ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

6 เทคนิคในการปรับปรุงการพูดต่อหน้าที่ชุมชน


6 เทคนิคในการปรับปรุงการพูดต่อหน้าที่ชุมชน

โดย....ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

            เทคนิคในการปรับปรุงการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมีหลายวิธี แต่สำหรับบทความฉบับนี้  ขอเสนอเทคนิค 6 ข้อสำหรับใช้ในการปรับปรุงการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของท่านให้ได้ดียิ่งขึ้น  6 เทคนิคในการปรับปรุงการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมีดังนี้

          1.ฝึกฝน ฝึกฝนและฝึกฝน การฝึกฝนเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอันดับแรกของการปรับปรุงการพูดต่อหน้าที่ชุมชนให้ดียิ่งขึ้น เพราะการฝึกฝน ก็คือการทำซ้ำนั่นเอง กล่าวคือ เมื่อเราทำซ้ำหรือขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชนบ่อยๆซ้ำๆ  เราก็จะเกิดความเคยชินต่อเวทีการพูดต่อหน้าที่ชุมชน  และส่งผลต่อการพัฒนาการพูดต่อหน้าที่ชุนชนของเราให้ได้ดียิ่งขึ้น

          2.บันทึก วีดีโอและนำมาดู การฝึกฝนต่อหน้าที่ชุมชนทำให้เราเกิดความเคยชินต่อเวทีการพูดก็จริง แต่เราก็ไม่สามารถรู้จุดอ่อนหรือจุดที่เราจะต้องแก้ไขหรือต้องการที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น สำหรับคนที่ฝึกการพูดกับสถาบันการพูดเช่น สโมสรฝึกการพูดหรือสมาคมการพูดก็จะมีผู้วิจารณ์การพูดของเราว่า  เราควรปรับปรุงการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของเราอย่างไร เช่น  ไม่ควรพูดคำว่านะครับ นะค่ะตลอดเวลา  ไม่ควรใช้มือประกอบมากจนเกินไป  สิ่งเหล่านี้ผู้วิจารณ์การพูดได้เสนอแนะเราก็จริงอยู่  แต่เราก็ไม่สามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจนอยู่ดี ดังนั้นทางที่ดีควรลงทุนหาเครื่องบันทึก วีดีโอมาบันทึกการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของเราในแต่ละครั้งแล้วนำเอาไปดูเพื่อที่จะนำเอาสิ่งที่บันทึกไว้ในเครื่องบันทึกวีดีโอซึ่งเป็นการพูดต่อหน้าที่ชุนชนของเราแต่ละครั้งไปใช้ในการแก้ไขปรับปรุงการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของเราต่อไป

          3.ฟัง ฟัง และฟัง นักพูดที่ดีต้องเป็นนักฟังที่ดี  การฟังจะส่งผลต่อการพูดเพราะจะทำให้เราทราบว่าใครคือผู้พูดที่ดีหรือใครคือผู้พูดที่ไม่ดี  เราจะรู้ได้จากการฟังนั่นเอง สำหรับการฟัง เนื่องจากในยุคปัจจุบันเรามีอินเตอร์เน็ตซึ่งในอินเตอร์เน็ตมีคลิปต่างๆที่สามารถทำให้เราได้ยินทั้งเสียงและทั้งเห็นภาพ เช่น Youtube หรือ เว็ปไซค์ต่างๆ  ซึ่งทำให้สะดวกสบายกว่าสมัยในอดีต ซึ่งบุคคลที่ต้องการจะปรับปรุงการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของตนเองจะต้องตามไปฟังนักพูดในสถานที่ต่างๆ ซึ่งทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการเดินทาง  ด้านการฟังเราควรเลือกฟังนักพูดที่มีชื่อเสียงหรือนักพูดที่คนยกย่องว่าใช้วาทศิลป์ได้ดี  สืบเนื่องจากเวลาในชีวิตของเรามีจำกัด ถ้าเราจะฟังทุกคนในสื่ออินเตอร์เน็ต เราคงไม่สามารถทำได้เพราะมีมากมายเหลือเกิน ทั้งภาษาไทยทั้งภาษาต่างประเทศ

            4.ต้องพกสมุดโน๊ต สมุดโน้ต เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพราะ สมุดโน้ตจะทำให้เราสามารถบันทึกการพูดของเราหรือสามารถบันทึกข้อมูลต่างๆที่จะสามารถนำเอาไปใช้ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน อีกทั้งสมุคโน๊ตยังสามารถบันทึกสคิปต่างๆที่เราจะใช้พูด เราสามารถเปิดสมุดโน้ตแล้วนำเอามาทบทวนได้ตลอดเวลา เพราะความคิดและความจำของคนเรามีจำกัด  เมื่อเรามีความคิดหรือคำคมที่ดีที่สามารถนำเอาไปใช้ประกอบการพูด เราต้องรีบจดในสมุคโน๊ตทันที

            5.มีวินัย ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  ทั้ง 4 ข้อที่เขียนมาข้างต้นจะไม่สามารถทำได้เลย ถ้าเราขาดซึ่งความมีวินัยและความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่ว่าจะเรื่องของการ ฝึกฝน  การบันทึกวีดีโอเพื่อนำเอามาดู การฟัง ฟังและฟังนักพูดที่มีชื่อเสียงให้มากที่สุด และการพกสมุดโน้ตเพื่อจดข้อมูลต่างๆที่ใช้ประกอบการพูด  จงมีวินัยและซื่อสัตย์ต่อตนเอง แล้วท่านจะสามารถปรับปรุงการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของท่านให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน


หมายเลขบันทึก: 633451เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2017 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2017 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท