827. แก้ปัญหาพนักงานไกล้เกษียณหมดไฟ


ช่วงนี้มีโอกาสไปทำเรื่อง Positive Deviance ให้รัฐวิสาหกิจสองสามแห่ง... PD ทบทวนนิด PD เป็นเครื่องมือพัฒนาองค์กร ที่มาจากความเชื่อที่ว่า..มีคนในองค์กร ในชุมชน แก้ปัญหาบางเรื่องที่คนอื่นแก้ไม่ได้เสมอ ....  PD มาจากค่าสถิติ... ค่าปลายๆ ที่ไม่ใช่ค่าเฉลี่ย แนวคิดคือ ถ้าคุณต้องการแก้ปัญหายากๆ ...คุณก็ตั้งคำถามว่านึกถึงใคร ใครเป็น PD ในเรื่องนั้น ... เช่นสมัยเด็กๆ เราไม่เก่งคณิตศาสตร์ เราจะไปหาคนเก่งกว่าเรา ไม่เก่งเหมือนเรา หรือไม่เก่งยิ่งกว่าเรา...

ทุกคนจะตอบเหมือนกันหมด นั่นคือคนเก่ง...  คนเก่งมีน้อยไหม มีกี่คน  คำตอบจะมีสักคน... ถ้าคุณหาเจอแล้วเขาติวให้..ชีวิตคุณง่ายขึ้นแน่นอน..ไม่เสียเวลา 

PD คือคนไม่ปรกติ ที่แก้ปัญหาไม่ปรกติได้...

ถ้าคุณอยากแก้ปัญหาที่ไม่ปรกติ คุณต้องไปหาคนไม่ปรกติ หากคุณไปหาคนปรกติ ก็จะแก้แบบปรกิต ซึ่งคือแก้ไม่ได้นั่นเอง.. ตรรกะ ของ PD เป็นเช่นนี้

ล่าสุดผมทำ PD Workshop...

เขาอยากแก้ปัญหาเรื่องคน...เลยเริ่มจากว่าปัญหาคืออะไร...

ปัญหาแปลว่าเรื่องรำคาญที่คุณอยากให้หมดไป..

คนในกลุ่มรำคาญเรื่องหนึ่งคือ...มีคนงานสูงอายุที่อยู่ไปวันๆ หลายคน..บางคนทำหน้าที่ Key ข้อมูลก็จบแล้ว..ใช้เวลาสองชั่วโมงต่อวัน... แต่ไม่จบเท่านั้น...มักทำผิด...เรียกว่าเงินเดือนสูง ทำงานน้อย แต่ผิด...กลายเป็นภาระรุ่นน้องอีก 

เลยหากันว่าในกลุ่ม หรือใครได้ยินว่าในองค์กรมีใครเป็น PD 

ก็ได้สาม case 

  1. คนแรกบอกว่าเขาเจอปัญหาเรื่องนี้...เลยเริ่มนั่งคิด ...ก็พบว่าคุณลุงเหล่านี้ไม่เห็นหน้างาน อาจไม่เห็นว่าสำคัญ เลยพาคุณลุงไปนั่ง Meeting บ้างหลายๆ Meeting ที่สุดคุณลุงก็เห็นความเชื่อมโยง เห็นว่างานของตัวเองมีความสำคัญอย่างไร งานเลยดีขึ้น 
  2. ผมเลยเสริมว่า..มี PD คนหนึ่งที่เคยเห็น ...เป็นEngineer ในโรงงานแห่งหนึ่งที่เจอปัญหา Supplier รายหนึ่งผลิตสินค้าที่มีปัญหา ...ตามธรรมเนียมคือตัดออก เพราะ Performance แย่ที่สุด ...แต่เขาลองคิดคล้ายๆกันกับกรณีที่หนึ่ง คือคิดว่าเป็นไปได้ที่บริษัทนี้อาจไม่เห็นของจริง ไม่เห็นความเชื่อมโยง ไม่ทราบว่างานของตัวเองมีผลต่ออะไรบ้าง ว่าแล้วก็ลองให้ Supplier เข้ามาดูงานของตัวเองในสายการผลิต  ที่สุดเกิดการปรับปรุงงานเอง สามารถยกระดับเป็น  Supplier คุณภาพสูงได้  Case นี้ไม่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ แต่ผมยก case เสริม case แรกเรื่องการไปดูของจริง
  3. พอ case ที่สาม กลับคล้ายสอง case แรก... PD ท่านนี้เล่าว่า...มีคุณลุงในแผนกหมดไฟนั่งอยู่ไปวันๆ .. ก็เลย ทำหน้าที่ง่ายๆ จะใช้ให้ทำอะไรนอก Job’s Desciption ก็ไม่ทำ เอ...ไม่ได้การแล้ว เลยลองพาคุณลุงออกไปหน้างาน ไปเก็บน้ำตัวอย่าง ไปดูของจริง ไปเห็นว่าน้องๆ ที่ไหน้างานทำงานยังไง ต้องปีนที่สูงต้องเหนื่อย...กลับมาคุณลุงกลับอาสาทำงานมากขึ้น รับผิดชอบ เข้ามามีส่วนร่วมแบบไม่เป็นมาก่อน
  4. case ที่ 4 เป็น PD นี่ก็จะเกษียณ เคยเป็นช่างเก่งมาก่อน แต่ไม่ทำอะไรอีกแล้ว ...พอดีมี Supplier ขอให้รัฐบาลช่วยส่งผู้เชี่ยวชาญไปช่วยเรื่อง Boiler.. ช่างเก่งๆที่ยังหนุ่มก็ยุ่ง ..ที่สุดเลยขอให้คุณลุงออกไปช่วยแก้ปัญหา โดยส่งคนประกอบสามเดือนแรก...สามเดือนหลังท่านลุยเอง...กลับมาคุณลุงมาขอบคุณน้อง Engineer ที่เป็นหัวหน้าว่า เขารู้สึกมีคุณค่ามากๆ 

ชัดไหมครับ ...เราได้คำตอบจากคนเก่งที่อยู่ในห้องนั่นเองพวกนี้คือ PD ...จะเห็นว่ามีอะไรสอดคล้องกัน 

ที่สุดทุกคนรู้คำตอบว่าจะกลับไปแก้ปัญหาอย่างไร ...นั่นคือการใช้กุศโลบายให้คุณลุงสูงอายุไปร่วมงาน ไปดูงาน ไปคลุกคลีที่หน้างน ซึ่งจะนำไปสู่การค้นพบว่าตัวเองต้องทำอะไร และก็จะเปลี่ยนไปเอง.. นอกจากนี้กรณีที่ผมเล่าก็ช่วยแก้ปัญหาด้านคุณภาพได้ด้วย 

กรณีนี้ใน Workshop ผมอธิบายเพิ่มเติมว่า เรื่องนี้สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องความสุขของดร. Martin Saligman คนที่เป็นผู้ก่อตั้งสาขาวิชา Positive Psychology 

ท่านบอกว่าคนเราจะมีความสุขขึ้นกับเงื่อนไขต่อไปนี้ ความสุข มากับความสำเร็จ งานได้ผลคนเป็นสุข 

เอาง่ายๆ มีความสุขแต่ไม่ได้ความสำเร็จก็ทุกข์ในที่สุด...

งานสำเร็จแต่คนไม่สุข ก็ไปไม่รอด

มันต้องสุขด้วยสำเร็จด้วย..  นี่คือ Model ที่อธิบายอะรได้มากทีเดียว...

มาดูกันในกรณีคุณลุงหมดไฟ

เริ่มจาก..มาดูความสัมพันธ์ที่ละองค์ประกอบนะครับ ..แล้วจะเห็นอะไรบางอย่าง..  

เอาง่ายๆ 

Positive Emotion คุณมีอารมณ์บวก หรือสงบไหม.. เอาง่ายๆ เคยเห็นพนักงานขายหน้าตูดไหมครับ ...คุณไม่อยากซื้อของ..นั่นหมายถึงถ้าพนักงานหน้าตูด ย่อมขายของไม่ได้จริงไหมครับ ลูกศิษย์ผมขายไขกลางตลาด... เขาทำง่ายๆ เวลาคนมาซื้อไข แผงไข่เหมือนๆ กัน..เธอค้นพบว่า พอเห็นคนเดินมาแต่ไกล เธอจะยิ้มแต่ไกล... แล้วลูกค้าก็มักจะเดินมาหาเธอกลางตลาด..นี่ไง Positive Emotion ทำให้เกิด Accomplishment 

Engagement มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ...ลูกศิษย์ผม เดินผ่านห้างไปซื้อผ้าเช็ดตัว...มีหลายเจ้า ส่วนใหญ่พนักงานจะเล่นมือถือ.. ไม่ Engage กับงาน...เขาจะเลือกเดินไปซื้อร้านที่พนักงานมองหน้าเขา สนใจเขา..นั่นหมายถึงว่าถ้าพนักงาน Engage ก็จะเกิด Accomplishment จริงไหมครับ

Relationship การมีความสัมพันธ์ที่ดีก็ทำให้งานไปไกล...ลูกศิษย์มตั้งใจเรียน จริงจังมาก ที่สุดตอนนี้ก็ได้รับการถ่ายทอดวิชา กลายเป็นผู้รู้ใน Field นั้น และก็เติบโตในอาชีพ อาจารย์ให้เวลาตลอดให้ความรู้ ถ่ายทอดเต็มที่... เหมือนอาจารย์ท่านหนึ่งมาสอนมหาลัยผม อาจารย์กิตติศักดิ์ เทพแห่ง TQM ของไทย...มาสอนเพราะ.. MBA มข.นักศึกษน่ารักมีสัมมาคารวะ ให้เกียรติท่าน.. นี่ไงครับ เราได้คนดีมายกระดับความรู้ เพราะเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผมก็ได้มีโอกาสเรียนกับเทพท่านนี้ด้วย..ได้ความรู้ประสบการณ์เอามาต่อยอดปริญญาเอกได้สุดๆ ..นั่นหมายถึงว่า Relationship ทำให้เกิด Accomplishment จริงไหมครับ

Meaning รู้สึกมีคุณค่า...เอาง่ายๆ คุณจะมีคุณค่าถ้าคุณให้อะไรกับคนอื่น เคยสังเกตุไหมครับ ..เวลาคุณสอนการบ้านเพื่อน ..คุณจะรู้สึกตัวเองมีคุณค่า...และก็เก่งขึ้นด้วย   และอาจเกิดความสำเร็จด้วย.. มีลูกศิษย์คนหนึ่งมาช่วยงานสมาคมศิษย์เก่า พีให้ช่วยอะไรก็ทำเต็มที่ ..ปรากฏความสัมพันธ์เบ่งบาน รุ่นพี่แนะนำธุรกิจให้ ...ที่สุดจากยอดขายปีละ 10 ล้าน เบ่งบานไป 60 ล้านต่อไป...

Accomplishment คือความสำเร็จ ที่มาจากจากปัจจัยสี่อย่างข้างต้น ..

ถ้าเอามาวิเคราะห์คุณลุงหมดไฟ..ก็จะเห็นว่า..การที่เขาได้ออกไปช่วยน้องๆ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงาน...ผมว่ามันเกิดการให้ ทำให้เขารู้สึกมีคุณค่า (Meaning)  ...เมื่อเครื่องยนต์ตัวนี้ติด ตัวอื่นก็ติดตามมา ไม่ว่าจะ Engage ก็มากขึ้น เพราะเห็นความเชื่อมโยง  เห็นว่างานตัวเองไปมีผลต่อคนอื่น... Positive Emotion อารมร์สงบ บวกมากขึ้น ความสัมพันธ์ Relationship ก็ตามมา...เห็นกลไกชัดเจน 

ถ้ามองจาก PERMA สาเหตุก็คือคุณลุงไม่มีความสุข เพราะรู้สึกไม่มีค่า Meaning นั่นเอง.. 

และเราก็ค้นพบวิธีการหา Meaning ให้คุณลุง..กัน

เห็นชัดๆว่าเรากำลังค้นพบวิธีการช่วยคนหมดไฟ ที่ผมว่าไม่ใช่ผู้สูงอายุเท่านั้น เรื่องนี้อาจใช้ได้กับคนทุกวัยด้วยซ้ำ...

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณากันดูนะครับ

ด้วยรักและปรารถนาดี

ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 

www.aithailand.org


หมายเลขบันทึก: 631797เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2017 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2017 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องที่แก้ยาก ต้องไปหาคนที่ไม่ปกติ พี่พูดถูกไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท