การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ( วันที่ 25 สิงหาคม 2560)


  วันนี้ช่วงเช้าทำโรงเพาะพันธุ์พืชต่อโดยการขุดหลุมฝังเสาค้ำโครงท่อที่ทำเอาไว้ เพื่อให้มีความแข็งแรงมากขึ้น

  ส่วนช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่เกษตรชำนาญการ ได้สาธิตการทำเชื้อราไตรโคเดอร์มา ซึ่งเป็นเชื้อราที่ใช้สำหรับควบคุมโรคพืช หรือเรียกง่ายๆว่าเป็นเชื้อราที่กินเชื้อราตัวอื่นๆ ซึ่งใช้ประโยชน์ได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพ

  วิธีการทำเริ่มจากหุงข้าว ในที่นี่เราจะใช้ข้าวเปลือก แต่สามารถใช้ข้าวสารหรือข้าวโพดก็ได้ หุงให้ข้าวแห้งไม่แฉะ เสร็จแล้วก็ตักใส่ถุงพลาสติกทิ้งไว้สักพักให้ความร้อนลดลง

  พอเริ่มอุ่นๆก็นำหัวเชื้อไตรโคเดอร์มาใส่ลงไปในถุงเพียงเล็กน้อยแล้วก็มัดปากถุงให้แน่นและเขย่าให้เชื้อราเกาะติดอยู่กับข้าวเปลือก (หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ทางเราได้มาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน)

  หลังจากนั้นก็ใช้เข็มเจาะหลายๆครั้ง และรีดเอาอากาศออกโดยเหลืออากาศภายในถุงสักเล็กน้อยเพื่อให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี และทิ้งไว้ประมาณ 3 วันแล้วมาสังเกตการเปลี่ยนแปลง โดยที่ห้ามโดนแสงแดดมากเกินไป

*การสาธิตการทำเชื้อราไตรโคเดอร์มาในครั้งนี้อาจจะมีเชื้อราและแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ เนื่องจากทำในสถานที่เปิดโล่ง ถ้าจะให้ดีจะต้องทำในห้องทดลองโดยเฉพาะ

   ภาพเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เจริญเติบโตเต็มที่  

การใช้เชื้อรามักจะผสมกับน้ำแล้วนำไปรดลงดินบริเวณโคนต้น และฉีดใส่ต้นหรือใบ ข้อควรระวังคือควรใช้เชื้อราชนิดนี้ในเวลาเย็นหรือกลางคืน ไม่ควรใช้ในเวลากลางวันเพราะจะทำให้เชื้อราหยุดการเจริญเติบโต

หมายเลขบันทึก: 634825เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2017 02:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2017 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท