มหาวิทยาลัย ๔.๐ ต้องทำงานใน Engagement mode



ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่วิทยาเขตภูเก็ตเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๐  มีการนำเสนอเรื่อง ทิศทางงานวิจัยของวิทยาเขตภูเก็ต  และเรื่องการจัดตั้งวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ 

ผมได้เสนอความเห็นว่า หากต้องการเป็นมหาวิทยาลัย ๔.๐  ที่ปฏิบัติภารกิจเพื่อหนุนการ transform ประเทศ สู่ Thailand 4.0   มหาวิทยาลัยต้องเน้นทำงานวิชาการเน้นที่ Engagement mode   ไม่ใช่เน้นที่ Research mode   และไม่ใช่เน้นที่การผลิตบัณฑิตแบบเดิมๆ 

ผู้ยกร่างโครงการจัดตั้งวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ เน้นการผลิตบัณฑิต “ด้าน Internet of Things, Robotics, Cloud and Network Computing, Big Data, Digital Economy, Financial Technology และ Business Analytics โดยจะเน้นทั้ง ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี การประมวลผลข้อมูล และการจัดการเชิงธุรกิจ”    ซึ่งผมให้ความเห็นว่า ต้องทำงานร่วมกับ engagement partner เชิงยุทธศาสตร์ในภูเก็ต  ในประเทศไทย และในโลก    เพื่อร่วมกันกำหนด “ความรู้และทักษะสำคัญ” ที่บัณฑิตต้องมี     ร่วมกันกำหนดวิธีฝึกให้ได้ ASK (Attitude, Skills, Knowledge) ดังกล่าว     และร่วมกันฝึก

ศ. ดร. นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย อุปนายกสภา ผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุม บอกว่า ต้อง engage กับ partners ภายในมหาวิทยาลัยด้วย    เพราะ “การคอมพิวเตอร์” เป็นศาสตร์ที่ต้องการความรู้พื้นฐานที่ลึก จึงจะทำงานต่อเนื่องไปใน อนาคตได้อย่างดี    เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก    ความรู้พื้นฐานที่ต้องปูให้แน่นได้แก่ คณิตศาสตร์  ฟิสิกส์  วิศวกรรมไฟฟ้า  อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้น

การพัฒนาองค์ความรู้ (วิจัยเชิงพัฒนา) ก็ต้องทำแบบ engagement เช่นเดียวกัน    ผมยกตัวอย่าง potential engagement partner ที่ผมพอจะรู้จักคือบริษัท Digital Alchemy ที่หลานสาวของผมทำงานอยู่     เป็นบริษัท start-up ที่ทำธุรกิจให้บริการ  data analysis for decision-making  โดยใช้  big data technology    ทำธุรกิจมาแล้ว ๑๔ ปี    มีสำนักงานใหญ่อยู่แถวสีลม  มีสาขาอยู่ในหลายประเทศ    วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ต้องหาทางขอเข้าไป engage กับเขา    ซึ่งหมายความว่า ฝ่ายมหาวิทยาลัยต้องมีดี เขาจึงจะร่วมมือด้วย 

นี่คือตัวอย่างวิธีคิดทำงานมหาวิทยาลัย ๔.๐  เพื่อประเทศไทย ๔.๐    รูปแบบหนึ่ง    และน่าจะมีรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย


วิจารณ์ พานิช

๒๗ ส.ค. ๖๐


 

หมายเลขบันทึก: 637746เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2017 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2017 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท