ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๒๖. เพิ่มอัตราตอบสนอง



บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano  ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง

ตอนที่ ๒๖ เพิ่มอัตราตอบสนอง  ตีความจาก Element 24 : Increasing Response Rate

การเพิ่มอัตราตอบสนองของนักเรียนต่อคำถามของครู เป็นการเพิ่มใจจดจ่อต่อบทเรียนของนักเรียน    โดยมีหลักการคือ การตั้งคำถามของครูอาจมีผลเพิ่มหรือลดใจจดจ่อก็ได้   ขึ้นกับวิธีการจัดการชั้นเรียนของครู   หากครูตั้งคำถาม แล้วให้นักเรียนคนที่ยกมือเป็นผู้ตอบตอบ ผลคือในขณะนั้นอาจมีนักเรียนที่ใจจดจ่อเพียงคนเดียว    ดังนั้น เพื่อให้นักเรียนทุกคนหรือเกือบทุกคนมีใจจดจ่อ จึงต้องมีวิธีให้นักเรียนจำนวนมากได้ตอบ  

คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการวางแผนจัดระบบให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน คือ   “ครูจะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มอัตราตอบสนองของนักเรียน”

ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้เพิ่มอัตราตอบสนองของนักเรียน มีดังต่อไปนี้










เครื่องมือแต่ละยุทธศาสตร์มีกลไกสร้างใจจดจ่อของนักเรียนแตกต่างกัน   เช่น “กระดานตอบ” นักเรียนทุกคนตอบ  นักเรียนทุกคนจึงต้องจดจ่อ   บางยุทธศาสตร์มีผลสร้างความจดจ่อสั้นนิดเดียว เช่น “ให้เวลาคิด” สร้างความจดจ่อ ๓ วินาที   แต่บางยุทธศาสตร์เช่น “ตอบต่อเนื่อง” เมื่อครูตั้งคำถาม นักเรียนทุกคนต้องจดจ่อ เพราะต้องเตรียมตอบหากครูชี้ ยิ่งครูใช้วิธีสุ่มชื่อ ทุกคนยิ่งต้องจดจ่อ   เมื่อครูเรียกให้คนแรกตอบ ทุกคนที่เหลือก็ต้องจดจ่อ เพราะอาจถูกเรียกให้อธิบายต่อ


  

เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล   จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

·       นักเรียนตอบสนองต่อคำถาม

·       นักเรียนสนใจคำตอบของเพื่อน

·       นักเรียนสามารถอธิบายความคิดที่นำไปสู่คำตอบได้

·       นักเรียนตระหนักว่าครูคาดหวังให้นักเรียนทุกคนตอบคำถาม


วิจารณ์ พานิช

๙ เม.ย. ๖๐

หมายเลขบันทึก: 630451เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2017 08:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2017 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท