จับกระแสท้องถิ่นสุดท้าย 2560 ตอนที่ 2 : เส้นทางการปฏิรูปท้องถิ่น


จับกระแสท้องถิ่นสุดท้าย 2560 ตอนที่ 2 : เส้นทางการปฏิรูปท้องถิ่น

17 สิงหาคม 2560

ทีมวิชาการ สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย [1]

 

          ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการปฏิรูปท้องถิ่น ณ เวลานี้ จะว่าไปต้องเป็น “โค้งสุดท้าย” เท่านั้น เพราะ ตลอดระยะเวลา ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ยาวนานมาจนถึง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ก็ 10 ปีได้ แล้วยังมาปฏิรูปต่อหลังจากที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติแล้วอีก แม้ว่าก่อนตรารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จะได้มีการเตรียมการปฏิรูปมานานพอสมควรแล้วก็ตาม [2] สรุปว่าระยะเวลาตั้งแต่มีการปฏิรูปประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2560 กว่า 3 ปีแล้ว ถือว่าเป็น “ระยะเปลี่ยนผ่าน” (the time of transition) หรือที่เรียกว่า “ระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ” นั่นแหละ

 

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน

          ทันทีที่เห็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2560 [3] ได้เกิดคำถามจากคนท้องถิ่นว่า คณะกรรมการปฏิรูปประเทศมีเพียง 11 ด้าน แต่ปรากฏว่าไม่มี “ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น” แล้วการปฏิรูปท้องถิ่นไปอยู่ตรงไหน ด้วยมีความรู้สึกที่ขัดแย้งกับกระแสการผลักดันดึงดันในระหว่างผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ อย่างใจจดใจจ่อ มันช่างสวนทางกัน ไม่ว่าในกระแสฝ่ายประจำท้องถิ่น ที่สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (กถ.) ยังไม่เสร็จสิ้นภารกิจยังคงจัดสัมมนาปัญหาระบบแท่งเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 [4] ในกระแสเล็ก ๆ อาจวิพากษ์กันไปในทางลบไปเลย ที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในบางประเด็นไป อาทิ วิพากษ์ว่า คงไม่มีการปฏิรูปท้องถิ่นกันแล้ว คือท้องถิ่น หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ก็คงเหมือนเดิม ไม่ยกฐานะ ไม่ควบรวมฯ เป็นมาอย่างไร ก็ให้เป็นไปแบบนั้น  คสช. คงไม่อยากให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นโดยเร็ว ก็เลยยื้อเวลาดึงโน่นนี่ ทำหนทางให้มันยาก อ้างข้อจำกัดสารพัด ตั้งคณะกรรมการฯ ต่าง ๆ มากมายร่างข้อเสนอมากมาย แต่พอสรุปผลออกมา กลับไม่เอาด้วย ไม่เห็นด้วย แล้วก็ตั้งคณะกรรมการฯ ใหม่ ร่างใหม่ต่อไป ประมาณว่า ยังไม่มีความแน่นอน หรือ ยังไม่มีธงสำหรับท้องถิ่น ว่าจะเอาอย่างไรแน่  จากความล่าช้าที่ยาวนานกว่าปกติ ทำให้วิพากษ์ว่า การปฏิรูปท้องถิ่นแรก ๆ ก็ตั้งวาระไว้ดี เมื่อไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแล้วจะปฏิรูปไปทำไม เหมือนกับการซื้อเวลา เท่ากับว่าที่ทำกันมาก่อนหน้าทิ้งเปล่า เสียดายเงินงบประมาณ สำหรับในส่วนของคณะกรรมการฯที่ได้รับการแต่งตั้งหลายคนก็แอบปลื้มดีใจที่มีนักวิชาการคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามา แต่อีกฝ่ายกลับเห็นว่าดูกรรมการฯแล้ว ท้องถิ่นไทยน่าเป็นห่วง การผลัดเปลี่ยนแต่งตั้งคณะกรรมการใหม่ ๆ มาตลอดอาจได้ของใหม่ก็ดี แต่ การยกทิ้งของเก่าที่คณะกรรมการฯชุดเดิมทำไว้ ก็น่าเสียเวลา บ้างก็ว่าตั้งกรรมการฯ ใหม่ตอบแทนรางวัลการทำงานด้วยเบี้ยตอบแทนที่สูง ฯลฯ หลากหลายความคิด เกิดความสับสนตามประสาคนที่พลาดอกหักจากความคาดหวัง

 

เรียงลำดับการปฏิรูปท้องถิ่นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ผ่านมา

          ลองมาเรียงลำดับประเด็นหรือวาระต่าง ๆ ในการปฏิรูปประเทศกันตั้งแต่ต้นว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งข้อมูลตรงนี้ค่อนข้างจะมีมาก แต่ก็มีความจำเป็นต้องสาธยายขยายความ

ขอเริ่มจากคณะกรรมาธิการต่างๆใน 3 ช่วงเวลา คือ (1) ช่วงเวลา “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” (สปช.) [5]นับช่วงเวลาจากการยึดอำนาจของ คสช. เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558 (2) ช่วงเวลา “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ” (สปท.) [6]วันที่ 13 ตุลาคม 2558 - 25 กรกฎาคม 2560 (3) ช่วงเวลาหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 [7] เริ่มการขับเคลื่อน หลังจาก สปท. หมดหน้าที่

 

ช่วงเวลา “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” (สปช.)

มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ” รวม 18 คณะ [8] พบว่ามี “คณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น” อยู่ด้วย คณะกรรมาธิการฯ ได้แก่ (1) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง  (2) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน  (3) คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม  (4) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น  (5) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  (6) คณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง  (7) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตรอุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ  (8) คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน  (9) คณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข  (10) คณะกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  (11) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ  (12) คณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส  (13) คณะกรรมาธิการปฏิรูปแรงงาน  (14) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ  (15) คณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา  (16) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการกีฬา  (17) คณะกรรมาธิการปฏิรูปวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา  (18) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค

          ปรากฏว่าในช่วงเวลานี้ มีประเด็นวาระของการปฏิรูปประเทศแตกหน่อแตกประเด็นออกมามากมาย โดยมี “วาระปฏิรูปและวาระพัฒนาด้านต่างๆที่ผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ” [9] ทั้งหมดแยกกลุ่มวาระ ได้ 3 กลุ่มวาระการปฏิรูป รวมวาระทั้งสิ้น 60 วาระ และ ข้อเสนอการปฏิรูปเร็ว (Quick win) รวม 9 ข้อเสนอ รวมทั้งสิ้น 69 เรื่อง (วาระ) ขออนุญาตไม่แจกแจงรายละเอียด เนื่องจากมีมาก

ข้อเสนอการปฏิรูปเร็ว (Quick win) รวม 9 ข้อเสนอ ได้แก่ (1) หลักประกันความมั่นคงด้านรายได้เพื่อการยังชีพของผู้สูงอายุ : การเร่งรัดการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 (2) การนำเสนอพื้นที่อนุรักษ์ในทะเลอันดามันเป็นเขตมรดกโลก (3) โครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร) (4) การกำหนดให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ (5) การกำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามระยะเวลาการใช้งานที่เป็นจริงโดยคิดเป็นวินาที (6) การเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 (7) การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย (8) การปฏิรูประบบการแจ้งแหตุฉุกเฉิน หมายเลขเดียว 112 (9) ผลการพิจารณาศึกษากฎหมายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

ช่วงเวลา “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ” (สปท.)

มีคณะกรรมาธิการ รวม 11 คณะ [10] ได้แก่ (1) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง (2) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (3) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (4) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่น (5) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (6) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ (7) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน (8) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (9) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน (10) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม (11) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรมและจริยธรรม

นอกจากนี้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (วิป สปท.) คณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และคณะกรรมการประสานงานการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

 

วาระในการปฏิรูปประเทศ 27 วาระ

เกิดขึ้นในช่วงเวลา สปท. 27 วาระปฏิรูป [11] ได้แก่ กลไกภาครัฐ (9 วาระ) ได้แก่ (1) ปฏิรูปงบประมาณ/การคลัง (2) การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (3) ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (4) ปฏิรูปกระจายอำนาจ (5) บริหารรัฐที่ต้องเปิดเผยข้อมูล (6) การควบคุมและการตรวจสอบอำนาจรัฐ (7) การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม (8) ศาลป้องปรามการทุจริตและวิธีพิจารณาคดีป้องปรามการทุจริต (9) การคุ้มครองติดตามทรัพย์สินของแผ่นดินจากการทุจริต เครื่องมือพัฒนาฐานราก (4 วาระ) ได้แก่ (10) เกษตรพันธสัญญา (11) ประกันภัยการเกษตร (12) การเงินรากฐาน/สหกรณ์ออมทรัพย์ (13) ธนาคารที่ดิน เศรษฐกิจอนาคต (3 วาระ) ได้แก่ (14) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (15) เศรษฐกิจชีวภาพ (16) เศรษฐกิจดิจิตัล คน (4 วาระ) ได้แก่ (17) ปฏิรูปกฎหมายการศึกษา (18) แรงงาน (19) หลักประกันสุขภาพ (20) ผู้สูงอายุ โครงสร้างพื้นฐาน (7 วาระ) ได้แก่ (21) ทรัพยากรป่าไม้ (22) ทรัพยากรน้ำ/แหล่งน้ำ ชุมชม (23) ผังเมือง (24) พลังงานทดแทน (25) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (26) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม (27) โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์

นอกจากนี้ มีคณะอนุกรรมการจำนวน 4 คณะ ได้แก่ (1) คณะอนุกรรมการจัดเตรียมพิมพ์เขียวของวาระการปฏิรูป (2) คณะอนุกรรมการทำงานประสานกระทรวงเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูป (3) คณะอนุกรรมการสร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วม และ (4) คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล

สำหรับ 27 วาระการปฏิรูปประเทศนี้ แยกออกเป็น 42 ประเด็น ต้องดำเนินการภายในปี 2560 และ 32 ประเด็นต้องดำเนินการภายในปี 2561-2564  การขับเคลื่อนการปฏิรูป ซึ่งจะดำเนินการโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูป (กขป.) และคณะกรรมการขับเคลื่อนเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล (กขร.)

นอกจากนี้ยังมี ป.ย.ป. ทำหน้าที่ปฏิรูป ยุทธศาสตร์ชาติ และปรองดอง ตามคำสั่ง หน.คสช.ที่ 3/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ลงวันที่ 17 มกราคม 2560 [12] กำหนดให้มีคณะกรรมการ ป.ย.ป. ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นกรรมการ

 

ช่วงเวลาหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2560 [13] รวม 11 คณะ รวม 120 คน ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี ดังนี้ (1) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง (2) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (3) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย (4) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (5) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ (6) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (7) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข (8) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ (9) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม (10) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน (11) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต   

 

          แม้จะมีข้อจำกัดในการลงข้อมูลได้น้อย แต่ก็ยาวพอที่จะควานหาคำตอบ แล้วอาจได้คำตอบว่า “การปฏิรูปท้องถิ่น” ที่หายไป ได้ไปซ่อนอยู่ตรงไหน

 

[1]Phachern Thammasarangkoon, Municipality Officer ทีมวิชาการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย, หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 64 ฉบับที่ 49 วันศุกร์ที่ 18– วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม2560, หน้า 66  

& หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2560 ปีที่ 67 ฉบับที่ 23495 หน้า 10, การเมืองท้องถิ่น : บทความพิเศษ 

[2]ดู สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: “หมวดปฏิรูป” และ “ยุทธศาสตร์ชาติ” ภาพฝันที่ คสช. เร่ขาย, โดย iLaw, 19 กรกฎาคม 2559, https://ilaw.or.th/node/4202

[3]ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน, 15 สิงหาคม 2560, https://news.thaipbs.or.th/content/265266 & http://www.ppb.moi.go.th/midev...   

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/1.PDF

[4]ตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0209.3/ว 4096 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2560 เรื่อง ขอเชิญประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อมูลอื่น ๆ ในการปรับปรุงระบบทรัพยากรบุคคลที่เปลี่ยนจากระบบซีเป็นระบบแท่งเพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภาคราชการส่วนท้องถิ่น

[5]สภาปฏิรูปแห่งชาติ, วิกิพีเดีย, https://th.wikipedia.org/wiki/สภาปฏิรูปแห่งชาติ

สภาปฏิรูปแห่งชาติ (6 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558) หรือ สปช. เป็นสภาที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 27 จำนวน 250 คน

[6]สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ, วิกิพีเดีย, https://th.wikipedia.org/wiki/สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) (13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) หรือ สปท. เป็นสภาที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 มาตรา 39/2 ทำหน้าที่ศึกษาและปฏิรูปทั้ง 11 ด้านสืบต่อจาก สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ถูกยุบไปตามมาตรา 39/1 จำนวน 200 คน

[7]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก ราชกิจจานุเบกษา 6 เมษายน 2560 หน้า 1-90, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

[8]โชคสุข กรกิตติชัย, คณะกรรมาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ,  กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-038.pdf

[9]วาระปฏิรูปและวาระพัฒนาด้านต่างๆที่ผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ, http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=30546

[10]สปท.เห็นชอบตั้ง กมธ.สามัญประจำสภา 11 คณะ แล้ว, วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา, 10 พฤศจิกายน 2558, http://www.radioparliament.net/parliament/viewNews.php?nId=5156#.WZOodtSLRkg &  โชคสุข กรกิตติชัย, คณะกรรมาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ, กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=31670http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=33223

[11]รู้จัก ป.ย.ป. ทำหน้าที่ปฏิรูป ยุทธศาสตร์ชาติ และปรองดอง, โดย iLaw, 18 มีนาคม 2560, https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:JYdTqywqNhgJ:https://ilaw.or.th/node/4452+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th

[12]คำสั่ง หน.คสช.ที่ 3/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ลงวันที่ 17 มกราคม 2560http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-head-order3-2560.pdf

[13]ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน, 15 สิงหาคม 2560, อ้างแล้ว



ความเห็น (3)

Thank you.

There are a lot to comprehend the scope and scale of reforms. I think these by themselves are hindrances to successful reforms. The reforms are well thought and described "statically". There is no guideline how how to calculate interactions of (impacts and or results of) reforms dynamically (in actions) nor in "future". There is no clear "key permance factors" nor information infrastructures to allow 'measurement' for monitoring and review. We must be more far-sighted and creative to leapfrog and catch up with more advanced countries. The do-what-we-can attitude is not helping!

Dear sr;

"The do-what-we-can attitude is not helping!"...

I think on the first reform during the "National Reform Council" (สปช.) there are a lot of issues (app. 69) include a 9's Quick Win issues. [Quick Win means the reform does not necessary wait for the new Constitution.] 

And during of the "National Reform Steering Assembly" (สปท.) there are concise of 27's issues, these are so still lots.

AT last on during the "Constitution of B.E.2560" there are 11's national reform committees, but conceal some spacial issue, such as; Local government reform. I think this issuing must be re-correct reveal as the isolated issue. Do not do in a hidden in some issue like in the issuing of ''Administration of Governments". (Just we call "การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน".)

Thanks for your mind! 


This is great, That's a great website, it really is what I was looking for, thank you for sharing!
<a href="<a href=" http:="" 192168ll.tips="">http://192168ll.tips/</a>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท