ฟันดี กินดี อยู่ดี เพราะมี self care (๒)


Self care (๑)    

ตื่นเช้าวันที่สองของการประชุมเชิงปฏิบัติการ  ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐  ย้ายมาที่ห้องประชุม  โรงพยาบาลสระใคร  แบบรักกันมาก  ห้องแน่นเล็กน้อย (โรงแรมไม่ว่าง)

พี่ฝนคนมองโลกในแง่ดี  เหตุปัจจัยที่ดีที่มาใช้ห้องนี้   น้องติดโปสเตอร์ที่ผนัง  ๓  แผ่น  มีหนึ่งแผ่นใหญ่มาก  หนักมาก  ดีที่ไม่ต้องขนไปที่โรงแรม

โปสเตอร์ใหญ่สีฟ้า  ตารางบันได ๕ ขั้น  ใช้ออกชุมชนช่วงปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๖  ได้มาจากปีที่สามของการทำโครงการเครือข่ายชุมชนลูกหลานฟันดี  อำเภอสระใคร  (๘ กย. ๒๕๕๓) เชิญแกนนำชุมชนที่ร่วมกิจกรรมเครือข่าย  มาประชุมประเมินผลแบบมีส่วนร่วม  และกำหนดวิสัยทัศน์เป้าหมายสูงสุด อีก ๓ ปี

อีก ๓ ปีต่อมา  จัดประชุมประเมินผลแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนลูกหลานฟันดีอำเภอสระใครอีก  แกนนำ ๓๘ หมู่บ้าน จากทั้งหมด ๔๑ หมู่บ้าน

ช่วยกันเสนอบทบาทของ ๕ ภาคีที่เกี่ยวข้องสุขภาพเด็ก  ได้บันได ๕ ขั้น ที่แต่ละขั้นซอยย่อยเป็นสีสวยงามตามบทบาทภาคี 

(ระลึกพระคุณ  ดร.พจนา  แย้มนัยนา  ที่ทำไฟล์ต้นฉบับโปสเตอร์สีสวยหวานนี้ส่งตรงจาก USA เสมอนะคะ)

^_,^

ทบทวน เมื่อวาน รู้สึกอย่างไร (13 กค. 2560)

  • (รพ.สต.ห้วยส้ม อ.ภูกระดึง) ประทับใจ เพื่อนร่วมงาน ได้ความรู้  ได้สิ่งดีๆ          ได้แลกเปลี่ยนกัน  ถ้าอยู่บ้านไม่ได้อะไร  ถ้าออกบ้านได้คะแนนเพิ่ม (อยู่บ้านไม่ได้อะไร  ออกนอกบ้าน ได้ 15   ได้ความรู้ไปกระจาย  ทั้งในครอบครัว  ผู้สูงอายุ ฯลฯ  ได้ถ่ายทอดไปในท้องถิ่น  ž
  • ปุ๊ (ทภ. รพ.นากลาง) ดีใจที่ได้มา  เจอเพื่อน  ได้เห็นการทำงานที่ลงไปที่ อสม. กับผู้ปกครอง 0-2 ปี  เพราะที่ รพ.เน้นการทำงานที่ ศพด.  ซึ่งเด็กผุก่อนเข้าศูนย์  คิดมานานแล้วว่า ทำไงจะได้ดูกลุ่ม 0-2 ปี  จะได้ไปพัฒนางาน  มีความภูมิใจ
  • žหมอเตย  รพ.โพนพิสัย  เมื่อวานได้ไปในชุมชน  ปกติทำงานใน รพ. ไม่ค่อยได้ออกชุมชน  ทำให้ได้เห็นว่าการเข้าไปทำกิจกรรมในชุมชน จะทำอะไรได้บ้าง ที่สอดคล้องกับปฏิทินชุมชน  จะได้ความร่วมมือที่มากขึ้น   , ที่โรงแรมพันล้านได้ทำกิจกรรมร่วมกัน  ได้วางแผนด้วยกัน  รู้สึกดีที่ไม่ได้วางแผนคนเดียว  มีพี่อสม.ช่วยคิด ทำให้คิดรอบด้าน

^_,^

การบ้านเมื่อวานก่อนแยกย้าย  ทุกกลุ่มพื้นที่พร้อมนำเสนอมาก  ศักยภาพสูงมาก

นำเสนอแผนการทำงาน ภูกระดึง   เลย (กำนันนำเสนอ)

  • žพื้นที่ทำงาน  ต.ห้วยส้ม  11 หมู่บ้าน ทำทุกหมู่บ้าน มีศูนย์กลาง คือ อปท.ห้วยส้ม จะนัดผู้ปกครอง ให้คุณหมอมาแนะนำ
  • žกิจกรรม มีการให้ความรู้ การแปรงฟัน  ให้เด็ก 0-3 ปี (โดยมีผู้นำชุมชน ผญบ. กำนัน อสม. ท้องถิ่น  รพ. žจะออกแบบสอบถาม (ตอนนี้ทำแล้ว) เพื่อไปสอบถามหาข้อมูลจากชุมชน  มีฟันดี ฟันผุกี่คน
  • žอสม. แนะนำผู้ปกครอง ให้การดูแลข้อมูล มาชี้แจงคุณหมอ ว่ารับผิดชอบกี่คน (ต่อ อสม. 1 คน)
  • žผู้นำชุมชน ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ปกครอง เด็กเข้าร่วมกิจกรรม
  • žอปท. เจ้าของสถานที่และเจ้าของงบประมาณ (กองทุนตำบล)
  • žเจ้าหน้าที่ ให้คำแนะนำ และรักษา   

^_,^

นำเสนอแผนการทำงาน นากลาง  หนองบัวลำภู (หมอกุ๊กนำเสนอ)

  • žอบรม อสม. ทักษะการแปรงฟัน ประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุ โดยเลือก บ้านก่าน       (2 หมู่บ้าน ม. 2 ,16 เลือกเด็กกลุ่มละ 20 คน) และโนนเมือง (โนนสวรรค์ โนนม่วง   มีการประชุม อสม.ทุกเดือน จะนำโครงการนี้เผยแพร่เพื่อเลือก อสม.ที่สมัครใจ       คุณอาคมสันอยากทำ 4 หมู่บ้านในตำบลโนนเมือง หา อสม. ที่สมัครใจ  ต่อจากนั้นจะสอน hand on การแปรงฟัน
  • จุดแข็งของ บ้านก่าน  คือ มีการนัดเด็ก 0-12 ปี เพื่อหยอดยาเสริมธาตุเหล็กและแจกยากิน  น่าจะมีการเพิ่มเรื่องการตรวจฟัน เสริม   เยี่ยมตามบ้าน
  • žจัดอบรมผู้ปกครอง  เพื่อฝึกแปรงฟันแบบปฏิบัติจริง (Hand on)

^_,^

นำเสนอแผนการทำงาน สุวรรณคูหา  หนองบัวลำภู (หมอแอ๊นท์)

  • žพื้นที่ สุขสำราญ 3 หมู่บ้าน (สุขสำราญ นาด่าน ทุ่งสว่าง) เป็นหมู่บ้านที่ตั้งของ รพ.สต. เป็นบ้านแฝด เลือกผู้ปกครองที่สมัครใจ 10 คน ž
  • จัดอบรม อสม. ต้นแบบ เพื่อให้ไปเผยแพร่ให้ อสม.คนอื่นในหมู่บ้าน (เลือกคนที่ใกล้ชิดกับ รพ.สต.ก่อน “อสม.เป็นลมหายใจของเรา”)  ให้ อสม.ไปดูแลคุ้มที่รับผิดชอบ  อบรม อสม. ร่วมกับผู้ปกครองอีก 10 คน  คัดเลือกเด็ก 10 คน      มาสอนแปรงฟันแบบฝึกปฏิบัติ
  • žถ้าผลงานดีจะออกพื้นที่ร่วมกับท้องถิ่นในปีต่อไป 

^_,^

นำเสนอแผนการทำงาน  วังสะพุง จ.เลย

  • พื้นที่ของ รพ.สต.โคกขมิ้น  มี 7 หมู่บ้าน จะเลือกนำร่อง 2 หมู่บ้าน
  • žตอนนี้ทำโครงการของกองทุนสุขภาพตำบล จึงเข้ากลุ่มเป้าหมายตรงกัน จึงจะมี 2 รอบที่ทำ  รอบแรกโครงการของกองทุนทำ 7 หมู่บ้าน
  • žกลุ่มเป้าหมาย คือ หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก 0-2 ปี (โครงการกองทุน) ฝึกแปรงฟันให้กับหญิงตั้งครรภ์ และผู้ปกครองของเด็ก
  • อบรม อสม. และผู้ดูแลเด็ก (เป็นกลุ่มที่นอกเหนือจากโครงการจากกองทุน)  ให้ความรู้ ฝึกทักษะแปรงฟัน
  • žบทบาท
    • อสม ติดตามเฝ้าระวังทุก 1 เดือน ในกลุ่มที่รับผิดชอบในคุ้ม
    • ผู้นำ ประสานงาน ประชาสัมพันธ์
    • อปท. สนับสนุนงบ
    • เจ้าหน้าที่อื่น  นักวิชาการ พยาบาล เป็นคณะทำงาน ในการอำนวยความสะดวก

^_,^

นำเสนอแผนการทำงานของ อ.โพนพิสัย หนองคาย (น้องอ๋อย)

  • žมี 8 หมู่บ้าน มีเด็ก 100 คน  มีบ้านนำร่อง 4 หมู่บ้าน ที่ให้ความร่วมมือ มีเด็ก 0-2 ปี จำนวน 40 คน
  • žกิจกรรม
    • ให้ความรู้ผู้ปกครอง (ตรวจฟัน/แปรงฟัน/อาหาร) 
    • ทำในหมู่บ้าน แยกเป็น บ้านที่ใกล้กัน (ลง 2-3 ครั้ง)
    • ทำกิจกรรมกับ อสม.ตอนที่มาประชุมประจำเดือน
    • วางแผนร่วมกับ อสม.ตอนลงพื้นที่
    • การประเมินการเปลี่ยนแปลง ดูจากความร่วมมือของเด็กในการแปรงฟัน
    • ประกวด ถ้าความร่วมมือดีจะจัดประกวด ž
  • บทบาท
    • รพ.ทำสื่อ ให้ความรู้  ทันตาภิบาลเข้าไปเยี่ยมบ้านกับ อสม. ประมาณเดือนละ ครั้ง ยกเว้นเดือน ส.ค. จะเข้าเดือนละ 2 ครั้ง (เพราะทุกวันศุกร์ไปดูลูกน้ำยุงลาย)
    • รพ.สต.ทำข้อมูลเด็ก
    • ผู้นำชุมชน ประชาสัมพันธ์

^_,^

คุยกันต่อ เพื่อให้งานของเราชัดเจนขึ้น

  • ค้นหา คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย (0-5 หรือ 0-2 ปี) ต้องบอกให้ชัด เพื่อให้ อสม.ไปเลือกถูก และได้ไปคุยกับแม่ว่า ใครมีแนวโน้มอยากทำงานกับเรา  หรืออาจเลือกทุกคน (ต้องกลับไปดูคนในหมู่บ้านก่อน  เพราะที่สระใคร  ใน 1 คุ้ม มีเด็ก 3-4คน)  สรุปว่า ต้องไปดูข้อมูลของพื้นที่ตัวเอง  จะได้วางแผนได้เหมาะสม
  • คุยกับ อสม. ว่าเราจะทำอะไร และฝึกแปรงฟัน อสม.ไปด้วยเลย (ถ้า อสม.ยังไม่มั่นใจในการสอน)   พร้อมฝึกการใช้หลอด  เพื่อตรวจสอบโดยใช้หลอด และจะไปสอนผู้ปกครองต่อได้หรือไม่
  • รพ.สต.และ อสม. วางแผนร่วมกัน ว่าจะตรวจอะไรบ้าง  สอนอะไรกับผู้ปกครองเด็กบ้าง  วางแผนว่าจะไปทำตอนไหน
  • ลองกำหนดช่วงเวลาทำกิจกรรมแต่ละอย่างที่คิดไว้    (ทำอะไรวันไหน  เดือนไหน)

^_,^

แผนงาน  พึ่งตนเองด้านสุขภาพช่องปาก  รพ.สต.บ้านฝาง  อ.สระใคร  หนองคาย (น้องกิ่งนำเสนอ)

เป้าหมาย  บ้านห้วยทรายและบ้านตอแก ต.บ้านฝาง  อ.สระใคร  จ.หนองคาย

              เด็ก 0-3 ปี  40 คน  ผู้นำชุมชน  กม.  ผู้ปกครอง  อสม.

กิจกรรม

เวลา

ผู้รับผิดชอบ

งบประมาณ

การประเมินผล

1.ประชุมวางแผน

แบบมีส่วนร่วม ผู้นำชุมชน  อสม. ผปค.

-สาธิต ฝึกแปรงฟัน ตรวจความสะอาด

ต้น สค. 2560

ทีมหมอครอบครัว

ต.บ้านฝาง

ทีมช่องปาก

คปสอ.สระใคร

ค่าอาหารว่าง/กลางวัน/เครื่องดื่ม

ค่าวัสดุสาธิต

ค่าสื่อ

ค่าวิทยากร

-จำนวนคน  ใครบ้าง  กม.  อสม.  ผปค.  เด็ก

-ผลประชุม  แผนงาน  กิจกรรม

 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 

2. ติดตาม เยี่ยมเสริมพลัง   ดูทักษะการแปรง  ประเมินความสะอาด

กลาง-ปลาย

สค./

กย./ตค. 60

ทีมหมอครอบครัว

ค่าสมุดบันทึกหนูน้อยฟันดี

-มีผลตรวจความสะอาดฟันเด็ก  โดย ผปค.ทุกวัน (หลอด) / ฟันผุ

และซ้ำโดย อสม. 1 สัปดาห์/ครั้ง

3. ทีมหมอครอบครัวและ อสม. รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ในที่ประชุม อสม.

ตค. 60

ทีมหมอครอบครัว

 อสม.

ค่าอาหารว่าง

- ร้อยละเด็กฟันสะอาด /ฟันผุ

4. ประชุมภาคี

คืนข้อมูล  หาแนวทางร่วมพัฒนากิจกรรม

ในรอบต่อไป

ปลาย ตค. 60

ทีมหมอครอบครัว

ต.บ้านฝาง

ทีมช่องปาก

คปสอ.สระใคร

ค่าอาหารว่าง/กลางวัน/เครื่องดื่ม

ค่าวิทยากร

ค่าวัสดุสำนักงาน

-จำนวนคน  ใครบ้าง

-ผลประชุม

-ร้อยละเด็กฟันสะอาด /ฟันผุ -สิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้น

^_,^

ข้อเสนอแนะจาก  ดร.ทพญ.วิไลพร  สุตันไชยนนท์  มข.

  • žพื้นที่อาจไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นกิจกรรมเดียวกัน ทีมทำงานอาจต้องใช้เวลาพูดคุยกัน ว่ากิจกรรมอะไรที่เหมาะกับพื้นที่เรา
  • žอย่าโลภในการทำกิจกรรม และเวลาทำงานต้องเข้าใจว่า ต้องใช้เวลาในการทำงาน  ค่อยๆทำ  ทำช้าๆ แต่หวังผลให้เขามีสุขภาพที่ดี  (ไม่ใช่แค่ฟันดี)  ž
  • ฝากไว้ว่า ค่อยๆ เริ่มทำ คุยเยอะๆ žแล้วเอาผลงานมาแลกเปลี่ยนกัน  เพื่อนำสิ่งที่ทำได้ไปประยุกต์ใช้  ž
  • ค่อยๆเปลี่ยนมันจะยั่งยืน  ž
  • อาจารย์ยังไม่เคยทำของจริง  ดีใจที่ได้มาฟังพื้นที่ทำงาน  พวกเราทุกคนเป็นครูในพื้นที่สำหรับอาจารย์

^_,^

เพิ่มเติมหลังนำเสนอแผน  (หมออ้อ)

  • žเสน่ห์ของวงแลกเปลี่ยน  จะทำให้พื้นที่ทำงานแบบก้าวกระโดด
  • žเทคนิคการชวนคุย  เน้น การเข้าเชิงบวก  ยังไม่ต้องคุยเรื่องปัญหา  ชวนคุยว่า อยากเห็นลูกหลานแบบไหน  ให้เขาคุยมาเอง แล้วเรานำมาสรุปภาพฝันร่วมกัน แล้วจึงคืนข้อมูลปัญหา   การมีข้อมูล  ควรมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง อสม. และแกนนำชุมชน จะได้มองได้รอบด้าน 
  • žมองช่องว่างระหว่างภาพฝันและปัญหา จะเป็นส่วนที่เราจะพัฒนาร่วมกัน      และแต่ละคนที่เกี่ยวข้องต้องเป็นคนบอกเองว่า “เราจะทำอะไร”  เป็นพันธสัญญา ที่มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จสูง  อย่าไปบอกว่า  ต้องให้คนอื่นทำอะไร

^_,^

อ.สุรัตน์  ทพญ.วรางคณา  เพิ่มเติมหลังนำเสนอแผน 

  • žต่อไปจะมี อสม.เชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพ
  • žที่เราคุย เป็นกิจกรรมที่เราจะทำ  มีหลายแห่งบอกว่า เราจะทำซ้ำทุกๆ กี่เดือน เรียกว่า การเฝ้าดู เฝ้าระวัง  เป็นกิจกรรมที่เราทำอยู่และมีการทำซ้ำ  เมื่อไหร่
  • žวงจรการเฝ้าระวัง 
    • จอบ การเก็บข้อมูล เป็นรอบ ระยะๆ
    • แจ้ง เอาข้อมูลไปบอกใครบ้าง ผปค. /จนท. ท้องถิ่น
    • จัดการ ช่วยกันหาทางแก้ปัญหา 
  • อยากให้ ผปค. อสม. มาร่วมกันคิด วิเคราะห์ ข้อมูลฟันผุ ด้วยกันกับ จนท.
  • žที่คอกช้าง  เราเห็นรายละเอียดของงาน จะทำช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น แม่แปรงฟันคล่องแคล่ว และเด็กให้ความร่วมมือ, และเด็กที่ได้รับการ  แปรงฟันสม่ำเสมอ ขี้ฟันจะไม่ค่อยเกาะ
  • žแม่แปรงฟันให้ลูกอย่างแข็งขัน  เห็นแม่เอาปลายหลอดมาเขี่ยฟันลูก เพื่อดูความสะอาดหลังแปรง  เมื่อก่อน ให้แม่แปรงฟันแล้วก็ปล่อย  และมีเหตุการณ์ที่ว่าแปรงฟันทุกวันทำไมฟันผุ  ตอนนี้จึงหาวิธีการเพื่อจะช่วยดูว่าแปรงแล้วสะอาดหรือยัง
  • žการจะให้แม่เริ่มขูดขี้ฟันด้วยปลายหลอดได้ถนัด  จำเป็นจะต้องมีการฝึกคนที่จะไปสอนแม่ต่อ  จึงต้องมีกิจกรรม อบรม อสม.ให้สามารถตรวจฟัน, ตรวจสอบความสะอาดหลังการแปรงฟัน  เพราะก่อนที่ฟันจะผุ  ต้องต้องตรวจขี้ฟันเป็นก่อน (เพราะก่อนเกิดรู ก็จะมีขี้ฟันเกาะฟันก่อน)

^_,^

^_,^

ล้อมวง ประเมินผลหลังเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • ž(พ่อกำนัน) เป็นเวลาน้อยนิด ที่เป็นความประทับใจ เห็นการต้อนรับด้วยข้าวต้มผัดที่บ้านพลายงาม  เห็นเด็กน้อย ที่ไม่ต่อต้านช่วงแปรงฟัน  เป้าหมายที่ได้ตั้งใจมาอำเภอสระใคร ได้แล้ว ได้แผนงาน คาดหวังขอให้ทำได้สำเร็จ เหมือนสระใคร
  • ž(นง สสจ.เลย) ประทับใจ สระใคร พื้นที่ต้นแบบ รู้สึกถึงความอบอุ่นของชุมชน  ฝ่ายสนับสนุนระดับจังหวัดจะพยายามดูแลพื้นที่ คาดว่าอีก ๑-๒ ปี จะขยายให้ครบ  ๑๔ อำเภอ
  • ž(วังสะพุง) รู้สึกดีมากๆ เพราะวังสะพุง ได้รับโอกาส ให้เข้าร่วมเรียนรู้  วังสะพุงเป็นอำเภอใหญ่ ไม่ค่อยได้ลงชุมชนจริงจัง  พอได้มาดู ก็จะทำพื้นที่นำร่อง และจะให้พื้นที่อื่นมาร่วมเรียนรู้
  • žได้รับการต่อยอดจากรอบที่แล้ว (ค่ากลาง) เห็นความชัดเจนที่จะกลับไปทำต่อที่พื้นที่  กิจกรรมเป็นสิ่งที่ทำอยู่แล้ว  แต่ไม่ได้เจาะจงอย่างเข้มข้น  ในพื้นที่นำร่องจะทำให้ชัดเจนก่อนต่อยอด
  • ž(หมอกุ๊ก) ประทับใจพี่ๆ อสม. ในทีม  ตอนเขียนโครงการมองไม่ออก  พอพี่ได้มาเติมเต็มก็ชัดขึ้น
  • ž(ปุ๊ นากลาง) มาต่อยอดจากครั้งที่แล้ว  ประทับใจหมออ้อ และน้องอ๊อบ  ชื่นชม จะนำไปเป็นแบบอย่าง  ชาวบ้านโอเค มีความผูกพัน คุยกันเข้าใจง่าย ที่นากลางต้องอาศัยเวลา ž
  • (หมออ้อ) เริ่มทำงานกับเด็ก ใครๆ ก็อยากเข้าร่วม  ขอให้ให้กำลังใจตัวเองให้เป็นในการทำงานอย่างมีความสุข  มีสิ่งยึดเหนี่ยวให้ทำสิ่งดี ๆ  เหมือนทำให้คนบ้านเดียวกัน  เพื่อนบ้านของเรา  คนในพื้นที่ของเราเอง  ถึงแม้จะเป็นคนอุดรมาทำงานที่สระใคร ๑๓ปี  ตอนนี้เป็นคนสระใครแล้ว

^_,^

คุณหมอล่า  หัวหน้ากลุ่มงานทันตสาธารณสุข  สสจ.หนองคาย  กล่าวปิดประชุม

ขอชื่นชมทุกท่านที่อยู่จนจบ  รู้สึกยินดี ที่คนที่มามีแกนนำจากชุมชน และได้รู้จักกัน    เกิดเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการแล้ว  สามารถสื่อสารถึงกันได้ การทำงานไม่มีจบสิ้น ค่อยๆทำ การพัฒนาเริ่มจากจุดเล็กๆ ของสระใครเริ่มจาก ๑  ไม่เริ่มจากขั้นที่ ๕  ให้กำลังใจทุกทีม เราเป็นแกนนำขั้นต้น เราต้องไปหาคนร่วม สะสมกันไปเรื่อยๆ กว่าจะได้ใจกัน  ได้ความรู้ตอนนี้ กว่าจะพัฒนาเป็นปัญญาได้ต้องใช้เวลา  ไม่ต้องคิดว่าจะได้ทุกคนมาเป็นทีม ให้เริ่มจากจุดเล็กๆ เป็นกำลังใจให้ 

ฝาก  ๓ ช  ชี้ให้ได้ว่าเป้าหมายเราจะทำอะไร ทีมคือใคร ชวนเขาทำ อย่าไปบังคับ งานนี้เป็นงานอาสา ไม่งั้นจะไม่ยั่งยืน  ชื่นชมกัน เมื่อทำดีแล้ว (เช่นสระใคร มีการแข่งขันกันแบบไม่เอาเป็นเอาตาย )

^_,^

แยกย้ายกันด้วยแรงบันดาลใจ  ประสบการณ์  บทเรียน  ความสุข  ความหวัง  และความฝัน 

เพื่อเด็ก ๆ อนาคตชาติ  อนาคตเรา

เดี๋ยวคงมีการนัดดหมายพบปะ  แลกเปลี่ยนความรู้  ระดมจิตใจพวกเรา   เพื่อร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเป็นระยะ ๆ  ต่อไป  นะคะ

ราตรีสวัสดิ์ก่อนแปรงฟันจ่ะ

พบกันใหม่นะคะ

^_,^



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท