ผูกแขนน้อง คล้องขวัญเฮือน 2560 : การถ่ายทอดวัฒนธรรมเชิงองค์กรผ่านรูปแบบกิจกรรรม หมอลำ และเสียงดนตรี


กิจกรรมดังกล่าวที่เกิดขึ้น ไม่ได้ทำแค่ต้องการความสนุกแต่ต้องการกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับน้อง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของชมรมต่อไป

ผูกแขนน้อง  คล้องขวัญเฮือน  :  การถ่ายทอดวัฒนธรรมเชิงองค์กรผ่านรูปแบบกิจกรรรมหมอลำ และเสียงดนตรี

                กิจกรรมผูกแขนเข้าบ้าน  สานสัมพันธ์น้องพี่  เป็นกิจกรรมที่ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง  จัดขึ้นทุกปีเพื่อเป็นการต้อนรับสมาชิกของชมรมฯ  หลังจากโครงการเปิดโลกกิจกรรม  ที่เปิดรับสมัครผู้ที่มีความสนใจในศิลปวัฒนธรรมอีสาน เข้ามาร่วมสานต่อเจตนารมณ์ของชมรมต่อไป

                  ในวันที่ 16  กันยายน  พ.ศ.2560 ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง  ได้จัดกิจกรรมผูกแขนเข้าบ้าน  สานสัมพันธ์น้องพี่  ซึ่งในปีนี้มาในชื่องาน “ผูกแขนน้อง  คล้องขวัญเฮือน”  ถือเป็นการขึ้นบ้านใหม่ไปในตัวเพราะภายในงานมีกิจกรรมตักบาตรในเช้า ต่อด้วยกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างรุ่นน้องกับรุ่นพี่ ในตอนเย็นมีกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ และกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ  เช่น การแสดงวิถีชีวิตของชาวอีสาน   และกิจกรรมที่กระชับความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นน้องกับรุ่นพี่ให้มีความเหนียวแน่นยิ่งขึ้นโดยใช้พิธีเทียนเป็นเครื่องมือแสดงถึงความหวังดี  ของรุ่นพี่ที่ต้องการให้รุ่นน้องมาดำรงและสืบต่อกิจกรรมที่ดี ๆ ให้คงอยู่ต่อไป

                  ในช่วงบ่ายฐานกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้น้อง ๆ เข้าร่วมในโครงการทำให้ได้รับความรู้และข้อคิดต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตอยู่บนฐานความคิดของชมรม ฯ  สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบของการหล่อหลอมสมาชิกภายในชมรม ฯ  ให้ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่วางไว้   และสอดแทรกในแต่ละฐาน โดยแบ่งพี่ ๆ แต่ละฝ่ายในชมรมเป็นผู้คิดเกมต่าง ๆ  ประกอบด้วย 4 ฐานด้วยกัน  

  • ฐานตีปี๊บ (หัตถกรรม)

                เกมตีปี๊บถือว่าเป็นเกมธรรมดาอย่างมาก  สามารถพบเห็นโดยทั่วไป  เป็นเกมที่เน้นความสนุกแต่กิจกรรมดังกล่าวที่เกิดขึ้น  ไม่ได้ทำแค่ต้องการความสนุกแต่ต้องการกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับน้อง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม  กิจกรรมนี้ใช้วิธีการปิดตาผู้ถือค้อน  เพื่อตามหาปี๊บแล้วตีให้ถูกถึงจะได้รับชัยชนะ   โดยมีเพื่อน ๆ เป็นคนบอกทิศทางที่ปี๊บวางอยู่  คนที่ถูกปิดตาจึงต้องอาศัยความเชื่อใจ  และไว้วางใจเพื่อน  ที่บอกเส้นทาง   เกมนี้ถือได้ว่าเป็นเกมที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของการสร้างผู้นำ  ที่รับฟังผู้อื่นเพื่อพัฒนาองค์กรของตนเองให้งานออกมาดีที่สุดตามที่ได้ตั้งความหวังเอาไว้  ซึ่งต้องอาศัยความเชื่อใจต่อกันและกัน

  •      ฐานใบ้เพลง (ขับร้อง)

                ทำให้เรียนรู้ชื่อเพลงและรู้จักเพลงมากขึ้น  โดยวงแคนต้องออกงานต้องออกงานในเพลงต่าง ๆ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนกัน  เพราะเพลงบางเพลงหลายคนอาจเพิ่งจะได้รู้จักเป็นครั้งแรก  ทำให้ได้ติดตามกันไปหามาฟังและนำมาเล่นในชมรม


  • ฐานกระซิบประโยค (ดนตรี)

                ฐานนี้เป็นอีกฐานหนึ่งที่สร้างความสนุกและแฝงแง่คิดให้เราได้ไตร่ตรองเป็นอย่างมาก  เพราะมีการเล่นที่แปลกนิดหน่อย  นั่นคือให้น้อง ๆ จำประโยคที่รุ่นพี่กำหนดมาให้  แล้วบอกต่อกันไปเรื่อย ๆ จนครบทุกคน  โดยมีรุ่นพี่เป็นคนสร้างความรบกวนสมาธิ  ให้น้อง  ๆ  ลืมประโยคที่ได้มา  ในฐานนี้ได้แฝงข้อคิดของการรับฟังผู้อื่นให้มาก  และมีสติทุกครั้งในการรับฟังข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ได้มา  ซึ่งอาจเป็นความจริง  หรือไม่จริงก็ได้   ข้อคิดข้างต้นสามารถนำมาปรับใช้ในชมรม ฯ ได้  เพราะการทำงานร่วมกับผู้อื่นเราจะต้องรับฟังข้อมูลที่มากมายหลายอย่าง  ซึ่งเราต้องแยกแยะให้เห็นประเด็นข้อมูลข่าวสารที่สามารถนำมาใช้ได้จริง  

  • ฐานกระดาษแผ่นเดียว(นาฏศิลป์)

                ฝึกการวางแผนและการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลและองค์กร  หากสมาชิกในชมรมได้เข้ามาทำงานในชมรมแล้วแน่นอนว่าจะต้องมีการติดต่อสื่อสารกันของคนภายในชมรมและภายนอกชมรม  ดังนั้นการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการแก้ปัญหาร่วมกัน  จึงเป็นสิ่งสำคัญของบุคคลที่อยู่ร่วมกัน

การเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนรู้จากกิจกรรมของโครงการ

                ทั้งนี้หากกล่าวถึงการเรียนรู้ที่ได้จากโครงการต้องบอกไว้เลยว่า  ได้เรียนรู้ทั้งในแง่ของผู้จัดกิจกรรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ไปพร้อมกัน  ในอยู่ในบทบาทหน้าที่ที่ต่างกัน


                    ต้องบอกไว้เลยว่าผู้จัดงานในครั้งนี้  ส่วนมากล้วนแล้วแต่เป็นมือใหม่หรือมือสมัครเล่น  ที่เพิ่งเปลี่ยนผ่านหน้าที่บทบาทในชมรม  ดังนั้นการจัดงานในครั้งนี้จึงเหมือนใบเบิกทางที่จะบอกได้ว่า  จะรุ่งหรือจะร่วง  แต่หลังจากเสร็จงานก็ทำให้เราได้เห็นว่าการร่วมมือกันของสมาชิกในชมรมฯเป็นเหมือนแผ่นผนึกที่เชื่อมติดกัน  ทำให้งานออกมาดี  สิ่งที่ผู้จัดงานได้รับมากที่สุดก็คงจะเป็นประเด็นต่าง ๆอย่างเห็นได้ชัด

  • การเขียนโครงการ
  • การติดต่อประสานงาน
  • การทำหนังสือราชการ
  • การสร้างทีมเพื่อร่วมมือกันในการขับเคลื่อนกิจกรรม


                              สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้สิ่งที่ได้ไปเต็ม ๆ ก็คงจะเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องอาจารย์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทัศนคติและแนวทางในการดำเนินกิจกรรมภายในร่วมกัน  รู้สภาพความเป็นจริงของชมรมที่ไม่ใช่แค่การรับรู้จากภายนอก   สิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือในการประคับประคองชมรมได้

ทบทวน  กระบวนคิด

           หลังเสร็จกิจกรรม   แล้วนำเนื้องานมา วิเคราะห์ SWOT   จะเห็นได้ว่าชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมืองยังมีจุดเด่นและจุดด้อยหลายอย่างที่จะต้องปรับปรุงและส่งเสริมต่อไปในอนาคต   ตามประเด็นต่อไปนี้

  • จุดแข็ง

                  1.ช่วยงานกันอย่างเต็มที่

                  2.มีความสามารถด้านดนตรี   นาฏศิลป์และหัตถกรรม

  • · จุดอ่อน

                   1.ภาวะความเป็นผู้นำ

                   2.กล้าคิด  กล้าทำ  กล้าวางแผน  กล้าตัดสินใจ

                   3.การวางแผนและรูปแบบงาน

  • โอกาส

                  1.พี่ ๆ จากกองกิจการนิสิตคอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำ

                  2. น้อง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมรักในศิลปวัฒนธรรมอีสาน

  • อุปสรรค

                  1. ฝนตก

                   2. การติดต่อประสานงานไม่ค่อยเป็นระบบ



                      กิจกรรมผูกแขนเข้าบ้าน   ได้ฝากเรื่องราวอะไรหลายอย่างให้เราได้กลับไปขบคิดและขับเคลื่อนกิจกรรมต่อ ๆ ไป ทั้งยังเป็นการรับขวัญน้องที่มาเป็นสมาชิกใหม่และได้ปรับแนวทางในการปรับตัว   รวมถึงการใช้ชีวิตในสังคมหรือในชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง   ถือเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชมรมรุ่นพี่กับรุ่นน้อง รวมถึง อาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง ได้เกิดการสร้างกระบวนการแนวคิดที่มีเหตุมีผล ด้านคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนแนวทางการ สร้างแนวความคิดในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานระหว่างสมาชิกภายในชมรมและ องค์กรที่เกี่ยวข้อง  กิจกรรมเหล่านี้ล้วนถูกขับเคลื่อนโดยเวลาและสถานการณ์และสืบทอดกันต่อไป 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปภาพ  :  ฐิติกร  สุรัตนะ

บทความ : ภาณุพงศ์  ธงศรี , พงษ์พัฒน์  จุลอักษร

หมายเลขบันทึก: 637467เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2017 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2017 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กิจกรรมเรียนรู้ดูดีมากครับ....

แต่ยังขาดอะไรหลายอย่างมากเลยครับ  อยากให้อาจารย์ช่วยเติมเต็มด้วยนะครับ   เรายังคลำทางไม่ถูกเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท