คุณธรรมเเละจริยธรรม


คุณธรรม เป็น สิ่งที่ต้องอบรมโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นเหมาะสมกับที่เราต้องการ

จริยธรรม หมายถึง ระเบียบปฏิบัติที่มุ่งปฏิบัติเพื่อให้เกิดความผาสุกในสังคม เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น แต่งขึ้นตามเหตุผลของมนุษย์เอง หรือตามความต้องการของมนุษย์ – ท่านพุทธทาสภิกขุ

คำว่าคุณธรรมอาจจะมีมากมายหลายความหมาย นั่นก็แล้วแต่มุมมองความเห็นของแต่ละท่านแต่ละองค์ หากสังเกตุจากตัวอย่างความหมายที่เลือกหยิบยกมาจากท่านพุทธทาสภิกขุ และความหมายโดยรวมของสองคำนี้นั้นอาจแบ่งเห็นภาพได้ชัดเจนนั้นก็คือ คุณธรรมคือรากฐานของจิตใจ และ จริยธรรมคือรากฐานของการปฏิบัติ ปฏิบัติชอบ นั่นก็หมายความได้ว่าการที่มีคุณธรรมอยู่ภายในรากฐานของจิตใจ ก็จะเป็นการถือตนครองตนอยู่ด้วยความดี มีธรรมภายในตนเองตลอดเวลา ซึ่งนั่นก็จะเป็นเส้นทางถ่ายทอดให้การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมเพื่อความดี ความผาสุขภายในตนเอง และสังคมที่อาศัยอยู่

โดยการมี “คุณธรรม” ภายในจิตที่ถูกยกระดับด้วยการคิดดี คิดชอบนั้นอาจจะมีธรรมต่างต่างมากมายประกอบอยู่ด้วยดังเช่น

ความเมตตา ความรักที่ความต้องการให้ผู้อื่นเป็นสุขกาย สุขใจ

ความกรุณา ไม่เพียงแต่คิดที่จะช่วยเท่านั้นทั้งยังลงมือยื่นมือเข้าไปช่วยให้ผู้นั้นพ้นทุกข์

การมีมุทิตา เมื่อผู้อื่นพ้นทุก ปราศจากภัยเราเองก็พลอยยินดีมีความสุขไปด้วย

การมีอุเบกขา วางตนให้เป็นดั่งกี่งกลางของทุกสิ่งพร้อมรับผลทุกอย่างที่ตามมาด้วยใจที่สงบนิ่ง

การมีจาคะ ซึ่งทำให้ใจนั่นเอื้อเฟื้อ มีน้ำใจพร้อมเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์

“….ในฐานที่เป็นครูอาจารย์ หัวหน้างาน

จำเป็นต้องมีความสุจริต ยุติธรรม

ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง เป็นที่พึ่ง

ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

ไม่ยอมแพ้พ่ายต่อความโลภ

ความลืมตัว ความริษยา ความแตกร้าว

ต้องมุ่งมั่นในประโยชน์อันรุ่งเรืองไพศาล

ของส่วนรวมเป็นเป้าหมาย

จึงจะได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จ

และมีชื่อเสียงเกียรติคุณทุกประการ

ดังที่ปรารถนา………”

พระบรมราโชวาท

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

หากสังเกตุจากพระบรมราโชวาทของในหลวงของเรานั้น แสดงให้เห็นได้ชัดว่าไม่ว่าจะเดินบนสายอาชีพใด ยิ่งใหญ่เพียงใดก็สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะมีคุณธรรมอยู่ภายในจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติงานหรือผู้นำของสังคม สำหรับคุณธรรมของผู้นำซึ่งควรมี ควรปฏิบัติ และโดยภาพรวมทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นการมีคุณธรรม จริยธรรมนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของพุทธศาสนิกชนเพียงเท่านั้นแต่เป็นเรื่องของคนทั้งโลก ทุกศาสนา “คุณธรรม” เป็นของคู่กับรากฐานของแต่ละศาสนาเพียงแต่ถูกถ่ายทอดมาแตกต่างวิธีการเพียงเท่านั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 633764เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2017 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2017 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท