การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา


สวัสดีครับ ชาว Blog ,

 

          วันนี้ผมได้รับเกียรติจากสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา เชิญผม และอาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญมาบรรยายเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร ในวันที่ 16 สิงหาคม 2560 ณ ห้องสุพรรณหงส์ โรงแรมสีดา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก ให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาให้แก่ผู้รับคัดเลือกจำนวน 54 คน

          ผมจึงขอเปิด Blog นี้เพื่อเป็นชุมชนในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันครับ


จีระ  หงส์ลดารมภ์


สรุปบรรยาย

สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา

หัวข้อ การพัฒนาทักษะการคิด

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 16 สิงหาคม 2560

ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 108 Shop สีดารีสอร์ท

(สรุปบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ  Chira Academy)

 

 

เกริ่นนำ

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          อะไรที่เป็นนโยบายของประเทศมีความยินดีที่รับใช้ ในวันนี้จะมีการสอบด้วยจาก Paper ที่ให้ไป ในวันนี้ ดร.จีระ ให้ Workshop เพื่อคิดร่วมกันด้วย เพื่อให้เป็นประโยชน์ของทุกท่านให้เป็นการวิเคราะห์ที่สมบูรณ์แบบ

          หลัก ๆ คือการฝึกให้คิด วิเคราะห์ มี Concept ให้นำไปใช้ ไป Apply กับตัวเอง และ Teamwork ให้นำไปใช้

          การมาน้อยหรือมากไม่สำคัญอยู่ที่ว่าไปทำอะไรที่เป็นบวกเพิ่มขึ้นอย่างไร จึงขอฝากไว้ว่า

          1. สนุกกับการหาความรู้ร่วมกัน

          2. เมื่อมี Moment ที่จุดประกายให้จับบรรยากาศนั้นไว้ เห็นบรรยากาศที่เป็นเลิศมากขึ้น

                   

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          ตั้งแต่วันนี้ถึงจบ ต้องเริ่มจากการดูโจทย์ก่อน คือการพัฒนาทักษะการคิด การคิดของทุกท่านที่เป็นนักบริหารที่เกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษา ซึ่งการคิดแบบนี้คิดท่านเดียวไม่ได้ ต้องมีทักษะในการคิดที่แตกต่างและหลากหลายออกไป และตอนนี้ได้รับโจทย์จากรัฐบาลที่ทำประเทศไทย 4.0 ในยุคหนึ่งสอนให้คนเป็นคนเก่ง แต่อาชีวศึกษาสอนให้คนทำงานได้ และผนวกกับ 4.0

          การเริ่มจากกระบวนการคิด เป็นสิ่งที่ดีมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่สอนยาก

          ให้มีกรอบแนวคิดและทฤษฎีของผู้รู้ที่ ดร.จีระ ฝากไว้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

          1. ได้แนวคิดและกรอบทฤษฎีบางอย่าง

          2. เป็นการเขียนใหม่และสด ที่ดร.จีระ เขียน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับประเทศไทย 4.0

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

การสอนหนังสือ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือเรื่องการสร้างบรรยากาศ มีทฤษฎีอันหนึ่งเรียกว่าการ Learning how to learn อย่าง ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีทฤษฎี 4L’s ได้แก่

          1. Learning Methodology คือการกระตุ้นให้คิด มีทักษะการคิดที่ดี

          2. Learning Environment คือมีบรรยากาศการเรียนที่ดี

          3. Learning Opportunities คือโอกาสที่ได้ปะทะกันทางปัญญา ให้แต่ละกลุ่มออกความเห็น และในวันนี้ถ้ากลุ่ม 1 พูด กลุ่ม 2 ต้อง Comment กลุ่ม 1  กลุ่ม 2 พูด กลุ่ม 3 Comment ....

          และในวันนี้ถ้าเราได้คุยแล้วเราต้องฟังเพื่อนว่าพูดอะไร คือทฤษฎี 2 R’s คือ Reality และ Relevance คือ อะไรเกี่ยวกับตัวคุณ และเลือกประเด็นเกี่ยวกับ Thinking อะไรสำคัญที่สุด

          สิ่งที่สำเร็จเกิดจากฝึกการวิเคราะห์ และพบว่าคนที่สำเร็จส่วนใหญ่ได้ฝึกวิเคราะห์แต่เด็ก ยกตัวอย่างที่นิวซีแลนด์ ถ้าวิเคราะห์ไม่เป็นให้ตก การวิเคราะห์ไม่ใช่ลอก แต่ให้วิเคราะห์ความคิดของเราเอง บนเหตุและผล เป็นการวิเคราะห์บนความจริงที่เปลี่ยนตลอดเวลา

          สิ่งที่อยากฝากคือ Thinking Skill

1. ได้ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคตได้อย่างไร  อาทิ การเปลี่ยนนักเรียน อาชีวะ เป็นอาชีวะ เพื่อประเทศไทย  ประเทศไทยต้องมีอาชีวะเพื่อประชาชน

          2. ถ้าโลกเปลี่ยนแปลงในความไม่แน่นอน อาชีวะจะช่วยอะไรได้บ้าง ยกตัวอย่าง Robotic Artificial Intelligent ทำให้คนตกงานได้เพราะอะไร อาชีวะต้องตอบโจทย์ว่าการจ้างงานในอนาคตเป็นอย่างไร ให้คนที่ตกงานมาหาความรู้ เป็น Vocational ได้

          3. อาชีวะต้องตอบโจทย์โลกที่ทายไม่ออกว่าจะเกิดอะไรเกิดขึ้น เช่น โลกร้อน Re-engineering Robotic

สรุปคือ ต้องวิเคราะห์โลกในอนาคตให้เป็น เพราะโลกในอนาคตอาจเป็น Non-linear   เพราะในอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทายได้ เราต้องวิเคราะห์ให้ดี  เป็นอาชีวะเพื่อประเทศไทย จะทำอะไร  ลุกศิษย์คือใครก็ได้ที่อยากเรียนอาชีวะ นั้นดีที่สุด

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          สิ่งที่อาจารย์จีระเล่ามาเป็นสิ่งที่เราต้องตระหนักเพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน ทุกอย่างมีกระบวนการที่เปลี่ยนหมดแล้ว จึงต้องคิดว่าจะทำอะไร

          วิชานี้ที่อาจารย์จีระสอนคือสิ่งที่ให้นำไปบอกลูกศิษย์มี 4 อย่างคือ

          1. Learning Methodology คือวิธีการเรียนรู้

          2. Learning Environment คือบรรยากาศที่ดี สิ่งแวดล้อมที่เขียว มีความรู้สึกที่มีความสุข สร้างเขียวในใจ ให้ทุกคนในกลุ่มเติบโตขึ้นมา

          3. Learning Opportunities คือโอกาสที่ได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงความสามารถ ได้ปะทะกันทางปัญญา ซึ่ง ดร.จีระ เสริมว่า ถ้าในกลุ่มพูด 1 เราจะพูด 2 , 3 เพื่อต่อยอด โลกในปัจจุบัน รู้อย่างเดียวไม่พอ ต้อง Apply เป็น สิ่งสำคัญคือความเป็นเลิศหรือไม่ Learning Opportunities จะเกิดขึ้นในโลกนี้ และถ้าดร.จีระ ไม่อยู่แล้ว บรรยากาศแบบนี้ยังอยู่หรือไม่  รุ่นนี้กับรุ่นที่แล้วถ้าจับมือกันได้จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศ

          4. Learning Communities คือการเรียนรู้แบบชุมชนหรือองค์กร เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ร่วมกันได้ มีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้ได้ เป็นสิ่งที่ลูกศิษย์ของท่านต้องนำไปใช้เพราะต้องไปอยู่ร่วมกับชุมชน ให้กลมกลืนกับองค์กรและชุมชนให้ได้

          ดร.จีระ เสริมว่า หลังจากจบหลักสูตรนี้แล้ว ทุกคนยังหิวความรู้จริงหรือไม่ Peter Senge บอกว่า การเรียนรู้บางครั้งไม่ใช่สิ่งที่ปรารถนา เพียงแค่เป็นสิ่งที่อยากทำและทำให้เรียนรู้ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้ลูกศิษย์อยากเรียนรู้โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปบอกเขา สังเกตได้ว่าคนต่างชาติถ้ารวยจริงจะชอบหาความรู้และมีห้องสมุดที่บ้าน

          อยากให้ทุกท่านเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และบุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็น Learning Person และเมื่อจบไปแล้ว

ทฤษฎี 2R’s คือ

1. Reality คือความเข้าใจอาชีวศึกษา 4.0 คือการพัฒนาลูกศิษย์ให้ทำงานเทคโนโลยี ฯลฯ แต่ที่สำคัญคือ ดิจิตอลในการเข้ามาช่วยทำงาน

2. Relevance คือความแหลมคมและตรงประเด็น

นำสู่ R ตัวที่ 3 คือ Result ที่ทำให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ให้แต่ละกลุ่มเตรียมการวิเคราะห์กลุ่มละ 2 นาที ออกความคิดเห็นว่าสิ่งที่เราจะแลกเปลี่ยนในวันนี้มีอะไรที่จะนำเสนอ มีความคิดเห็นอย่างไร

 

“It is not the fruits of scientific research that elevate a man and enrich his nature, but the urge to understand, the intellectual work, creative or receptive.”

Albert Einstein

 

“Thinking is skilled work. It is not true that we are naturally endowed with the ability to think clearly and logically - without learning how, or without practicing.”

A.E. Mander, fully Alfred Ernest Mander , wrote in his book  “Logic For the Millions”

 

 

ดร.จีระ เสริมว่า ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งที่ต้องฝึก

1. ต้องฝึกให้มีความคิดที่มากขึ้น และอย่าคิดคนเดียว ให้ปรึกษาคนอื่นด้วย ต้องมีอารมณ์ร่วมในสิ่งที่คนอื่นคิดไม่เหมือนคุณ ต้องยอมรับความคิดคนอื่นด้วย

2. ให้เวลากับมัน อย่ารีบตัดสินใจ

3. Thinking ต้องมีทั้ง Fast และ Slow พร้อมกัน ยกตัวอย่าง ที่ กฟผ.ถ้าคิดช้าไปนิดหนึ่งโครงการฯ อาจไมทัน

“The great majority of men and women, in ordinary times, pass through life without ever contemplating or criticizing, as a whole, either their own conditions or those of the world at large.”

Bertrand Russell

 

          ดร.จีระ กล่าวเสริมว่า ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวว่าคนที่เจริญสติ อย่าง Mindfulness ก็ต้องผ่านกระบวนการคิด

 

Thinking คืออะไร?

Thinking คือ การใช้สมองไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ลงลึก (Deep drive)  และจัดระบบเป็นแนวคิดหรือ Concept ที่เป็นระบบ ว่าสิ่งที่เห็น   หรือสิ่งที่ทำ หรือสิ่งที่อ่าน หรือสิ่งที่ได้เข้ากลุ่มทำ Workshop นั้น  ได้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งอย่างรอบคอบ และเน้นความจริงเป็นหลัก

ได้ประสบการณ์จากการทำ และความล้มเหลว

หลักคิด

มีหลักวิชาเรื่อง Thinking มากมาย แต่ในวันนี้จะเสนอเพียง 4 – 5 แนวเป็นพื้นฐานสำหรับการทำ Workshop ต่อไป

1.  แนวคิดเพื่อความยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านทรงเน้นเรื่องคนกับความอยู่รอดในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันกำลังถูกใช้ในระดับโลก คือ UN นำไปใช้เพื่อให้โลกของเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน

          ถ้าคิดรอบคอบ คนจะไม่โลภ แต่มนุษย์ที่โลภคือการคิดด้านเดียว ดังนั้นการมองปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้สอนให้เราคิดเป็นมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน คิดอย่างเป็นระบบ

2. แนวคิดของนักคิดชาวเยอรมัน ชื่อ Georg Wilhelm Friedrich Hegel ซึ่งเป็นหลักของ Thinking คือ Thesis , Anti-Thesis, Synthesis

          หมายความว่า ความคิดแรก (Thesis) มักจะถูกคนทักท้วงว่าถูกหรือไม่? เกิด Anti-Thesis แต่ในที่สุดก็จบด้วย Synthesis คือ ใช้ทั้ง 2 แนว คล้าย ๆ ที่ผมทำ Workshop ซึ่งสำเร็จ เพราะคิดแตกต่างแต่ในที่สุดก็หาทางพบกัน

          ยกตัวอย่างเช่น ผอ. อาจจะคิดว่า อาชีวะฯ ทำดีที่สุดแล้ว ขณะที่นายจ้างอาจจะพูดว่ายังทำไม่พอ เด็กอาชีวะฯ ส่วนใหญ่ ยังขาดเรื่องภาษาอังกฤษ ภาวะผู้ประกอบการ โลกทัศน์แคบ ฯลฯ ข้อเท็จจริงคือต้องเอาทั้ง 2 แนวมาประยุกต์ใช้จึงจะเรียกว่าคิดอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ ผอ.เสนออะไรไม่มีคนค้านเลย ก็ไม่ช่วยให้งานของ ผอ.    ดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ผู้บริหารต้องระวัง อย่าคิดว่าฉันมีอำนาจ ฉันทำอะไรได้โดยไม่ต้องฟังคนอื่น ๆ

3.  Critical Thinking จากการสำรวจวรรณกรรมต่าง ๆ ก็พบว่า Critical Thinking เป็นพื้นฐานสำคัญในการคิดที่มีคุณภาพ Critical Thinking ก็คือมีเวลาคิดลึก ๆ ไตร่ตรอง เหตุและผล จุดอ่อน จุดแข็งให้มากขึ้น Thinking ธรรมดา คือ คิดแต่ไม่ลงลึก จึงไม่เรียกว่า Critical Thinking คนที่เรียนมาทางวิทยาศาสตร์ (Science) จึงมีโอกาสคิดเป็นระบบ หรือ Critical Thinking มากกว่า แต่คนด้าน Social – Science ก็ฝึกได้

เพราะ Critical Think คล้าย ๆ เป็น Basic ที่คิดเป็นระบบ เหตุและผลยกตัวอย่าง เมื่อเราได้ข้อมูลมา เมื่อเรามี Critical Think ต้องมี

  • Concept
  • Analysis
  • Synthesis
  • Evaluation
    • Observation
    • Experience
    • Reflection
    • Reasoning
    • Communication

         ข้อมูลได้มาจาก..

         ซึ่งทั้งหมดของ Critical Thinking ไปสู่..

         1) Believe

         2) Action

         3) Decision Making

         4) Planning

         5) Execution

              4. แต่ Critical Thinking ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด ในความเห็นของผม Critical Thinking เป็น Basics แต่ในอาชีวศึกษา ต้องมี 3 V

         V1 - - Value Added มูลค่า/คุณค่าเพิ่ม – เพิ่มมูลค่าจากสิ่งที่มีอยู่

         V2 - - Value Creation   มูลค่า/คุณค่าใหม่ -

         V3 - - Value Diversity  มูลค่า/คุณค่า จากความหลากหลาย และจะเกิดขึ้นได้ต้องมี Thinking Skill

         ดังนั้น Critical Thinking ก็เป็นพื้นฐานของผมไปสู่แนวคิด 8K’s+5K’s โดยเฉพาะ Creativity & Innovation ซึ่งจำเป็นมาก การ Combine Critical Thinking กับ Creativity กับ Innovation จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะอาชีวะยุคต่อไปจะต้องให้อาจารย์และนักศึกษามี Left Brain คือ Critical Thinking แต่ต้องเพิ่ม Right Brain คือ Creative & Innovation Thinking เข้าไป

ทฤษฎี 8K’s+5K’s เพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์

             สิ่งที่ Thinking Skill ต้องมีพร้อมกันคือ Emotional ด้วย เราต้อง Control Thinking Skill ให้ Control Emotional ให้ได้ Robotic สู้มนุษย์ไม่ได้เพราะ Robotic ไม่มี  Emotional

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital            ทุนมนุษย์

Intellectual Capital       ทุนทางปัญญา (คิดเป็น วิเคราะห์เป็น)

Ethical Capital             ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital         ทุนแห่งความสุข

Social Capital              ทุนทางสังคม

Sustainability Capital     ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital              ทุนทาง IT

Talented Capital          ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital         ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital                  ทุนทางความรู้

Innovation Capital         ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital         ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital           ทุนทางวัฒนธรรม

 

5. De Bono พูดถึงวิธีการคิดแบบ Six Thinking Hats ไว้น่าสนใจ..

  • White hat – Think neutral only with data, no feeling.
  • Black Hat – Always thinking in negative ways, problems, not possible, cannot be done.
  • Red Hat – Thinking with problem not be fact or by reason but instinct.
  • Yellow Hat – Think positively มองโลกในแง่ดี, difficult project may have a chance to pass because looking at positive side but can lead to long-term problems.
  • Green Hat – like my 5K’s – thinking creatively, creativity is important.
  • Blue Hat – Process thinking, not fixed ideas what to think but listen and try to come up with specific think, like no way out of the problem, look for creativity, if risk is too high go for black thinking hat.

คน ๆ นี้ต้องมี Data มาก่อน แล้วจะรู้ว่าคิดอย่างไร คิดอะไรก็ตามให้เอาหลักฐานมาให้ดี

คน ๆ นี้จะคิดในทางลบส่วนใหญ่

คน ๆ นี้มีปัญหาส่วนใหญ่

คน ๆ นี้ชอบคิดในแง่ดี

คน ๆ นี้ชอบคิดสร้างสรรค์

คน ๆ นี้จะรอดูว่าคนในห้องส่วนใหญ่คิดอย่างไร ก็ตามนั้น เป็น Process Thinking

          สิ่งที่ฝากไว้คือ การมี 6 Thinking Hats มีประโยชน์อย่างไรต่อการศึกษา

6. Game Theory & Strategic Thinking

             ดร.จีระ ได้มีโอกาสเขียนคำนิยมในหนังสือของ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เรื่อง Strategic Thinking..การคิดอะไรก็ตาม..ในมุมหนึ่งเราต้องคิดว่า “คู่แข่ง” เขาจะคิดอย่างไรด้วย ยกตัวอย่างในทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ผู้ขายอยากได้เงินมากก็คิดขึ้นราคา แต่ถ้าผู้ซื้อไม่ซื้อ.. ความคิดนั้นก็ไม่มีผล

อาจารย์สมชายจึงให้มองว่า “เราคิดได้ คู่แข่งก็คิดได้” เราก็เลยต้องคิดว่า..คู่แข่งเขาจะคิดอย่างไร?

             วิธีที่ดีที่สุด คือ ศึกษาคู่แข่งและคาดว่าเขาจะร่วมมือด้วย เช่น เพิ่มคุณภาพสินค้าและเพิ่มราคา ผลคือ win – win ดี เรียกว่าเป็น Positive Sum

             หากขึ้นราคาแต่ผู้ซื้อไม่ซื้อ คือ ได้ 1 แต่เสีย 1 = zero sum game ไม่ดีทั้ง 2 ฝ่าย

และที่ไม่ดีมาก ๆ ตัวอย่างเช่นกรณีของเกาหลีเหนือ .. อเมริกายิงจรวด และเกาหลียิงกลับ ผลคือ เสียทั้งคู่และโลกเสียด้วย คือ Negative sum game จึงเป็นที่มาว่าอเมริกาจะต้องมีพันธมิตรที่จะขอให้ช่วยเจรจากับเกาหลีเหลือ อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น จึงต้องมีการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เกิด win – win

หรือในการบริหารจัดการ ผู้นำคิดไม่ดีและพูดแรงกับลูกน้องก็อาจจะเกิดปฏิกิริยาไม่ดี ทั้ง ๆ ที่ควรจะพูด แต่ถ้าคิดแบบ Game Theory ก็ได้รู้ว่าลูกน้องจะคิดอย่างไร จึงอาจจะใช้นโยบายให้คนอื่น ๆ ช่วยพูด เพราะอาจจะดีกว่า คือ จาก Negative Sum อาจจะเป็น Positive Sum ก็ได้

          

             สรุป  โลกในอนาคตต้อง Win-Win แย่ที่สุดคือชนะและแพ้เท่ากัน แต่ขออย่าให้เจ๊งทั้งคู่คือทายไม่ออก

             นักวิทยาศาสตร์ชอบใช้คำว่า Rational คือมีเหตุมีผล แต่วิชาที่สำคัญที่สุดนี้คือวิชาจิตวิทยา ดังนั้นการตัดสินใจบางอย่างให้ตัดสินใจให้ดีกับคนที่ In-Rational กับเรา เพราะจะเป็นอันตราย

             สิ่งที่อยากฝากไว้คือเมื่อเป็น ผ.อ.แล้วหลักสูตรนี้จะเป็นประโยชน์อย่างไรต่อทุกคน ในบริบทของการศึกษาจะเป็นอย่างไร

             เชื่อว่าการสร้างแรงบันดาลใจจากการพูดของผม น่าจะเพียงพอที่จะกระตุ้นให้ ผอ.ทุกคนรวมพลังกันในการทำ Workshop ที่ใช้แนวคิดและประสบการณ์ของท่านไปสู่ความเป็นเลิศอย่างแท้จริง

             การอยู่ด้วยกันต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง สงครามเรื่องคนไม่ใช่สงครามเทคโนโลยี เพราะคนช้า เปลี่ยนช้า เราต้องทำแล้วทำอีก ทำแล้วทำอีก

             การเป็น ผ.อ.ต้องมี Team Teaching ในอนาคตคาดว่า เกษตรในมุมมองด้านอาชีวะจะมาแรงที่สุดเพราะเป็นรากฐานของประเทศ

             ให้แต่ละกลุ่มลองคิดดูว่าหลังจากเป็นผู้อำนวยการ Concept เหล่านี้จะช่วยอะไร และจะมีวิธีการอย่างไร สำคัญที่สุดในวันนี้คือ การจุดประกายเล็ก ๆ  โลกชนะด้วย Step แรก เหมือนที่ นิล อาร์มสตรอง ลงไปโลกพระจันทร์  First Step is another step of mind kind. การพัฒนาบุคลากรในวันนี้จึงเป็นไปเพื่อนำไปพัฒนาการทำงานไม่ใช่เพื่อหลักสูตร เป็นการสร้าง Networking ซึ่งกันและกัน และทางการศึกษาจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่พวกเราทุกคน ไม่ใช่อยู่ที่ข้างบนสั่งมา

             ทฤษฎี Balcony หรือทฤษฎี ข้าวต้มร้อน ๆ  หมายถึง เมื่อการประชุมมีปัญหาให้ทิ้งไว้ก่อน แล้วค่อยมาประชุมใหม่

             อาชีวะ มี Skill แล้วแต่ขาด Knowledge โดยเฉพาะ Knowledge ที่กว้างคือ เศรษฐกิจ สังคม Finance  ต้องเปลี่ยนทัศนคติทางสังคม ต้องช่วยกันเปลี่ยนค่านิยมให้ได้ ต้องมีพลังตัวเอง หรือที่เรียกว่า Empowerment คือให้ตัวเองมีคุณค่า  อย่างหลักสูตรนี้ มาปีละ 2 ครั้ง แต่ถือว่าคุ้มมาก

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

             สิ่งที่นั่งฟัง อาจารย์จีระ สิ่งที่ใช้ทุกครั้งคือ Concept คืออะไร ต้องหาให้ได้เช่น อาชีวะ 4.0  อาชีวะศึกษาเป็นอย่างไร วิธีการง่ายที่สุดคือ อาชีวะจะต้องเป็นอย่างไร และต้องทำอย่างไรให้เราเดินไปตรงนั้น และคนอาชีวศึกษาใน 20 ปีข้างหน้าจะอยู่ตรงไหน

             วิธีการคือ

             1. อะไรที่อาชีวะมีอยู่แล้ว

             2. อะไรที่ต้องเสริม

             3. อะไรที่เป็นเครื่องมือ

             ยกตัวอย่าง ทฤษฎี 8K’s 5K’s เกิดมาจาก แนวคิด ของ ดร.จีระ ที่มองว่า คนเรียนมากไม่จำเป็นต้องได้เงินมากในยุคใหม่ เรื่องทุนทางวัฒนธรรม เด็กอาชีวศึกษาเก่งมากเนื่องจากเข้าไปชุมชน ประสานกับท้องถิ่น เข้าใจชุมชน มีเด็กอาชีวะอยู่จำนวนมาก ถ้าเราดึงสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์มาก อีกเรื่องคือ การมีคนทำงานจากชายแดนเข้ามาทำงานกับเรา ควรดึงเขาเข้ามามีส่วนร่วมด้วย อย่างเรื่องการบริการก็เป็นส่วนที่เด่นของอาชีวศึกษาเช่นเดียวกัน ถ้านำมาใช้จะเป็นประโยชน์มาก

             ทฤษฎีหมวก 6 ใบของ De Bono สามารถนำมาคิดแบบผสมกันได้

             คิดแบบเร็วกับคิดแบบช้า

             - คิดแบบเร็ว คิดในกรณีที่เกิดปัญหาวิกฤติ

             - คิดแบบช้า เป็นการคิดที่ต้องบ่มเพาะ

             ดังนั้นต้องใช้ทั้ง 2 แนวคิด อาชีวศึกษาต้องช่วยกันขับเคลื่อนในการแก้วิกฤติเดิม ๆ สำคัญที่ว่าอาชีวศึกษาจะรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้หรือไม่ และสังคมในอาชีวะที่ไปสู่สิ่งที่แนะได้คือการเข้าสู่อาชีวะ 4.0 คนต้องใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ให้คนคุม Robot และใช้เครื่องมือได้ ทำอย่างไรให้ช่วยกันคิดได้ และหลักสูตรแบบไหนที่ทำให้เขาสามารถทำด้านนี้ได้ และท้ายสุดคือ คิดแบบทฤษฎี 3 V คือ Value Based คือ Value Added เช่น กล้วยตาก แล้วมีการนำกล้วยตากมาชุบช้อกโกแลตและมี Package ดี ๆ คือ Value Creativity และ Value สุดท้ายคือ Value Diversity ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่หลากหลายที่ไม่เหมือนกัน สร้าง Network และนำพาอาชีวศึกษาไม่สู่ความสำเร็จได้

การร่วมแสดงความคิดเห็น

             ให้เวลา 2 นาทีที่แต่ละกลุ่มคุยกันออกความเห็นว่าสิ่งที่เรียนรู้เป็นประโยชน์และจะนำไปใช้อย่างไร  


1. กลุ่มที่ 4 สิ่งที่ได้บรรยายได้กระตุ้นให้เราได้คิดอย่าง Critical Thinking เป็นพื้นฐานการแก้ปัญหา การตัดสินใจ แต่ในเชิงวิชาชีพ การสอน เราคิดแบบเดิมไม่ได้แล้ว เราต้องมีการสร้าง Network ต่อไป ได้กระตุ้นให้เราคิดโดยใช้ 8K’s 5K’s เป็นทุนและให้วิเคราะห์ออกมาเพื่อเป็นประโยชน์

 

2. กลุ่มที่ 1จากแนวความประทับใจที่ได้รับฟังตอนแรกยังเรียงลำดับไม่เข้าที่ ในสุดท้ายเป็นความเข้าใจในการเรียงลำดับเหมือนกระบวนจัดการเรียนการสอน ผู้เรียนเป็นสำคัญ คือทุกคนมีความรู้แต่เดิมอยู่บ้างแล้ว แต่เราไม่สามารถเรียงลำดับเป็นความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่ได้เท่านั้น สิ่งที่ดร.จีระแนะนำเสมือนเป็นการ Coaching และ Monitoring ในการเรียงลำดับและสามารถเปิดโลกเชิงความคิดสร้างสรรค์ได้ดีขึ้น

             ดร.จีระ กล่าวว่าทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างและมีคุณค่า กลุ่มหนึ่งบอกว่าไม่ได้มาจากศูนย์มีอยู่บ้างแล้ว ดร.จีระมากระตุ้นให้มา Apply มากขึ้นและไปปะทะความจริง เพื่อพัฒนาการทำงานมากขึ้น และในโอกาสข้างหน้าถ้าได้พัฒนางานร่วมกันจะเป็นประโยชน์มาก และความร่วมมือกันที่จะเป็น Cluster  อย่างไรก็ตามจะเป็นประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อลูกค้านำไปทำ

 

3. กลุ่มที่ 5 จากกระบวนการของวิทยากรเรื่อง Thinking Skill แยกเป็น 4 ประเด็นดังนี้

             1. Life Long Learning คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตรงกับวิทยากรช่วงเช้าที่อาชีวะอย่าลืมผู้สูงอายุ อาชีวะต้องเข้าไปเรียนรู้มากขึ้น

             2. อาชีวะต้องมี Soft Skill ในการเรียนการสอนนักศึกษา เพื่อต่อยอดเป็น Innovative และเป็นเทคโนโลยี และนอกจากนี้จะมี Project Based , Integrated Learning เกิดกระบวนการ Start up , E-Commerce, E-Learning

             3. Basic Skill ต้องทำหลักสูตรให้มีคุณภาพ

             4. Basic Moral คุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย ซื่อสัตย์ อาชีวะต้องใส่แนวคิดนี้ด้วย

             ดร.จีระ เสริมว่า อย่า Inward Looking คือ มองตัวเองข้างใน แต่ให้มองข้างนอกด้วย โลกทุกวันนี้มี Free เต็มไปหมดแต่เราจะจับสิ่งนั้นให้เกิดมูลค่าและเป็นคุณค่าต่อองค์กรได้อย่างไร ไม่ต้องเชื่อแบบ Command and Control อย่างเดียว ต้องออกไปข้างนอกมากขึ้น เชื่อว่าทุกท่านมีความสามารถมาก มีพื้นฐานดีมาก และต้องรวมพลัง เพราะทำคนเดียวคนจะหมั่นไส้

 

4. กลุ่มที่ 3 จากที่ฟังเมื่อเช้า และพูดถึงทฤษฎีต่าง ๆ ขอสรุปนำทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้ไปสู่การปฏิบัติ เนื่องจากการคิด และการตัดสินใจมีประโยชน์มากในการเดินไปข้างหน้า เรื่องการคิดร่วมกัน ไม่สามารถคิดในแค่วิทยาลัยของเราแล้ว ต้องให้คิดร่วมกันทั้งภายในและภายนอก การเจอคนคิดลบ คิดบวก คิดต่าง จะเป็นการผสมผสานความคิดที่ดี ที่เมื่อตกผลึกจะเป็นความคิดที่สุดยอดในการใช้ความมีส่วนร่วมในการเดินหน้าของวิทยาลัย

             ดร.จีระ ยกตัวอย่าง Peter Drucker ที่กล่าวถึงการเป็นอาจารย์ที่ดีจะได้ความรู้จากลูกศิษย์ และจะถามคำถามที่ไม่มีคำตอบ  การทำให้คนเป็นเลิศ และยั่งยืนคืออะไร

             ต้องชนะเล็ก ๆ ก่อน อย่าหวังว่าชนะใหญ่ ๆ เพราะเส้นทางทฤษฎีคล้าย ดอน บุช ที่บางเรื่องใช้เวลานาน แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งจะสำเร็จ อาชีวะอย่าคิดว่าล้มเหลว หรือท้อใจ เพราะกำลังเข้าสู่ Tipping Point  เป็นช่วงที่ทำให้คนมองมาที่อาชีวะแล้วมีความหวัง

             คนในห้องนี้ตั้งใจฟัง และทำให้เป็นเลิศ และถ้ากลับไปสู่สถานการณ์เดิมจะเป็นอย่างไร หลักสูตรนี้สอนให้ทุกคนเป็น Transformational Leadership คือการกระโดดจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง และทำให้สำเร็จ อย่างที่ดอน บุช พูดว่าความสำเร็จคือความอดทน ซึ่งอาจไม่สำเร็จรุ่นนี้ก็ได้ แต่ต้องสร้างอะไรไว้

 

5. กลุ่มที่ 2 จากที่อาจารย์พูดแบ่งเป็น 3 ส่วน

             อย่างแรกคือ ความจริงที่ว่าอาชีวะคือความต้องการของประเทศคือขาดแรงงานภาคอุตสาหกรรม คุณภาพและจำนวนยังไม่ตอบโจทย์ของประเทศ สิ่งที่ต้องแก้ไขคืองานวิจัย ขั้นแรกคือเรื่องทักษะ เรื่อง Skill ทางฝีมือวิชาชีพ  ทางภาษา ซึ่งสิ่งแรกที่ใช้แก้ปัญหาคือกระบวนการ Project Based เป็นการวิจัยของยูเนสโก ที่เข้าไปดูว่าชุมชนมีปัญหาอะไรบ้าง และเราจะไปช่วยแก้ปัญหาชุมชนอย่างไร เมื่อใส่ใจเข้าไป กระบวนการจะมีคุณภาพ มีเครือข่ายที่ดี แล้วจะมี Win-Win  คือเราได้ สังคมได้ และประเทศได้ จะสามารถไปตอบโจทย์ปัญหาคนว่างงานได้ด้วยเช่นกัน สามารถแก้ปัญหาเป็นเครือข่ายได้ เช่นที่บาเจาะ พบว่ามีครูอาชีวะเสียชีวิตน้อยมากเพราะได้เข้าไปช่วยเรื่องเครือข่ายชุมชน และสุดท้ายคือเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.9 ในการสร้างชุมชนเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

             ดร.จีระ เสริมว่ากับดักคือนโยบาย ที่ต้องเน้นเทคโนโลยี และต้องเน้นเรื่องความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ใน 3 ปีที่เป็น ผ.อ. ให้ทำดีที่สุด อะไรที่ดีแล้วไม่ต้องเปลี่ยนแต่ให้ทำอย่างต่อเนื่อง

             ไม่มีคนไหนที่เก่งโดยไม่ฝึกปะทะ และเรียนรู้ สร้างบรรยากาศเหล่านี้เป็นบรรยากาศความทรงจำ

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

             สิ่งที่ 5 กลุ่มสรุปออกมาจะได้คน 5 ประเภท อย่างกลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มนักคิดสร้างสรรค์ เรื่อง Aging Society และทำเรื่องอาชีวะ 5 ปีที่เป็น Basic ได้มีการหาเงินวิจัย และเสริมรายได้เข้าไปขึ้นอยู่กับทรัพยากรในการหาทำงาน  มีการเอาทุนทางจริยธรรม คุณธรรม กำกับ มีการแบ่งปันตามความสามารถ ซึ่ง 5 ปีทำได้แน่ เงินน้อย ไม่ได้จูงใจ  แต่ที่ยกเรื่องเงินคือการตอบแทนทางวิชาชีพ การคิดเรื่อง Start Up เป็นแนวคิดสร้างสรรค์ที่ต้องมีอยู่ตลอดเวลา

             อีกกลุ่มหนึ่งพูดเรื่อง 8K’s 5K’s คือเป็นกลุ่มที่จุดประกาย หลังจากนั้นมีกลุ่มที่รวมตัวเป็น Cluster คือนักยุทธศาสตร์ คิดแบบเร็วคือต้องทำอะไรที่สำเร็จ  อีกกลุ่มพูดเรื่องอย่าคิดคนเดียวคือกลุ่ม 3 เป็นนักยุทธวิธี  และกลุ่มที่ 2 กล่าวถึงว่าจะไม่สำเร็จถ้าไม่มีงานวิจัยเข้ามา และกลุ่มนี้ได้พูดเรื่อง Project Based คือเป็นอะไรเล็ก ๆ แต่ทำง่าย นอกจากนั้น มีการพูดเรื่องทุนทางวัฒนธรรม ได้ยกตัวอย่างภาคใต้ว่าคนอาชีวะศึกษาตายน้อยสุดเนื่องจากเข้าใจพหุวัฒนธรรม ดังนั้น ถ้าคิดอย่างเร็วจะบอกได้เลยว่าในอีก 10-20 ปีข้างหน้าคนจะเรียนอาชีวะมากขึ้น เนื่องจากมีแนวทางในการวางไว้อยู่แล้ว ให้ทำให้เป็นประโยชน์ นำแนวทางคุณธรรม จริยธรรมมากำกับ

 

 

 

Workshop

  • ถ้าจะพัฒนาทักษะการคิดของตัว ผอ.เอง ต้องเน้นอะไร 5 เรื่องและจะนำมาปฏิบัติได้อย่างไร?
  • พระองค์ท่านจากเราไปแล้ว คิดว่าอาชีวะจะนำเอาแนวคิดเรื่องความคิดกับความยั่งยืน มาใช้ในอาชีวะอย่างไร? ยกตัวอย่างโครงการ 3 เรื่องที่เหมาะสม
  • ถ้าจะขยายผลไปให้เด็กอาชีวะในเรื่องความคิดในระดับนักเรียน น่าจะมีแนวทางอย่างไร? เสนอเป็นโครงการพิเศษ
  • จะนำเอา Critical Thinking กับ Creative Thinking ใช้รวมกันอย่างไร ยกตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ 2 เรื่องและล้มเหลว 2 เรื่อง
  • ทฤษฎี Thinking Hat มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร  มีประโยชน์ต่อตัวท่านและการอาชีวะอย่างไร อธิบาย 5 ข้อ?


Workshop

กลุ่มที่ 1 ถ้าจะพัฒนาทักษะการคิดของตัว ผอ.เอง ต้องเน้นอะไร 5 เรื่องและจะนำมาปฏิบัติได้อย่างไร?

การพัฒนาความคิด 5 เรื่อง ได้แก่

  • คิดดี คือ คิดแบบมีคุณธรรมจริยธรรม
  • คิดถูก คือ ถูกด้วยบริบท หลักวิชาการ หลักนโยบายพัฒนาประเทศ 4.0
  • คิดเชิงระบบ คือ เหตุผลรอบด้าน
  • มองผ่านกระจก 6 ด้านและจะเกิดสิ่งที่ดี แล้วจะนำมาปฏิบัติอย่างไร
  • การหลอมรวมทักษะการคิด 5 เรื่องโดยใช้การมีส่วนร่วมออกมาเป็นแผน
  • มีกิจกรรมเป็นนวัตกรรม สร้างความสำเร็จ และความภูมิใจร่วมกัน 
  • สร้างทักษะร่วมกัน เกิดวัฒนธรรมองค์กรโดยใช้ทักษะการคิดนำวัฒนธรรมองค์กร ผ่านกระบวนการคิดในเทคนิค วิธีการต่าง ๆ
  • คนในทุกระดับจะทำงานรับผิดชอบอย่างไรให้คิดเป็นทำเป็น เน้นคนปฏิบัติได้

         ดร.จีระ เสริมว่า ทั้ง 2 กลุ่มทำได้ดีมาก และอยากให้เสริมเรื่องอ่านหนังสือดี ๆ เพื่อเสริมการพัฒนาตนเอง ได้ยกตัวอย่างคนที่จะประสบความสำเร็จเรื่องการคิดแบบ Game Theory คือ 1. คิดดี มี Ethical Thinking คือการเป็นคนดีได้ได้เป็นคนคิดดีก่อน คือคิดจากความจริง และคิดได้อย่างมีชีวิตชีวา เป็น Intangible ให้คิดดี และให้คิดร่วมกัน

 

 

กลุ่มที่ 2 พระองค์ท่านจากเราไปแล้ว คิดว่าอาชีวะจะนำเอาแนวคิดเรื่องความคิดกับความยั่งยืน มาใช้ในอาชีวะอย่างไร? ยกตัวอย่างโครงการ 3 เรื่องที่เหมาะสม

          1.การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา

          สร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ และให้เด็กสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์กับชุมชน

          2. Project Based ให้เด็กทำงานหลากหลาย และไม่จำกัดความคิด

          ลดการนำเข้าเครื่องมือ และอุปกรณ์  สร้างให้มีรายได้ในชุมชน และให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในการสร้างทุนทางดิจิตอลและทุนทาง IT

          3. สถานศึกษา และคุณธรรม

          ต้องการผู้เรียนให้มีคุณธรรม สามารถนำความเก่งให้ผู้เรียนมีจิตอาสา โดยใช้ทุนทางอารมณ์  และทุนทางวัฒนธรรม เพื่อไม่ให้เกิดความโดดเดี่ยว

          4. สร้างผู้ประกอบการใหม่ โดยให้ผู้เรียนคิดเพื่อประกอบอาชีพ โดยอาศัย Thailand 4.0 มาใช้สร้างนวัตกรรมเพื่อให้เกิด Innovation ใหม่ ๆ เพื่อนำไปประกอบอาชีพต่าง ๆ

          เป็นการสอนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความจริงใจในการทำงาน ตั้งใจฟัง ให้ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

          ดร.จีระ เสริมว่า มีแนวทางถูกแล้ว ให้ใส่เรื่องความยั่งยืน ให้อดทนเพื่อสร้างอนาคตต่อไป

 

กลุ่มที่ 3 ถ้าจะขยายผลไปให้เด็กอาชีวะในเรื่องความคิดในระดับนักเรียน น่าจะมีแนวทางอย่างไร? เสนอเป็นโครงการพิเศษ

          1. นโยบายด้านการพัฒนาความคิดระดับประเทศ

          2. การพัฒนาความคิดระดับนักเรียน

          3. จัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการสอนเป็นฐาน มีเรื่องที่สามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

          ดร.จีระ เสริมว่า การให้ความสำเร็จนั้นต้องมีการพัฒนาผู้อำนวยการกองและนักเรียนด้วย ยกตัวอย่าง 6 Thinking Hats ถ้านำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ได้จะเป็นประโยชน์

 

กลุ่มที่ 4. จะนำเอา Critical Thinking กับ Creative Thinking ใช้รวมกันอย่างไร ยกตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ 2 เรื่องและล้มเหลว 2 เรื่อง

Creative Thinking คือความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีกรอบ

          Critical Thinking คือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีเหตุผล

ทั้ง 2 อย่างใช้ร่วมกันได้ เพราะความสร้างสรรค์อย่างเดียวอาจติดกรอบ ขนบธรรมเนียมประเพณี จึงต้องใช้ 2 อย่างร่วมกัน ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จคือการประดิษฐ์นวัตกรรมได้แก่ เครื่องถักก้นหอย และการทำสวนช่วยชาวบ้านผู้ประสบภัย

          ตัวอย่างที่ล้มเหลวได้แก่ การยังทำงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบการณ์ยังไม่ได้ตามเป้า เด็กออกกลางคัน และเรื่องการเพิ่มปริมาณผู้เรียนเนื่องจากมีจำนวนน้อยกว่าที่ต้องการ และการปรับภาพลักษณ์อาชีวศึกษา

          ดร.จีระ เสริมว่า ทั้ง 2 เรื่องต้องไปด้วยกัน Critical Thinking เป็น Left Brain จะช่วยทำให้รอบคอบมากขึ้น  ส่วน Creative Thinking เป็น Right Brain

 

กลุ่มที่ 5  ทฤษฎี Thinking Hat มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร  มีประโยชน์ต่อตัวท่านและการอาชีวะอย่างไร อธิบาย 5 ข้อ?

          การจำลองเรื่องต่าง ๆ ในการบูรณาการร่วมกัน สามารถนำความคิดจากทุกคนที่สวมหมวกใบที่แตกต่างกันใช้ในสถานการณ์ต่างกัน และสามารถนำความคิดเพื่อมาสามารถประยุกต์ร่วมกันได้

          หมวกสีขาว เป็นคนมีความคิดที่ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ วิเคราะห์ข้อมูลบนพื้นฐานทางสถิติ ตัวเลข

          หมวกสีแดง ใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยไม่ใช้ข้อมูลใด ๆ ได้นวัตกรรมบนฐานความจริง

          หมวกสีดำ เป็นความคิดลบ ข้อดีคือสามารถป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น เหมาะกับการวิเคราะห์กฎหมาย และกฎระเบียบต่าง ๆ 

          หมวกสีเขียว เป็นการจำลองความคิด สร้างความคิดได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์

          หมวกสีเหลือง เป็นเรื่องการบริหาร การคิดเชิงกลยุทธ์ เน้นความร่วมมือบุคคล และหน่วยงานต่าง ๆ

          หมวกสีฟ้า เป็นการคิดแบบสังเคราะห์และรวบยอดในการตัดสินใจ

          ดร.จีระ เสริมว่า ถ้าเราฟังคนใดคนหนึ่งโดยไม่เอาหมวกทุกหมวกมาร่วมกันอาจไม่สำเร็จ ดังนั้น องค์กรต้องจำลองคนหลายชนิดด้วยกัน ต้องมีการผสมผสานกันอย่างดี ผ.อ.ต้องทำอะไรให้รอบคอบ และที่สำคัญคือหมวกที่เป็น Process Thinking ต้องรับฟังคนที่อยู่ในห้องคนอื่น ๆ เพื่อจะทำให้การตัดสินใจเป็นประโยชน์มากขึ้น

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          กลุ่มที่ 4 ได้กล่าวถึงปัญหาคือ เด็กออกกลางคัน และมีจำนวนน้อยกว่าที่ต้องการ

          กลุ่มที่ 3 บอกว่าให้เด็กอาชีวะ learn-share-care เรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน

          กลุ่มที่ 1 ความคิด 5 แบบ

          กลุ่มที่ 2 โครงการ ร.9 เป็นความคิดที่มองในมุมกลับคือไม่ตามใครแต่เป็นการนำปัญหามาแก้ไข เช่น โครงการแกล้งดิน

          กลุ่มที่ 5 เรื่อง 6 Thinking Hats ขึ้นอยู่ว่าจะนำมาใช้แบบไหน

          จะนำทั้ง 5 กลุ่มมาปรับใช้อย่างไร อย่างอาชีวะศึกษาต้องคิดในเชิงต่อยอดเช่น ศึกษาสินค้าที่ขายไม่ได้ว่าเพราะเหตุได และจะมีกระบวนการในการคิดค้นพัฒนาอย่างไร 

          สุดท้าย ฝากเรื่องศักดิ์ศรีของคน มีเรื่อง Happiness , Respect, Dignity  เราจะเก็บเกี่ยวได้อย่างไร 



หมายเลขบันทึก: 633706เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2017 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2017 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท