ๔.๒  การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้นอกจากกรณีตามข้อ ๔.๑ ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามของเจ้าหนี้   ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ”  “หรือตามสั่ง” ออก  จะขีดคร่อมหรือไม่ก็ได้

       ๔.๓   ในกรณีสั่งจ่ายเงิน เพื่อขอรับเงินสดมาจ่ายให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ และขีดฆ่าคำว่า “ตามสั่ง” หรือ “ผู้ถือ” ออก ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด

      ๔.๔  กรณีผู้ขายหรือผู้รับจ้างขายงานให้กับสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินแจ้งให้หัวหน้าส่วนราชการให้สั่งจ่ายในนามของสถาบันการเงิน โดยขีดฆ่าคำว่า“หรือตามคำสั่ง” “หรือผู้ถือ” ออก

     ๕.  จัดทำทะเบียนคุมเช็คไว้เป็นหลักฐาน โดยมีผู้มีอำนาจสั่งจ่ายลงนามทุกฉบับและผู้รับลงลายมือชื่อรับพร้อมกำกับวัน  เดือน  ปี ที่รับเช็ค

      ๖.  เรียกหลักฐานการจ่าย ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน ถ้าหลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงินอย่างน้อยจะต้องมีรายการ  ดังนี้

         ๖.๑   ชื่อ  สถานที่อยู่  หรือที่ทำการของผู้รับเงิน

         ๖.๒  วัน  เดือน  ปี  ที่รับเงิน

         ๖.๓  รายการแสดงการรับเงินระบุว่าค่าอะไร

         ๖.๔  จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร

         ๖.๕  ลายมือชื่อผู้รับเงิน

       ๗.  ประทับตราจ่ายเงินแล้ว  ผู้จ่ายเงินลงลายมือชื่อรับรองการจ่าย  ลงวัน  เดือน  ปี ที่จ่ายพร้อมทั้งมีชื่อผู้จ่ายเงินด้วยตัวบรรจงกำกับไว้ในหลักฐานการจ่ายทุกฉบับ

       ๘.  จัดทำทะเบียนคุมหลักฐานการจ่ายโดยให้เลขที่ตามระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างตลอดปีงบประมาณ

        ๙.  ส่งหลักฐานการจ่ายเงินทุกประเภทให้กับเจ้าหน้าที่บัญชี เพื่อทำการบันทึกรายการทางบัญชี   ทะเบียนที่เกี่ยวข้องต่อไป

        ผลสำเร็จที่คาดหวัง

       ๑.  การจ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนและเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่กำหนด

       ๒.   การดำเนินงานทางบัญชีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามขั้นตอนที่ระเบียบกำหนด

กฎหมาย ระเบียบเอกสารที่เกี่ยวข้อง

        ๑.  ระเบียบการรักษาเงินการนำเงินส่งคลังในหน้าที่ของส่วนราชการ   พ.ศ. ๒๕๒๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

        ๒.  หนังสือกระทรวงการคลัง  ด่วนที่สุด  ที่   กค. ๐๕๓๐.๑/ ว.๑๔๓  ลงวันที่  ๒๒  ธันวาคม  ๒๕๔๓  เรื่องการจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ให้ผ่านธนาคาร

การนำเงินส่งคลัง

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

      ๑.  เงินที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งที่เป็นเงินสด  และหรือเช็ค  ให้นำส่งหรือนำฝากคลังภายในกำหนด  ดังนี้

          ๑.๑   หากเป็นเช็ค ให้นำส่งหรือนำฝากในวันที่ได้รับเช็ค หรืออย่างช้าภายในวันทำการถัดไป

          ๑.๒  เงินรายได้แผ่นดิน  ให้นำส่งอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง  แต่ถ้ามีเงินเก็บรักษาในวันใดเกินหนึ่งหมื่นบาทให้นำส่งโดยด่วน แต่อย่างช้าต้องไม่เกิน ๓ วันทำการถัดไป

          ๑.๓   เงินเบิกเกินส่งคืน  หรือเงินเหลื่อมจ่ายปีเก่าส่งคืน  ให้นำส่งภายใน  ๑๕  วันทำการนับจากวันรับเงินจากคลัง

          ๑.๔   เงินนอกงบประมาณ  ให้นำฝากคลังอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้งแต่สำหรับเงินที่เบิกจากคลังเพื่อรอการจ่าย   ให้นำฝากคลังภายใน  ๑๕  วัน  นับจากวันรับเงินจากคลัง

       ๒.  แยกการนำเงินส่งคลังตามชนิดเงินที่นำส่ง คือ เงินสด เช็คธนาคารกรุงไทย  จำกัด  (มหาชน)  และเช็คธนาคารอื่นตามประเภทรายการที่นำส่ง  ได้แก่  รายได้แผ่นดิน  เงินนอกงบประมาณ  และเงินเบิกเกินส่งคืน  ตามระเบียบการนำเงินส่งคลัง

       ๓.  จัดทำใบนำส่งหรือนำฝาก

       ๔.  จัดทำใบนำฝากเงิน (Pay – In) ตามแบบฟอร์มของธนาคารจำนวน  ๓ ฉบับ (ต้นฉบับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมสำเนา ๒ ฉบับ) เพื่อฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสำนักงาน แยกตามชนิดที่นำส่ง โดยใบนำฝากเงิน  ๑ ชุด  ใช้สำหรับการนำฝากเงินเข้าบัญชี  ๑  ประเภท  หรือหลายประเภทได้

         ๕.  กรอกรหัสหน่วยงาน  และเลขที่ผู้นำส่ง (ซึ่งเป็นตัวเลข ๖ หลัก หลักที่ ๑  และ  ๒  หมายถึง  หน่วยงานที่นำส่งมีเพียงหน่วยงานเดียวในท้องที่นั้นให้ใช้เลข ๐ ตัวเลขที่  ๓ – ๖  เป็นลำดับที่  โดยเริ่มลำดับที่  ๐๐๐๑)

          ๖.  ให้นำเงินสด/เช็คธนาคารกรุงไทย  จำกัด  (มหาชน) /เช็คธนาคารอื่น  พร้อมใบนำฝากเงินใบนำส่งทั้งชุด  และทะเบียนรับเช็ค  (ถ้ามี)  มอบให้ธนาคารเพื่อนำเข้าบัญชีเงินฝากของสำนักงานคลัง   แล้วรับสำเนาใบนำฝากเงิน  และใบนำส่งฉบับสีดำคืน  เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบและลงบัญชี

           ๗.  สรุปการนำเงินส่งคลังประจำวัน พร้อมส่งหลักฐานต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่บัญชีเพื่อบันทึกรายการทางบัญชีและทะเบียนที่เกี่ยวข้องต่อไป

  ผลสำเร็จที่คาดหวัง

       ๑.  การนำส่ง/นำฝากเงินเป็นไปตามระเบียบที่กำหนด

       ๒.   การดำเนินการทางบัญชีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามขั้นตอนที่ระเบียบกำหนด

 กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

       ๑.  ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ   พ.ศ. ๒๕๒๐  และที่แก้ไขเพิ่มเติม

       ๒.  หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค  ๐๕๑๘.๑/ว.๔๘  ลงวันที่ ๒๓ เมษายน  ๒๕๔๕  เรื่องหลักเกณฑ์และแนวทางการเบิกจ่ายเงิน  และการนำเงินส่งคลังแบบใหม่ระหว่างสำนักงานคลังกับส่วนราชการในภูมิภาค

   การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี

   การขอกันเงินกรณีที่มีหนี้ผูกพัน

   ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

    ๑.  ในเดือนสิงหาคมให้ตรวจสอบรายการที่ก่อหนี้ผูกพันไว้ที่มีวงเงิน ตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป  ว่ารายการใดที่ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ทันภายในปีงบประมาณ

    ๒.  จัดทำใบขอกันเงิน โดยตรวจสอบ ดังนี้

         ๒.๑   การขอกันเงินจะกันได้เป็นเวลา ๖ เดือนถ้ายังเบิกจ่ายเงินไม่ทันตามที่ขอกันเงินไว้  ให้ขยายเวลากันเงินได้อีก  ๖  เดือน

         ๒.๒  การปฏิบัติในการขอกันเงินให้ดูวัน  เดือน  ปี  ที่สิ้นสุดสัญญาถ้าสัญญาสิ้นสุดในวันที่  ๓๑  มีนาคม  ให้ขอกันเงินได้ถึงวันที่  ๓๑  มีนาคม  ถ้าสัญญาสิ้นสุดเกินวันที่  ๓๑ มีนาคม  ให้ขอกันเงินถึงวันที่  ๓๑  และขอขยายเวลาการเบิกจ่ายเงินถึงวันที่  ๓๐  กันยายน ในคราวเดียวกัน

         ๒.๓  รายการใดที่ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีเพียงวันที่ ๓๑ มีนาคม แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ ให้ขอขยายเวลาการเบิกจ่ายเงินต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด โดยจัดทำแบบคำขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน จำนวน  ๘  ชุด  พร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง

       ๓.  ขอกันเงินต่อคลังจังหวัดจนถึงวันทำการสุดท้ายของปีงบประมาณ        
       ๔.  เอกสารที่ต้องยื่นพร้อมใบขอกันเงิน ได้แก่ สำเนาสัญญาหรือข้อตกลงหรือเอกสารอื่นที่แสดงภาพแห่งหนี้ที่ผู้เบิกรับรองสำเนาถูกต้อง

        ๕.  จัดทำรายงานต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด

 การขอกันเงินกรณีที่ไม่มีหนี้ผูกพัน

 ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

       ๑.  ตรวจสอบงบประมาณที่ได้รับเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง เช่าทรัพย์สิน   ที่ก่อหนี้ผูกพันไม่ทันภายในปีงบประมาณ

       ๒.  จัดทำใบขอกันเงิน

       ๓. ขอกันเงินต่อคลังจังหวัด ภายในวันทำการสุดท้ายของปีงบประมาณ

       ๔. รายงานส่วนราชการเจ้าสังกัด

       ผลสำเร็จที่คาดหวัง

      ๑.  เงินงบประมาณไม่ตกหล่นจนเกิดความเสียหายต่อทางราชการ

      ๒.  การขอกันเงินและขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินเป็นไปด้วยความรวดเร็ว  
           ถูกต้อง  ทันตามกำหนดเวลา

 กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง  พ.ศ.๒๕๒๐  และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  งานบริหารการบัญชี

  การตั้งยอดบัญชีระหว่างปีงบประมาณ มี ๒ วิธี คือ

       ()  การตั้งยอดภายหลังการปิดบัญชีงบประมาณปีก่อน

             ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

    ๑.  เก็บยอดงบประมาณรายจ่ายตามแผนงานและงบกลางจากบัญชีแยกประเภททั่วไปเดือนสุดท้ายก่อนการปิดบัญชี

     ๒.  เก็บยอดงบประมาณรายจ่ายตามแผนงานและงบกลางจากบัญชีแยกประเภททั่วไปเดือนกันยายน

     ๓. คำนวณหาเงินงบประมาณ รายจ่ายตามแผน และรายจ่ายงบกลางปีก่อนที่เบิกจ่ายในปีงบประมาณปัจจุบัน

  () การตั้งยอดก่อนปิดบัญชีปีงบประมาณปีก่อน

         ขั้นตอนและการปฏิบัติ

  ๑.  เก็บยอดงบประมาณรายจ่ายตามแผนงานและงบกลางจากบัญชีแยกประเภททั่วไปเดือนสุดท้ายที่ตั้งยอด (ถ้าจัดทำเดือนเมษายน เดือนสุดท้ายคือเดือนมีนาคม)

  ๒.  เก็บยอดงบประมาณรายจ่ายตามแผนงานและงบกลางจากบัญชีแยกประเภททั่วไปเดือนกันยายน

  ๓.  คำนวณหาเงินงบประมาณ รายจ่ายตามแผน และรายจ่ายงบกลางปีก่อนที่เบิกจ่ายในปีงบประมาณปัจจุบัน

   ๒ การจัดทำกระดาษทำการ

     ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

       ๑.  นำรายงานยอดบัญชีแยกประเภททั่วไปเดือนสุดท้ายเป็นยอดตั้ง

       ๒.  ปรับปรุงบัญชีเงินงบประมาณ (ปรับจากหมวดรายจ่ายให้เป็นงบบุคลากร งบดำเนินงาน ฯลฯ และปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ค่าใช้สอยค่าสาธารณูปโภค)

       ๓. ยกยอดบัญชีรายได้แผ่นดินและรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง ที่จัดเก็บและ

นำส่งตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ตั้งยอดทั้งจำนวน

       ๔. เงินนอกงบประมาณ

           ๔.๑   เงินนอกงบประมาณที่ต้องจ่ายคืนให้ผู้มีสิทธิ์ เช่น เงินมัดจำประกันสัญญา เงินรับฝาก โอนปิดบัญชีและตั้งยอดเป็นบัญชีทุน กับ บัญชีเงินรับฝากและเงินประกัน

           ๔.๒  เงินนอกงบประมาณที่สามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานได้ เงินนอกงบประมาณอื่น โอนปิดบัญชีเงินนอกงบประมาณอื่นเข้าบัญชีทุน

  ๕.  การตั้งยอดบัญชีสินทรัพย์

            ๕.๑   บัญชีวัสดุหรือบัญชีสินค้าคงเหลือ

                   ๕.๑.๑ ตรวจนับจำนวนวัสดุหรือสินค้าคงเหลือและหามูลค่าราคาทุนของวัสดุและสินค้า

                   ๕.๑.๒ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไประหว่างบัญชีวัสดุหรือสินค้าคงเหลือกับบัญชีทุน

             ๕.๒  บัญชีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

                   ๕.๒.๑  มูลค่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ยานพาหนะ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ ที่มีมูลค่าตั้งแต่ ๓๐,๐๐๐ บาท โดยดำเนินการใต้หลักเกณฑ์การตีราคาทรัพย์สิน ตามหนังสือกรมบัญชีกลางด่วนที่สุดที่ กค ๐๕๒๘.๒/ว.๓๓๕๔๕ ลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ สำหรับครุภัณฑ์ที่จัดซื้อในปีงบประมาณ   ๒๕๔๖   มีราคาตั้งแต่   ๕,๐๐๐   บาทขึ้นบัญชีเป็นสินทรัพย์

                 ๕.๒.๒  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป ระหว่างบัญชีอาคาร ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ กับ บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมอาคาร  บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมครุภัณฑ์และอุปกรณ์ บัญชีทุน

           ๖.  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป โดยใช้จำนวนเงินตามรายการหลังปรับปรุงข้างต้น

  การบันทึกเปิดบัญชีเกณฑ์คงค้าง

  ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑.  บันทึกรายการด้านเดบิตในบัญชีแยกประเภท ได้แก่ บัญชีประเภทสินทรัพย์และค่าใช้จ่าย

๒. บันทึกรายการด้านเครดิต ในบัญชีแยกประเภท ได้แก่บัญชีประเภทหนี้สิน ทุน รายได้

      การบันทึกบัญชีประจำวัน

     ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

      ๑.  การรับเงินงบประมาณ

          ๑.๑ เมื่อสำนักเบิกโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร                        
                  ๑.๑.๑จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                  ๑.๑.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ
คู่ฉบับฎีกาเงินงบประมาณ ใบแจ้งการเครดิตบัญชี)      

                  ๑.๑.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท (แล้วแต่ประเภทของงบประมาณ)

       ๑.๒  กรณีที่มีการหักภาษีไว้หน้าฎีกา                   

                  ๑.๒.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                   ๑.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐานใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)                     

                   ๑.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท                                               
                   ๑.๒.๔ บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

     ๑.๓  กรณีที่มีการหักค่าปรับไว้หน้าฎีกา            
                  ๑.๓.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                  ๑.๓.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                  ๑.๓.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท                                                                    
                  ๑.๓.๔ บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน                 

                  ๑.๓.๕ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน                   

                   ๑.๓.๖ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

      ๑.๔  เมื่อถอนเงินสดจากธนาคาร

          ๑.๔.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

          ๑.๔.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ)

          ๑.๔.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภทเงินฝากธนาคารในงบประมาณ

      ๑.๕  เมื่อนำเงินงบประมาณที่เบิกมาแล้วส่งคืนคลัง

           ๑.๕.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

           ๑.๕.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย)

           ๑.๕.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท (ระบุประเภท)

           ๑.๕.๔ บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

           ๑.๕.๕    บันทึกทะเบียนคุมงบประมาณรายจ่าย (ยกเว้นรายจ่ายงบกลาง)

       ๒.  การรับรายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการ

            ๒.๑  กรณีได้รับเงินรายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการ

                 ๒.๑.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                 ๒.๑.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

                  ๒.๑.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภทเงินฝากธนาคารในงบประมาณ

   ๒.๒  กรณียังไม่ได้รับเงินค่าขายสินค้าหรือให้บริการ                                               

          ๒.๒.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

          ๒.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป
                     หนังสือแจ้งการให้บริการ)

         ๒.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

         ๒.๒.๔ บันทึกทะเบียนคุมลูกหนี้ค่าสินค้าหรือการให้บริการ

     ๒.๓  กรณีขายสินค้าหรือให้บริการแล้ว ได้รับชำระเงิน

             ๒.๓.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

             ๒.๓.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ
สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

             ๒.๓.๓ ทะเบียนคุมลูกหนี้ค่าสินค้าหรือการให้บริการ

       ๒.๔  กรณีนำเงินสด/เช็คฝากคลัง

             ๒.๔.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

             ๒.๔.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ
คู่ฉบับใบนำส่งเงินนอกงบประมาณ)

             ๒.๔.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

      ๒.๕  กรณีเบิกเงินฝากคลังโดยโอนเข้าบัญชีธนาคาร

             ๒.๕.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

             ๒.๕.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐานใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ
คู่ฉบับฎีกาเงินนอกงบประมาณ ใบแจ้งการเครดิตบัญชี)

            ๒.๕.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

       ๒.๖   กรณีที่มีการหักภาษีไว้หน้าฎีกา

                ๒.๖.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                ๒.๖.๒   บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย)

                ๒.๖.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท                                            
       ๒.๗  กรณีที่มีการหักค่าปรับไว้หน้าฎีกา

                 ๒.๗.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                 ๒.๗.๒   บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย)

                 ๒.๗.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท                                      

                 ๒.๗.๔ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป       

                 ๒.๗.๕   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                 ๒.๗.๖  บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

                 ๒.๗.๗ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

           ๒.๘  กรณีนำเงินสดเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

                ๒.๘.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                ๒.๘.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับใบนำฝากธนาคาร)

                ๒.๘.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

        ๓.  การรับเงินรายได้ (เงินนอกงบประมาณระบุประเภท)/รายได้อื่น

             ๓.๑  กรณีรับเงินรายได้อื่นเป็นเงินสด

                 ๓.๑.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                 ๓.๑.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับใบเสร็จรับเงิน)

                 ๓.๑.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                 ๓.๑.๔    บันทึกทะเบียนคุมรายได้เงินนอกงบประมาณ (ระบุประเภท)

            ๓.๒  กรณีนำเงินฝากธนาคาร

                  ๓.๒.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                  ๓.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ 

มมมคู่ฉบับใบนำฝากธนาคาร)

                  ๓.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

         ๔.  การจ่ายเงิน

              ๔.๑  จ่ายเงินเดือนและค่าจ้าง

                   ๔.๑.๑   กรณีจ่ายเงินเดือนและเงินช่วยเหลือบุตร

                       (๑)  กรณีไม่เป็นสมาชิก ก.บ.ข.

                         ๑)  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                         ๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย
หลักฐานการจ่ายเงินเดือน)

                          ๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                          ๔) บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                          ๕)  บันทึกทะเบียนคุมค่าใช้จ่ายงบกลาง

                          ๖) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                           ๗)  บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                          ๘)  บันทึกบัญชีแยกประเภท               

                      (๒)  กรณีเป็นสมาชิก ก.บ.ข. (เมื่อได้รับแจ้งการเครดิตบัญชีจากธนาคารกรุงไทย)

                           ๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                          ๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย  ใบแจ้งการเครดิตบัญชี)

                          ๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                          ๔)  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                          ๕)  บันทึกทะเบียนคุมค่าใช้จ่ายงบกลาง

                ๔.๑.๒    กรณีจ่ายค่าจ้างประจำและค่าจ้างชั่วคราว และเงินช่วยเหลือบุตร                         (๑)  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                         (๒)   บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย หลักฐานการจ่ายค่าจ้าง)

                         (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                         (๔)  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                         (๕)  บันทึกทะเบียนคุมค่าใช้จ่ายงบกลาง

                         (๖)  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                         (๗)  บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                         (๘) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                    ๔.๑.๓    กรณีหักเงินสมทบ เข้ากองทุน ก.ส.จ. หรือกองทุนประกันสังคม

                         (๑)  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                         (๒)   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                          (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                          (๔) บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                ๔.๑.๔     กรณีนำส่งเงินสมทบ ให้กองทุน ก.ส.จ. หรือกองทุนประกันสังคม

                          (๑)   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                          (๒)    บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชี  ด้านจ่าย)

                           (๓)   บันทึกบัญชีแยกประเภท

                          (๔) บันทึกทะเบียนคุมค่าใช้จ่ายงบกลาง

              ๔.๑.๕ กรณีหักเงินสหกรณ์หรือเงินประเภทอื่นจากเงินเดือน/ค่าจ้าง

                        (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                        (๒)  บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                        (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                        (๔) บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

           ๔.๑.๖   กรณีจ่ายเงินให้สหกรณ์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง       

                    (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                    (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย ใบเสร็จรับเงินจากบุคลภายนอก ใบสำคัญรับเงิน)

                    (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

         ๔.๒ บำเหน็จบำนาญ

               ๔.๒.๑  กรณีจ่ายบำเหน็จบำนาญให้ผู้มีสิทธิ

                    (๑)  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                    (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย หลักฐานการจ่าย)

                    (๓) บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                    (๔) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                    (๕)  บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                     (๖) บันทึกบัญชีแยกประเภท

          ๔.๓  เงินสวัสดิการ / ค่าตอบแทน

                ๔.๓.๑  กรณีได้รับคำขอเบิกเงินจากข้าราชการและลูกจ้าง

                      (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                      (๒) บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                      (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                       (๔) ทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก

                       (๕) บันทึกทะเบียนคุมค่าใช้จ่ายงบกลาง

              ๔.๓.๒  กรณีจ่ายเงินสวัสดิการ / ค่าตอบแทน

                       (๑)  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                       (๒)  บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย หลักฐานการจ่าย)

                       (๓)  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                        (๔) บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

               ๔.๔  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

                    ๔.๔.๑  กรณีได้รับใบแจ้งหนี้จากบุคคลภายนอก

                         (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                         (๒)  บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป ใบแจ้งหนี้)

                         (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                         (๔) บันทึกทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก

               ๔.๔.๒ กรณีเมื่อจ่ายเงินให้บุคคลภายนอก

                          (๑)  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                          (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย หลักฐานการจ่าย 

ใบเสร็จรับเงินจากบุคคลภายนอก ใบสำคัญรับเงิน)

                           (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                           (๔) บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

              ๔.๔.๓ กรณีมีภาษีหักหน้าฎีกา

                            (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                            (๒)  บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                            (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                  ๔.๔.๔ กรณีจ่ายค่าสาธารณูปโภคโดยวางฎีกาเบิกหักผลักส่ง

                            (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                            (๒)  บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป คู่ฉบับฎีกา)

                             (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                             (๔)  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

              ๔.๔.๕ การจ่ายค่าโทรศัพท์ โดยมีเงินอื่นสมทบ

                           (๑) กรณีรับเงินสมทบ

                              ๑)  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                              ๒) บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

                              ๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                            (๒)  กรณีจ่ายเงินค่าโทรศัพท์

                                ๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                ๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย ใบเสร็จรับเงินจากบุคคลภายนอก)

                                ๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                ๔)  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                             (๓)  กรณีหักภาษีหน้าฎีกา

                                 ๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                 ๒)    บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                                ๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                      ๔.๕   กรณีส่วนราชการได้รับอนุญาตให้เก็บเงินไว้เพื่อจ่ายในการดำเนินงาน

                        ๔.๕.๑  ดำเนินการเช่นเดียวกับ ข้อ ๔.๔

             ๕.  การจ่ายเงินงบประมาณให้ยืม

                  ๕.๑  กรณีจ่ายเงินงบประมาณให้กับผู้ยืม

                        ๕.๑.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                        ๕.๑.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย สัญญายืมเงิน)

                        ๕.๑.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                        ๕.๑.๔ บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                  ๕.๒  กรณีลูกหนี้ส่งใช้ใบสำคัญ และมีเงินส่งคืน

                        ๕.๒.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                        ๕.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป หลักฐานการจ่าย)

                        ๕.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                        ๕.๒.๔ บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                        ๕.๒.๕  บันทึกทะเบียนคุมลูกหนี้เงินยืมราชการ

                        ๕.๒.๖ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                        ๕.๒.๗ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

                         ๕.๒.๘ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                         ๕.๒.๙ บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                         ๕.๒.๑๐ บันทึกทะเบียนคุมลูกหนี้เงินยืมราชการ

                ๕.๓  กรณีได้รับใบสำคัญเกินกว่าจำนวนเงินในสัญญายืม

                      ๕.๓.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                       ๕.๓.๒   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป(หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป หลักฐานต่าง ๆ)

                     ๕.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                     ๕.๒.๔ บันทึกทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก

                ๕.๔  กรณีจ่ายเงินชดใช้ใบสำคัญ

                    ๕.๔.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                    ๕.๔.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย ใบสำคัญรับเงิน)

                     ๕.๔.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                     ๕.๔.๔ บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

           ๖.  กรณีจ่ายเงินนอกงบประมาณให้ยืม

                ๖.๑    กรณีจ่ายเงินนอกงบประมาณให้ผู้ยืม

                       ๖.๑.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                       ๖.๑.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย สัญญายืมเงิน)

                       ๖.๑.๓   บันทึกบัญชีแยกประเภท

                       ๖.๑.๔   บันทึกทะเบียนคุมลูกหนี้เงินนอกงบประมาณ

             ๖.๒  กรณีลูกหนี้ส่งใช้เงินยืม และมีเงินส่งคืน

                      ๖.๒.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                      ๖.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

                       ๖.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                       ๖.๒.๔ บันทึกทะเบียนคุมลูกหนี้เงินนอกงบประมาณ

                       ๖.๒.๕  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                       ๖.๒.๖  บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป หลักฐานการจ่าย)

                       ๖.๒.๗ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                       ๖.๒.๘ บันทึกทะเบียนคุมลูกหนี้เงินนอกงบประมาณ

                       ๖.๒.๙  กรณีใบสำคัญเบิกเงินงบประมาณได้

                       (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                      (๒)   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                       (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

               ๖.๓  กรณีจ่ายเงินนอกงบประมาณ เพื่อทดรองจ่าย ตามใบสำคัญที่ขอเบิก

                     ๖.๓.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                     ๖.๓.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย หลักฐานการจ่าย)

                      ๖.๓.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

              ๖.๔  กรณีเบิกเงินงบประมาณชดใช้เงินนอกโดย
โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

                    ๖.๔.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                    ๕.๔.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับฎีกา ใบแจ้งเครดิตบัญชี)

                    ๕.๔.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                    ๕.๔.๔ บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

              ๖.๕  กรณีโอนเงินจากบัญชีเงินฝากในงบประมาณ เข้าบัญชีเงินฝากนอกงบประมาณ

                    ๖.๕.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                    ๖.๕.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ หลักฐานของธนาคาร)

                    ๖.๕.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                     ๖.๕.๔  กรณีเบิกหักผลักส่งเข้าบัญชีเงินฝากคลังชดใช้เงินนอกงบประมาณ

                    (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                    (๒)  บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับฎีกา)

                     (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                     (๔) บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

             ๖.๖   กรณีเบิกเงินงบประมาณชดใช้ใบสำคัญเงินนอกงบประมาณ

                  ๖.๖.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                  ๖.๖.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป หลักฐานการจ่าย)

                  ๖.๖.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

          ๗.  กรณีซื้อวัสดุ หรือสินค้าคงเหลือ

              ๗.๑  เมื่อได้รับใบแจ้งหนี้ และคณะกรรมการตรวจรับ ได้ทำการตรวจรับถูกต้องแล้ว

                    ๗.๑.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                    ๗.๑.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป ใบแจ้งหนี้ ใบส่งของ ใบตรวจรับ)

                    ๗.๑.๓ บันทึกบัญชีวัสดุ

              ๗.๒  กรณีจ่ายเงินให้ผู้ขาย

                     ๗.๒.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                     ๗.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย ใบเสร็จรับเงินจากบุคคลภายนอก)

                     ๗.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                     ๗.๒.๔ บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                     ๗.๒.๕ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                     ๗.๒.๖  บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                     ๗.๒.๗ บันทึกบัญชีแยกประเภท

            ๗.๓  กรณีเบิกวัสดุไปใช้

                  ๗.๓.๑ บันทึกบัญชีวัสดุ

            ๗.๔  กรณีขายวัสดุหรือสิ่งของที่เสื่อมค่า และได้รับเงินจากผู้ซื้อแล้ว

                ๗.๔.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                ๗.๔.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

                ๗.๔.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                ๗.๔.๔ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

        ๗.๕  นำส่งเงินค่าขายวัสดุ หรือสิ่งของเป็นเงินรายได้แผ่นดิน

              ๗.๕.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

              ๗.๕.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย คู่ฉบับใบนำส่งเงิน)

              ๗.๕.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

              ๗.๕.๔ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

         ๘.  เงินทดรองราชการ         

               ๘.๑  กรณีได้รับอนุมัติวงเงินจากกระทรวงการคลัง และได้รับอนุมัติฎีกา

                   ๘.๑.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                   ๘.๑.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับฎีกาเงินนอกงบประมาณ)

                   ๗.๔.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                  ๗.๔.๔ บันทึกทะเบียนคุมเงินทดรองราชการ

            ๘.๒  กรณีสั่งจ่ายจากบัญชีเงินงบประมาณเข้าบัญชีออมทรัพย์เงินทดรองราชการ

                 ๘.๒.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                 ๘.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย ต้นขั้วเช็ค ใบสำคัญรับเงิน)

                  ๘.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                  ๘.๒.๔ บันทึกทะเบียนคุมเงินทดรองราชการ

          ๘.๓  กรณีจ่ายเงินทดรองราชการ (จ่ายตามใบสำคัญ
ให้ยืม ถอนเงินจากธนาคาร เพื่อเก็บเป็นเงินสดไว้ในสำนักงาน)

                ๘.๓.๑ บันทึกทะเบียนคุมเงินทดรองราชการ

          ๘.๔  กรณีรับใบสำคัญเพื่อเบิกเงินงบประมาณชดใช้เงินทดรองราชการ

                ๘.๔.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                ๘.๔.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป หลักฐานการจ่าย)

                ๘.๔.๓ บันทึกทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก

                ๘.๔.๔ บันทึกทะเบียนคุมค่าใช้จ่ายงบกลาง (ถ้ามี)

       ๘.๕  กรณีเบิกเงินงบประมาณชดใช้เงินทดรองราชการ 

โดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

             ๘.๕.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

             ๘.๕.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับฎีกาเงินนอกงบประมาณ 

ใบแจ้งการเครดิตบัญชี)

             ๘.๕.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

             ๘.๕.๔  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

      ๘.๖  กรณีจ่ายเงินเพื่อชดใช้ใบสำคัญเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร
(ออมทรัพย์) เงินทดรองราชการ

            ๘.๖.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

            ๘.๖.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย ต้นขั้วเช็ค ใบสำคัญรับเงิน หลักฐานการจ่าย)

            ๘.๖.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

             ๘.๖.๔  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

             ๘.๖.๕  บันทึกทะเบียนคุมเงินทดรองราชการ

        ๘.๗  กรณีเปลี่ยนสภาพจากลูกหนี้เงินยืมจากเงินทดรองราชการ เป็นลูกหนี้เงินยืมราชการ

             ๘.๗.๑  กรณีเบิกเงินงบประมาณเพื่อชดใช้เงินทดรองราชการและโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว

               (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

               (๒)  บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับฎีกาเงินงบประมาณ ใบแจ้งการเครดิตบัญชี)

               (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

               (๔)  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

        ๘.๗.๒ กรณีจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารออมทรัพย์ (เงินทดรองราชการ)

                (๑)  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย ต้นขั้วเช็ค ใบสำคัญรับเงิน)

                 (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                 (๔)  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                 (๕)  บันทึกทะเบียนคุมเงินทดรองราชการ

          ๘.๘  กรณีรับเงินทดรองราชการคืนจากผู้รับผิดชอบ

               ๘.๘.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

               ๘.๘.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ ใบสำคัญรับเงิน)

               ..๘๘๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

               ..๘๘๔ บันทึกทะเบียนคุมเงินทดรองราชการ

        ๘.๙  กรณีนำเงินทดรองราชการส่งคืนคลัง

              ๘.๙.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

              .๘.๙.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย หลักฐาน
ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย คู่ฉบับใบนำส่งเงิน

               ๘.๙.๓  บันทึกทะเบียนคุมเงินทดรองราชการ

         ๙. กรณีเงินมัดจำและค่าปรับ

            ๙.๑   กรณีได้รับเงินมัดจำประกันสัญญา

                 ๙.๑.๑    จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                 ๙.๑.๒   บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

                  ๙.๑.๓   บันทึกบัญชีแยกประเภท

              ๙.๒  กรณีนำเงินประกันสัญญาฝากคลัง

                  ๙.๒.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                  ๙.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับใบนำส่งเงิน

                  ๙.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

           ๙.๓  กรณีเบิกเงินมัดจำประกันสัญญาจากคลัง

                 ๙.๓.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                 ๙.๓.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินรับ หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับฎีกา ใบแจ้งการเครดิตบัญชี

                 ๙.๓.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

          ๙.๔  กรณีจ่ายเงินมัดจำประกันสัญญาคืน

                 ๙.๔.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                 ๙.๔.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย ใบสำคัญรับเงิน หรือใบเสร็จรับเงินของบุคคลภายนอก

                 ๙.๔.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

             ๙.๕  กรณียึดเงินประกันสัญญา เนื่องจากผิดสัญญา

                  ๙.๕.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                  ๙.๕.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                   ๙.๕.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                   ๙.๕.๔  บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

           .๙๖   กรณีเบิกหักผลักส่งเงินประกันสัญญาฝากคลังเป็นเงินรายได้แผ่นดิน

                  ๙.๖.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                  ๙.๖.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย คู่ฉบับฎีกาเงินนอกงบประมาณ

                 ๙.๖.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                 ๙.๖.๔  บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

          ๙.๗  กรณีเรียกค่าปรับเนื่องจากผิดสัญญาและได้รับเงินแล้ว

              ๙.๗.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

              ๙.๗.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

               ๙.๗.๔ บันทึกบัญชีแยกประเภท

               ๙.๗.๕  บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

       ๙.๘  กรณีนำเงินค่าปรับส่งคลังเป็นเงินรายได้แผ่นดิน

               ๙.๘.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

               ๙.๘.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย คู่ฉบับใบนำส่งเงิน

               ๙.๘.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

              ๙.๘.๔  บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

    ๑๐  กรณีรายได้จากเงินกู้ของรัฐบาล

         ๑๐.๑  กรณีได้รับแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากคลัง

                ๑๐.๑.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                ๑๐.๑. ๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ ใบเครดิตโน้ต

                ๑๐.๑.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

        ๑๐.๒ กรณีได้รับใบแจ้งหนี้จากบุคคลภายนอกหรือหลักฐานขอเบิกจากข้าราชการ

                ๑๐.๒.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                ๑๐.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน

 ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป ใบแจ้งหนี้ ใบขอเบิกเงิน)

                ๑๐.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                ๑๐.๒.๔ บันทึกทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก

        

๑๓.       การรับเงินรายได้แผ่นดิน

                          ๑๓.๑  กรณีรับเงินรายได้แผ่นดิน

                                   ๑๓.๑.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                   ๑๓.๑.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ 

(หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

                                   ๑๓.๑.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๓.๑.๔ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

                          ๑๓.๒ กรณีนำเงินรายได้แผ่นดินส่งคลัง

                                   ๑๓.๒.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                   ๑๓.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน

 ใบสำคัญการลงบัญชีเงินจ่าย คู่ฉบับใบนำส่งเงิน)

                                   ๑๓.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๓.๒.๔ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

                          ๑๓.๓  กรณีคลังคืนเช็คเนื่องจากเช็คไม่สมบูรณ์

                                   ๑๓.๓.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                   ๑๓.๓.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                                   ๑๓.๓.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๓.๓.๔ บันทึกทะเบียนรับเช็ค

                                   ๑๓.๓.๕ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

                          ๑๓.๔  กรณีนำเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน (ยังไม่เปิดบัญชี)

                                   ๑๓.๔.๑  การนำส่ง

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                              (๒)   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                                              (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                              (๔) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                              (๕)   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                                              (๖) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                              (๗) บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน        

                                   ๑๓.๔.๒ เมื่อขึ้นปีงบประมาณใหม่ (ให้กลับรายการ)

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                              (๒)   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                                              (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                              (๔) บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

                                   ๑๓.๔.๓ เมื่อนำเงินส่งคลัง

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                              (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน

 ใบสำคัญการลงบัญชี เงินจ่าย คู่ฉบับใบนำส่ง)

                                              (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                              (๔) บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

                          ๑๓.๕ กรณีได้รับเงินงบประมาณ เนื่องจากจ่ายเกินหรือซ้ำในปีงบประมาณใหม่ และได้นำส่งคลังเป็นเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน

                                  ๑๓.๕.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                  ๑๓.๕.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีเงินรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

                                 ๑๓.๕.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                  ๑๓.๕.๔ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

                                  ๑๓.๕.๕ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                  ๑๓.๕.๖  บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีเงินจ่าย คู่ฉบับใบนำส่งเงิน)

                                  ๑๓.๕.๗  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                  ๑๓.๕.๘ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

                    ๑๔.  การถอนคืนเงินรายได้แผ่นดิน

                          ๑๔.๑ กรณีถอนคืนเงินรายได้แผ่นดิน (ส่งผิด ส่งซ้ำ ส่งเกิน) ภายในปีงบประมาณ

                                  ๑๔.๑.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                  ๑๔.๑.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีเงินรับคู่ฉบับฎีกา)

                                 ๑๔.๑.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                  ๑๔.๑.๔  บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

                         ๑๔.๒ กรณีจ่ายเงินคืนให้ผู้มีสิทธิ

                                  ๑๔.๒.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                  ๑๔.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน 

ใบสำคัญการลงบัญชีเงินจ่าย ใบสำคัญหรือใบเสร็จรับเงินจากบุคคลภายนอก)

                                 ๑๔.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                  ๑๔.๒.๔ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

                         ๑๔.๓  กรณีถอนคืนเงินรายได้แผ่นดิน (ส่งผิด ส่งซ้ำ ส่งเกิน) ข้ามปีงบประมาณ

                                  ๑๔.๓.๑  ปฏิบัติเช่นเดียวกับเงินงบประมาณ

                    ๑๕.  การเบิกเงินงบประมาณแทนกัน

                          ๑๕.๑  เมื่อได้รับอนุมัติให้เบิกแทน

                                   ๑๕.๑.๑   บันทึกทะเบียนคุมงบประมาณรายจ่าย 

(หลักฐานหนังสือแจ้งการเบิกเงินงบประมาณแทนกัน)

                          ๑๕.๒ กรณีเบิกเงินงบประมาณแทนกันโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

                                   ๑๕.๒.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                   ๑๕.๒.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีเงินรับ 

คู่ฉบับฎีกา)

                                   ๑๕.๒.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๕.๒.๔  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                          ๑๕.๓  กรณีรับใบแจ้งหนี้จากบุคคลภายนอก หรือหลักฐานขอเบิกจากข้าราชการ

                                   ๑๕.๓.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                   ๑๕.๓.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป ใบแจ้งหนี้ ใบขอเบิก)

                                   ๑๕.๓.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๕.๓.๔  บันทึกทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก

                          ๑๕.๔  กรณีจ่ายเงินตามใบแจ้งหนี้ หรือหลักฐานขอเบิก

                                   ๑๕.๔.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                   ๑๕.๔.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีเงินจ่าย หลักฐานการจ่าย)

                                   ๑๕.๔.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๕.๔.๔  บันทึกทะเบียนคุมฎีกาเบิกจ่ายเงิน

                    ๑๖.  การจ่ายเงินให้หน่วยงานย่อยที่ปฏิบัติตามระบบควบคุมการเงิน

                                            ๑๖.๑       ส่วนราชการผู้เบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิของหน่วยงานย่อย

                                   ๑๖.๑.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                   ๑๖.๑.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีเงินจ่าย หลักฐานการจ่าย)

                                   ๑๖.๑.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                          ๑๖.๒  กรณีจ่ายเงินให้หน่วยงานย่อยตามใบเบิกเงินงบประมาณ

                                   ๑๖.๒.๑ จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                   ๑๖.๒.๒ บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีเงินจ่าย ใบเบิกเงินงบประมาณ)

                                   ๑๖.๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๖.๒.๔ บันทึกบัญชีย่อย

                          ๑๖.๓ กรณีหน่วยงานย่อยส่งหลักฐานล้างหนี้เงินงบประมาณ

                                   ๑๖.๓.๑  ส่งใช้เป็นใบสำคัญ

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                              (๒) บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป หลักฐานการจ่าย ใบเบิกเงินงบประมาณ)

                                              (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                              (๔) บันทึกบัญชีย่อย

                                              (๕) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                              (๖) บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                                              (๗) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๖.๓.๒ ส่งใช้เป็นเงินสด

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                              (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

                                              (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                              (๔) บันทึกบัญชีย่อย

                                   ๑๖.๓.๓ นำเงินที่รับจากหน่วยงานย่อยส่งคืนคลัง

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                              (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญ การลงบัญชีด้านจ่าย คู่ฉบับใบนำส่งเงิน)

                                              (๓)  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                          ๑๖.๔  เงินรายได้แผ่นดิน

                                   ๑๖.๔.๑  ได้รับหลักฐานแสดงการนำส่งเงินจากหน่วยงานย่อย

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                              (๒) บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป คู่ฉบับใบนำส่งเงิน)

                                              (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                              (๔) บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

                                              (๕) บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

                          ๑๖.๕  เงินนอกงบประมาณ

                                   ๑๖.๕.๑  ได้รับเงินนำฝากจากหน่วยงานย่อย

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                              (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ หลักฐานการรับเงินผ่านธนาคาร คู่ฉบับใบนำฝาก)

                                              (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                  ๑๖.๕.๒ ถอนเงินที่ได้รับฝากคลัง

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                              (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับใบนำส่ง)

                                              (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๖.๕.๓ เบิกเงินจากคลังเพื่อจ่ายคืนหน่วยงานย่อยตามใบเบิกถอน

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                              (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ คู่ฉบับฎีกาเงินนอกงบประมาณ)

                                              (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๖.๕.๔ จ่ายเงินให้หน่วยงานย่อยตามใบเบิกถอน

                                              (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                              (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญ การลงบัญชีด้านจ่าย ใบเบิกถอน)

                                              (๓)  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                    ๑๗. การรับเงินความรับผิดทางละเมิด

                          ๑๗.๑   เมื่อเกิดลูกหนี้ความรับผิดทางละเมิด

                                    ๑๗.๑.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                    ๑๗.๑.๒   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                                    ๑๗.๑.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                          ๑๗.๒  เมื่อได้รับชำระเงินจากลูกหนี้ความรับผิดทางละเมิด

                                    ๑๗.๒.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                    ๑๗.๒.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีเงินรับ สำเนาใบเสร็จรับเงิน)

                                    ๑๗.๒.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                          ๑๗.๓  โอนเงินที่ได้รับเป็นรายได้แผ่นดิน

                                    ๑๗.๓.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                    ๑๗.๓.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป)

                                    ๑๗.๓.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                    ๑๗.๓.๔  บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

                          ๑๗.๔   นำเงินรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

                                    ๑๗.๔.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                    ๑๗.๔.๒  บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีเงินจ่าย คู่ฉบับใบนำส่งเงิน)

                                    ๑๗.๔.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                    ๑๗.๔.๔  บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

                          ๑๗.๕   การบันทึกบัญชีระหว่างกัน

                                    ๑๗.๕.๑   การรับเงินงบประมาณจากต้นสังกัด

                                                (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                                (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญ การลงบัญชีเงินรับหลักฐานการรับเงินผ่านธนาคาร)

                                                (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                                (๔) บันทึกบัญชีย่อย

                                    ๑๗.๕.๒  เมื่อโอนเงินงบประมาณกลับต้นสังกัด

                                                (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                                (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีเงินจ่าย หลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร)

                                                (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                                (๔) บันทึกบัญชีย่อย

                          ๑๗.๖   การรับรายได้อื่น

                                    ๑๗.๖.๑   การรับโอนเงินนอกงบประมาณจากต้นสังกัดโดยวิธีโอนขายบิล หรือโอนผ่านธนาคาร

                                                (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                                (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญ การลงบัญชีเงินรับหลักฐานการรับเงินผ่านธนาคาร ใบเครดิตโน้ต)

                                                (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                                (๔) บันทึกบัญชีย่อย

                                                (๕) บันทึกทะเบียนคุมรายได้รับเงินนอก (ระบุประเภท)

                          ๑๗.๗   การรับ ส่งวัสดุหรือสินค้าคงเหลือ

                                    ๑๗.๗.๑   เมื่อได้รับวัสดุ หรือสินค้าคงเหลือจากต้นสังกัด

                                                (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                                (๒) บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญ การลงบัญชีทั่วไปใบตรวจรับพัสดุ)

                                                (๓) บันทึกบัญชีวัสดุ

                                                (๔) บันทึกบัญชีย่อย

                          ๑๗.๘   การรับรายได้จากเงินกู้ของรัฐบาล

                                    ๑๗.๘.๑   รับโอนเงินตามโครงการเงินกู้ด้วยวิธีโอนขายบิล    

                                                (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ

                                                (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินรับ (หลักฐาน ใบสำคัญ การลงบัญชีเงินรับใบเครดิตโน้ต)

                                                (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                                (๔) บันทึกบัญชีย่อย

                                    ๑๗.๘.๒  โอนเงินตามโครงการกลับต้นสังกัด โดยวิธีโอนขายบิล

                                                (๑) จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านจ่าย

                                                (๒) บันทึกสมุดรายวันเงินจ่าย (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชีเงินจ่าย ใบเครดิตโน้ต)

                                                (๓) บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                                (๔) บันทึกบัญชีย่อย

                    ๑๘. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

                          ๑๘.๑  เมื่อได้รับทรัพย์สินถาวรจากต้นสังกัด

                                   ๑๘.๑.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                                   ๑๘.๑.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป (หลักฐาน ใบสำคัญการลงบัญชี ทั่วไปหนังสือแจ้งการส่งทรัพย์สิน)

                                   ๑๘.๑.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                   ๑๘.๑.๔  บันทึกบัญชีย่อย

                                   ๑๘.๑.๕ บันทึกทะเบียนคุมทรัพย์สิน

               .. การสรุปรายการบันทึกบัญชี              

                         ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

                      ๑.  ทุกสิ้นวันทำการสรุปรายการการรับหรือจ่ายเงินผ่านไปบัญชีแยกประเภทเงินสด เงินฝากธนาคาร และเงินฝากคลัง

                      ๒.  รายการอื่น ๆ และรายการในสมุดรายวันทั่วไปให้ผ่านรายการเข้าบัญชีแยกประเภท ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน           

 

              ..   การปรับปรุงบัญชีเมื่อสิ้นปีงบประมาณ

                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

                      ๑.  รายได้จากงบประมาณค้างรับ

                          ๑.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                          ๑.๒   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป

                          ๑.๓   บันทึกบัญชีแยกประเภทระหว่างรายได้จากงบประมาณค้างรับกับรายได้จากงบประมาณ

                      ๒.  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย/รายได้รับล่วงหน้า

                          ๒.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                          ๒.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป

                          ๒.๓ บันทึกบัญชีแยกประเภทระหว่างค่าใช้จ่าย/รายได้กับค่าใช้จ่าย/ รายได้รับล่วงหน้า

                      ๓. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า/รายได้ค้างรับ

                          ๓.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                          ๓.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป

                          ๓.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภทระหว่างค่าใช้จ่ายล่วงหน้า/รายได้

ค้างรับกับค่าใช้จ่าย/รายได้

                      ๔. วัสดุหรือสินค้าที่ใช้ไประหว่างงวดบัญชี

                          ๔.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                          ๔.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป

                          ๔.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภทระหว่างค่าวัสดุ/สินค้าใช้ไป กับวัสดุ/สินค้าคงเหลือ

                              ๕. ค่าเสื่อมราคา/ค่าตัดจำหน่าย

                          ๕.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                          ๕.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป

                          ๕.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภทระหว่างค่าเสื่อมราคา กับค่าเสื่อมราคาสะสม

                      ๖. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ

                          ๖.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                          ๖.๒   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป

                          ๖.๓   บันทึกบัญชีแยกประเภทระหว่างหนี้สงสัยจะสูญกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หรือหนี้สูญ/ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ กับลูกหนี้ค่าขายสินค้าหรือบริการ /หนี้สงสัยจะสูญ

               .. การปิดบัญชี

                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

                      ๑. ปรับปรุงรายการบัญชี ณ วันสิ้นปีงบประมาณ

                      ๒. จัดทำงบทดลอง

                      ๓.  ปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อบันทึกบัญชีรายได้สูงกว่า (ต่ำกว่า) ค่าใช้จ่ายในงวดบัญชี

                          ๓.๑  จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                          ๓.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป

                           ๓.๓   บันทึกบัญชีแยกประเภทระหว่างบัญชีรายได้ กับบัญชีค่าใช้จ่าย

                      ๔. ปิดรายการรายได้สูง(ต่ำกว่า)ค่าใช้จ่ายในงวดบัญชี เข้าบัญชีรายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม

                          ๔.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                          ๔.๒  บันทึกสมุดรายวันทั่วไป

                                  ๔.๓         บันทึกบัญชีแยกประเภท

                                  ๔.๓.๑  กรณีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายระหว่างรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย กับรายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม

                                  ๔.๓.๒ กรณีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย ระหว่างรายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสมกับรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย 

                      ๕.  โอนบัญชีรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง เข้าบัญชีรายได้แผ่นดิน หากมี ยอดคงเหลือให้โอนเข้าบัญชีรายได้แผ่นดินรอนำส่งคลัง/ส่งคลัง

                           ๕.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                           ๕.๒ บันทึกสมุดรายวันทั่วไป

                           ๕.๓  บันทึกบัญชีแยกประเภทระหว่างรายได้แผ่นดิน กับรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง   หรือรายได้แผ่นดิน กับรายได้แผ่นดินรอนำส่งคลัง

                           ๕.๔ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน

                           ๕.๕ บันทึกบัญชีย่อยรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

               ๔.๒.๘  การตรวจสอบ

                    ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

                      ๑.  ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเงินสดและเงินฝากธนาคาร

                          ๑.๑    รายงานเงินคงเหลือประจำวัน

                                  ๑.๑.๑   ตรวจสอบยอดเงินสิ้นวันทำการโดยยอดเงินคงเหลือเท่ากับบัญชีแยกประเภทเงินสด

                                  ๑.๑.๒  เสนอคณะกรรมการลงชื่อรับรองในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน

                                  ๑.๑.๓   ปฏิบัติตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.๒๕๒๐

                          ๑.๒  งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร

                                  ๑.๒.๑  จัดทำงบเทียบยอดเงินฝากธนาคารทุกสิ้นเดือนเปรียบเทียบยอดเงินฝากในบัญชีของธนาคารให้ตรงกับยอดเงินฝากในบัญชีแยกเงินฝากธนาคาร

                      ๒.  การตรวจสอบความถูกต้องของบัญชี

                          ๒.๑  การตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแยกประเภททั่วไป

                                  ๒.๑.๑  จัดทำงบทดลอง ผลรวมในช่องเดบิต ต้องเท่ากับผลรวมในช่องเครดิต

                          ๒.๒  การตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีย่อยและทะเบียน

                                  ๒.๒.๑  ตรวจสอบยอดรวมบัญชีย่อย/ทะเบียนเท่ากับบัญชีแยกประเภททั่วไป

                                 ๒.๒.๒ ตรวจสอบเงินงบประมาณที่เบิกจากคลังกับทะเบียนคุมเงินประจำงวด

                                  ๒.๒.๓ ตรวจสอบยอดรายได้แผ่นดินและรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

                                  ๒.๒.๔ ตรวจสอบยอดคงเหลือระหว่างบัญชี กับทะเบียนคุมลูกหนี้

                                  ๒.๒.๕ ตรวจสอบยอดคงเหลือระหว่างบัญชีกับทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก

               ๔.๒.๙    การแก้ไขข้อผิดพลาด

                            ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

                      ๑.   การบันทึกรายการผิดบัญชี

                          ๑.๑   จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

                          ๑.๒   บันทึกสมุดรายวันทั่วไป

                          ๑.๓   บันทึกบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง

                          ๑.๔   บันทึกบัญชีย่อย ที่เกี่ยวข้อง

                      ๒.  การเขียนข้อความผิด หรือตัวเลขผิด

                          ๒.๑   ขีดฆ่าข้อความหรือตัวเลขผิด (ห้ามใช้น้ำยาลบขาว)

                          ๒.๒  ลงลายมือชื่อย่อกำกับ

                          ๒.๓  เขียนข้อความหรือตัวเลขที่ถูกต้อง

                      ๓.  การบันทึกตัวเลขผิดช่องบัญชีย่อยแต่ยอดรวมถูก

                          ๓.๑   ขีดฆ่าข้อความหรือตัวเลขผิด (ห้ามใช้น้ำยาลบขาว)

                          ๓.๒  ลงลายมือชื่อย่อกำกับ พร้อมกับวันเดือนปี

                          ๓.๓  เขียนข้อความหรือตัวเลขที่ถูกต้อง

                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง

                      การจัดทำระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างถูกต้อง

                           ระเบียบ กฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

                      ๑. หลักการนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ ๒

                      ๒. คู่มือแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบบัญชีส่วนราชการจากเกณฑ์เงินสดเข้าสู่เกณฑ์คงค้าง

               ..๑๐    การรายงานการเงิน

                              ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

                        ๑.  จัดทำรายงานประจำเดือนส่งหน่วยงานต้นสังกัด คตง. และกรมบัญชีกลาง ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไปดังนี้

                             ๑.๑  รายงานรายได้แผ่นดิน เก็บข้อมูลจากบัญชีย่อยรายได้แผ่นดิน และรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง

                             ๑.๒ รายงานรายได้และค่าใช้จ่ายเก็บข้อมูลจากบัญชีแยกประเภท รายได้และค่าใช้จ่าย

                             ๑.๓ รายงานเงินประจำงวด เก็บข้อมูลจากทะเบียนคุมเงินประจำงวดส่วนจังหวัด

                        ๒. รายงานประจำปี

                             ๒.๑ จัดทำงบแสดงฐานะการเงิน โดยเก็บจากบัญชีแยกประเภท สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของทุน

                             ๒.๒ จัดทำงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน โดยเก็บจากบัญชี ทำการประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย

                             ๒.๓ งบกระแสเงินสดจัดทำโดยวิธีทางตรง โดยเก็บข้อมูลจาก

                                   ๒.๓.๑  กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน

                                    ๒.๓.๒   กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน

                                  ๒.๓.๓ กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน

                             ๒.๔ จัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงิน

                                   ๒.๔.๑ ความเป็นมา

                                   ๒.๔.๒ สรุปนโยบายบัญชี

                                   ๒.๔.๓ เงินฝากธนาคาร

                                   ๒.๔.๔  ลูกหนี้

                                   ๒.๔.๕ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

                                   ๒.๔.๖ หนี้สินหมุนเวียน

                                   ๒.๔.๗ ค่าใช้จ่ายบุคลากร

                                   ๒.๔.๘ ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน

                             ๒.๕ จัดทำรายงานการรายงานประจำปี ส่งให้หน่วยงานตามกำหนด ดังนี้

                                   ๒.๕.๑  หน่วยงานต้นสังกัด ภายในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน

                                   ๒.๕.๒ คตง.และกรมบัญชีกลาง ภายใน ๙๐ วัน นับจาก วันสิ้นรอบระยะบัญชีการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชี

      .  งานบริหารพัสดุและสินทรัพย์

               ..  การจัดซื้อ/จัดจ้างและการจัดหาพัสดุด้วยวิธีอื่น

               ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติงาน

                      ๑.  ตรวจสอบงบประมาณที่จะใช้ดำเนินการว่ามีเพียงพอหรือไม่

                      ๒.  ตรวจสอบ  รายละเอียดเกณฑ์คุณลักษณะของวัสดุ  ครุภัณฑ์ (ถ้ามี)

                      ๓.  จัดทำรายงานขอซื้อ ขอจ้าง  หรือจัดหาด้วยวิธีอื่น

                      ๔.  ดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างหรือจัดหาด้วยวิธีอื่นตามวิธีที่ได้รับอนุมัติ

                      ๕.  พิจารณาผลโดยคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา หรือคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง 

                      ๖.  รายงานขออนุมัติจัดซื้อ จัดจ้างหรือจัดหา ตามที่คณะกรรมการได้ คัดเลือกไว้

                      ๗.  จัดทำสัญญาหรือข้อตกลง

                      ๘.  ตรวจรับภายใน ๓ วันทำการนับจากวันที่ได้รับส่งมอบพัสดุหรือตามที่ระเบียบกำหนด

                      ๙.  จัดทำรายงานเสนอผู้มีอำนาจเพื่อทราบ

                    ๑๐.  มอบเรื่องการตรวจรับให้เจ้าหน้าที่การเงินวางฏีกาการเบิกเงินเพื่อจ่ายให้กับผู้ขาย/ผู้รับจ้าง

                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง

                      ๑.  ดำเนินการจัดซื้อ  จัดจ้างและจัดหาพัสดุถูกต้องตามระเบียบ

                      ๒.  ได้รับพัสดุทันตามกำหนดเวลาที่ต้องการใช้

                           กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

                      ๑.  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณระดับจังหวัด  พ.ศ.๒๕๒๔

                      ๒.  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

                      ๓.  กฎหมาย ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

               ..  การควบคุมพัสดุ

               ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติงาน

                      ๑.  การลงบัญชีหรือทะเบียน

                          ๑.๑   รับเอกสารการได้มาซึ่งวัสดุครุภัณฑ์

                          ๑.๒  บันทึกบัญชีสำหรับวัสดุและทะเบียนสำหรับครุภัณฑ์ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบ

                          ๑.๓   บันทึกบัญชีวัสดุทุกครั้งที่มีการจ่ายวัสดุให้กับผู้ขอเบิกเมื่อได้รับ อนุญาตให้จ่าย (จัดทำแบบขอเบิกขึ้นเอง  โดยกำหนดให้มีผู้รับวัสดุด้วย)  และลงบัญชีทุกครั้งที่มีการจ่ายบัญชีวัสดุต้องเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

                          ๑.๔   บันทึกทะเบียนคุมครุภัณฑ์ ในช่องหมายเหตุว่าครุภัณฑ์ได้ใช้งานอยู่ฝ่าย หน่วยใด และใครเป็นผู้ดูแลรักษา

                          ๑.๕   บันทึกครุภัณฑ์เมื่อได้รับอนุมัติให้จำหน่ายแล้ว

                      ๒.  การจัดเก็บพัสดุ

                          ๒.๑  จัดเก็บพัสดุ  ให้จัดเก็บไว้ในที่ปลอดภัย  ห่างไกลจากฝุ่นละออง โดยเก็บให้เป็นหมวดหมู่  ตามรหัส ในบัญชีหรือทะเบียน

                          ๒.๒  จัดให้มีห้องเป็นเอกเทศ  มั่นคงแข็งแรง  มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและมีอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อเป็นคลังพัสดุ

                      ๓.  การจำหน่ายพัสดุ

                          ๓.๑   จัดทำคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่พัสดุทำการตรวจสอบพัสดุประจำปี  ภายในเดือนกันยายน

                          ๓.๒  ทำการตรวจสอบ(เจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งตามข้อ ๓.๑)ให้เสร็จสิ้นภายใน ๓๐  วันทำการนับจากวันเปิดทำการวันแรกของเดือนตุลาคม  โดยตรวจสอบในหัวข้อ  ดังนี้

                                  ๓.๒.๑  การลงบัญชีรับ จ่ายถูกต้องหรือไม่

                                  ๓.๒.๒ พัสดุคงเหลือตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่

                                  ๓.๒.๓ มีพัสดุเสื่อมสภาพ  จำนวนเท่าใด  เพราะเหตุใด

                                  ๓.๒.๔ มีพัสดุจำนวนเท่าใด  เพราะเหตุใด

                                  ๓.๒.๕ มีพัสดุสูญหายจำนวนเท่าใด เพราะเหตุใด

                                  ๓.๒.๖  มีพัสดุที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการหรือไม่

                          ๓.๓  เสนอผลการตรวจสอบการรับ จ่ายพัสดุประจำปีให้ผู้แต่งตั้งทราบ

                          ๓.๔  แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ถ้ามีพัสดุสูญหายหรือชำรุดเสียหายที่ไม่ใช่เกิดจากการใช้งานปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการที่ดำรงตำแหน่ง ระดับ ๓  ขึ้นไป

                          ๓.๕  แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางละเมิด กรณีมี ผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายของพัสดุ                          

                          ๓.๖  บันทึกในบัญชีวัสดุ หรือทะเบียนเมื่อการสืบหาข้อเท็จจริงหรือ การตรวจสอบทางละเมิดยุติ  โดยผู้มีอำนาจได้สั่งการจำหน่าย ถ้ามีซากพัสดุ ให้ดำเนินการต่อดังนี้

                                  ๓.๖.๑  ขายทอดตลาดก่อน ถ้าไม่ได้ผลให้นำวิธีทางการจัดซื้อมาใช้

                                  ๓.๖.๒  แลกเปลี่ยน  โดยเจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอผู้มีอำนาจเพื่อดำเนินการต่อไป

                                  ๓.๖.๓  ทำลาย      

                                  ๓.๖.๔  จำหน่ายเป็นสูญ กรณีไม่มีซากพัสดุ

               ..๓  การดำเนินงานที่ราชพัสดุ

                           ที่ราชพัสดุ ได้แก่ อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นที่อยู่ในความครอบครองและใช้ประโยชน์

                           ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

                      ๑.  ขอใช้ที่ดิน (ที่ราชพัสดุ) ที่หน่วยงานอื่นครอบครอง

                                 ๑.๑  ขอคำยินยอมใช้ที่ดินต่อผู้ครอบครอง

                                 ๑.๒ รายงานการขอใช้ที่ดินต่อต้นสังกัดพร้อมส่งแบบ ทบ. ๔ และเอกสารการยินยอม

                                 ๑.๓ รายงานขอใช้ที่ดินต่อหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ครอบครองที่ดิน

                                 ๑.๔ รับเอกสารแจ้งการยินยอมให้ใช้ที่ดินจากหน่วยงานต้นสังกัดของ ผู้ครอบครองที่ดิน

                                 ๑.๕ รับเอกสาร ทบ.๔ จากธนารักษ์จังหวัดเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน (ในกรุงเทพมหานคร กรมธนารักษ์เป็นผู้ส่ง)

                      ๒. รับบริจาคที่ดินจากเอกชน

                                  ๒.๑   ขอความเห็นชอบต่อหน่วยงานต้นสังกัด

                                  ๒.๒   รายงานธนารักษ์จังหวัด แนบหลักฐานที่ดิน (โฉนด นส. ๓) วัตถุประสงค์ของการบริจาค พร้อมชื่อหน่วยงานที่จะครอบครอง (ในกรุงเทพมหานคร รายงานกรมธนารักษ์)

                                  ๒.๓    รับเอกสาร ทบ. ๑๐ (ทบ. ๑๐ คือ แบบส่งมอบที่ดิน) จากธนารักษ์จังหวัด

                                  ๒.๔    เสนอผู้มีอำนาจลงนามในแบบ ทบ. ๑๐

                                  ๒.๕   จัดทำแบบ ทบ. ๔

                                  ๒.๖    ส่งแบบ ทบ. ๔ และ ทบ. ๑๐ ให้ธนารักษ์จังหวัด

                                  ๒.๗    รับเอกสาร ทบ. ๔ จากธนารักษ์จังหวัด เพื่อเก็บเป็นหลักฐาน (ในกรุงเทพมหานคร กรมธนารักษ์เป็นผู้ส่ง)

                      ๓. การส่งคืนที่ดิน (ที่ราชพัสดุ)

                                  ๓.๑ จัดทำแบบ ทบ. ๖

                                  ๓.๒   รายงานธนารักษ์จังหวัดพร้อม ทบ. ๖ (ในกรุงเทพมหานครรายงานกรมธนารักษ์)

                                  ๓.๓    รับเอกสาร ทบ. ๑๐ จากธนารักษ์จังหวัด เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

                      ๔. หน่วยงานอื่นขอใช้ที่ดิน (ที่ราชพัสดุ)

                                  ๔.๑ เสนอผู้มีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบ

                                  ๔.๒  รับเอกสาร ทบ.๔ จากธนารักษ์จังหวัดเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน กรณีที่ต้นสังกัดอนุญาต (ในกรุงเทพมหานคร กรมธนารักษ์เป็นผู้ส่ง)

                      ๕. การขอขึ้นทะเบียนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง

                           ๕.๑  จัดทำแบบ ทบ. ๙

                                  ๕.๒         รายงานธนารักษ์จังหวัดพร้อมแบบ ทบ. ๙ (ในกรุงเทพมหานคร รายงานกรมธนารักษ์)

                                  ๕.๓         รับเอกสารทบ. ๙ จากธนารักษ์จังหวัด เพื่อให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน

                      ๖. การขอรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง

                                  ๖.๑ สำรวจอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่จะรื้อถอน

                                  ๖.๒         แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสภาพสภาพของอาคาร สิ่งปลูกสร้าง เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต

                                  ๖.๓          จัดทำรายงานการตรวจสอบเสนอผู้มีอำนาจอนุญาตให้รื้อถอน

                                  ๖.๔          แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจนับและควบคุมวัสดุ (กรณีขอใช้วัสดุ)

                                  ๖.๕          จัดทำแบบ ทบ. ๓

                                  ๖.๖ ขออนุญาตใช้วัสดุต่อธนารักษ์จังหวัดพร้อม ทบ. ๓ และหลักฐาน การอนุมัติ (ในกรุงเทพมหานครขอกรมธนารักษ์)

                           ๖.๗  ดำเนินการขายทอดตลาด (กรณีที่ไม่ใช้วัสดุ หรือวัสดุเหลือจากการขอใช้)

                           ๖.๘  นำส่งเงินต่อคลังจังหวัด รหัสหน่วยงานที่ส่งเป็นของกรมธนารักษ์

                      ๗.  สำหรับการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุของสถานศึกษาซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นไปตามมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และกฎกระทรวง ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

                           ผลสำเร็จที่คาดหวัง

                      เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับที่ราชพัสดุได้อย่างถูกต้อง

                           กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

                      ๑. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๕๙

                      ๒. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

                      ๓. กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘

               

               

เอกสารอ้างอิง

คู่มือปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน    กระทรวงศึกษาธิการ

หมายเลขบันทึก: 638585เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2017 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2017 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท