มาตรการการแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้


มาตรการการแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้               

ดร.ถวิล  อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๔

บทนำ

                 การอ่านและการเขียนภาษาไทยได้ถือว่าเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่ง เพราะเป็นเครื่องมือใน
การแสวงหาความรู้ในวิชาอื่นๆ ถ้าเด็กนักเรียนเราอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แน่นอนย่อมจะมีผลกระทบต่อตัวเขาเอง
เพราะเขาเหล่านั้น จะไม่มีเครื่องมือที่จะแสวงหาความรู้อย่างอื่นได้ มืดไปหมด เพราะฉะนั้น นักเรียนในระดับ ป.๑-๓
ควรได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยเฉพาะชั้น ป.๑ เขายังไม่มีอะไรมา แม้ว่าจะได้รับการเตรียม
ความพร้อมมาจากอนุบาลแล้วก็ตาม เพราะการเตรียมความพร้อมด้านอนุบาล ไม่เน้นวิชาการ เน้นการเตรียม
พร้อมด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมเท่านั้น เราต้องอนุมานว่า เขายังไม่มีอะไรเป็นทุน

 

มาตรการแก้ปัญหาการอ่าน การเขียน

         การที่โรงเรียนจะทำให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้นั้น จำต้องมีแนวทางในการดำเนินงาน มีกลยุทธ์
หรือยุทธศาสตร์หรือเทคนิคหรือมาตรการ สำหรับมาตรการที่จะป้องกันนั้น มีดังนี้

        ๑. ผู้บริหารโรงเรียนต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาไทย          
การให้ความสำคัญเริ่มจากการแต่งตั้งครูประจำชั้นต้องคัดเลือกครูที่มีความรู้ ทักษะและประสบ
การณ์ในการสอนภาษาไทย เช่น สอนภาษาไทยมาหลายปี มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย
หรือไม่ก็ควรคัดเลือกครูที่จบเอกภาษาไทย (ครูบรรจุใหม่) ครูภาษาไทย
ต้องคัดลายมือสวยด้วย เพราะจะได้เป็นแบบอย่างสำหรับ
นักเรียน ซึ่งต้องปลูกฝังตั้งแต่ชั้นต้นๆ ครูผู้สอนเอง ต้องเอาใจใส่
ต่อการสอนมีความรับผิดชอบและมีเทคนิคการสอนทางด้านภาษาไทย
เป็นอย่างดีด้วยการแสวงหาความรู้ ค้นคว้าจากเว็บไซต์ DLTV DLIT เป็นต้น

          ๒. โรงเรียนต้องกำหนดแผนงาน โครงการเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทย

               ฝ่ายวิชาการหรือครูภาษาไทยร่วมกันจัดทำแผนงาน โครงการในการยกระดับการอ่านออกเขียนได้
เสนอผู้อำนวยการโรงเรียน ถ้ามีโครงการ ก็เชื่อได้ว่าคงจะมีงบประมาณมาสนับสนุน ตรงข้ามถ้าไม่มีแผนงาน
โครงการรองรับ ก็เหมือนไม่มีอะไรมารองรับ ไปตามยถากรรม ครู

          ๓. ในภาคเรียนที่ ๑ หรือเปิดภาคเรียนใหม่ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา
ทำการทดสอบคำพื้นฐานของแต่ระดับชั้นให้ครบทุกคำ  และคำที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก ต้องจัดกิจกรรม
การเรียนภาษาไทยอย่างจริงจัง เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ มีความตั้งใจ เอาใจใส่นักเรียนทุกคน
โดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อน โดยมีแนวทางดาเนินการดังนี้          

             ๓.๑ ครูให้เวลากับการเรียนการสอนภาษาไทยในแต่ละวันให้มากที่สุด โดยเน้นการอ่านและการเขียน

             ๓.๒ ครูทำสมุดบันทึกหรือทะเบียนคุมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อดูพัฒนาการ

             ๓.๓ ทำแบบบันทึกความก้าวหน้าการพัฒนาทางภาษาไทยของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะ การอ่าน

การเขียน                                                                                                                       

             ๓.๔ ใช้การสอนด้วยวิธีหลากหลาย นำนวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอน

                 ๓.๔.๑ ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง เน้นกิจกรรมการฝึกอ่าน ฝึกเขียน โดยใช้สื่อธรรมชาติที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในและนอกโรงเรียน ฝึกเพื่อให้เกิดทักษะการอ่านคำ เขียนคำ แต่งประโยค และเขียนเรื่องหรือข้อความสั้นๆ ได้

                 ๓.๔.๒ การสอนโดยเรียนปนเล่น โดยสอดแทรกการอ่าน การเขียน โดยนักเรียนไม่รู้สึกว่าเขากำลังเรียน

                 ๓.๔.๓ สอนภาษาไทยกับเพลง เป็นเพลงที่สนุกๆ และเด็กสนใจชอบร้องในขณะนั้น

                 ๓.๔.๔ อ่านนิทานสนุกๆ หรือ อ่านข่าว ให้นักเรียนฟังทุกวัน ทุกชั้น และฝึกเขียนเรื่อง เล่าเรื่องสั้น ๆ

                 ๓.๔.๕ ใช้เกมประกอบการสอนง่ายๆ โดยใช้บัตรคำ (อาจเป็นคำง่าย คำพื้นฐาน คำที่ใช้ทุกวัน)

                 ๓.๔.๖ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ศึกษา ดูงานโรงเรียนที่มี

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี

                ๓.๔.๗ จัดทำเอกสารรูปแบบการสอน นวัตกรรมที่เป็นผลงานเด่นๆ ของครูเผยแพร่แก่เพื่อนครู ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

         ๔. ผู้บริหารนิเทศติดตาม กากับดูแลและให้ความช่วยเหลือครูผู้สอนอย่างใกล้ชิด  เช่น

             ๔.๑ นิเทศติดตามและให้ความช่วยเหลือครูผู้สอนอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง

             ๔.๒ จัดทำเอกสารเสริมการเรียนการสอนภาษาไทย สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ครบทุกชั้นเรียน

            ๔.๓ ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ด้านกาลังใจและวัสดุการศึกษาที่จาเป็นนิเทศภายในอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ส่งเสริมการช่วยเหลือกันเองในระหว่างเพื่อนครูในโรงเรียน

        ๕. ใช้วิธีการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น

             หลักการ แนวคิด วิธีการที่ใช้อย่างเป็นรูปธรรม) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีด้านการอ่าน การเขียน ที่ได้นามาใช้ในการจัดกิจกรรมมีดังนี้

            ๕.๑ การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงอารมณ์ของผู้เรียนมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ โดยอารมณ์จะเป็นตัวช่วยให้สามารถเรียกความทรงจาเดิมที่เก็บไว้ในสมอง และสมองต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ ที่เรียกว่า ความตื่นตัวแบบผ่อนคลาย (Relaxed alertness) การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จที่สุดเมื่อกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสบการณ์ทางกายภาพที่รูปธรรมจับต้องได้ เรียนรู้จากชีวิตจริงตามธรรมชาติ เรียนรู้จากการปฏิบัติ หรือการฝึกทา ฝึกทักษะทั้งด้านสมอง ซีกซ้าย คือ ตรรกะ ตัวเลข การวิเคราะห์ และสมอง ซีกขวา สั่งการเกี่ยวกับ ศิลปะ ดนตรี จินตนาการ การสังเคราะห์

              ๕.๒ ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) ของ Howard Gardner คำนึงความแตกต่างทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งเด็ก

แต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล แตกต่างกัน คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง ๘ ด้าน ที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะสูงทุกด้านบางคนอาจจะสูงเพียงด้านหรือสองด้าน ส่วนด้านอื่นๆ ปานกลาง ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี มีการให้กาลังใจ ที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และปัญญาด้านต่างๆ สามารถทางานร่วมกันได้

               ๕.๓ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่องของธอร์นไดด์ (Thorndike's Connectionism) แนวคิดของ Thorndike นั้นเขาเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งจะเกิดขึ้นด้วยการลองผิดลองถูก โดยการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหนึ่งจะมีหลายๆรูปแบบจนพบแบบที่ดีที่สุด และหลังจากนั้นเมื่อมีสิ่งเร้านั้นเกิดขึ้นอีกอินทรีย์ก็จะตอบสนองในแบบที่เลือกไว้แล้วว่าดีที่สุดนั่นเอง โดย Thorndike ได้เสนอกฎการเรียนรู้ไว้ ๓ กฎ คือ

                  ๕.๓.๑ กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)เน้นถึงสภาพความพร้อมของผู้เรียนทั้งกายและใจ ว่ามีผลต่อการเกิดการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยโดยมีใจความดังนี้

                       ก. เมื่อบุคคลมีความพร้อมที่จะเรียนหรือกระทำกิจกรรมใดๆ ถ้าได้เรียนหรือกระทำสมความปรารถนาบุคคลจะเกิดความพึงพอใจ

                       ข. เมื่อบุคคลที่มีความพร้อมที่จะเรียนหรือกระทำกิจกรรมใดๆ ถ้าไม่ได้เรียนหรือไม่ได้กระทำอย่างที่ปรารถนาบุคคลจะเกิดความไม่พึงพอใจ

                       ค. เมื่อบุคคลยังไม่พร้อมแต่ถูกบังคับให้เรียนหรือให้กระทำกิจกรรมย่อมก่อให้เกิดความรำคาญ คับข้องใจ ไม่สบายใจไม่พอใจ

                ๕.๓.๒ กฎแห่งการฝึกหัด (Law of exercise) เน้นว่า การกระทำซ้ำๆ บ่อยๆจะทำให้การเรียนรู้ นั้นๆแน่นแฟ้นขึ้น แต่ถ้าพฤติกรรมใดแม้เกิดการเรียนรู้แล้วแต่ขาดการกระทำซ้ำบ่อยๆจะทำให้การเรียนรู้นั้นๆ มีความเข้มน้อยลงไปและอาจไม่ได้ผลเท่าเดิม

                ๕.๓.๓ กฎแห่งผล (Law of effect ) เน้นว่า เมื่อพฤติกรรมเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองแล้วอินทรีย์เกิดความพอใจ อินทรีย์จะมีแนวโน้มในการกระทาพฤติกรรมนั้นๆซ้าอีก

          ๖. ทฤษฎีการเสริมแรงทางพฤติกรรมของ Hull Glark L. Hull เชื่อว่า การที่มนุษย์และสัตว์จะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องมีแรงขับ (Drive) หรือความต้องการเป็นตัวผลักดันให้เกิดพฤติกรรม และการลดแรงขับหรือความต้องการลงเป็นการเสริมแรง ที่จะทาให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้ โดยทาให้อินทรีย์มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและปฏิกิริยาตอบสนอง และการเสริมแรงจะทาให้การเรียนรู้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น เราสามารถนาทฤษฏีการเสริมแรงทางพฤติกรรมของ Hull มาใช้ในการเรียนการสอน แนวความคิดของฮัลล์สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น

                ๖.๑ ผู้สอนควรสร้างแรงขับในตัวผู้เรียนให้เกิดขึ้นมากๆ และเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการแล้วผู้สอนต้องรีบเสริมแรงทันทีจึงจะทาให้พฤติกรรมการเรียนรู้เข้มข้นและคงทนถาวรอยู่เรื่อยๆ เช่น บอกผู้เรียนว่าถ้าส่งงานตรงเวลาจะมีคะแนนพิเศษให้ เมื่อผู้เรียนส่งงานตรงเวลาในแต่ละครั้ง ผู้สอนควรให้คะแนนพิเศษทันที

               ๖.๒ เมื่อผู้เรียนเกิดความเหนื่อยล้าในบทเรียน เช่น ต้องเรียนเป็นเวลาติดต่อกัน ๓ คาบเรียน ควรจะมีเวลาพักให้กับผู้เรียน เพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้าด้วย

              ๖.๓ เมื่อผู้เรียนใกล้จะเรียนรู้และมีความตั้งใจมาก ควรจะให้การเสริมแรงถี่ขึ้น เช่น คาชม คาพูดที่ให้กาลังใจ จะทาให้เกิดการเรียนรู้เร็วขึ้น

              ๖.๔ ควรให้ผู้เรียนพยายามเรียนรู้ด้วยตัวเอง จะทาให้เข้าใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้น และสามารถตอบสนองได้ หลายรูปแบบ

             ๖.๕ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ ความสามารถของผู้เรียนแต่ละบุคคล การสร้างแรงจูงใจโดยการสร้างแรงขับ การใช้การเสริมแรง การสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นมากๆในบทเรียน เมื่อเรียนรู้แล้วต้องให้

ผู้เรียนคิดหรือกระทาบ่อยๆ เพื่อป้องกันการลืม และพยายามให้ผู้เรียนรู้จักถ่ายโยงการเรียนรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกัน จากบทเรียนหนึ่งไปสู่อีกบทเรียนหนึ่ง

            ๗. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูนเนอร์ บรูนเนอร์ (Bruner) ทฤษฎีพัฒนาการ ทางสติปัญญาของมนุษย์ แบ่งได้เป็น ๓ ขั้น ใหญ่ๆ คือ

               ๗.๑ ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทา

               ๗.๒ ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

               ๗.๓ ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

           ๘. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory) เป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็น

การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวอยู่เสมอบันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน

                จากหลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า การฝึกทักษะการอ่าน การเขียนนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงสมองต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ และสติปัญญาของผู้เรียน ในการเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ ต้องมีการฝึกซ้ำ ฝึกบ่อยๆ การจัดบรรยากาศในการจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรม เช่น การเขียนเชิงสร้างสรรค์ จะต้องคำนึงถึงความสามารถตามวัย และสติปัญญา การจัดบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

การจัดตารางเรียน

               ในการจัดตารางเรียนเพื่อนำกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง ไปใช้กับโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม สามารถจัดกิจกรรมต่างๆ ในเวลาเรียน และนอกเวลาเรียน โดยคำนึงถึงอัตราส่วนจัดในเวลาเรียน ๗๐ เปอร์เซ็นต์ และนอกเวลาเรียนอีก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ โรงเรียนสามารถยืดหยุ่นเวลาในการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม สำหรับช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ มุ่งการอ่านออก เขียนได้ควบคู่กับการให้การพัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ทุกระดับชั้น การจัดการเรียนการสอน จึงบูรณาการการอ่านการเขียนกับทุกสาระการเรียนรู้ สาหรับช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ มุ่งให้ผู้เรียนอ่านคล่อง เขียนคล่อง โดยคำนึงถึงอารมณ์ของผู้เรียน มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ และสมองต้องพร้อมกับการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการอ่านคล่อง เขียนคล่อง แสวงหาความรู้และสามารถสื่อสารได้ตามช่วงวัย จึงนาเสนอตัวอย่างการจัดตารางเรียน ดังนี้

 

บทส่งท้าย

            มาตรการในแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ จะสัมฤทธิผลได้ จำต้องอาศัยความร่วมด้วยช่วยกันของทุกฝ่าย เริ่มตั้งแต่
ผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องผลักดัน ขับเคลื่อนนโยบายนี้เป็นพิเศษ การแต่งตั้งครูสอนประถมศึกษาปีที่ ๑ จะต้องคัดครูที่มี
ความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ในการสอนภาษาไทยเป็นอย่างดี เป็นผู้เอาใจใส่ต่อผู้เรียน เขียนลายมือสวย เพราะ
นักเรียนจะได้แบบอย่าง การจัดตารางสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ควรเน้นการอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณได้เป็นสำคัญ
การสอนภาษาไทย ครูต้องให้นักเรียนรู้จักสระพยัญชนะไทยเป็นอย่างดี ฝึกให้นักเรียนแจกลูกผสมคำ ฝึกการสะกดคำ
ใน อักษรสามหมู่ ฝึกอ่านเขียนคำควบกล้ำ ฝึกการฝันวรรณยุกต์ในอักษรสามหมู่ คืออักษรกลาง อักษรสูง อักษรต่ำ
ฝึกการอ่าน การเขียน ฝึกซ้ำแล้วซ้ำอีกจนนักเรียนมีทักษะท้ายที่สุดแล้วนักเรียนก็จะมีทักษะสามารถอ่านออกเขียนได้
ขอเป็นกำลังใจให้ครูได้มีพลังใจที่จะสอนให้นักเรียนได้อ่านออกเขียนได้ทุกคน จะเป็นบันไดขั้นต้นนำไป
สู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


ถ้าหมั่นเรียน  เรียนอะไรก็ย่อมรู้

ถ้าหม้ั่นดู ดูอะไรก็ย่อมเห็น

ถ้าหมั่นทำ ทำอะไรก็ย่อมเป็น

ถ้าไม่เล่น หมั่นทำ จักจำเริญ



                                                            

หมายเลขบันทึก: 636558เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2017 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2017 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท