ยาเสพติด


 

ที่มาเเละความสำคัญ

ประวัติ

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการนำเอาโบรไมด์ (Bromide) มาใช้เป็นยาระงับประสาทและรักษาโรคลมชัก ซึ่งได้รับความนิยมมากพอ ๆ กับยาวาเลียม (Valium) และยาริเบรียม (Librium) ในปัจจุบัน แต่โบรไมด์สะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิกลจริต และทำลายสมองอย่างถาวรด้วย ในระยะใกล้เคียงกันก็มีผู้ผลิตยาบาร์บิทุเรท (Barbiturate) และยาสงบประสาทตัวอื่น ๆ และได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน โดยผู้ใช้ไม่ทราบถึงฤทธิ์ในการเสพติดของยาเหล่านี้ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีผู้พบโคเคนและกัญชาซึ่งมีฤทธิ์ทำให้จิตใจสบายโคเคนพบว่ามีประโยชน์ทางการรักษาโรคด้วยโดยใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ดังนั้นโคเคนจึงเป็นที่นิยมใช้เป็นผลให้มีการเสพติดโคเคน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แอมเฟตามีนถูกนำมาใช้ในกองทหารญี่ปุ่น เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เพื่อให้ร่างกายมีกำลังกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา พอหลังสงครามยาซึ่งกองทัพญี่ปุ่นกักตุนไว้มาก็ทะลักสู่ตลาด ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นใช้ยากันมาก ในปี ค.ศ.1955 คาดว่ามีชาวญี่ปุ่นติดแอมเฟตามีนราวร้อยละ 1 ระหว่าง ค.ศ.1960-1970 ในประเทศสวีเดนมีการใช้ยา Phenmetrazine (Preludin) ซึ่งคล้ายแอมเฟตามีน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำด้วย ในสหรัฐเมริกาพวกฮิปปี้ซึ่งเคยนิยมใช้ แอลเอสดี (LSD) หรือ Lysergic Acid Diethylamide ก็ค่อย ๆ หันมาใช้แอมเฟตามีนฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เช่นกัน

ระหว่างปี ค.ศ. 1960-1970 ยาหลอนประสาทเริ่มถูกนำมาใช้และใช้มากหลัง ค.ศ.1970 ผู้เสพส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันวันรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางโดยเริ่มจาก แอลเอสดี ซึ่ง Hofmanเป็นผู้ค้นพบในปี ค.ศ.1953 เนื่องจากแอลเอสดีทำให้เกิดอาการคล้าย วิกลจริต จึงมีนักจิตวิเคราะห์บางคนนำมาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยด้วย เพราะคิดว่ายานี้จะช่วยกำจัด "Repression" ให้หมดไป ด้วยเหตุที่ยานี้ผลิตง่ายปัจจุบันจึงเป็นปัญหามากในอเมริกา

การเข้ามาภายในประเทศไทย

เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โดยทรงเล็งเห็นโทษของการเสพฝิ่น และทรงลงโทษ ระหว่างเหตุการณ์สงครามกลางเมืองอเมริกา ค.ศ. 1861-1865 เริ่มมีการนำเข็มฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังมาใช้ ทำให้มีผู้นำมอร์ฟีนมาใช้ในลักษณะยาเสพติด ต่อมาเมื่อคนรู้จักการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เฮโรอีนซึ่งเป็น diethylated form ของมอร์ฟีนก็ถูกนำมาใช้แทนมอร์ฟีน

ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้

  1. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
  2. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
  3. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
  4. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ได้แก่

  • ยาบ้า
  • ยาอี ยาเลิฟ หรือ เอ็กซ์ตาซี
  • ยาเค
  • โคเคน
  • เฮโรอีน
  • กัญชา
  • สารระเหย
  • แอลเอสดี
  • ฝิ่น
  • มอร์ฟีน
  • กระท่อม
  • เห็ดขี้ควาย

             

โทษของยาเสพติด 10 ชนิด อันตรายร้ายแรงต่อชีวิตที่ทุกคนควรรู้      

ขึ้นชื่อว่า “ยาเสพติด” ล้วนก่อให้เกิดโทษต่อชีวิตผู้เสพด้วยกันทั้งสิ้น ทำลายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน ครอบครัวที่คุณรักและความมั่นคงของประเทศชาติ ด้วยเหตุนี้ เราจึงนำโทษจากสารเสพติดทั้ง 10 ชนิดมาแนะนำให้ทราบว่ามีอะไรบ้าง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง ครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการรู้เท่าทันและตระหนักถึงโทษของมันอย่างละเอียด โดยสามารถติดตามโทษของยาเสพติดในแต่ละชนิดได้เลยดังนี้

โทษของ: ยาบ้า

ยาบ้าออกฤทธิ์โดยการเข้าไปกระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการติดยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อฤทธิ์ยาเข้าสู่ร่างกายในช่วงระยะแรกที่เสพใหม่ๆ มันจะออกฤทธิ์กระตุ้นร่างกายให้เกิดการตื่นตัว ทำให้อัตราการเต้นของจังหวะหัวใจเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูง มีอาการใจสั่น ตึงเครียด เมื่อฤทธิ์ยาหมดลงผู้เสพจะมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ระบบสั่งการทางสมองทำงานช้าลง การตัดสินใจช้าและเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นได้ หากยังคงเสพยาบ้าติดต่อกันเป็นเวลานาน ฤทธิ์ยาก็จะยิ่งทำลายสมองให้เสื่อม มีอาการประสาทหลอน เกิดภาพลวงตา หวาดระแวง เสียสติ คลุ้มคลั่งเป็นบ้าจนสามารถทำร้ายผู้อื่นและตนเองได้ และหากเสพยาเข้าไปมากเกินปริมาณ ฤทธิ์ยาจะเข้าไปกดประสาทและระบบหายใจ ส่งผลให้เกิดภาวะหมดสติและทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

                                                           

โทษของ: เฮโรอีน

เฮโรอีนออกฤทธิ์โดยการเข้าไปกดระบบประสาท ส่งผลให้ผู้เสพมีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อขาดยาจะมีอาการทางร่างกายที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนรุนแรง ตั้งแต่อาการปวดตามส่วนต่างๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ สันหลัง บั้นเอวและปวดศีรษะอย่างรุนแรง นอกจากนี้ ยังมีอาการจุกภายในอกราวกับจะขาดใจตาย อ่อนเพลียอย่างหนัก มีอาการหนาวๆ ร้อนๆ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ทุรนทุรายอึดอัด ผู้ที่เสพติดหนักๆ บางรายอาจมีอาการชักตาตั้ง น้ำลายไหลฟูมปาก ม่านนัยต์ตาดำหดลง มึนงง หายใจไม่ออก ความจำเสื่อม และผู้เสพที่ติดเชื้อ HIV อยู่ก็จะเป็นผู้ที่แพร่เชื้อดังกล่าวให้ระบาดไปสู่ผู้อื่นต่อไป หากใช้เข็มฉีดยาหรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ผ่านการป้องกัน

โทษของ: ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี

ยาดังกล่าวหลังจากเสพไปแล้วฤทธิ์ยาจะออกภายในเวลา 45 นาที ซึ่งฤทธิ์ยาสามารถอยู่ในร่างกายได้ยาวนานประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง ยาชนิดนี้มักแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นที่นิยมเที่ยวกลางคืน โดยครั้งแรกตัวยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทเพียงแค่ระยะสั้นๆ จากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาท ส่งผลให้ผู้เสพมีอาการติดยาทางด้านจิตใจในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ผู้เสพยังมีอาการใจสั่น ระดับความดันโลหิตสูง เหงื่อออกเยอะ เกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบประสาทการรับรู้ทั้งหมด ส่งผลทั้งการได้ยินและการมองเห็นแสงสีต่างๆ ที่มีความผิดปกติไปจากความจริง อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้

โทษของ: โคเคน                 

โคเคนออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ผู้เสพมีการเสพติดทางด้านร่างกายเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีและปริมาณที่เสพเข้าไป มีผลทางด้านจิตใจ แต่กับทางร่างกายอาจมีอาการขาดยาบ้างหากก็ไม่รุนแรงเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์จากโคเคนจะส่งผลให้ผู้เสพมีระดับความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นอย่างรุนแรง กระวนกระวาย มีไข้ นอนไม่หลับ ผนังจมูกขาดเลือดส่งผลให้เยื่อบุโพรงจมูกฝ่อมีการฉีกขาดหรือทะลุ สมองจะได้รับการถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง ทำให้มีอาการชัก เลือดออกในสมอง เกิดเนื้อสมองตายในบางส่วน เมื่อหัวใจได้รับการกระตุ้นอยู่เสมอก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพลงทีละน้อยๆ จนกระทั่งหัวใจไม่สามารถบีบตัวต่อไปได้ไหวและทำให้ผู้เสพมีภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด นอกจากนี้แล้ว หากยังคงเสพติดต่อกันเป็นเวลานาน ยังทำให้เกิดโรคซึมเศร้าอย่างหนักได้ด้วย

โทษของ: ยาเค

ยาเคเป็นสารเสพติดที่หากเสพเข้าสู่ร่างกายไปแล้วมันจะออกฤทธิ์หลอนประสาทได้อย่างรุนแรงมาก โดยผู้เสพจะมีอาการเคลิบเคลิ้ม เข้าใจผิดคิดว่าตนเองเป็นผู้ที่มีอำนาจวิเศษ การรับรู้และการตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการมองภาพ แสง สีและการได้ยินเสียง ซึ่งจะมีอาการสูญเสียกระบวนการคิดร่วมด้วย

นอกจากนี้ ผู้เสพยังมีอาการตาลาย ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กันได้ หากยังคงเสพต่อไปจนมากเกินปริมาณก็จะก่อให้เกิดภาวะติดขัดในระบบหายใจ และถ้ายังคงใช้ยาดังกล่าวต่อไปอีก อาการเช่นนี้ก็จะยังคงปรากฎให้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ หรือที่เรียกว่า Flashback โดยจะส่งผลเสียทำให้ผู้เสพมีปัญหาโรคจิต เป็นคนวิกลจริต มีความคิดสับสน หูแว่ว ตาลาย การทำงานของสมองทางด้านการรับรู้และการตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมีการเปลี่ยนไป อีกทั้งการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายยังไม่เป็นไปในจังหวะที่สัมพันธ์กันดังเดิมอีกด้วย

โทษของ: กัญชา

กัญชาจะออกฤทธิ์หลายอย่างกับระบบประสาทส่วนกลาง โดยจะกระตุ้นการกดประสาทและทำให้ผู้เสพเกิดอาการประสาทหลอน สารที่อยู่ในกัญชานั้นมีด้วยกันหลายชนิด ทว่าสารสำคัญที่สุดที่ออกฤทธิ์นั้นจะมีผลต่อสมองและร่างกาย ผู้เสพจะมีภาวะอารมณ์และจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในเบื้องต้นฤทธิ์จากกัญชาจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ทำให้ผู้เสพเกิดความตื่นเต้น ตื่นตัว คุยเก่ง สนุกสนานและหัวเราะร่าเริงได้ตลอดเวลา แต่ในเวลาต่อมาจะเข้าไปกดประสาท ส่งผลให้มีอาการเหมือนเมาสุราอ่อนๆ และมีอาการง่วงซึม

อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับปริมาณสารเสพติดชนิดนี้เข้าไปมากเกินขนาดก็จะเกิดภาวะประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ระบบความคิดเกิดการสับสน มึนงง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ กระทั่งในที่สุด ฤทธิ์จากกัญชาก็จะเข้าไปทำลายสมอง ปอดและทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เสื่อมสภาพทรุดโทรมต่อไป

โทษของ: กระท่อม

ใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ผู้เสพจะมีอาการเสพติดทั้งทางร่างกาย (เล็กน้อย) แต่มีอาการเสพติดทางด้านจิตใจและอาจมีอาการขาดยาทางร่างกายเกิดขึ้น หากแต่ไม่รุนแรงนัก ฤทธิ์จากใบกระท่อมยังกระตุ้นให้ผู้เสพมีเรี่ยวแรงพลังมากมาย สามารถทำงานได้อย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ทนต่อสภาวะอากาศร้อนหนาวได้อย่างไม่รู้สึกรู้สา อย่างไรก็ดี โทษจากใบกระท่อมยังทำให้ผู้เสพมีสภาพผิวหนังที่แห้งดำไหม้เกรียม มึนงง ปากแห้ง ท้องผูก นอนไม่หลับ หนาวสั่นเมื่ออยู่ท่ามกลางอากาศชื้น นอกจากนี้ จิตใจยังสับสน โลเล ประสาทหลอน และสภาพร่างกายยังทรุดโทรมอย่างหนักอีกด้วย

โทษของ: มอร์ฟีน

มอร์ฟีนจะออกฤทธิ์เข้าไปกดระบบประสาท ผู้เสพจะมีอาการเสพติดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และมีอาการขาดยาทั้งทางร่างกายด้วย สำหรับอาการเสพติดที่ก่อให้เกิดโทษกับร่างกายคือ ผู้เสพจะมีอาการท้องผูก คลื่นเหียน อาเจียน คันหน้า ตาแดง ง่วงซึม สมองช้าเกิดอาการมึนๆ ชาๆ สติปัญญาเสื่อม ร่างกายทรุดโทรมอย่างหนักและไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

โทษของ: ฝิ่น

ฝิ่นจะออกฤทธิ์เข้าไปกดระบบประสาท ส่งผลให้ผู้เสพมีอาการเสพติดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และยังมีภาวะขาดยาทางร่างกายอีกด้วย กรณีที่เกิดการเสพติดเกินขนาดก็จะส่งผลให้ฤทธิ์ยาเข้าไปกดระบบการหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด นอกจากนี้ ผู้เสพยังมีจิตใจเลื่อนลอย โลเล สับสน มีอาการง่วงซึมตลอดเวลา ตาหรี่ พูดจาวกวนไม่รู้เรื่อง ความคิดทำงานเชื่องช้า และมีชีพจรเต้นในระดับช้าขึ้น

โทษของ: เห็ดขี้ควาย

ห็ดขี้ควายเป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์เข้าไปทำลายระบบประสาทได้อย่างรุนแรง โดยมีสารอันตรายสำคัญอย่างไซโลซีนและไซโลไซบีนผสมอยู่ สารทั้งสองชนิดนี้จะออกฤทธิ์หลอนประสาท ส่งผลให้ผู้เสพเกิดอาการมึนเมา เคลิบเคลิ้มและบ้าคลั่งได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ หากผู้เสพมีภาวะภูมิต้านทานน้อยอยู่แล้ว เมื่อเสพเข้าไปในปริมาณมากๆ ก็อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้

เมื่อทราบกันแล้วว่าโทษของยาเสพติดมีอะไรบ้าง จากนี้ก็ควรระมัดระวังป้องกันด้วยการใส่ใจลูกหลานหรือคนที่คุณรักให้อยู่ภายใต้ความรัก ความเข้าใจ ในส่วนทางด้านสถานศึกษาก็ควรจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโทษจากยาเสพติดให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จักและเข้าใจมากขึ้น รวมถึงได้ตระหนักถึงหวาดกลัวกับโทษร้ายแรงต่างๆ ของแต่ละชนิดยา

หากคุณมีภาวะจิตใจหดหู่ มีปัญหากับชีวิตไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม มิควรอยู่คนเดียวลำพัง ควรหาทางออกด้วยการปรึกษาคนในครอบครัวหรือคนสนิทที่ไว้วางใจ ไม่ควรคบเพื่อนที่เสพยา พร้อมหมั่นออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมสร้างสรรค์อยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณและคนที่คุณรักห่างไกลจากยาเสพติดได้มากขึ้นแล้ว

คำถามจากผู้อ่านเกี่ยวกับสารเสพติด

สวันดีค่ะดิฉันอยากทราบว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เสพยาเสพติดตั้งแต่อายุครรภ์1-14สัปดาห์จะมีผลต่อทารกในครรภ์ไหมคะ

คำตอบ: เป็นอันตรายมากนะครับ ควรไปพบแพทย์ให้เร็ว และทำการเลิกนะครับ อาจทำให้มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ภาวะเลือดออกในสมอง ทำให้มีการทำลายเซลล์ประสาท เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก ซึ่งมีผลต่อสมาธิ ความจำ และมีผลทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาวอีกด้วยครับ - ตอบโดย สุเทพ สุขนพกิจ (นพ.)

คำตอบ 2: จะส่งผลให้มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะสมองตาย ทำให้มีการทำลายเซลล์ประสาท เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก ซึ่งมีผลต่อสมาธิ ความจำ และมิติสัมพันธ์ (spatial skills) และมีผลทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาวอีกด้วย การป้องกันที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด ไม่ว่าคุณจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม เพราะผลกระทบที่ตามมาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ส่วนในรายที่ตั้งครรภ์แล้ว และยังไม่เลิกหรือเพิ่งจะเลิกใช้สารเสพติด ก็ต้องระมัดระวังทารกในครรภ์เป็นพิเศษ โดยระหว่างที่ตั้งครรภ์ ควร.... - หมั่นไปพบสูติแพทย์เพื่อติดตามผลของพัฒนาการทารกในครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ - ปฏิบัติตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัด - งด ละ เลิก สิ่งเสพติดทุกชนิดอย่างเด็ดขาด - หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ควรพูดจาขอความร่วมมือให้ไปสูบบุหรี่ภายนอกบ้าน เพราะควันบุหรี่มีสารพิษที่เรียกว่า “ทาร์” ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อทารกในครรภ์และว่าที่คุณแม่ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวมากกว่าผู้ที่สูบเองเสียเอง เมื่อคลอดแล้วก็ไม่ควรละเลย ควรพาทารกไปพบกุมารแพทย์เพื่อเฝ้าระวัง คัดกรอง ประเมินพัฒนาการและพฤติกรรมเป็นระยะ เพื่อหาความผิดปกติร่วมที่พบได้บ่อย เช่น ปัญหาด้านการมองเห็น การได้ยินบกพร่อง เพื่อให้การช่วยเหลือ กระตุ้นพัฒนาการโดยเร็วเพื่อลดปัญหาทางด้านการเรียนรู้และปัญหาสังคมที่จะตามมา - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

สารกัญชาอยู่ได้กี่วัน

คำตอบ: ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความถี่ในการใช้ค่ะ สามารถตรวจพบได้ในระยะเวลาตั้งแต่1สัปดาห์-3เดือนค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

จะผ่าตัดและจะมีการนำเลือดไปตรวจก่อนผ่า ไม่ทราบจะตรวจพบสารเสพติดของกัญชาไหมคะ ใช้กัญชาบ่อยเกือบทุกวัน 2-3 ชม. ครั้งนึงแต่จะใช้เป็นปริมาณปานกลาง แต่ถี่ตลอด หากนำเลือดไปตรวจ คณะแพทย์จะพบสารเสพติดจากกัญชาหรือไม่คะ. มีการเกี่ยวข้องกับการตรวจเลือดเพื่อการผ่าตัดไหมคะ ช่วยอธิบายหน่อยคะ

คำตอบ: การตรวจเลือดก่อนผ่าตัดเป็นการตรวจเพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายร่วมกับหาความผิดปกติอื่นๆเพื่อประเมินความเสี่ยงในการผ่าตัด สิ่งที่คุณหมอสั่งตรวจส่วนมากได้แก่ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เกลือแร่ในเลือด น้ำตาล การทำงานของไต และอื่นๆอีกแล้วแต่โรคที่เป็นค่ะ ส่วนเรื่องสารกัญชาที่ตกค้างในเลือดจะอยู่นานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่สูบมานานแต่ไหน ความถี่ ปริมาณ ความเข้มข้นของพันธ์กัญชาที่ใช้ แต่โดยส่วนมากสารที่ตกค้างจะอยู่ได้นานเป็นเดือนๆค่ะ ส่วนในกรณีของคุณถามว่าจะตรวจพบไหม ตอบว่าพบค่ะ(ถ้าคุณหมอสั่งตรวจ THC) แต่ถ้าโรคที่ผ่าตัดไม่เกี่ยวกับการตรวจหาสารเสพติดคุณหมอก็ไม่สั่งตรวจหรอกค่ะ(เพราะจะสิ้นเปลืองน้ำยาโดยใช่เหตุ) - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)


                                                       

  • การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งออกเป็น 3 ระบบคือ
  • ระบบสมัครใจ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
  • ระบบต้องโทษ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดที่กระทำความผิดและถูกคุมขัง จะได้รับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กระทรวงยุติธรรม
  • ระบบบังคับบำบัด หมายถึง ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย จะต้องถูกบังคับบำบัดตาม


วิธีการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด
        เริ่มจากตนเอง  ไม่ทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ไม่หาทางออกในทางทิ่ผิดหรือเป็นโทษ ควรปรึกษาพ่อ แม่ ครู ผู้ใหญ่หรือญาติๆของเรา ควรใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เล่นกีฬา หรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ
    ต่อมาคือครอบครัว คนในครอบครับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้เด็กหลงผิดหรือตกเป็นทาสของยาเสพติด ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติด ดูแลเรื่องการคบเพื่อน คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือ ทุกคนในครอบครัวควรให้ความรักความเข้าใจ ให้ความอบอุ่น มีเวลาว่างให้กันหรืออยู่ด้วยกันบ่อยๆ และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
     และสุดท้ายคือชุมชนหรือคนในสังคม นี้ก็เป็นกลุ่มๆหนึ่งที่สามรถช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ ถ้าหากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว  เมื่อรู้ว่าใครผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เพื่อดำเนินการกวาดล้างและปราบปรามมิให้ยาเสพติดกระจายไปสู่ชุมชน                  
      นอกจากนี้การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ เรื่องพิษภัยของยาเสพย์ติดคงจะเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจที่ ถูกต้องแก่เยาวชนได้การจัดค่ายอบรมเรื่องยาเสพย์ติด การจัดรายการประจำทางสื่อวิทยุโทรทัศน์และคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆตลอดจนการให้ความรู้ ทางสื่ออื่นๆ น่าจะเป็นวิถีทางที่เร่งเร้าจิตสำนึกของคนไทยให้ช่วยกันขจัดปัญหายาเสพย์ติด

หลักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันการติดสิ่งเสพติด 
1. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู และคนอื่นๆ ที่น่านับถือและหวังดี (จริงๆ)
2. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาครอบครัว ครู หรือผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ไม่ควรเก็บปัญหานั้นไว้หรือหาทางลืมปัญหาโดยใช้สิ่งเสพย์ติดช่วยหรือ ใช้เพื่อเป็นการประชด
3. หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากผู้ติดสิ่งเสพย์ติด หรือผู้จำหน่ายสิ่งเสพย์ติด
4. ถ้าพบคนกำลังเสพสิ่งเสพย์ติด หรือจำหน่ายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่
5. ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพย์ติด เพื่อจะได้ป้องกันตัวและผู้ใกล้ชิดให้ห่างจากสิ่งเสพย์ติด
6. ต้องไม่ให้ความร่วมมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเพื่อนที่ติดสิ่งเสพย์ติด เช่นไม่ให้ยืมเงิน
7. ไม่หลงเชื่อคำชักชวนโฆษณา หรือคำแนะนำใดๆ หรือแสดงความเก่งกล้าเกี่ยวกับการเสพสิ่งเสพย์ติด
8. ไม่ใช้ยาอันตรายทุกชนิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และควรใช้ยาที่แพทย์แนะนำให้ตามขนาดที่แพทย์สั่งไว้เท่านั้น
9. หากสงสัยว่าตนเองจะติดสิ่งเสพย์ติดต้องรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ
10. ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา หรือคำสอนของศาสนาทุกศาสนา เพราะทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายให้บุคคลประพฤติแต่สิ่งดีงามและละเว้นความชั่ว

มาตราข้อห้ามยาเสพติด

หมวด ๔

อุทธรณ์และฎีกา

_______________

มาตรา ๑๔

ให้จัดตั้งแผนกคดียาเสพติดขึ้นในศาลอุทธรณ์ โดยให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่มีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น และตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๕ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๖ คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง

เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ หรือเมื่อมีการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งอุทธรณ์หรือคำร้องเช่นว่านั้นพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยเร็ว

มาตรา ๑๖

คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อไม่มีการอุทธรณ์คำพิพากษา ให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนและคำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๔๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๑๗

ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน และกรรมใดกรรมหนึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หากมีการอุทธรณ์ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพร้อมความผิดอื่น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ และให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดอื่นซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วย

มาตรา ๑๘

ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๙ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้เป็นที่สุด คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในการกระทำกรรมอื่นซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด คู่ความอาจฎีกาได้ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยการฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๑๙

ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกา ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้

เมื่อมีคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง ศาลฎีกาอาจพิจารณารับฎีกาในปัญหาเรื่องหนึ่งเรื่องใดไว้วินิจฉัยก็ได้ หากเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรจะได้วินิจฉัย

คดีที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับฎีกาไว้วินิจฉัย ให้เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์

หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอ ตลอดจนการพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทั้งนี้ ในระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุเงื่อนเวลาของการสั่งไม่อนุญาตที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อการปฏิบัติตามมาตรา ๒๖๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ระเบียบตามวรรคสี่ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๒๐

การอุทธรณ์หรือฎีกาในศาลทหาร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร



หมายเลขบันทึก: 634251เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2017 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2017 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท