โครงงานสารเสพติด


ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย

1. ยาบ้า
ยาบ้า เป็นยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่มีชื่อว่า เมทแอมเฟตามีน ยาบ้าที่ลักลอบจำหน่ายกันอยู่ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นยาเม็ดสีส้ม สีน้ำตาล หรือสีเขียว ด้านหนึ่งของเม็ดยาจะมีสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ “wy” ส่วนอีกด้านจะเป็นรอยขีดแบ่งครึ่งเม็ด ในยาบ้า 1 เม็ด จะมีสารเมทแอมเฟตามีนประมาณ 25 – 30 มิลลิกรัม อาจเสพโดยการกิน เผาไฟแล้วสูบควัน หรือฉีดเข้าหลอดโลหิตดำ


2. เฮโรอีนและอนุพันธ์ของฝิ่นชนิดอื่นๆเฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีที่ทำมาจากมอร์ฟีนซึ่งได้มาจากฝิ่น เฮโรอีนมีลักษณะเป็นผงสีขาว มีรสขมจัด ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ง่าย เฮโรอีนสามารถเสพโดยการนำไปละลายน้ำแล้วฉีดเข้าหลอดโลหิตดำ หรือนำไปยัดใส่ในมวนบุหรี่แล้วสูบ หรือนำไปลนไฟแล้วสูดไอระเหยเข้าปอด เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ร้ายแรงและติดง่ายที่สุดหว การทำงานของระบบการหายใจจะถูกกด ทำให้หายใจแผ่วและตื้น ผิวกายเย็นชื้น ชัก สลบ และเสียชีวิตเนื่องจากระบบการหายใจล้มเหลว

3. โคเคน โคเคนเป็นสารเคมีที่สกัดมาจากใบของต้นโคคา ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นที่เจริญงอกงามอยู่บนภูเขาสูงในทวีปอเมริกาใต้ โคเคนเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทอย่างรุนแรง มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว นิยมเสพโดยการสูดผงยาเข้าโพรงจมูก มีอยู่ส่วนน้อยที่เสพโดยนำโคเคนไปละลายน้ำ แล้วฉีดเข้าหลอดโลหิตดำ


4. ยาอี ยาอีเป็นสารสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์ทั้งกระตุ้นประสาทและหลอนประสาท ซึ่งเด็กวัยรุ่นนิยมใช้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเด็กวัยรุ่นที่ชอบมั่วสุมกันตามดิสโก้เธค หรือสถานที่ฟังเพลงและเต้นรำที่ๆมีการเปิดเพลงเสียงดัง ทั้งนี้เพราะผู้ที่เสพยาอีจะชอบเสียงดัง



5. ยาแก้ไอผสมโคเดอีน โคเดอีนเป็นสารประกอบจำพวกอัลคาลอยด์ที่มีอยู่ในฝิ่นประมาณร้อยละ 0.7 – 2.5 โดยน้ำหนัก ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมากจนไม่สามารถผลิตเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ ปัจจุบันโคเดอีนที่ใช้ในทางการแพทย์ได้จากการสังเคราะห์จากฝิ่น


6. กัญชา กัญชาเป็นพืชล้มลุก ส่วนที่นำมาใช้เสพคือ ช่อดอกตัวเมียและใบที่ติดมากับช่อดอก โดยนำมาตากหรืออบให้แห้ง แล้วนำไปบดหรือหั่นเป็นฝอยหยาบๆแล้วจึงนำไปมวนสูบโดยผสมกับบุหรี่ หรืออาจจะสูบจากกล้องยาสูบ หรือบ้องกัญชาก็ได้


หมายเลขบันทึก: 633756เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2017 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2017 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท