อาหารต้านมะเร็ง โดย ไพศาล เลาห์เรณู บทที่ ๗ สารก่อมะเร็ง




 

บทที่ 7  Carcinogens (สารใดๆที่ก่อให้เกิดมะเร็ง)

                มะเร็งเป็นโรคร้ายที่พล่าชีวิตคน (และสัตว์) มากมาย จึงมีการศึกษาหาต้นเหตุของการเกิดมะเร็งในรอบหลายสิบปีมาแล้ว หลายหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวของกับมะเร็ง เช่น International Agency for Research on Cancer (IARC) ของ WHO  National Toxicology Program (USA) ได้ทำการวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ carcinogens จากสสารและสิ่งมีชีวิตมากกว่า 900 ตัวอย่าง ซึ่งผลพอจะแยกออกได้เป็น 5 กลุ่มคือ สิ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็งในคน สิ่งที่น่าจะเกิดมะเร็งในคน สิ่งที่อาจจะเกิดมะเร็งในคน สิ่งไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าจะก่อให้เกิดมะเร็ง สิ่งที่ไม่น่าจะเกิดมะเร็งในคน


สรุปตัวอย่าง Carcinogens ที่ก่อให้เกิดมะเร็งในคน

  • สสารทางเคมี (Chemistry) ตัวอย่างเช่น (ตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ)
  •  สสารทางฟิสิกส์ (Physics) ตัวอย่างเช่น
  • สิ่งมีชีวิต (Biology)


Alfatoxins, alcoholic beverages, arsenic and arsenic compounds, asbestos, benzene, benzo-pyrene, beryllium and its compounds, cadmium and compounds, engine exhaust (เขม่าควันจากเครื่องยนต์), ethylene oxide, formaldehyde, leather dust, nickel compounds, paints (สูดกลิ่น), processed meat (เนื้อที่ปรุงแต่งหรือแปรรูป), shale oil, tobacco smoke (ทั้งผู้สูบและผู้ไม่สูบแต่ได้รับควันบุหรี่)

 

Aluminum ระหว่างผลิต, Coal จากการหุงต้ม, ผงฝุ่นถ่านหิน จากการผลิต, ฝุ่นละอองจากเหมือง (ระหว่างผลิต), ฝุ่นจากโรงงานหนัง (ระหว่างผลิต), ฝุ่นมลพิษทางอากาศ, ขี้เท่า, ฝุ่นจากโรงเลื่อยไม้ รังสีชนิด ionizing radiations

 

พยาธิใบไม้เลือด (Schisotoma haematobium), พยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchis viverrini,  Chornorchis spp.), Helicobacter pylori (bacteria), virus HIV-1, human T-cell lymphotropic virus type 1

 

   ดังนั้น สารที่ก่อให้เกิดมะเร็งมีมากมายหลายสิบชนิด ทั้งเป็นสิ่งมีชีวิตและสารเคมีต่างๆ สารเหล่านี้มีทั้งในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม อาหารเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่อาจมีสารก่อมะเร็งอยู่ในองค์ประกอบ หรือติดมาจากสิ่งแวดล้อม ในหนังสือนี้จะเขียนเฉพาะสารหรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดมะเร็งจากการบริโภคอาหารเท่านั้น จะไม่รวมถึงสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น ควันบุหรี่ มลพิษจากอากาศ อุตสาหกรรม หรือแม้แต่อัลกอฮอลในเครื่องดื่ม

   จะขอกล่าวถึง carcinogens ที่มีในอาหารตามกลุ่มดังนี้

  • Carcinogens ที่เกิดจากการหุงต้มอาหาร
  • Carcinogens ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับวงจรผลิตและเก็บรักษาคุณภาพของอาหาร
  • Carcinogens จากสิ่งแวดล้อมในการผลิต เก็บรักษาคุณภาพ และแปรรูปอาหาร


Carcinogens ที่เกิดจากการหุงต้มอาหาร

   Acrylamide เป็นสารเคมีที่ใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมกระดาษ พลาสติก สีย้อมผ้า และอาจเกิดขี้นได้จากการหุงต้มมันฝรั่งด้วยความร้อนสูง เช่นการผลิต French fries, potato chips ที่ใช้ความร้อนสูงกว่า 120 C จากการวิจัยในยุโรปและอเมริกา acrylamide ในอาหารเพิ่มการเสี่ยงจากมะเร็งเต้านมสตรี และมะเร็งในไต

   Nitrosamine เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารจำพวก เนื้อหมักดอง เช่น เบคอน แฮม ไส้กรอก ที่จะต้องใส่สารกลุ่ม nitrite เพื่อรักษาสีชมพูของเนื้อสดและลดอัตราการเน่าเสีย ในระหว่างการทำหมักดอง โปรตีนในเนื้อสัตว์จะเริ่มสลายตัวมาเป็นโมเลกุลเล็กๆเรียกว่า amine ซึ่งจะทำปฏิกิริยาต่อกับสารกลุ่ม nitrite ทำให้เกิดเป็น nitrosamine ในอาหารชนิดนั้น nitrosamine อาจเกิดขึ้นในอาหารอื่นๆ เช่น เนยแข็ง เบียร์ ในระหว่างการหมักดอง

   Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAH) เป็นสารเคมีกลุ่มใหญ่ที่เกิดจากการผลิตถ่านหิน การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และควันบุหรี่ ที่อาจทำให้อาหารเปรอะเปื้อนได้ นอกจากนั้น PAH ยังเกิดขึ้นในระหว่างหุงตุ้มอาหาร โดยเฉพาะการปิ้ง ย่าง รมควันอาหารพวกเนื้อสัตว์ หรือการอบแห้งกาแฟ ชา ก็อาจเพิ่มปริมาณ PAH ได้ PAH เกิดขึ้นได้ง่ายจากการปิ้งเนื้อสัตว์บนเตาที่มีเปลวไฟ ไขมันจากเนื้อสัตว์ที่ไหลออกมาระหว่างการปิ้ง จะทำปฏิกิริยากับเปลวไฟทำให้เกิดสาร benzopyrene ซึ่งเป็น PAH ชนิดหนึ่งติดอยู่กับอาหาร PAH ในอาหารจะเพิ่มการเสี่ยงเป็นมะเร็งในปอด กระเพาะปัสสาวะ และระบบทางเดินอาหาร

Carcinogens ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตในอาหาร

   อาหารอาจมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดติดมาด้วยตามกระบวนการผลิตอาหารทั่วไป สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจมีเชื้อราที่มีทั่วไปในสิ่งแวดล้อมและเปรอะเปื้อนอาหารในระหว่างการผลิต  และเก็บรักษาอาหาร ซึ่งอาจเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสร้างพิษต่างๆ


  • พิษจากเชื้อรา

   เชื้อรามีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ส่วนมากมาจากดิน แล้วฟุ้งกระจายในอากาศ เข้ามาเปรอะเปื้อนอาหารได้ตั้งแต่ในไร่ ในนา ระหว่างการแปรรูปและเก็บรักษา พิษสำคัญจากเชื้อราในอาหารที่ก่อโรคต่างๆให้มนุษย์และสัตว์มีดังนี้

    Aflatoxin ที่ผลิตจากเชื้อรา Aspergillus flavus และ A. parasiticus  ที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติและเติบโตในอาหารที่มีความชื้นสูงเกินกว่า 10% สามารถผลิต aflatoxin ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งในตับอย่างร้ายแรงได้จากการบริโภคอาหารที่มีพิษชนิดนี้  เชื้อรา A. flavus และ  A.parasitcus  จะเติบโตและสร้าง aflatoxin ได้ในอาหารที่ไม่ได้ผลิตและเก็บรักษาถูกต้องตามกระบวนการ Good Manufacturing Practices (GMP) เท่านั้น เช่นเมล็ดพืช ที่อบไม่แห้งพอและมีความชื้นเกินกว่า 10% อาหารหมักดองที่มีราขึ้นตามกระบวนการผลิต เช่น ปลาร้า ในเมืองไทย

   ยังมีเชื้อราอื่นๆนอกจาก Aspergillus spp. ที่สามารถเติบโตในอาหารและสร้างพิษกับมนุษย์และสัตว์  พิษของเชื้อราเหล่านี้เช่น

      Ochratoxin A ที่สร้างขึ้นโดยเชื้อรา Aspergillus และ Penicilium spp  นอกเหนือไปจาก A. flavus และ A. parasiticus  ดังกล่าวข้างบนในอาหารเช่น เมล็ดพืช (ข้าว ข้าวสาลี ข้างโพด) เครื่องเทศ ไวน์และน้ำองุ่น ในระหว่างการเก็บที่ไม่ถูกต้องตาม GMP

      Patulin เกิดขึ้นจากเชื้อราชนิดต่างๆโดยเฉพาะ Penicillium expansum ในผลไม้ น้ำแอบเปิล และเมล็ดพืช

      Fusarium toxins เกิดขึ้นจากเชื้อรา Fusarium spp. . ในเมล็ดพืช เช่นข้าวสาร ข้าวสาลี ข้าวโพด

   นอกจากนั้นยังมีเชื้อราอื่นๆที่สร้างพิษในอาหาร ทำให้เกิดโรคต่างๆในมนุษย์และสัตว์ พิษจากเชื้อราส่วนมากเป็น carcinogens หรืออาจจะเป็น carcinogens

   โปรดจำไว้ว่าเชื้อราทุกชนิดจะเติบโตได้ในอาหารชนิดต่างๆที่ผลิต แปรรูป หรือเก็บรักษาไม่ถูกต้องตามกระบวนการ GMP จะสังเกตว่าอาหารเหล่านี้มีกลิ่นอับ ไม่สดเหมือนอาหารปกติทั่วไป หรืออาจเห็นสปอร์เชื้อราสีขาว สีเขียว หรือสีดำ ปะปนอาหาร พิษจากเชื้อราเป็นสารเคมีที่ complex ไม่อาจทำลายได้ด้วยความร้อนในการหุงต้มอาหารหรือกรรมวิธีถนอมอาหารใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารทุกชนิดที่ราขึ้น

   เชื้อราไม่ทุกชนิดสร้างพิษต่อคนและสัตว์ ราบางชนิดมีประโยชน์ในการผลิตอาหาร เช่น เนยแข็งบางชนิดเช่น Brie Camenbert Blue Cheese ได้ประโยชน์จากเชื้อราพวก Penicillium spp. ในระหว่างการผลิต เมื่อเนยแข็งพวกนี้หมักได้ที่แล้ว จะเห็นเชื้อราติดมากับเนยสำเร็จรูป





Blue cheese ที่มีเชื้อราสีเขียวปะปนอยู่ทั่วไป


เชื้อราที่คนและสัตว์กินเป็นประจำคือ เห็ดชนิดต่างๆ แต่มีเห็ดบางชนิดที่สร้างพิษในตัวที่เป็นอันตรายย่างร้ายแรงต่อการบริโภค

  •  สิ่งมีชีวิตในอาหารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
  •  Carcinogens จากสิ่งแวดล้อมในการผลิต แปรรูปและเก็บรักษาคุณภาพอาหาร

      พยาธิใบไม้ในตับหรือ Liver Fluke (Opisthorchis viverrini และ Clonorchis sinensis) ประชากรในประเทศไทยและประเทศข้างเคียงนิยมกินปลาดิบ(ปลาน้ำจืด) ที่จับได้จากไร่นา โดยไม่นำมาหุงต้มก่อนบริโภค ปลาดิบเหล่านี้มีพยาธิ O. viverrini (มีมากในไทย ลาว เขมร) และ C. sinensis (มีมากในเกาหลี จีน) ที่มีวงจรชีวิตผ่านจากหอยที่เป็นพาหะเพาะตัวอ่อนแล้วปล่อยออกไปในน้ำ ปลากินพยาธิตัวอ่อนซึ่งไปเติบโตในเนื้อปลา เมื่อคนกินเนื้อปลาดิบก็จะกินพยาธิตัวอ่อนที่เข้าไปโตเต็มที่ในตัวคนและทำอันตรายต่อท่อน้ำดี (bile duct) กลายเป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับ ทำให้ท่อน้ำดีเป็นแผล อักเสบ ถึงแม้ว่าจะรักษาโรคพยาธิใบไม้ในตับได้ การอักเสบของแผลในท่อน้ำดีอาจทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีได้ในภายหลังอีกหลายปี หรือหลายสิบปี

   (ในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา แพทย์จากโรงพยาบาลทหาร Walter Reed Hospital ในสหรัฐอเมริกาพบว่าทหารอเมริกันที่เคยออกรบในสงครามเวียดนามเมื่อ 30-40 ปีก่อน เป็นมะเร็งในท่อน้ำดีมากราย จากการสืบประวัติของทหารเหล่านี้จึงรู้ว่า ได้เคยประจำการในไทย ลาว และกินอาหารตามแบบชาวบ้าน คือกินปลา (น้ำจืด) ดิบๆ แผลจากท่อน้ำดีที่อักเสบและรักษาหายเมื่อก่อนหน้านั้น ได้กลับมามีอาการเมื่อทหารเหล่านี้มีอายุมากขึ้น กลายเป็นมะเร็งในท่อน้ำดีในที่สุด)

   ผู้เขียนเคยแนะนำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ทำการวิจัยการควบคุมโรคใบไม้ในตับ โดยเอาปลาดิบไปฉายรังสีแกมม่าในปริมาณที่พอเหมาะ ปรากฏว่าการวิจัยได้ผลดีเกินคาด เพราะรังสีปริมาณที่เหมาะสมหยุดยั้งการเจริญเติบโตของพยาธิ ไม่สามารถโตเต็มที่เป็นตัวแก่ที่ทำอันตรายท่อน้ำดีในคน ดังนั้นคนที่กินปลา(น้ำจืด) ดิบๆที่ผ่านการฉายรังสี ก็จะไม่เป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับ ผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์ในวารสารของคณะวิทยาศาสตร์เขตร้อน และของ International Atomic Energy Agency ที่ผู้เขียนเคยทำงานอยู่ (น่าเสียดายที่งานวิจัยนี้ไม่มีผลในทางปฏิบัติ เพราะชาวบ้านกินปลาดิบที่จับได้จากคูคลองในไร่นา แล้วนำมากินโดยเร็วหลังจากจับได้ โดยไม่ผ่านขั้นตอนทางการค้าที่อาจจะเพิ่มกรรมวิธีฉายรังสีปลาดิบก่อนบริโภค เพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับได้)

   แบคทีเรีย Helicobacter pylori ที่มีอยู่ในกระเพาะของคน และอาจทำให้เกิดโรค ulcer (พุงอืด เรอบ่อยๆ ปวดท้องหลังทานอาหาร กลิ่นปากแรง อาเจียนบ่อย) ที่เป็นสาเหตุของเลือดออกในกระเพาะ และเพิ่มการเสี่ยงการเป็นมะเร็งในกระเพาะ (stomach cancer) แต่การเป็น ulcer ไม่จำเป็นจะต้องเป็นมะเร็งกระเพาะเสมอไป

   ไวรัส HIV คนที่มีเชื้อไวรัส HIV มีภูมิต้านทานโรคต่างๆน้อย ผู้ป่วยที่มีไวรัส HIV มักจะมีไวรัสสายพันธ์อื่นๆที่ก่อให้เกิดมะเร็งติดมาด้วย ดังนั้นคนเหล่านี้จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูง โดยเฉพาะมะเร็งปอด ตับ สำใส้ใหญ่

      ยาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อราหลายชนิด ที่ใช้ในไร่นาและระหว่างการเก็บรักษาคุณภาพอาหาร มีคุณสมบัติเป็น Carcinogens หรือสารที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้ได้แก่พวก organochlorines, creosote และ sulfallate ยาฆ่าแมลงบางกลุ่ม เช่น DDT, chlordane, lindane  มีผลทำให้เกิดเนื้องอกได้มากขึ้น

   การใช้ยาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อราในอาหารจะต้องทำตามกฎข้อบังคับ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการมาตรฐานอาหารสากล (Codex Alimentarius Commission) ที่กำหนดว่าสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงในอาหารจะต้องไม่สูงกว่ามาตรฐานที่ระบุไว้ จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่จะต้องตรวจตราสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงในอาหารอย่างเคร่งครัด เพราะประชาชนทั่วไปไม่มีความรู้ว่าจะเลือกซื้ออาหารประเภทใดถึงจะปลอดภัยจากสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อรา

   Ethylene oxide (EO) เป็นสารเคมีที่ใช้รมควันอาหารแห้ง เช่น เครื่องเทศ เมล็ดพืช เพื่อกำจัดแมลงและจุลินทรีย์ EO เป็น carcinogen อย่างแรง หลายประเทศโดยเฉพาะสมาคมยุโรป (EU) ห้ามใช้ EO รมควันอาหารทุกชนิด แต่สหรัฐอเมริกายังอนุญาตให้ใช้ EO รมควันเครื่องเทศ และอาหารแห้งหลายชนิด โดยอ้างว่าการเสี่ยงเป็นมะเร็งจากอาหารที่รมควันด้วย EO มีไม่มากเพราะคนอเมริกันกินเครื่องเทศในอาหารไม่มากนัก

 Ethylene dibromide (EDB) ใช้เป็นสารรมควันดินเพื่อกำจัดแมลงและปลวก และใช้รมควันผลไม้เพื่อฆ่าคัวหนอนและไข่แมลง แต่เนื่องจาก EDB มีอันตรายกับผู้ใช้ และสารตกค้างเข้าไปอยู่ในน้ำใต้ดิน เมื่อมนุษย์และสัตว์ดื่มน้ำนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกรรมพันธุ์และอาจเป็น carcinogen ได้ด้วย สหรัฐอเมริกาจึงห้ามใช้ EDB ในการรมควันในปี 1983 มีผลให้ USDA เลิกใช้ EDB รมควันผลไม้ตามมาด้วย

Methyl bromide (MB) ใช้เป็นสารรมควันแพร่หลายทั้งผลไม้ เมล็ดพืช และดิน เพื่อกำขัดแมลงชนิดต่างๆ แต่ MB เป็นสารที่ทำลายโอโซนในอวกาศ ซึ่งมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ MB ถูกสั่งให้ลดลงไป (phased out) ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ Montreal Protocol ที่ต้องการกำจัดหรือลดการใช้สารทุกชนิดที่ทำลายโอโซนในอวกาศ MB ก่อให้เกิดอันตรายจากผู้ใช้สารรมควันนี้ทางด้านการเปลี่ยนแปลงทางกรรมพันธุ์และอาจจะเพิ่มการเสี่ยงเป็นมะเร็งได้อีกด้วย


 

 

 



หมายเลขบันทึก: 637364เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2017 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2017 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

May I add one implication of the previous government's rice pledging scheme when rice was acquired, stored, fumigated with Methyl Bromide and sold domestically (under pretense of G2G export). Unwittingly, this may be a major cause of cancer in Thailand poplulation.

Some news headlines back in that time are listed below. They make good reading.

ฉีกซอง - กรมวิชาการเกษตร
doa.go.th/pibai/pibai/n16/v_6-july/ceaksong.html
รมยากับการค้าข้าว ... การรมยาใช้ทั้งกับการรมดิน เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในดินก่อนการปลูกพืช การรมผลผลิตพืช ... เมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) มีสูตรทางเคมี คือ CH3Br ...

สารรมข้าวไม่อันตราย ระเหยใน 5 วัน | สสจ.ชัยภูมิ ONLINE
cpho.moph.go.th/wp/?p=15964
Jul 17, 2013 - พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า สารที่ใช้ในการรมข้าวที่เก็บไว้ในโกดัง คือ “เมทิลโบรไมด์” (Methyl bromide) และ “อลูมิเนียมฟอสไฟด์” ...

สัมภาษณ์ - ปาฐกถา - 'นักวิชาการเกษตร' ไขความกระจ่าง ปมสารตกค้างข้าวถุง ...
https://www.isranews.org/.../22491-‘นักวิชาการเกษตร’-ไขความกระ...
Jul 20, 2013 - สารตกค้างจากการรมยาป้องกันมอด แมลงในข้าวสาร ... และพบว่า มีบางตราสินค้าที่มี 'เมทิลโบรไมล์ (Methyl Bromide)' ซึ่งเป็นสารรมควันข้าว ...

...จริงๆ แล้ว ในปัจจุบัน 'สารเมทิลโบรไมล์' เป็นสารที่ทั่วโลกกำลังลด เลิกการใช้ เนื่องจากมีการพิสูจน์พบว่า... ทำให้ชั้นโอโซนโหว่ จึงใช้เฉพาะในการส่งออก เพื่อควบคุมแมลงก่อนนำเข้าแต่ละประเทศเท่านั้น

ถามว่าทำไมยังใช้อยู่ได้ เพราะเมทิลโบรไมล์นั้นรมเพียงหนเดียว แต่ฟอสฟีนต้องใช้ระยะเวลารม 5-7 วัน จึงไม่คุ้มทุน หากผู้ค้าข้าวในการส่งออกต้องจ่ายค่าท่าเรือถึง 7 วัน

• หากเป็นเช่นนั้น ทำไมถึงตรวจพบเมทิลโบรไมล์กับข้าวบรรจุถุงในประเทศ?
เรามีการควบคุมการใช้สารนี้เพื่อส่งออก และกักกันศัตรูพืชเท่านั้น แต่ไม่ได้ใช้ทั่วไป ฉะนั้น องค์การคลังสินค้า (อคส.) จะให้ใช้ฟอสฟีน

ก็งงเหมือนกันว่า ทำไมถึงตรวจสอบพบสารเมทิลโบรไมล์จากข้าวถุงภายในประเทศ !!

เพราะเมทิลโบรไมล์ราคาสูงกว่าฟอสฟีน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้อยู่แล้ว ยกเว้นจะเป็นผู้ส่งออกด้วย หรือข้าวล็อตนั้นเป็นล็อตเดียวกับข้าวส่งออก

"ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป อีกหน่อยต่างประเทศจะมองว่า ไทยทำผิดสัญญา นำเมทิลโบรไมล์มาใช้กับข้าวในประเทศ"

• สรุปว่า 67 ppm ที่เกินมาตรฐานนั้นเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่?
ตัวเลข 67 ppm นั้นสูงกว่ามาตรฐานเพียงนิดเดียว พืชบางชนิดให้ถึง 100 ppm แต่นื่องจากข้าวเป็นสิ่งที่บริโภคมาก แต่ก็ไม่ใช่อาหารที่พร้อมรับประทาน ต้องผ่านน้ำ ผ่านความร้อน สารตกค้างก็จะสลายไป

"ตามกระบวนการหุงข้าว ต้องผ่านการซาวน้ำ สารรม 2 ตัวนี้เป็นแก๊ซระเหยได้ เมื่อหุงสุกความร้อนจะกำจัดได้ทั้งหมด และเร็วๆ นี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรคงจะให้ทำการศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ"...

ผลทดลองชี้'เมทิลโบรไมด์'ตกค้างในข้าว แพทย์ชี้ก่อมะเร็ง-คนรับสารตายใน19 ...
www.tcijthai.com/news/2013/08/...
Aug 13, 2013 - “การกระจายตัวของเมทิลโบร์ไมด์พบว่า เมื่อมีการรมข้าวด้วยเมทิลโบร์ไมด์ จะสามารถซึมเข้าสู่เนื้อข้าวสารได้ถึง 70 ... เมทิลโบรไมด์ (Methyl bromide) 2.ฟอสฟีน ...
...“ผลการศึกษาพบว่า เมื่อนำข้าวสารมาซาวน้ำ พบโบรไมด์ 51 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อนำมาหุงเป็นข้าวสวย พบโบร์ไมด์ 41.2 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับผลการทดลองในข้างต้นว่า เมทิลโบรไมด์ซึมเข้าสู่เนื้อข้าวจริง เพราะฉะนั้นข้าวที่นำมาทำความสะอาดและหุง จึงยังพบว่ามีเมทิลโบรไมด์อยู่ กรณีของเส้นก๋วยเตี๋ยว พบว่า เมื่อนำข้าวที่ซาวน้ำเรียบร้อยแล้วมาโม่เป็นแป้ง พบเมทิลโบรไมด์ 51 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำแป้งไปอบไอน้ำ 15 นาที พบเมทิลโบรไมด์ 40 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อนำมาอบไอน้ำครั้งที่ 2 เป็นเวลา 20 นาที พบเมทิลโบรไมด์ 7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ และเมื่อนำส้นมาต้มพบเมทิลโบรไมด์ 5.2 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า การทำให้เมทิลโบรไมด์ลดลงต้องใช้ระยะเวลา และความร้อนที่นานพอสมควร ชัดเจนว่า เมทิลโบรไมด์ไม่ได้จับอยู่ที่เปลือกเท่านั้น หากแต่ยังซึมเข้าไปสู่เนื้อข้าวสาร และเมื่อนำมาล้างทำความสะอาด นำมาหุงเมทิลโบรไมด์ก็ยังคงอยู่” ดร.จิราพรกล่าว...
...ผลกระทบต่อสุขภาพของเมทิลโบรไมด์ว่า เกิดพิษแบบเฉียบพลัน ในผิวหนัง ก่อให้เกิดการอักเสบ พุพอง ในทางเดินหายใจ หลังการสัมผัส 4-12 ชั่วโมง จะเกิดอาการปอดบวมน้ำ เข้าไปกดระบบประสาทส่วนกลางทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน สั่น อ่อนแรง หลอน ชัดและท้ายที่สุดนำไปสู่การเสียชีวิต มีกรณีศึกษาว่ามีการนำสารเมทิลโบรไมด์มาพ่นรมในบ้าน เพื่อกำจัดแมลง และให้คนเข้ามาเช่า พบว่าคนที่ได้รับสารเกิดอาการชักกระตุก อวัยวะภายในล้มเหลว และเสียชีวิตใน 19 วันต่อมา...ในสหรัฐอเมริกามีงานศึกษาทางระบาดวิทยา Agricultural Health Study ศึกษาเกษตรกร 7,814 คน นาน 14 ปี พบว่าเกษตรที่ใช้เมทิลโบรไมด์เป็นมะเร็งในกระเพาะ 1.4-3.13 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ใช้ และยิ่งใช้นานจะยิ่งเป็นมากขึ้น และมะเร็งต่อมลูกหมาก 1.5-3.47 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ใช่ ซึ่งในทางระบาดวิทยาถือว่ามีสารพิษแน่นอน” น.พ.ปัตพงษ์ กล่าว...


<p></p>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท