Capstone Project คืออะไร?


               Capstone Project คืออะไร เมื่อเปิด google เจอภาพนี้ขึ้นมา ภาพหินเรียงรายสวยงาม ยอดบนสุดเป็นหินที่เหมือนรักษาสมดุลของโครงสร้าง ประกอบกับวลีที่ว่า "Thing break down without the capstone" ยิ่งตอกย้ำความสำคัญของหินก้อนบนสุด แล้วมาเกี่ยวกับ Capstone Project อย่างไร ? และอะไรคือ Capstone Project  ผู้เขียนชักสงสัยแล้วสิคะ ผู้อ่านสงสัยไหมคะ

            เนื่องด้วยวันนี้ต้องไปแลกเปลี่ยนเรื่อง Capstone Project ในหน่วยงานถือว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่อย่างไรก็ดีเท่าที่สรุปมาได้ Capstone Project ก็เป็นวิจัยรูปแบบหนึ่งที่มาจากการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เป็นศาสตร์แห่งการปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ เพ่ื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า (ต่อผู้รับบริการ ผู้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย) เป็นวิจัยประยุกต์นั่นเอง (Apply research) ที่ไม่เน้นการอ้างอิงสู่ประชากรทั่วไป หรือที่อื่น ๆ แต่เน้นการพัฒนาเฉพาะพื้นที่ (setting)

          ก่อนจะเล่าเลยเถิด วกมาที่ชื่อ "Capstone Project" หรือแปลแบบโต้ง ๆ ว่า โครงการหินที่อยู่สูงสุด 555 ขออภัยนะคะ ถ้าจะทำให้การแปลภาษาวิบัติ ไม่ใช่ค่ะ น่าจะเป็นโครงการรวบยอดความรู้จากการปฏิบัติเข้ากับหลักฐานความรู้ที่มีอยู่ เพราะแต่เดิมทางตะวันตกใช้ ในการประกอบการจบการศึกษาของป.ตรี และบัณฑิตศึกษา เสมือนเป็นวิชาปริญญานิพนธ์ (project) หรือธีสีสย่อส่วนนั่นเอง  ดังนั้น การเติบโตทางอาชีพ ก็ต้องการ Capstone Project มาเชื่อมร้อยความรู้ที่สั่งสมมากับความรู้เชิงวิชาการเพื่อคงสมดุลย์ของความรู้ เพราะถ้าใช้ความรู้แบบใดแบบหนึ่งอย่างเดียว สักวันความรู้จะหดหาย ล้าสมัย ขาดการขยายเชื่อมต่อ เกิดช่องว่างความรู้ที่ถมไม่เต็มสักที จึงเป็นที่มาของ Capstone Project ที่เชื่อมร้อยความรู้จากการปฏิบัติ (Tacit Knowledge)และหลักฐานเชิงประจักษ์ (หลักวิชาการ) ผ่านการตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรความรู้สู่การปฏิบัติจริง เสมืือนหนึ่งการเรียงก้อนหินให้สวยงาม สอดคล้อง สมดุล ได้รูปทรงที่สวยงาม ผสานกันอย่างลงตัว "ยิ่งสูงยิ่งต้องสมดุล อย่ารอให้พัง"  นี่เป็นมุมมองของดิฉันเอง ผิดถูกประการใดมาร่วมกันแลกเปลี่ยนนะคะ 

 

คำสำคัญ (Tags): #Capstone Project#ความหมาย
หมายเลขบันทึก: 634480เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2017 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2017 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Dr.KwansudaB อธิบาย ได้น่าสนใจมาก วิชาการ OR เช้านี้ หวังว่าจักมีโอกาส ขอคำปรึกษาในการทำวิชาการเพื่อพัฒนางานการให้บริการพยาบาลห้องผ่าตัดคะ

ขอบคุณเจ้าของBlog และผG2k ค่ะ​กำลังหาข้อมูพอดีเลย

อธิบายได้ดี ได้ความหมายเลยครับ ขอบคุณมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท