ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๔๙. ให้มั่นใจว่าหลักสูตรเอาใจใส่ทักษะการคิด (cognitive) และทักษะควบคุมการคิด (meta-cognitive skills)




บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง


ตอนที่ ๔๙ ให้มั่นใจว่าหลักสูตรเอาใจใส่ทักษะการคิด (cognitive) และทักษะควบคุมการคิด (meta-cognitive skills)  ตีความจาก Recommendation 4 : Ensure a Guaranteed and Viable Curriculum Involving Cognitive and Meta-cognitive Skills


ดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นๆ ของหนังสือ ว่าหลักสูตรการศึกษามักอัดสาระแน่นเสียจนครูสอนไม่ทัน และนักเรียนเรียนไม่ทัน     ที่ร้ายคือ ทำให้เน้นแต่สาระความรู้ ไม่สอนทักษะการคิดและทักษะอื่นๆ ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑   ทำให้การศึกษาบ่มเพาะพลเมืองที่มีความรู้แต่ไม่มีปัญญา


วิธีป้องกันปัญหานี้ระบุไว้ใน ภาค ๑ สื่อสารเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจน  คือการเขียนสเกลความเข้าใจ (proficiency scale) สำหรับใช้โฟกัสเฉพาะความรู้สำคัญเท่านั้น ที่ครูจะสอน    เพื่อให้มีเวลาสำหรับการสอน (ฝึก) ทักษะการคิด และทักษะควบคุมการคิด ด้วย    


ทักษะการคิด (cognitive skills) คือกลุ่มทักษะสำหรับใช้ประมวลข้อมูลและทำกิจกรรมให้สำเร็จ    โดยมีรายละเอียดแต่ละทักษะย่อยดังนี้ 




ทักษะกำกับการคิด (metacognitive skills) คือกลุ่มทักษะสำหรับใช้กำกับจิตใจตนเอง ในการทำกิจกรรมที่ซับซ้อนจนลุล่วง     และมีทักษะย่อยดังต่อไปนี้


<p></p><p>
</p><p></p><p>
</p><p>
</p><p>หนังสือ The New Art and Science of Teaching เสนอรายการและลำดับการสอน cognitive skills ของนักเรียนอนุบาลถึงเกรด ๘ ไว้เป็นรายปี    และเสนอรายการและสาระวิชาที่มีการสอน cognitive skills ของนักเรียนมัธยมปลายไว้     ที่น่าสนใจคือ เขาเสนอว่าทักษะที่ควรเริ่มฝึกตั้งแต่ชั้นอนุบาลคือ  ทักษะตรวจสอบความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างแนวความคิด  และทักษะสร้างและจัดการมโนภาพ    ชั้น ป. ๑ เริ่มฝึกทักษะสร้างข้อสรุป, แก้ปัญหา, และทดลอง    ชั้น ป. ๒ เริ่มฝึกทักษะตรวจหาตรรกะที่ผิดพลาดบ่อยๆ ,  นำเสนอข้อเสนอพร้อมข้อสนับสนุน, และทักษะตัดสินใจ     ชั้น ป. ๓ เริ่มฝึกทักษะสอบสวน    ทักษะที่แนะนำให้เริ่มช้าที่สุด (ป. ๕) คือทักษะค้นหาความรู้จากแหล่งดิจิตัล   </p><p></p>

ส่วน metacognitive skills  ในชั้นอนุบาลเขาแนะนำทักษะแสวงหาความชัดเจน และทักษะยับยั้งความวู่วาม    ทักษะที่แนะนำให้เริ่มชั้น ป. ๑ มี ๓ ทักษะคือ วางแผนสู่เป้าหมาย และปรับแผน,  ดำรงความใส่ใจต่อเนื่อง เมื่อคำตอบหรือทางออกยังไม่ชัด, และ แสวงหาความแม่นยำ     ทักษะที่แนะนำให้เริ่มชั้น ป. ๒ มี ๒ ทักษะคือ แสวงหาขั้นตอนที่ยกระดับขึ้น และ แสวงหาความต่อเนื่องเชื่อมโยง (cohesion & coherence)    ในชั้น ป. ๔ แนะนำให้เริ่มฝึกทักษะสร้างมาตรฐานความเป็นเลิศ    และทักษะที่เริ่มฝึกหลังสุด (ป.๕.) คือ ไปพ้นข้อจำกัดของความรู้และทักษะของตน

เขาบอกว่าหลังเกรด ๑๐ (ม. ๔) ไปแล้วไม่ควรต้องฝึกทักษะชุดนี้ เพราะนักเรียนจะมีทักษะนี้มั่นคงแล้ว     แต่ผมไม่เชื่อ เพราะผมแก่ปูนนี้แล้วยังหมั่นฝึกฝนทักษะชุดนี้ทุกวัน

อ่านรายละเอียดของ metacognition skills แล้ว ผมคิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับ Executive Functions and Self-Regulation (www.gotoknow.org/posts/617539


วิจารณ์ พานิช

๑๕ เม.ย. ๖๐


 


หมายเลขบันทึก: 634181เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2017 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2017 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท