ดื่มน้ำมากไปจะเป็นอันตรายหรือไม่ เกี่ยวกับเบาหวานหรือไม่ ?


ดื่มน้ำมากไปจะเป็นอันตรายหรือไม่ เกี่ยวกับเบาหวานหรือไม่ ?

ดร.ถวิล  อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

           แรงบันดาลใจให้เขียนเรื่องนี้ ก็เพราะ ผู้เขียนเองเป็นคนที่ชอบดื่มน้ำมาก
เวลาดื่มเข้าไปมีความรู้สึกว่า ร่างกายสดชื่นดี มีความรู้สึกที่ดี
และมีความรู้สึกว่า “ทานน้ำอร่อย” ทานมากกว่าอาหาร
แต่ก็มีข้อเสียตามมา คือ จะทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย
บางครั้งก็กลั้นปัสสาวะไว้ ทำให้ปัสสาวะผิดปกติ
ถ้าไม่กลั้นไว้ไปปัสสาวะตามที่มีอาการอยากปัสสาวะ
จะทำให้รู้สึกว่า “โล่งเหมือนกับได้ปลดทุกข์

           ผู้เขียนเอง ไม่ชอบรสหวาน และรสมัน คล้ายๆ กับว่า
เป็นคนแพ้ “ความหวาน และความมัน”แต่ถ้าเป็น
รสเผ็ด รสเค็ม และรสขม
มีความรู้สึกว่า
“สดชื่น กระปรี้กระเปร่าดี”
(ฮึกเหิม)

           สิ่งที่ผู้เขียนรู้สึกว่าตนเอง มีภูมิคุ้มกันได้ดี คือ
จะไม่มีอาการปวดศีรษะ วิงเวียนหน้ามืดตาลาย
แม้จะ
ใช้เวลาดูหนังสือมาก ดูคอมพิวเตอร์มาก
และไม่ปวดท้องแม้จะอดอาหารทั้งวัน 
อาจจะเป็นเพราะว่า ได้นำธรรมะ
เช่น สมาธิ การฝึกจิตให้มีจิตใจผ่องใส
หรือการรู้จักปล่อยวาง ก็เป็นได้
หรืออาจจะเป็นเพราะว่า เคยฝึกอด
อาหารสมัยบรรพชาอุปสมบท
จะทานอาหารเพียงวันละสองมือ
เช้า เที่ยงเท่านั้น
ทำให้ระบบย่อยอาหารเคยชินหรือเปล่า
(ความรู้สึกส่วนตัว)

           ข้อเสียของผู้เขียน เวลารับประทานยาที่หมอให้มา
บางครั้งเป็นยาประเภทฆ่าเชื้อ ซึ่งจะต้องรับประทานให้หมดชุด
ที่จัดให้ แม้จะมีอาการหายแล้ว  แต่ผู้เขียน ถ้ารับประทานยาแล้ว
มีอาการรู้สึกดีหรือว่าหายแล้ว จะหยุดทานยานั้นทันที
(เพราะปกติ ไม่เคยทานยาอะไรเป็นการเฉพาะ)
หมอแนะนำว่า ถ้าเรารับประทานยาที่จัดให้ไม่หมดชุด
อาจจะมีอาการแทรกซ้อนโรคดื้อยาได้  
(ยอมรับว่าข้อนี้ไม่ได้ปฏิบัติ) แต่จะปฏิบัติตนให้ดี
และเคร่งครัดตามคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตนซึ่งไม่ใช่การทานยา

           เท่าที่ได้ศึกษามาทำให้ทราบว่า
การดื่มน้ำมากๆ เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็สงสัยว่า
ถ้าในแต่ละวัน ถ้าดื่มน้ำมากกว่าคนดื่มปกติ
หลายเท่าตัว คือดื่มทั้งวันเป็นนิสัย
จะมีผลเสียหรือไม่ และทำให้เกิดการอ้วน
หรือบวมน้ำได้หรือไม่ ยิ่งในกรณีที่ไม่ได้เสียเหงื่อด้วย

             ข้อนี้ มีบางท่านได้อธิบายไว้ว่า การดื่มน้ำมาก
อาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำเป็นพิษเนื่องจากเลือดเจือจาง
ร่างกายจึงขับโปรเตสเซียม ออกจากเซลล์เพื่อปรับสมดุล
ระหว่างน้ำในเซลล์และนอกเซลล์ ผลที่ตามมาคือเป็นตะคริว
กล้ามเนื้อเกร็ง หากเกิดอาการเกร็งที่สมอง หัวใจ หรือปอด
จะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

             แต่ก็ไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะหากดื่มน้ำทีละเล็กทีละน้อย
แม้ดื่มมากกว่าปกติก็ไม่เป็นอันตรายเพราะไตจะขับออกมาเป็นปัสสาวะ
และถ้าเมื่อไรมีอาการจุกนั่นแสดงว่าดื่มน้ำมากไป ควรหยุดได้แล้ว              
บางท่านอธิบายว่า อาการปากแห้ง คืออาการที่ร่างกายขาดน้ำ
ซึ่งเกิดจากร่างกายขับน้ำออกมามาก ที่ร่างกายขับน้ำ
ก็เพราะฮอร์โมนควบคุมน้ำที่ชื่อ ADH ต่ำ ที่ฮอร์โมนต่ำ
ก็มีหลายสาเหตุ เช่น กินแคลเซียมมากเกินไป วัดได้
จากการตรวจแคลเซียมในเลือด หรือในปัสสาวะ 24 ชม.

           ส่วนสาเหตุอื่นๆเช่น น้ำตาลในเลือดสูง หรือ
โซเดียมในเลือดต่ำ โซเดียมต่ำเพราะกินเค็มน้อยเกินไป
หรือฮอร์โมน aldosterone ต่ำทำให้ร่างกายเก็บโซเดียมไว้ไม่อยู่
ซึ่งพวกนี้เบื้องต้นให้ไปตรวจเลือดดูค่า electrolytes จะรู้
หากอ่านเพิ่มเติมได้จากคำว่า polyuria
ถ้าตื่นมาฉี่กลางคืนด้วยเรียกว่า nocturia

          ผู้เขียนตั้งข้อสังเกต ถ้าไปรับประทานอาหาร
“ส้มตำหรืออาหารที่ใส่ผงชูรสมาก”
จะทำให้มีอาการปากแห้ง กระหายน้ำผิดปกติ
เคยสังเกตตนเองเมื่อไปรับประทานอาหารที่เขาใส่ผงชูรสมาก
หลังจากนั้น จะมีอาการกระหายน้ำผิดปกติ อยากดื่มน้ำบ่อย
จะเป็นเพราะผลกระทบจากการรับประทาน
อาหารที่ใส่ผงชูรสมากไปหรือเปล่า ???

 

การดื่มน้ำมากไป

          หลายคนขำกับหัวเรื่องนี้ อันที่จริง มีบางท่านอธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า
ทุกคนดื่มน้ำกันได้ แต่ต้องดื่มให้เป็น (หมายถึงดื่มน้ำเปล่า)
ดื่มอย่างไรจะทำให้เกิดอรรถประโยชน์เต็มที่
ดูตามความคิดเห็นหลายๆ ท่านต่อไปนี้ดีกว่า คือ

          1. ไม่อยากดื่มน้ำมาก กลัวต้องไปห้องน้ำบ่อย

          ใช่แล้ว นักวิทยาศาสตร์บอกว่าแสดงว่าท่านเหล่านี้
ดื่มน้ำไม่เป็น โดยปกติแล้วเราจะเข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะอย่างเดียว
วันละประมาณ 4-6 ครั้งนับว่าปกติ บางท่านหากเกิน 10 ครั้ง
ถือว่าบ่อยเกินไปจนน่ารำคาญ อาจมีปัญหาเรื่องไต
หากน้อยกว่า 2 ครั้ง /วัน คุณน่าจะขาดน้ำหรือไตทำงานไม่ค่อยดีเช่นกัน

          การปัสสาวะนับเป็นเรื่องดี เป็นการขับถ่ายของเสีย
ออกจากร่างกาย ทำให้ไตทำงาสบายขึ้น ไม่หนักเกินไป
และไม่สะสมของเสีย ซึ่งอาจทำให้อักเสบ
หรือเป็นนิ่วที่ไต กรวยไต ท่อไป ท่อปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งรอบๆ อาจเป็นนิ่ว
หากมากขึ้นสารพิษจะทำให้เกิดมะเร็งกับอวัยวะโดยรอบได้
วิธีดูแลไตง่ายๆ ไม่ทำให้ปัสสาวะบ่อย คือ
ดื่มน้ำ แบบจิบบ่อยๆ ร่างกายจะนำไปใช้ได้ดี
การดื่มน้ำทีละเป็นแก้ว ร่างกายจะส่งสัญญาณว่า
มีน้ำมากแล้ว ก็จะรีบขับน้ำออกทันที หรือไม่นานจากนั้น
อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการขับสารพิษเสียบ้าง
การดื่มน้ำ มากๆ ก็จะกระตุ้นให้ไตทำงานมากขึ้น และปัสสาวะโดยเร็ว

           2. ไม่อยากดื่มน้ำมาก กลัวต้องตื่นมาปัสสาวะกลางดึก

            เห็นด้วย และเหตุผลเช่นเดียวกับข้อก่อนหน้านี้
การดื่มน้ำมากๆ คราวเดียวเป็นแก้ว ทำให้ไตถูก กระตุ้นให้
ขับน้ำออกโดยเร็ว รวมทั้งการดื่มนมก่อนนอน
ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน คำแนะนำก็เช่นเดียวกันคือ
ดื่มน้ำทีละน้อย บ่อยขึ้น เวลาคุณทำงาน
วางน้ำไว้บนโต๊ะสักแก้ว จะได้มองเห็นและจิบได้บ่อย
ทีละ 1-3 อึก ก็พอ หากต้องการดื่มน้ำ หรือนมก่อนนอน
ก็ไม่มีปัญหา ควรดื่มก่อนนอน มากกว่า 1-2 ชั่วโมง
ก่อนนอน รอจนปวดปัสสาวะ ก็ไปเข้าห้องน้ำ
แล้วค่อยเข้านอน การตื่นมาปัสสาวะระหว่างกลางคืน
จะลดลง หรือหยุดไปเลย หากไม่หยุด ลองลดน้ำ
หรือนมลง ใช้วิธีค่อยๆ จิบ ก็ได้ผลดี  

         3. ไม่ขาดน้ำ ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำมากมาย

          น้อยคนมาก ที่จะได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
นักวิทยาศาสตร์กล่าวกว่าในอเมริกา มีคนขาดน้ำ
ถึงกว่า 60 การขาดน้ำ ทำให้เกิดโรคภัย
มากมาย เนื่องจากน้ำ เป็นตัวหลักของการทำงานของ
ร่างกาย ร่างการมีน้ำกว่า 70  จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า
ทำไมเราต้องการน้ำมาก หากคุณรอจนกระหายน้ำ
นั่นขาดน้ำแล้ว หากคุณรอถึงปากแห้ง นั่นยิ่งขาดมากขึ้น
และหากคุณเริ่มสับสนด้วย นั่นยิ่งอันตรายต่อชีวิต
การดื่มน้ำช่วงอาหาร ไม่เพียงพอ ดื่มระหว่างมื้อให้
ได้ระหว่างมื้อละ 1-2 แก้ว จะได้น้ำเพิ่ม 4-6 แก้ว
สุขภาพคุณจะดีขึ้นทันตาภายใน 2-3 วันเท่านั้น  เช่น
อาการเหล่านี้ ตาแห้ง ปากแห้ง ผิวไม่สดใส ถ่ายยาก
ไม่ปวดปัสสาวะ นิ่ว เล็บไม่สวย ผิวไม่นิ่ม ผิวไม่สดใส
เป็นสิว ผมแตก ผมร่วง ผมซีด ดูแก่ก่อนวัย ผิวย่น เบื่อ
ซึม ปวดหัวบ่อย ปวดตามร่างกาย ปวดเอว แผลหายยาก
เป็นโรคประจำสารพัด ฯลฯ แล้วคุณจะแปลกใจว่า
เพียงดื่มน้ำเพิ่ม สุขภาพจะดีขึ้นมากมาย

        4. ไม่อยากดื่มน้ำ กลัวอ้วน กลัวออกกำลังกายไม่ได้ผล ลดน้ำหนักไม่ได้

            ข้อนี้ มีผู้รู้อธิบายว่า ตรงข้ามเลยครับ ยิ่งดื่มน้ำมาก
ยิ่งลดน้ำหนักได้ง่าย การดื่มน้ำส่งเสริมการเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน
และทำให้หิวน้อยลง ลองดื่มน้ำก่อนอาหารสัก 3-4 อึก หรือ ประมาณ
ครึ่งแก้ว การย่อยจะช้าลง คุณจะลดการนำอาหารส่วนเกินไปเก็บ
และคุณจะกินน้อยลง เวลาออกกำลังกาย ดื่มน้ำช่วงพักสัก 2-3 อึก
คุณจะรู้เลยว่า กำลังกลับมาอย่างรวดเร็ว  และมีแรงเล่นกีฬาต่อ
ได้อย่างรวดเร็วและเหนื่อยช้าลง เพราะน้ำเร่งการขับสารพิษที่เหลือ
จากการออกกำลังกายไปทางเหงื่อ และยังส่งเสริมการดึงเอาไขมัน
สะสมมาใช้ หลังจากคุณวอร์มร่างกายจนเหงื่อซึมไปสัก 15 นาที แล้ว
แต่ถ้าปล่อยให้ขาดน้ำ คุณอาจเป็นลม หรือขาดน้ำจนร่างกาย
เหนื่อยล้าหลังออกกำลังกายไปหลายวัน

         บางท่านอธิบายว่า ประมาณ 50 ของคนไทย
ระบบดูดซึมเสียเพราะมี น้ำมันพืช พยาธิ เชื้อรา
อยู่ในลำไส้ คนที่ระบบดูดซึมเสีย จะฉี่บ่อย ร้อนใน
ไมเกรน ภูมิแพ้ นอนไม่ค่อยหลับ ………

         ทัศนัย เผือกพิพัฒน์ (นายแพทย์) : ได้ตอบข้อซักถาม
(ตามประสบการณ์ที่ทราบมา บางอย่างรู้ไม่หมด/รู้ผิด  ช่วยเสริมด้วย)

        พูดถึงปริมาณ (การดื่มน้ำ) ให้แนะนำตรวจระบบดูดซึมให้ดี
ว่าปกติดีหรือไม่ ตามที่สมาชิกแนะนำมา ก่อน

       ปริมาณที่ควรทานอย่างน้อย..........33 x นน. (กก.)   = ซีซี / วัน  
(อย่างน้อยนะครับ ที่พอไหลเวียน เพียงพอกับที่มันหายไปกับ
อุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ ผิวหนัง สิ่งคัดหลั่งต่างๆ) 
ถ้าทานเพิ่มได้ ถึง 3 - 5 ลิตร เพื่อการบำบัดภายใน
เพราะช่วยระบบไหลเวียน  การขับพิษ  ระบบเอ็นไซม์ ถ้าไตดี

       คุณภาพ ........อุณหภูมิธรรมชาติ ดีที่สุด  ไม่ควรดื่มน้ำเย็น
(ถ้าอยากดื่มจริงๆ ควรอมในปากไว้ก่อนกลืน)

       น้ำฝนธรรมชาติ ดี แต่หายากที่ฟ้าจะสะอาด 
คงต้องน้ำกรอง น้ำแร่ น้ำแม่เหล็ก น้ำเสกก็ว่าไป   

 

ข้อปฏิบัติ ง่ายๆ 

          1. ทานน้ำทันทีตอนเช้า 1 ลิตรเพื่อช่วยระบบลำไส้ 
วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องทานน้ำเลยเวลาทานข้าวในระหว่างมื้ออาหาร
ทำให้ถ่ายง่ายตอนเช้า 

          2. ทานทั้งวันเรื่อยๆ เมื่อคอแห้ง 

          3. งดน้ำก่อน -หลังทาน 1 ชม.

          4. ในระหว่างมื้ออาหาร ทานน้ำไม่เกิน 50 ซีซี
(อาจเป็นน้ำต้มจืด น้ำแกง ก็น่าจะพอ)

สาเหตุไขมันเกาะลำไส้ (ที่พื้นฐาน ต้องไม่ลืม)

           1. ทานน้ำเย็น ไข่ ของทอดมากไป

           2. กระดูกสันหลังอกเคลื่อน (เคยดิ่งเจอหลายราย 
ไขมันเกาะกระเพาะ/ลำไส้ร่วมกันเสมอในกระดูกอกเคลื่อน)

           3. ใช้น้ำร้อนชงนมในเด็กเล็ก

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดื่มน้ำ

  คนที่ระบบดูดซึมเสีย

- เมื่อดื่มน้ำเยอะ ไตจะต้องพาน้ำไปทิ้งในจำนวนมาก
เพราะน้ำไม่ได้ซึมเข้าตัวเลย ฉะนั้น เป็นผลเสียต่อไต

- เมื่อดื่มน้ำน้อย น้ำก็จะไม่เข้าไปในถุงน้ำดี ทำให้เป็นนิ่ว

        คงจะได้ข้อสรุปได้ว่า คนที่ระบบดูดซึมเสียนั้น
ไม่ว่าดื่มน้ำเยอะ หรือ ดื่มน้ำน้อย ซวยทั้งขึ้นทั้งล่อง
หากจะดื่มน้ำ ต้องดื่มทีละจิบไปเรื่อย ๆ ทั้งวัน
ซึ่งไม่สะดวก แนะนำว่าล้างระบบดูดซึมเสีย ก็หมดเรื่อง

 

คนที่ระบบดูดซึมดี

- ดื่มน้ำเยอะ น้ำจะซึมเข้าร่างกาย แล้วจะรู้สึกชุ่มน้ำ
ฉะนั้น เมื่อดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร ก็จะไม่กระหายน้ำอีก
และ ฉี่ไม่บ่อย ไตก็จะไม่ทำงานหนัก

- ดื่มน้ำน้อย จะเป็นนิ่ว

 

สิ่งที่ตามมาเกี่ยวกับการดื่มน้ำมาก

ฉี่บ่อย สัญญาณปัญหาสุขภาพหรือไม่

         ฉี่บ่อย คือ ภาวะของการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
โดยอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้บ่อย และมักเกิดกะทันหัน
จนบางครั้งมีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ และอาจ
ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งในเวลากลางวัน
และกลางคืน อาการฉี่บ่อยอาจเป็นสัญญาของอาการอื่น ๆ
หรือปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ ดังนั้น
จึงควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

 

ฉี่บ่อยแค่ไหนถึงเข้าขั้นว่าผิดปกติ ?

      อาการฉี่บ่อยสังเกตได้ง่าย ๆ จากจำนวนครั้งที่ปัสสาวะ
ในแต่ละวัน ซึ่งโดยปกติภายใน 24 ชั่วโมง คนเราจะปัสสาวะ
อย่างน้อย 6-8 ครั้ง แต่ถ้าหากมากกว่านี้ อาจต้องกลับไป
ดูที่สาเหตุว่าเกิดจากอะไร หากเกิดจากการดื่มน้ำมาก
หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกิน
ไปก็ทำให้ฉี่บ่อยได้เช่นกัน แต่ถ้าไม่ได้เกิดจากการดื่มน้ำ
อาจเป็นความผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด

 

ฉี่บ่อย เป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอะไรได้บ้าง ?

       ปัสสาวะบ่อยมีหลายสาเหตุ บางสาเหตุไม่เป็นอันตราย
แต่บางสาเหตุอาจเป็นอันตราย ต้องรีบเข้ารับ
การรักษาอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้อาการยิ่งรุนแรง
มากกว่าเดิม โดยมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

       การใช้ยา และสารบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ
การใช้ดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในปริมาณมาก ๆ
รวมทั้งภาวะแคลเซียมสูงในร่างกายสูงผิดปกติ (Hypercalcemia)
เนื่องจากการรับประทานแคลเซียมมากเกินไป
ปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ เนื้องอกที่อุ้งเชิงกราน
การรักษาด้วยรังสีบำบัดที่บริเวณเชิงกราน ช่องคลอดอักเสบ
หรือปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากในเพศชาย ระบบทางเดินปัสสาวะ
อาทิ การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ (UTI) กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
แบบเรื้อรัง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะบีบตัว
มากเกินปกติ (Overactive Bladder Syndrome) และโรคไต
โรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคเบาจืด โรคหลอดเลือดสมอง
ตับวาย หรือกลุ่มอาการคุชชิง(Cushing’s Syndrome)
เกิดจากฮอร์โมนผิดปกติส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น
ใบหน้าบวมกลมคล้ายพระจันทร์ (Moon Face)
มีหนอกขึ้นบริเวณหลังคอ (Buffalo Hump)
มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผิวหนังบางลงจน
เห็นเส้นเลือดฝอย และอาจพบเส้นเลือดฝอยแตก
ที่หน้าท้อง ภาวะกระดูกผุ และติดเชื้อง่าย ในผู้หญิง
อาจมีภาวะประจำเดือนขาดได้อีกด้วยการตั้งครรภ์ 
ปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ภาวะกระหายน้ำผิดปกติ
เนื่องจากอาการทางจิต(Psychogenic Polydipsia)

 

อาการฉี่บ่อย ควรไปพบแพทย์เมื่อใด ?

           หากการปัสสาวะบ่อย เกิดขึ้นจากการดื่มน้ำเยอะ หรือบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป ก็อาจไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่หากเกิดอาการปัสสาวะบ่อยที่ผิดปกติควรไปพบแพทย์ ดังอาการต่อไปนี้

  • ปัสสาวะบ่อยโดยที่ไม่ได้ดื่มน้ำ หรือไม่ได้บริโภคคาเฟอีน และแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ

ปัสสาวะบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการนอนหลับ นอกจากนี้ หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมกับอาการปัสสาวะบ่อย ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด ซึ่งอาการที่อาจเป็นสัญญาณอันตราย ได้แก่ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะมีสีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ มีอาการเจ็บปวดที่บริเวณด้านข้างและด้านล่างของท้อง หรือบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะไม่ออก มีอาการปวดปัสสาวะอย่างรุนแรง มีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะ มีไข้ทั้งนี้เมื่อไปพบแพทย์แล้ว แพทย์จะตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การซักประวัติ ตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะของผู้ป่วยไปวินิจฉัยหาเชื้อแบคทีเรีย จำนวนเม็ดเลือดขาว หากมีปริมาณเชื้อโรคและเม็ดเลือดขาวมากผิดปกติก็อาจมีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ อีกทั้งแพทย์อาจใช้วิธีการส่องกล้องเพื่อดูการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงการอัลตราซาวด์ เพื่อดูความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะต่าง ๆ ที่แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นสาเหตุของอาการปัสสาวะบ่อยผิดปกติ

 

ฉี่บ่อย รักษาได้อย่างไร ?

          การรักษาภาวะปัสสาวะบ่อยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยแพทย์จะมุ่งเน้นไปยังสาเหตุหลักที่ส่งผลต่อความผิดปกติในการปัสสาวะเป็นอันดับแรก เช่น หากผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยโดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เพราะหากสาเหตุเหล่านั้นบรรเทาลงได้จะช่วยให้ความถี่ในการปัสสาวะลดลง นอกจากนี้ ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตด้วย เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือของเหลวต่าง ๆ ก่อนนอน ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนลงนอกจากนี้ ในบางกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง แพทย์อาจแนะนำการออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อปัสสาวะ (Kegel Exercises) หรือการฝึกขมิบช่องคลอด ซึ่งวิธีการทำคือ การฝึกขมิบรูเปิดของอวัยวะอุ้งเชิงกราน และขมิบให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานยกขึ้นและเข้าไปข้างใน หากทำได้เป็นประจำจะช่วยให้อาการปัสสาวะบ่อยลดลง การออกกำลังกายนี้ ทำได้ทุกวัยโดยเฉพาะผู้หญิงที่เคยผ่านการคลอดบุตรแบบธรรมชาติ เพราะจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณเชิงกรานแข็งแรงขึ้นตามไปด้วย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาเพื่อลดอาการปัสสาวะติดขัด หรือปัญหาในการกลั้นปัสสาวะร่วมด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้เป็นปกติมากขึ้น

ฉี่บ่อยป้องกันได้หรือไม่ อย่างไร ?

           ในเบื้องต้น อาการปัสสาวะบ่อยป้องกันได้ด้วยการควบคุมปริมาณการดื่มน้ำ และหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในเวลากลางคืนเพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดปัสสาวะบ่อยในขณะนอนหลับและรบกวนการนอนหลับได้ นอกจากนี้ ควรป้องกันอาการท้องผูกด้วยการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เนื่องจากอาการท้องผูกส่งผลให้เกิดแรงดันที่กระเพาะปัสสาวะมากขึ้นและทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น หากลดอาการท้องผูกได้ ก็จะทำให้ปัสสาวะได้ตามปกติมากขึ้น

           ฉี่บ่อย เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการให้ดี เพื่อป้องกันอาการที่เกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาสุขภาพใหญ่โตเพราะอาจทำลายสุขภาพในระยะสั้นหรือระยะยาวได้

ฉี่บ่อยเกี่ยวกับเบาหวานหรือไม่ ?

   ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับโรคเบาหวานก่อน

       โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ไปขอคำปรึกษากับแพทย์ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

    โรคเบาหวานคืออะไร

       โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง เนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท

        อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน การเจาะเลือดเซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน

 

ฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

        อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ไม่ดี ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วย

        อาการของคนที่เป็นโรคเบาหวานเกิดจากการที่น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด หิวเก่ง อ่อนเพลีย

       อาการของโรคเบาหวาน

       คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก.% หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก.% ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงไม่มากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาการที่พบได้บ่อยคนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึก หรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180 มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะอ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาล จึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่ง แต่น้ำหนักจะลดลงเนื่องจากร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้ออาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คันคันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนังเห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูงชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึกอาเจียนน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเมื่อเป็นโรคนี้ระยะหนึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กเรียก microvacular หากมีโรคแทรกซ้อนนี้จะทำให้เกิดโรคไต เบาหวานเข้าตา  หากเกิดหลอดเลือดเลือดแดงใหญ่แข็งเรียก macrovascular โดยจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพาต หลอดเลือดแดงที่ขาตีบนอกจากนั้นยังอาจจะเกิดปลายประสาทอักเสบ neuropathic ทำให้เกิดอาการชาขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทอัตโนมัติเสื่อม

 

ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

         โรคเบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี น้อง เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น หากมีทั้งพ่อ และแม่เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานร้อยละ 50 นอกจากนั้นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อเบาหวานได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือว่าอ้วน ไม่ออกกำลังกาย เป็นไขมันในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับชนิดที่ 1 ทุกคนมีสิทธิ์เป็นเท่าๆกันความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน หิวน้ำอาการของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานชนิดที่สองจะมีอาการเป็นอย่างช้าๆโดยที่ผู้ป่วยอาจจะไม่ได้สังเกต อาการที่พบได้บ่อยคือ น้ำหนักลด หิวเก่งรับประทานอาหารเก่ง ดื่มน้ำเก่ง ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาการค่อนข้างจะเฉียบพลันอาการทำนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลด และบางท่านอาจจะมาด้วยโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่นภาวะเลือดเป็นกรด ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนมาโรงพยาบาลด้วยเรื่องโรคแทรกซ้อนโดยที่ไม่มีอาการเบาหวานมาก่อน โรคแทรกซ้อนที่นำผู้ป่วยมาได้แก่แผลที่เท้าโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดสมองขาดเลือด โรคไตเสื่อม

 

บทสรุป

       การดื่มน้ำมากจนเกินไป ก็ไม่ดีอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย 
ควรดื่มให้พอเหมาะกับร่างกาย บางท่านอธิบายไว้ว่า
ควรดื่มน้ำประมาณวันละประมาณ 8 แก้ว และ
การปัสสาวะมากก็มีความสัมพันธ์กับการดื่มน้ำ
ดื่มน้ำมาก ก็จะทำให้มีอาการปัสสาวะมากตามมา
เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้า ดื่มน้ำไม่มาก แต่ปัสสาวะมาก
ก็เป็นสัญญาณจากอาการเบาหวาน ควรไปตรวจสุขภาพ
หรือขอคำแนะนำ คำปรึกษาจากแพทย์ ไม่ควรนิ่งดูดาย
หรือประมาทเด็ดขาด

 

 

แหล่งข้อมูล

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/intro.htm

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/dm_symtom.html

http://www.pendulumthai.com/smf/index.php?topic=3018.0;wap2

https://pantip.com/topic/30936176

https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090131073520AAzerYk 

https://www.pobpad.com/%E0>#/span<b8%89>#/span>E0>#/span<b8>#/span>B5>#/span###E0>#/span<b9%88>#/span>E0>#/span<b8%9</bA%E0>#/span>B9%88>#/span###E0>#/span<b8>#/span>AD%E0>#/span<b8>#/span>A2->#/span###E0>#/span<b8>#/span>AA%E0>#/span<b8>#/span>B1>#/span###E0>#/span<b8%8</bD%E0>#/span>B8%8D%E0>#/span<b8>#/span>B2>#/span###E0>#/span<b8%93>#/span>E0>#/span<b8%9</bB%E0>#/span>B8>#/span<b1>#/span>E0>#/span<b8%8</bD%E0>#/span>B8>#/span###AB%E0>#/span<b8>#/span>B2>#/span###E0>#/span<b8>#/span>AA%E0>#/span<b8>#/span>B8>#/span###E0>#/span<b8%82>#/span>E0>#/span<b8>#/span>A0?gclid=CjwKCAjw-qbLBRB7EiwAftBCIzds1P7pxJGH4-tBTL7D5ULUsLrEmYt6En2ZBv7mWGJSjfajMSUc6BoCHwsQAvD_BwE</b</b</b</b</b</b</b</b</b</b</b</b</b</b</b</a> </p>

 

</p>



หมายเลขบันทึก: 631109เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2017 02:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2017 02:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท