แรงงานนักโทษมาเลเซีย บูม มูลค่า ๒,๔๐๐ ล้าน


การใช้แรงงานนักโทษ ผลิตสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ เพื่อจำหน่าย ช่วยให้นักโทษมีรายได้ เป็นปัจจัยสำคัญ ในการช่วยลดการกระทำความผิดซ้ำ.....................................


แนวคิดในการใช้แรงงานนักโทษของเรือนจำมาเลเซีย ผ่านโปรแกรมการฝึกอบรม ความรู้ ทักษะ อาชีพ ด้านอุตสาหกรรม และ อาชีวศึกษา เช่น อุตสาหกรรม อาหาร เบเกอรี่ อาหารแช่แข็ง ผ้าก๊อปปี้ ผ้าบาติก เฟอร์นิเจอร์ หัตถกรรม ผลิตภัณฑ์โลหะ เสื้อผ้า การเกษตร สปา บริการใบหน้า เป็นต้น สามารถสร้างรายได้แก่เรือนจำมาเลเซีย มูลค่า ๒๗๐ ล้าน ริงกิต ในปี ๒๐๑๔ และ มูลค่า ๓๐๐ ล้าน ริงกิต หรือ ประมาณ ๒,๔๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๐๑๕ ด้านการดำเนินงาน เป็นการดำเนินงาน ผ่านโปรแกรมการฝึกอบรม ความรู้ ทักษะ อาชีพ มีนักโทษเข้าร่วมในโครงการฯ ประมาณ ๘,๐๐๐ คน ทั่วประเทศ รวมตลอดถึง การสนับสนุนให้นักโทษที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมเปิดบัญชีธนาคารส่วนบุคคล เพื่อออมเงินที่ได้จากการทำงานไว้ใช้สอยภายหลังพ้นโทษ ด้านการจำหน่ายสินค้า มีการวางจำหน่ายตลาดภายใน และ ภายนอกเรือนจำ ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ภายใต้ชื่อ “My Pride” รวมตลอดถึงการจำหน่ายในตลาดออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์  “My Pride” ปรากฏรายละเอียดแสดงผลการดำเนินงาน / สินค้า และ ผลิตภัณฑ์ ดังภาพ


เรือนจำ Kajang ประเทศมาเลเซีย












<p></p><p>
</p><p>โดยสรุป </p>

 

การที่ประชาชนส่วนใหญ่ของมาเลเซียเชื่อถือ ไว้วางใจ และ ยอมรับสินค้า และ ผลิตภัณฑ์จากแรงงานนักโทษในเรือนจำ ตามโปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ ทักษะ อาชีพ ด้านอาชีวะ และ อุตสาหกรรม ทำให้เรือนจำสามารถจำหน่ายสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ มีรายได้เป็นเงินสูงถึง ๓๐๐ ล้าน ริงกิต หรือ ประมาณ ๒,๔๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๐๑๕ ผ่านการจำหน่ายทั้งภายใน และภายนอกเรือนจำ ในห้างสรพสินค้า รวมถึงการจำหน่ายแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ “My Pride” ย่อมแสดงให้เห็นว่าโดยปริยายว่า สินค้า และ ผลิตภัณฑ์ จากแรงงานนักโทษในเรือนจำ เป็นสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ ประเภท อาหารแช่แข็ง ที่ได้รับความนิยมสูง สามารถจำหน่ายได้ ๒๖.๖ ล้านเหรียญ ริงกิต ซึ่งนอกจะทำให้เรือนจำมีรายได้ไว้ใช้พัฒนาเรือนจำช่วยประหยัดภาษีอากรของประชาชนแล้ว นักโทษเองยังได้รับความรู้ ทักษะ อาชีพ รวมตลอดถึง มีรายได้ไว้ใช่จ่ายในชีวิตประจำวัน ช่วยเหลือครอบครัว และ เก็บฝากบัญชีธนาคารใช้ใช้สอยภายหลังพ้นโทษ ซึ่ง การช่วยให้นักโทษมีรายได้ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยลดการกระทำความผิดซ้ำ ตามนโยบายของกรมราชทัณฑ์มาเลเซีย

 

.....................

 

วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๑๕ กันยายน ๒๕๖๐

 

อ้างอิง

 

ข้อมูลจากเว็บไซต์  

http://says.com/my/lifestyle/malaysian-prison-inmates-vocational-skills-training-programme


หมายเลขบันทึก: 636830เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2017 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Show us what have been done in this area (arts and crafts and vocational training) in prisons in Thailand. (I had bought a wooden mantle clock made from a provincial prison many many years ago, it still sits on top of a cabinet - the clock mechanism no longer works - but the clock still looks good ;-)

And may I ask about policies and/or practices on 'aging prisoners' (those 60 years of age or older). Do we have statistics? Do we have extra care, equipment and/or treatments for them?...

I think this issue is one that we will be facing more in the near future. It would be better to be prepared.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท