Thailand 4.0 Engagement Research



วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ ผมไปประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     เขาพาไปรับประทานอาหารเที่ยงที่ภัตตาคาร คุ้มเวียงยอง  ที่บรรยากาศสุดยอด และอาหาร (พื้นเมือง) อร่อยมาก    แถมยังได้ชมภาพศักดิ์สิทธิ์หลายภาพ ที่ได้เอามาให้แสดงความเคารพประกอบบันทึกนี้    แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญ ของบันทึกนี้ ที่ต้องการชี้ช่องการทำงานวิจัยของมหาวิทยาลัย แนว engagement    


เป็นแนวคิดที่ได้จากการคุยกันในวงอาหารเที่ยง จากการได้ฟังเรื่องราวความสำเร็จของกลุ่มวิจัยพลาสติกชีวภาพ นำโดย ผศ. ดร. วินิตา บุณโยดม ตามข่าว , ,    


ซึ่งน่าจะพัฒนาต่อด้วยการบริหารงานวิจัยของ มช. โดยใช้แนวคิด Engagement Management    ซึ่งผมตีความว่า หมายถึงตั้งเป้าหมายของการวิจัยจากมุมความต้องการของฝ่าย “ชีวิตจริง” (real sector) ทั้งฝ่ายธุรกิจ  ประชาสังคม  ศาสนา  สิ่งแวดล้อม  ราชการส่วนกลาง  ราชการส่วนท้องถิ่น  การศึกษา  การพัฒนาคนตลอดชีวิต  ฯลฯ


ดร. วินิตา บอกว่า สามารถรวมเครือข่ายวิจัยและพัฒนาวัสดุชีวภาพ สู่อุตสาหกรรมได้    และจริงๆ แล้วงานที่ทำอยู่ก็ได้เงินสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่    โดยต้องตระหนักว่า การผลิตใน lab scale  กับการผลิตใน industrial scale แตกต่างกัน    เมื่อผลิตในห้องทดลองได้แล้ว  ก็ต้องพัฒนาวิธีผลิตในอุตสาหกรรมต่อ ไม่สามารถเอาวิธีการในห้องทดลองไปใช้ได้ทั้งหมด    การจัดการของมหาวิทยาลัยในส่วนนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า Engagement Management    แต่ก็ยังเป็นเพียงเสี้ยวเดียว (เป็นเสี้ยวที่เป็นเงินเป็นทอง เป็นกอบเป็นกำ)    ยังมี EM ต่อ engagement partner กลุ่มอื่นๆ อีก ที่ต้องการทักษะการจัดการต่างกัน  


ตกบ่าย ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย ท่านรักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย รศ. ดร. สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธุ์ เสนอ ppt พัฒนาการของระบบวิจัย และระบบการจัดการงานวิจัยของ มช. ในส่วนพุ่งเป้าสู่การนำ ผลการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (ดูรูป)


ผมชี้ให้เห็นว่าผังความคิดดังกล่าวเน้นที่ “ปลายน้ำ” (downstream) ของระบบวิจัยเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์    ส่วนที่ขาดคือส่วนของระบบการจัดการงานวิจัยส่วน “ต้นน้ำ” (upstream) ซึ่งในยุค ประเทศไทย ๔.๐ ต้องเน้นการจัดการ แบบ Engagement Management    ซึ่งหมายถึงร่วมกับ engagement partners ในการกำหนดทิศทางและจุดเน้นของการวิจัย  รวมทั้งการตั้งโจทย์วิจัยและการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย    ซึ่งโจทย์วิจัยมักเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี หรือการประยุกต์ ใช้ความรู้มากกว่าการสร้างความรู้ใหม่     engagement partners ในที่นี้หมายรวมทั้งภาคธุรกิจ /อุตสาหกรรม  และหน่วยงาน สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม        


วิจารณ์ พานิช

๒๗ ส.ค. ๖๐



 

หมายเลขบันทึก: 637882เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2017 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2017 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for this good news and for the links to details.

I have a message for admin of prcmu.cmu website: (from Firefox)

The owner of www.prcmu.cmu.ac.th has configured their web site improperly. To protect your information from being stolen, Firefox has not connected to this web site.
www.prcmu.cmu.ac.th uses an invalid security certificate. The certificate is only valid for the following names: *.cmu.ac.th, cmu.ac.th Error code: SSL_ERROR_BAD_CERT_DOMAIN


<p></p>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท