โครงงานยาเสพติด


โครงงานสารเสพติด

บทที่ 1

<p>บทนำ</p>

ที่มาและความสำคัญ

            ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของประเทศ ซึ่งบ่อนทำลายทรัพยากรและความมั่นคงของประเทศชาติและสังคมเป็นอย่างมาก ได้มีการดำเนินงานในทุกวิถีทางที่จะป้องกันและปราบปามมิให้มีการเสพ การซื้อขาย และการผลิตยาเสพติด แต่เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหม่ที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อต่อการดำเนินการ และไม่ได้มีแต่ประเทศไทยแห่งเดียวเท่านั้น ประเทศอื่นๆก็มีการเสพ การซื้อขาย และการผลิตยาเสพติดอยู่ตลอดเวลา

            ปัจจุบันนี้ ยาเสพติดได้เข้ามาแพร่หลายในสังคมเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเฮโรอีน มอร์ฟีน และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งนอกจากผู้ใหญ่จะติดยาเสพติดแล้ว ก็ยังมีเยาวชนไทยอายุน้อยๆลงไปติดยาเสพติดเหล่านี้อีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง เพราะนอกจากผู้เสพยาเสพติดทั้งหลายนี้ จะได้สามารถประกอบอาชีพทำการงานต่างๆไม่ได้แล้ว ยังก่ออาชญากรรม ทำให้เกิดปัญหาต่อสังคม กระทบกระเทือนต่อประชาชนผู้ไม่ได้เสพยาเสพติดอีกด้วย

                ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับเรื่องสารเสพติด

วัตถูประสงค์ที่ศึกษา

   1.  เพื่อให้รู้โทษภัยและอันตรายจากยาเสพติด

   2.  เพื่อให้รู้วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากยาเสพติด

   3.  เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

ขอบเขตการศึกษา

   -ศึกษาเฉพาะเรื่องยาเสพติด

บทที่   2

<p>เอกสารที่เกี่ยวข้อง</p>

<a href="http://commons.wikimedia.org/wiki/File:New_Seal_of_the_Royal_Command_of_Thailand_001.jpg" seal="" of="" the="" royal="" command="" thailand"=""></a>

พระราชบัญญัติ

วิธีพิจารณาคดียาเสพติด

พ.ศ. ๒๕๕๐

_______________

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาเสพติด

           พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๖ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

           จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑

พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๐”

มาตรา ๒

พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1]

มาตรา ๓

          บทบัญญัติหรือวิธีพิจารณาใดซึ่งพระราชบัญญัตินี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติหรือวิธีพิจารณาแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง หรือกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร มาใช้บังคับ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔

ห้ามมิให้นำบทบัญญัติในหมวด ๓ วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น และหมวด ๔ อุทธรณ์และฎีกา แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแก่คดีเยาวชนและครอบครัวตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว

มาตรา ๕

ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“พนักงานอัยการ” หมายความรวมถึง อัยการทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร

“ยาเสพติด” หมายความว่า ยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

“กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด” หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย กฎหมายว่าด้วยการป้องกัน     และปราบปรามยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยยา  เสพติดให้โทษ และกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

          “ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด” หมายความว่า ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด

          “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

          “ศาลอุทธรณ์” หมายความว่า ศาลอุทธรณ์ซึ่งมิใช่ศาลอุทธรณ์ภาค

มาตรา ๖

ให้ประธานศาลฎีกา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจออกระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา และนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน

ระเบียบหรือกฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑

การสืบสวน

_______________

มาตรา ๗

ในกรณีจำเป็น และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานผู้ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี มีอำนาจปฏิบัติการอำพราง เพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด

การอำพราง หมายความว่า การดำเนินการทั้งหลายเพื่อปิดบังสถานะหรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินการ โดยลวงผู้อื่นให้เข้าใจไปทางอื่น หรือเพื่อมิให้รู้ความจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน

ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน และมีเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจปฏิบัติการอำพรางเพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดไปก่อน แล้วรายงานผู้มีอำนาจอนุญาตตามวรรคหนึ่งโดยเร็ว

การอนุญาตและการอำพรางตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งการดำเนินการตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ในกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจด้วย

การกระทำและพยานหลักฐานที่ได้มาจากการอำพรางของเจ้าพนักงานตามมาตรานี้ ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

มาตรา ๘

ในกรณีจำเป็น และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานผู้ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี มีอำนาจครอบครองหรือให้มีการครอบครองยาเสพติดภายใต้การควบคุม ทั้งในและนอกราชอาณาจักร เพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดได้

ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องนั้น โดยในการมอบหมาย ให้คำนึงถึงระดับความรับผิดชอบของผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย

การครอบครองยาเสพติดภายใต้การควบคุม หมายความว่า การครอบครองชั่วคราวซึ่งยาเสพติด เพื่อส่งต่อแก่ผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ คำสั่ง หรือการสะกดรอยติดตามของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ การส่งต่อนั้น ให้รวมถึง การนำเข้าหรือส่งออกเพื่อการส่งต่อในหรือนอกราชอาณาจักรด้วย

การขออนุญาต การอนุญาต การครอบครอง ระยะเวลาในการครอบครอง หรือการให้มีการครอบครองยาเสพติดภายใต้การควบคุม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ในกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจด้วย

การกระทำและพยานหลักฐานที่ได้มาจากการกระทำของเจ้าพนักงานตามมาตรานี้ ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

มาตรา ๙

ในกรณีที่เจ้าพนักงานขอให้บุคคลใดซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเฉพาะในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้บุคคลนั้นไม่ต้องรับผิดทางแพ่งเป็นการส่วนตัวในบรรดาความเสียหายที่เกิดขึ้น เว้นแต่จะได้กระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ

มาตรา ๑๐

ในกรณีจำเป็น และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานอาจร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ได้มาซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด และการดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้รับการร้องขอดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการตามคำร้องขอโดยปฏิบัติตามวิธีการในกฎหมายดังกล่าว

เจ้าพนักงานผู้ใดเปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ได้มาตามวรรคหนึ่งให้แก่บุคคลอื่น อันมิใช่เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หมวด ๒

การสอบสวน

_______________

มาตรา ๑๑

ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดสิ่งของไว้ตามกฎหมาย และอ้างว่าเป็นยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนส่งสิ่งของที่ยึดนั้นภายในสามวันทำการนับแต่เวลาที่พนักงานสอบสวนได้รับสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางในคดี เพื่อให้ผู้ชำนาญการพิเศษตรวจพิสูจน์และทำความเห็นเป็นหนังสือรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ไม่อาจส่งสิ่งของที่ยึดนั้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โดยให้บันทึกเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นที่ไม่อาจดำเนินการดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย

หมวด ๓

วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น

_______________

มาตรา ๑๒

ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งจำเลยมีทนายความ ถ้าปรากฏว่า จำเลยคนใดจงใจไม่มาศาลหรือหลบหนี และมีความจำเป็นเพื่อมิให้พยานหลักฐานสูญหายหรือยากแก่การนำมาสืบในภายหลัง เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร ก็ให้ศาลมีอำนาจสืบพยานหลักฐานลับหลังจำเลย แต่ต้องให้โอกาสทนายความของจำเลยที่จะถามค้านและนำสืบหักล้างพยานหลักฐานนั้นได้

มาตรา ๑๓

ในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิด หรือคดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้นกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตลอดชีวิตหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์ จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง

หมวด ๔

อุทธรณ์และฎีกา

_______________

มาตรา ๑๔

ให้จัดตั้งแผนกคดียาเสพติดขึ้นในศาลอุทธรณ์ โดยให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่มีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น และตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๕ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๖ คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง

เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ หรือเมื่อมีการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งอุทธรณ์หรือคำร้องเช่นว่านั้นพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยเร็ว

มาตรา ๑๖

คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อไม่มีการอุทธรณ์คำพิพากษา ให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนและคำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๔๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๑๗

ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน และกรรมใดกรรมหนึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หากมีการอุทธรณ์ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพร้อมความผิดอื่น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ และให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดอื่นซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วย

มาตรา ๑๘

ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๙ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้เป็นที่สุด คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในการกระทำกรรมอื่นซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด คู่ความอาจฎีกาได้ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยการฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๑๙

ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกา ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้

เมื่อมีคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง ศาลฎีกาอาจพิจารณารับฎีกาในปัญหาเรื่องหนึ่งเรื่องใดไว้วินิจฉัยก็ได้ หากเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรจะได้วินิจฉัย

คดีที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับฎีกาไว้วินิจฉัย ให้เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์

หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอ ตลอดจนการพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทั้งนี้ ในระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุเงื่อนเวลาของการสั่งไม่อนุญาตที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อการปฏิบัติตามมาตรา ๒๖๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ระเบียบตามวรรคสี่ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๒๐

การอุทธรณ์หรือฎีกาในศาลทหาร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร

หมวด ๕

การบังคับโทษปรับ

_______________

มาตรา ๒๑

ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษปรับ ให้พนักงานอัยการร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของกรมบังคับคดีดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องโทษแทนค่าปรับได้

การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีอำนาจตรวจสอบทรัพย์สิน และให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

บทบัญญัติมาตรานี้ ไม่กระทบต่อการที่ศาลจะมีคำสั่งขังผู้ต้องโทษแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา

หมวด ๖

อายุความ

_______________

มาตรา ๒๒

ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด สำหรับฐานความผิดซึ่งต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดสามสิบปีนับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ

ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาล แล้วผู้กระทำความผิดวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณา หรือหลบหนี จนเกินกำหนดตามวรรคหนึ่งแล้ว นับแต่วันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา หรือนับแต่วันที่ผู้นั้นหลบหนี แล้วแต่กรณี ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน

มาตรา ๒๓

ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตผู้ใด และผู้นั้นยังมิได้รับโทษ หรือได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนเพราะหลบหนี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษเกินกำหนดเวลาสามสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้นั้นหลบหนี แล้วแต่กรณี เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้

บทเฉพาะกาล

_______________

มาตรา ๒๔

บรรดาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลนั้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด

  ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์

รองนายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ

             เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบัน การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้เปลี่ยนแปลงไปสู่อาชญากรรมที่มีการจัดตั้งในลักษณะองค์กร และมีลักษณะพิเศษมากยิ่งขึ้น โดยผู้กระทำความผิดอาศัยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และข้อจำกัดของกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ประกอบกับมีคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมาก ซึ่งคดีดังกล่าวมีลักษณะพิเศษและซับซ้อนแตกต่างจากการกระทำความผิดอาญาทั่วไป สมควรมีกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาเสพติดโดยเฉพาะ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การสืบสวนสอบสวนโดยการใช้เทคนิคการสืบสวนสอบสวนพิเศษ และกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น การอุทธรณ์ ฎีกา และอายุความ รวมทั้งกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับชำระค่าปรับตามคำพิพากษา เพื่อให้ศาลพิจารณาพิพากษาและบังคับโทษคดียาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

บัญญัติ 10 ประการ ยาเสพติด
1. ยาเสพติดให้โทษ คือ อะไร
          ยาเสพติดให้โทษตามความหมายของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2552 หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลงจนถึงขั้นเสียชีวิต
2. การใช้ยาเสพติดมีอันตรายอย่างไร
            การใช้ยาเสพติดมีอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้             1. ทำลายสุขภาพให้ทรุดโทรม น้ำหนักลด ผิวคล้ำ ร่างกายซูบผอม             2. เป็นบุคคลไร้สมรรถภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อารมณ์ไม่ปกติ เฉี่อยชาเกียจคร้าน             3. เสียบุคลิกภาพ ขาดความสนใจในตัวเองมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม             4. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่ายเพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง             5. เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายเพราะความต้านทานโรคน้อย ติดเชื้อง่าย
3. จะสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติดได้อย่างไร
           ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไปจากเดิมที่อาจสังเกตพบได้คือ           1. ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม           2. อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติจึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกันบางคนอาจชอบแยกตัวอยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง           3. ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่าผลการเรียนแย่ลงถ้าเป็นคนทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย           4. ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านในหรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน           5. ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆ ใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ           6. ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด          7. ขโมย ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด          8. ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง
4. จะสังเกตุอาการคนเมายาบ้าได้อย่างไร
         ผู้ที่เสพยาบ้าเป็นประจำ จะส่งผลให้ผู้เสพมีระบบประสาทผิดปกติเมื่อถึงจุดหนึ่งจะเกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน หวาดระแวง จนเกิดความเครียดคิดว่าจะมีคนมาฆ่า หรือทำร้าย บางรายกลัวมากต้องหาอาวุธไว้ป้องกันตัวหรือคลุ้มคลั่งจับตัวประกัน ซึ่งอาจสังเกตอาการของคนเมายาบ้า ได้ดังนี้          1. อยู่ไม่สุข ลุกลี้ลุกลน กระสับกระส่าย          2. หวาดกลัว และระแวงอยู่ตลอดเวลา          3. สีหน้าเลื่อนลอยเหมือนคนไม่ได้นอนหลับพักผ่อน          4. เนื้อตัวสกปรก มอมแมม
5.ถ้าบุตรหลานหรือบุคคลในครอบครัวของท่านติดยาเสพติดควรทำอย่างไร
          โดยหลักการตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แล้วผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่งมิใช่อาชญากรปกติการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติดจึงสมควรกระทำให้กว้างขวาง          ถ้าบุตรหลานหรือบุคคลในครอบครัวของท่านติดยาเสพติดท่านสามารถช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้นได้ก่อนถูกจับกุมดำเนินคดีโดยขอรับคำปรึกษาจากสถานที่ให้คำปรึกษา และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดได้แก่โรงพยาบาลของรัฐ เช่น รพ.ธัญญารักษ์, รพ.พระมงกุฏเกล้า, รพ.ตำรวจ, รพ.จุฬาลงกรณ์,รพ.ราชวิถี, รพ.ตากสิน, รพ.ทหารผ่านศึก , รพ.นพรัตน์ราชธานี เป็นต้นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดต่างๆ ฯลฯ
6.หากผู้ปกครองปล่อยปละละเลยให้บุตรหลานเสพยาเสพติดให้โทษผู้ปกครองมีความผิดหรือไม่
          ผู้ปกครองมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนดูแลเอาใจใส่เด็กในความปกครองให้ประพฤติตนให้เหมาะสมหากผู้ปกครองรายใดไม่ดูแลเอาใจใส่ เป็นเหตุให้เด็กประพฤติ ตนไม่สมควรมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำความผิด เช่น เสพยาเสพติดให้โทษ เป็นต้นผู้ปกครองอาจจะมีความผิดถึงรับโทษจำคุกไม่เกิน 3เดือน หรือปรับไม่เกิน สามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตาม พ.ร.บ.ค้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 4,26,78 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ.2549 ลงวันที่ 8 ส.ค.49          ผู้ปกครองจึงไม่ควรสนับสนุนหรือยินยอมให้บุตรหลานของท่านเที่ยวเตร่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมเช่น สถานบริการกลางคืน สถานที่เสี่ยงภัยต่างๆ
7.ท่านหรือบุตรหลานของท่านไม่ยินยอมให้ตรวจปัสสาวะได้หรือไม่และมีโทษหรือไม่ อย่างไร
         บุคคลใดมีพฤติการณ์น่าสงสัยว่าเสพยาเสพติดเจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้บุคคลใดรับการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดจากปัสสาวะได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 มาตรา 14 ทวิประกอบประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ลง 11ก.ค.43 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่         บุคคลใดไม่ยินยอมให้ตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดจากปัสสาวะต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด พ.ศ.2519 มาตรา 16         ดังนั้นจึงควรระมัดระวังมิให้บุตรหลานของท่านเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดตามสถานบริการต่างๆโดยเด็ดขาด
8. สถานประกอบการประเภทใดที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด และต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร
         มีสถานประกอบการ 6 ประเภทที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ.2519 มาตรา 13 ทวิ ประกอบ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2543) ณ วันที่ 16 ส.ค.43 เรื่องกำหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ได้แก่        1. ปั๊มน้ำมัน        2. ปั๊มก๊าซ        3. สถานบริการต่างๆ        4. ที่พักอาศัยในเชิงพาณิชย์ประเภท หอพัก อาคารชุด หรือเกสเฮ้าส์ ที่ให้ผู้อื่นเช่า        5. โต๊ะบิลเลียตหรือสนุกเกอร์ ที่เก็บค่าบริการจากผู้เล่น        6. โรงงาน        เจ้าของสถานประกอบการทั้ง 6 ประเภท มีหน้าที่ควบคุม สอดส่อง ดูแลไม่ให้พนักงานหรือบุคคลภายนอกมามั่วสุมกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในหรือบริเวณสถานประกอบการ และต้องจัดให้มีป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติดหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดพ.ศ.2519 มาตรา 13 ทวิ ประกอบประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ณวันที่ 16 ส.ค.43 เรื่องกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ        หากปล่อยปละละเลยหรือละเว้นไม่ติดป้ายหรือประกาศเตือนดังกล่าว อาจถูกปรับเป็นเงินหนึ่งหมื่นบาทหรือสามหมื่นบาท หรือห้าหมื่นบาท แล้วแต่กรณี ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบรามยาเสพติดพ.ศ.2519 มาตรา 13 ตรีประกอบระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการตักเตือนการเปรียบเทียบปรับ และการปิดชั่วคราวสถานประกอบการหรือการพักใช้ใบอนุญาตประกอบการพ.ศ.2545 ณ วันที่ 12 ธ.ค.45 ข้อ 17
9. หากพบการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการเจ้าของสถานประกอบการมีความรับผิดตามกฎหมายยาเสพติดหรือไม่ อย่างไร
        ถ้ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการทั้ง 6 ประเภท โดยเจ้าของสถานประกอบการไม่สามารถชี้แจงหรือพิสูจน์การใช้ความระมัดระวังได้สถานประกอบการนั้นอาจถูกสั่งปิดชั่วคราวหรือพักใช้ใบอนุญาต มีกำหนด 7 วันตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519มาตรา 13 ตรีประกอบระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการตักเตือนการเปรียบเทียบปรับและการปิดชั่วคราวสถานประกอบการหรือการพักใช้ใบอนุญาต ประกอบการ พ.ศ.2545 ณ วันที่ 12 ธ.ค.45 ข้อ 18
10. ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างไร
        ถ้าพบแหล่งจำหน่าย พักยา มั่วสุม หรือเสพยาเสพติดหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดท่านมีส่วนช่วยเหลือสังคมในการป้องกันและปราบปรามได้โดยแจ้งให้หน่วยราชการต่อไปนี้ทราบ

บทที่ 3

วัสดุอุปกรณ์/วิธีดำเนินงาน

วัสดุอุปกรณ์

1.คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต

2.สมุด กระดาษ

3.ปากกา ลิกขวิด ดินสอ

วิธีดำเนินงาน: 1.เขียนโครงเรื่องที่ศึกษา/วางแผน

                        2.ค้าคว้าข้อมูลเพื่อนำมาทำโครงงานตามที่ได้วางโครงเรื่อง

                        3.นำข้อมูลที่ได้ บันทึก และจัดทำรูปเล่ม

ตารางการปฏิบัติงาน : 1 พ.ย. 56 – 1 ธ.ค. 56

วันปฏิบัติ รายการปฏิบัติ
1-3 พ.ย. 56 คิดชื่อเรื่องและวางแผน
4-16 พ.ย. 56 ค้นคว้าข้อมูลทั้งหมดจากสถานที่ต่างๆ
17-26 พ.ย. 56 จัดเรียบเรียงข้อมูล และจัดทำรูปเล่ม
27-30 พ.ย. 56 ตรวจสอบข้อมูลและรูปเล่ม
1 ธ.ค. 56 นำเสนอ

บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน

ความหมายของสารเสพติด
          ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้นเมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี
รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
        ลักษณะสำคัญของสารเสพติดจะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้

1.เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
          2. เกิดอาการขาดยาถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
          3. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา
          4. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลงเกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ 

ความหมายโดยทั่วไป
          ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆเป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้

          1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
          2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆหรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
          3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ  

ความหมายตามกฎหมาย
          ยาเสพติดให้โทษหมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทานดม สูบฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่นต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลงกลับให้รวม
ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่ไม่หมายความถึงยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสม

โทษของยาเสพติด

เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก

โทษทางร่างกาย และจิตใจ

        1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย

        2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม

        3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ

        4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน

        5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก

        6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง

ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา

        7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม

โทษพิษภัยต่อครอบครัว

   1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว

   2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง

   3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ

   4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง

ประเภทของสารเสพติด
ประเภทของยาเสพติด
          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทแบ่งเป็น ๔ ประเภท
          1.ประเภทกดประสาทได้แก่ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมทั้งสารระเหยเช่น ทินเนอร์แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมีร่างกายซูบซีด ผอมเหลืองอ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
          2.ประเภทกระตุ้นประสาทได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคนมักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวงบางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเองหรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
          3.ประเภทหลอนประสาทได้แก่แอลเอสดีและ เห็ดขี้ควายเป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอนฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
          4.ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสานคือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่วควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้
2.แบ่งตามแหล่งที่มา
          แบ่งตามแหล่งที่เกิดซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
          1.ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่นฝิ่น  มอร์ฟีน  กระท่อม กัญชาเป็นต้น
          2. ยาเสพติดสังเคราะห์(Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีนแอมเฟตามีน  ยาอี  เอ็คตาซีเป็นต้น
3. แบ่งตามกฎหมาย
          แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
          ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๑  ได้แก่เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ยาอีหรือ ยาเลิฟ
          ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๒ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ฝิ่นมอร์ฟีนโคเคน หรือ โคคาอีนโคเคอีนและเมทาโดน
          ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๓  ยาเสพติดประเภทนี้  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วยมีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติดจะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีนยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่นมอร์ฟีนเพทิดีนซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
          ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๔คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใดและมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีนสารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
          ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๕เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ทุกส่วนของพืชกัญชาทุกส่วนของพืชกระท่อมเห็ดขี้ควายเป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด
           1. ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ มีลักษณะ 4 ประการ คือ
             1.1 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ
              1.2 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ
              1.3 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ
              1.4 ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ
        2. ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม
              2.1 สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ
              2.2 สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่อมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง
              2.3 สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเซบติด
          3. ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ
ใน สังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์ วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยา ได้ง่ายกว่าผู้อื่น

<p>วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด
             1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
             2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
             3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า “ลงแดง” มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
             4. อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด</p>

 การป้องกันและแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติด

จากผลการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยมีลักษณะการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แม้แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีความตั้งใจจริงพยายามที่จะปราบปรามทั้งบนดินและใต้ดินเพื่อที่จะขจัดยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทยแต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนผู้เขียนขอเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหานี้ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในชุมชนระดับรากหญ้ามาตรการสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือบทบาทของสถาบันทางสังคมไทยในระดับรากหญ้า ซึ่งประกอบด้วย สถาบันครอบครัวสถาบันชุมชน สถาบันโรงเรียน และสถาบันศาสนาเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนผู้เขียนขอแยกประเด็นการป้องกันปัญหายาเสพติดกับประเด็นการแก้ไขปัญหายาเสพติดออกจากกันเพื่อให้สะดวกแก่การเสนอแนวคิด

 การป้องกันปัญหายาเสพติด

               ปัญหายาเสพติดทำให้ประเทศชาติของเราต้องสูญเสียพลเมือง   เด็กและเยาวชนไปเป็นจำนวนมาก ยาเสพติดทำลายทั้งสุขภาพ อนาคต ตลอดจนการสูญเสียชีวิต         การป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นมาตรการที่ดีที่สุด ดั่งคำสุภาษิตที่ว่า “ป้องกันไว้ ดีกว่าแก้” แม้ในความเป็นจริงจะเรื่องยากมากที่พวกเราจะปกป้องลูกหลานของเราให้รอดพ้นจากวงจรของยาเสพติดแต่หากเรานิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร โดยอ้างว่าไม่ใช่หน้าที่ ไม่ใช่ธุระการป้องกันปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งหรือองค์การใดองค์กรหนึ่งแต่หากเป็นหน้าที่ของทุกคนในชาติที่จะต้องร่วมมือร่วมใจป้องกันไม่ให้ลูกหลานของเราตกเป็นทาสของวงจรอุบาทว์โดยเฉพาะสถาบันทางสังคมในระดับรากหญ้าควรต้องมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการป้องกันปัญหานี้พอจะแยกบทบาทหน้าที่ในการป้องกันปัญหายาเสพติดของสถาบันทางสังคมในระดับรากหญ้าได้ดังนี้

บทบาทของสถาบันครอบครัว

               สถาบันครอบครัวถือเป็นสถาบันแรก        ที่มีบทบาทหน้าที่ในการป้องกันปัญหายาเสพติดโดยตรง ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย พ่อแม่ คือ บุคคลสำคัญในการอบรม เลี้ยงดู สั่งสอนลูกนอกจากนี้ยังจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน

                การอบรมเลี้ยงดูเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์รู้กฎเกณฑ์ทางสังคมโดยผ่านทางผู้ให้การอบรม (พ่อ แม่)ทำให้คนคนนั้นเกิดการเรียนรู้และเกิดการประพฤติปฏิบัติตามกระบวนการอบรมเลี้ยงดูจะอบรมกล่อมเกลาเด็กตั้งแต่เกิด โดยบุคคลที่อยู่แวดล้อม เช่นพ่อ แม่ ญาติ  พี่น้อง เป็นต้น ทำให้เด็กได้รู้สึก ได้เข้าใจ ได้รู้สิ่งดีไม่ดีสิ่งใดควรทำไม่ควรทำ จนทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ เช่น เรียบร้อย เกเร มีมารยาทไม่มีมารยาทไปจนถึงลักษณะซื่อสัตย์              คดโกง   มีเมตตา หรือโหดร้าย

               ดังนั้นสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะพ่อ แม่เป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการอบรมเลี้ยงดูให้ความรู้สิ่งไหนดีไม่ดีสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำจะต้องปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับลูกรวมถึงการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี               เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำที่ถูกต้องสร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัวไม่สร้างปัญหาให้กับครอบครัว            อาจารย์วิโรจน์      ตั้งวานิช   เคยกล่าวในที่ประชุมสัมมนา  เรื่องบทบาทของเพศที่  3    ว่า “ทำครอบครัวให้ร่มเย็นเด็กจึงอยากจะอยู่บ้านถ้าหากครอบครัวมีแต่ความร้อนรุ่มเด็กก็ไม่อยากจะอยู่บ้าน”

 บทบาทของสถาบันชุมชน

                 สถาบันชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กถัดจากสถาบันครอบครัว    ชุมชนจึงมีส่วนสำคัญในการป้องกันปัญหายาเสพติด  โดยเฉพาะชุมชนที่มีขนาดเล็ก    คนในชุมชนจะต้องช่วยกันอบรมสั่งสอน ปลูกฝังค่านิยม อุดมการณ์คุณธรรมที่ดีงามและเหมาะสมช่วยกันสอดส่องดูแลเด็กและเยาวชนในชุมชนโดยเปรียบเสมือนเป็นลูกหลานของตนเอง    ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี คนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดี      คนในชุมชนประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน เด็กและเยาวชนย่อมเจริญเติบโต และเรียนรู้แต่สิ่งดีๆ จากชุมชน

 บทบาทของโรงเรียน

            โรงเรียนเป็นอีกสถาบันหนึ่ง   ที่จะต้องทำหน้าที่เชื่อมต่อจากสถาบันครอบครัวโรงเรียนเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนที่กว้างกว่าครอบครัว และเป็นสถาบันที่เด็กต้องใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนนานมาก  และอยู่ในช่วงวัยของการเรียนรู้ การเลียนแบบ  การจดจำ    เป็นต้นดังนั้นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ   ซึ่งได้แก่ ครู จะต้องทำหน้าที่ในการถ่ายทอด การอบรมสั่งสอน รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก   ชีวิตส่วนใหญ่ของเด็กในปัจจุบันจะใช้ชีวิตอยู่ใน    โรงเรียนนานกว่าในอดีตเด็กมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งที่ดีและไม่ดีจากโรงเรียนมากมาย         

            ดังนั้นสถาบันโรงเรียนจึงจะต้องมีบทบาทและหน้าที่มากกว่าในอดีต    นอกจากจะทำหน้าที่ถ่ายทอดให้ความรู้แล้วสถาบันโรงเรียนจะต้องทำหน้าที่เหมือนสถาบันครอบครัวแห่งที่  2    ซึ่งจะต้องคอยทำหน้าที่ปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้ความอบอุ่น         ให้คำปรึกษาที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชนของชาติ

<p> บทบาทของสถาบันศาสนา</p>

               ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนในชุมชนมายาวนานตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันสถาบันศาสนาเป็นแหล่งที่สร้างและค้ำจุนคุณธรรมความดีงาม  สั่งสอนให้สอนให้คนเป็นคนดี                ไม่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่เสื่อมเสียศีลธรรมอันดีงาม      ทั้งตัวแทนที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดศาสนายังเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในชุมชน

                สถาบันศาสนา    เป็นสถาบันอีกสถาบันหนึ่งที่เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน    คนในชุมชนจะให้ความเกรงใจเป็นพิเศษ  และคนในชุมชนยังยึดถือแบบอย่างที่ดีงามของสถาบันศาสนาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิต

การรักษาผู้ติดยาเสพติด

               ผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าส่วนใหญ่จะได้แก่ ผู้ที่ทำงานในเวลากลางคืน ผู้ใช้แรงงานหรือผู้ที่ต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น                    พนักงานขับรถโดยสารหรือรถบรรทุก      ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้หญิงที่ทำงานกลางคืน ตลอดจนนักเรียนนักศึกษาที่หักโหมในการดูหนังสือ เหตุที่เป็นคนเหล่านี้เพราะคนเหล่านี้มักเข้าใจผิดคิดว่าหากใช้ยาม้าหรือยาบ้าแล้วจะสามารถทำงานหรือดูหนังสือได้นานมากยิ่งขึ้นแต่ไม่ได้คำนึงถึงอันตรายและผลร้ายที่ตามมาภายหลัง ซึ่งได้แก่สุขภาพจะทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิดใจ เพราะสมองถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักอยู่ตลอดเวลาเมื่อยาหมดฤทธิ์จะอ่อนเพลีย เซื่องซึม เศร้าหมองและหลับนานถ้าใช้เกินขนาดจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ดังนั้นการรักษาผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าจะต้องประกอบไปด้วย 

           1.การให้ความรู้เกี่ยวกับยาม้าหรือยาบ้าแก่ผู้เสพติดแล้วให้เข้าใจโดยถ่องแท้ถึงพิษของยาม้าหรือยาบ้าที่มีต่อตัวผู้เสพติดทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อผู้เสพติดจะได้มีความกลัวต่อผลร้ายเหล่านั้นและมีความตั้งใจที่จะเลิกยาม้าหรือยาบ้าอย่างจริงจัง 

           2.การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมโดยรอบของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า  ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ครอบครัวที่ขาดความอบอุ่นครอบครัวที่ขาดความเอาใจใส่ที่ดีพอ รวมทั้งเพื่อนฝูง หรือชุมชนโดยรอบๆบ้านของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ตลอดจนเพื่อนนักเรียนในโรงเรียนเดียวกันซึ่งต้องการการตรวจสอบหาข้อมูลอย่างจริงจังหาข้อมูลให้ถึงแก่นแท้ของปัญหาจากสิ่งแวดล้อม และดำเนินการแก้ไขไปพร้อมๆกับข้ออื่นๆ 

           3.ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของผู้เสพติดและพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้ที่ติดยาเสพติดที่จะต้องการละหรือเลิกเสพยาม้าหรือยาบ้าตลอดไปให้ได้

           4.ผู้เสพติดยาม้าหรือยาบ้าจะต้องไปรับการรักษาจากสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะหายจากการเสพติดอย่างเด็ดขาด

            5.ความสำเร็จในการเลิกเสพติดยาม้าหรือยาบ้า ได้ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยตนเองแล้ว ท่านได้ช่วยเหลือครอบครัวของท่านท่านได้ช่วยเหลือสังคมโดยส่วนรวม อันหมายถึงประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรานั่นเอง

ผลการศึกษา

1.ได้รู้เรื่องเกี่ยวกับยาเสพติด

2.ได้รู้ว่าโทษของยาเสพติด

3.ได้รู้ประเภทของยาเสพติด

4.ได้ความรู้ทางด้านการรักษาป้องกัน

บทที่ 5

สรุป/นำเสนอ   สารเสพติด   

ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆกันแล้วไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆเกิดผลเป็นช่วงระยะๆหรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ

- เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
           - เกิดอาการขาดยาถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
           - มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา
          -สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลงเกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ 

ประเภทของสารเสพติด
        จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทแบ่งเป็น ๔ ประเภท
          1.ประเภทกดประสาทได้แก่ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมทั้งสารระเหยเช่น ทินเนอร์แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมีร่างกายซูบซีด ผอมเหลืองอ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
          2.ประเภทกระตุ้นประสาทได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคนมักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวงบางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเองหรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
          3.ประเภทหลอนประสาทได้แก่แอลเอสดีและ เห็ดขี้ควายเป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอนฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
             4.ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสานคือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่วควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้โทษของสารเสพติดเนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมากประโยชน์ที่ได้รับ1.ได้รู้เรื่องเกี่ยวกับสารเสพติด2.ได้รู้ว่าโทษของสารเสพติด3.ได้รู้ประเภทของสารเสพติด4.ได้ความรู้ทางด้านการรักษาป้องกัน


คำสำคัญ (Tags): #โครงงาน
หมายเลขบันทึก: 633758เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2017 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2017 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท