หลุมพรางทางประวัติศาสตร์


หลุมพรางทางประวัติศาสตร์  

หลุมพรางทางประวัติศาสตร์

          หลุมพรางทางประวัติศาสตร์ คือ สิ่งที่นักประวัติศาสตร์ตกโดยไม่รู้ตัว หรือบางครั้งก็ตกโดยตั้งใจเพราะผลประโยชน์ หรืออาจหมายถึง อคติ ในอีกความหมายนึงก็ได้

          อคติ คือ ความไม่เป็นกลางเกิดขึ้นได้ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว ปัจจัยที่ทำให้เกิดอคติทำให้นักประวัติศาสตร์เขียนประวัติศาสตร์ไม่เที่ยงตรง มีดังนี้

1.กาลเวลา เพราะ นักประวัติศาสตร์ต้องเป็นคนยุคใดยุคหนึ่งแน่ๆจึงทำให้การให้คุณค่าสิ่งหนึ่งในแต่ละยุคสมัยแตกต่างกัน เช่น ความงามของผู้หญิงในสมัย ร.5 ต้องเคี้ยวหมากฟันดำจึงจะงาม แล้วนักประวัติศาสตร์อีกสมัยไปเขียนว่าผู้หญิงสมัย ร.5 สกปรกฟันดำไม่รักษาสุขภาพช่องปาก

2.สถานที่ต่าง นักประวัติศาสตร์ต้องเกิดในที่ใดที่หนึ่ง บางคนเกิดเป็นเจ้า บางคนเกิดเป็นลูกชาวนา บางคนเกิดในเมือง บางคนเกิดในชนบท แต่ละคนมีภูมิหลังสัมพันธ์กับสถานที่นั้นๆ เช่น นักประวัติศาสตร์เป็นชาวนา แล้วมีหม่อมเจ้าทะเลาะกันจึงทำให้เกิดการนองเลือดแก่ชาวนา เขาก็จะเขียนอธิบายว่าหม่อมเจ้าใช้อำนาจในทางที่ไม่ดีเพราะจะเขียนเข้าข้างฝั่งตนเองเสมอ

3.ประสบการณ์ จะทำให้เล่าเรื่องขึ้นอยู่กับว่าใครไปเจออะไรมา ทุกคนมีประสบการณ์ เช่น การมีเพื่อนเป็นคนใต้ทำให้รู้ว่าคนใต้จริงใจ พอเวลาคนใต้มีเรื่องก็เลยไปสงสารคนใต้เพราะเคยมีเพื่อนเป็นคนใต้มาก่อนรู้ว่าคนใต้เป็นคนอย่างไรโดยไม่สนใจข้อเท็จจริง

4.แนวความคิด ได้มาจากการเล่าเรียน การเลี้ยงดู แต่ละคนก็จะได้แนวความคิดที่แตกต่างกัน เช่น คนเกิดในระบบสังคมนิยมมองว่าสังคมของตนเป็นปกติ แต่คนที่เกิดในระบบประชาธิปไตยกลับมองว่ามันโหดร้าย

จักรกฤษณ์ ศรีน้อย ----- เขียน

ที่มา : สรุปจากคำสอนวิชาปรัชญาและวิธีการทางประวัติศาสตร์ อ.วรรณพร บุญญาสถิตย์ มรภ.พระนคร

หนังสือประกอบการเขียน

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2518). ปรัชญาประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2525). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันออก. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์, อาคม พัฒิยะ. (2525). หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : บรรณกิจ.

วงเดือน นราสัตย์. (2550). ประวัติศาสตร์:วิธีการและพัฒนาการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

หมายเลขบันทึก: 632609เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2017 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2019 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท