ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมของภาคเหนือ



วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ ผมไปร่วมประชุมทางวิทยาการ โครงการวิจัย “ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมของไทยในปริทรรศน์ประวัติศาสตร์” ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน    โดยมี ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร เป็นหัวหน้าทีม    หลังจากไปร่วมงานนำเสนอส่วนของภาคใต้เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๐   ดังเล่าไว้ ที่

ไฮไล้ท์ของงานน่าเป็นรายการพิเศษ การเสวนาเรื่อง “ข้อคิด บทเรียน และอนาคตของพัฒนาการ ทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยโดย คุณนวพร เรืองสกุล, ศาสตราจารย์ ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา  มี ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร ดำเนินการเสวนา 

ชื่อเรื่องของการเสวนากว้างมาก   ศ. ดร. อารยะ พูดก่อน   ท่านเป็นเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ด้านเศรษฐศาสตร์    ทำงานวิจัยเน้นด้านความเหลื่อมล้ำ     ท่านพูดหลายเรื่อง ที่ผมติดใจที่สุดคือการออกจากกับดักรายได้ปานกลาง    ที่ท่านอ้างคำของศาสตราจารย์ Michael Spence (Nobel Prize 2001) ว่าประเทศที่ออกจากกับดักไม่ได้เพราะเสพติด ผลประโยชน์เดิมๆ (เช่น แรงงานราคาถูก)    ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ทำให้แข่งขันไม่ได้

ท่านให้ตัวเลขว่า ในปี 1960 มีประเทศรายได้ปานกลาง ๑๐๑ ประเทศ    ห้าสิบปีให้หลัง ในปี 2010   มีเพียง ๑๕ ประเทศ ที่ก้าวข้ามสู่ประเทศรายได้สูงได้สำเร็จ    คำแนะนำของท่านคือ จะเป็น Thailand 4.0 ได้ ต้องไม่หลงวนเวียนอยู่กับ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ    ต้องเน้นจัดระบบ innovation เพื่อก้าวกระโดด


คุณนวพร บอกว่า ศ. อารยะพูดภาพ macro แล้ว    ดังนั้นท่านจะพูดระดับ micro และ super micro    โดยเล่าเรื่อง ครอบครัวของท่านที่บิดาเป็นลูกชาวนา คือปู่ย่าเป็นลาวพวนล่องเรืออพยพมาจากศรีสัชนาลัยมาตั้งรกรากที่สิงห์บุรี    ไม่ใช่ชาวนาที่ยากจน   แต่ทำนาแบบคนมีความรู้ มีวิธีหว่านข้าว และคัดพันธุ์ข้าว    ผลิตข้าวหอมชั้นดี   เป็นข้าว ที่มีคนแย่งซื้อ    มีเงินส่งลูกมาเรียนที่กรุงเทพ โดยอาศัยอยู่ที่วัด   และในที่สุดได้ทุนเล่าเรียนหลวง ไปเรียนต่างประเทศ    คือคุณพ่อของคุณนวพร    เป็นสามัญชนที่ได้รับทุนรัฐบาลไปเรียนต่างประเทศ 

พันธุ์ข้าวของปู่และย่าส่งประกวดทุกปี และได้รับรางวัล    สมัยนั้นชาวนาคัดพันธุ์ข้าวไว้ทำพันธุ์  พึ่งตนเองได้    มีพันธุ์ข้าวหลากหลาย    แต่เวลานี้ชาวนาซื้อพันธุ์ข้าว    

ลุงของคุณนวพรคนหนึ่งเป็นครู   เป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านพวนที่สิงห์บุรี    ผลิตนักเรียนคุณภาพสูง คนหนึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจ   

ท่านเล่าว่าพ่อทำราชการ แม่เป็นแม่บ้านดูแลบ้านเลี้ยงลูก และเก็บหอมรอมริบ    ผมขอเล่าต่อว่า คุณนวพรเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสายอักษรศาสตร์ สอบได้ที่ ๑ ของประเทศปี ๒๕๐๕    และได้ทุนธนาคาร แห่งประเทศไทย ไปเรียนต่อต่างประเทศ   

ท่านพูดเรื่องวิธีส่งเสริมคนเก่งที่ไปเรียนต่างประเทศ และกลับมาทำงาน    ซึ่งเวลานี้หน่วยงานต่างๆ มักไม่ได้เอาใจใส่ฝึกคนเก่งให้แกร่ง รู้งาน และซื่อสัตย์เห็นแก่ส่วนรวม   คือเราไม่มีระบบสร้างคนเอาไว้ทำงาน ให้แก่บ้านเมือง    

ท่านหันกลับมาเสนอภาพใหญ่ ว่าคนมีความรู้ที่มีเวลาควรเขียนประวัติศาสตร์สังคม เอาไว้สอนใจคน   ดังที่ท่านเขียนเล่าเรื่องของพ่อ เรื่องของแม่    ท่านกำลังทำประวัติศาสตร์ของ ๑๒ เดือนที่ผ่านมา    ได้รู้ว่าคนบันทึกเลือกตามการตีความคุณค่าของคน    พยายามหาจุดหมุน (จุดคานงัด) ที่ช่วยให้แก้ไขปัญหาได้    ไว้เป็นตัวอย่าง

ท่านเข้าสู่ประเด็นข้อคิดบทเรียนในอดีตเพื่อการพัฒนาประเทศในอนาคต    ยกประเด็นการคมนาคม ที่เชื่อมต่อระบบราง รถยนต์ (ถนน)  เครื่องบิน แบบต่อกันเป็นใยแมงมุม    ไม่ใช่ขนานกันแบบของไทยและอเมริกัน   

รากฐานสังคมไทยเป็น consumer society ซื้อดะ    ไม่คิดสร้างเอง    เป็นสังคมใช้อารมณ์ ไม่ชอบใช้เหตุผล    ไม่ชอบคิดลึกๆ    ไม่พุ่งความสนใจไปที่ประเด็นหลัก    พูดถึงแต่ส่วนเล็กๆ น้อยๆ

ท่านเน้นการเป็นคนทำ  และอธิบายหรือเล่าเรื่องที่ตนทำได้  

เพื่อประเทศไทย ๔.๐ เราต้องเน้นคุณภาพ  ไม่ใช่ที่ปริมาณ หรือขนาด    และหน่วยงานที่ควรยุบคือ BOI   การยกเว้นภาษี    การคิดแบบเก่าๆ จะทำให้ไปสู่ประเทศไทย ๔.๐ ไม่ได้

จากการคิดสู่การทำมีหลายขั้นตอนมาก   คนทำควรได้ผลประโยชน์มากกว่าคนคิด    เป็นเรื่องของ incentive ที่จะต้องเน้นผลงานต่อเนื่อง ไม่ใช่กินบุญเก่า    และเมื่อมีปัญหาต้องคิดแก้ที่เหตุไม่ใช่แก้ตรงจุดปัญหา   

ท่านบอกว่า การคิดอนาคตของบ้านเมืองต้องคิด 3 scenario   ฉากอนาคตแรกคือไปเรื่อยๆ อย่างเดิม   ฉากที่สองเป็น best case scenario   ฉากที่สามเป็น worse case scenario    ประเทศไทยเป็น worse case scenario คือตกต่ำลงเรื่อยๆ    เพราะไม่เรียนรู้    ท่านยกตัวอย่างเกษตรกรปลูกมะนาว ปลูกกันมาก ขายไม่ออก    ก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วย    ถ้าเป็นแม่ของท่านจะบอกให้คั้นน้ำไว้ขาย 

สุดท้ายท่านบอกว่าจะให้บ้านเมืองเจริญจริงต้องไม่ยึดการเพิ่มจีดีพีเป็นเป้าหมายหลัก    เพราะจีดีพีมันเป็นค่าเฉลี่ย  มันหลอกให้เรายอมรับการที่คนรวยเอาส่วนแบ่งไปหมด 

เรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่นำเสนอเป็นเรื่องแรกคือ โครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมทางบก กับการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคเหนือ พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๕๙ โดยพิมพ์อุมา ธัญธนกุล   ที่เดิมการค้าเป็นคาราวานทางบก    มีใช้เรือไม่มาก   ต่อมามีทางรถไฟ   และต่อมาสร้างถนน

เรื่องที่สองที่ผมมีโอกาสฟังคือ พัฒนาการของกลุ่มทุนและเครือข่ายธุรกิจในภาคเหนือของประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๔๖ - ปัจจุบัน โดยชัยพงษ์ สำเนียง ซึ่งนำเสนอแบบ analytical & synthetic ดีมาก    แต่ผมฟังเพียงนิดเดียว ก็ต้องจากมาด้วยมีภารกิจของครอบครัว     เว็บไซต์ประชาไท นำมาเอ่ยถึงที่  

 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ส.ค. ๖๐


 

หมายเลขบันทึก: 637362เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2017 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2017 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you.

This is very useful story that encourage lateral thinking.

I wish organizers of similar events would provide proceedings (at least summary and highlights) to the public to help leap-frog Thailand's development.


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท