A train to Busan : ว่าด้วยเรื่องครอบครัว สุดท้ายเป็นการกดสิทธิของสตรี


A train to Busan หรือ ด่วนนรกซอมบี้คลั่ง หนังสัญชาติเกาหลี ซึ่งได้รับกระแสตอบรับอย่างดีเกินคาดจากงานเทศกาลคานส์ 2016 ว่าเป็นหนังซอมบี้ที่ดีที่สุดในงานเทศกาลเลย กำกับและเขียนบทโดย Sang-ho Yeon ที่พัฒนามาจากหนังอนิเมชั่นของตัวเองเรื่อง Seoul Station (2016) นำแสดงโดยกงยู (Goog Yoo)


Train to Busan ว่าด้วยเรื่องราวของสองพ่อลูกที่กำลังเดินทางไปปูซานโดยรถไฟในระหว่างที่ทั่วทั้งเมืองกำลังเริ่มมีเชื้อไวรัสแพร่ระบาด เพราะการรั่วไหลของบางสิ่งที่อยู่ในโครงการของพระเอก และเจ้าเชื้อไวรัสก็ดันหลุดรอดขึ้นมาบนรถไฟจนได้โดยหญิงคนหนึ่ง ทำให้ผู้คนทั้งขบวนกลายเป็นซอมบี้ไปหมด ด้วยความรักที่พ่อมีต่อลูก จึงต้องปกป้องและสู้สุดความสามารถเพื่อเอาชีวิตรอดไปพร้อมๆกับกลุ่มคนที่ยังไม่กลายร่าง ชนิดที่จะลงหรืออยู่บนขบวนก็ไม่ปลอดภัยทั้งนั้น


แม้ในตอนต้นของ Train to Busan อาจจะปูเรื่องเฉื่อยเหนื่อยไปสักหน่อย เมื่อเทียบกับจังหวะหนังทั้งเรื่องที่เมื่อขึ้นรถไฟแล้วก็ลุ้นระทึกและถึงจุดสุดยอดขึ้นไปเรื่อยๆทั้งเรื่องจนจบแบบไม่กล้าหายใจ ซึ่งจริงๆแล้วมันก็คือการปูในจังหวะปกตินั่นแหละ แต่แค่ส่วนที่เหลือของหนังจังหวะเร็วและกระชับมากแค่นั้นเอง จึงทำให้ 10 นาทีแรกตอนเริ่มเรื่องรู้สึกช้าไปบ้าง แต่การปูนี้ก็คือส่วนสำคัญของเรื่องที่มาตอบโจทย์ทีละข้อๆในระหว่างทางของหนังถึงจบนั่นเอง


แถมซอมบี้ในเรื่องนี้ ยังเป็นสายพันธุ์เดียวกับซอมบี้ในหนังเรื่องต่างๆ กล่าวคือมีความรวดเร็ว ว่องไว วิ่งไล่ตามได้ และหาอาหารกันเป็นทีมอีกด้วย ถึงซอมบี้จะมีจุดอ่อนที่ต่างกัน แต่ก็ถือว่าเป็นจุดบอดของซอมบี้ที่ทำออกมาทำได้ดีมากๆ  ซอมบี้ในหนังเรื่องนี้มีจุดอ่อนอยู่ 2 ประการ ก็คือ ไม่รู้การเปิดปิดประตู และต้องอาศัยแสงในการตามหาคน


โดยสรุป Train to Busan ฉากหนีและฉากต่อสู้นั้นออกแบบมาได้ใจมากโดยเฉพาะฉากแพมนุษย์นี่ค่อนข้างแปลกและตลกดี แถมหนังยังครบรส ทั้งตลกร้ายที่ขำออกมาเป็นเสียงหัวเราะได้ น่ากลัว ลุ้น ระทึก ตื่นเต้น น่ารัก และซึ้งจนน้ำตาเล็ดในตอนสุดท้าย


เรียกได้ว่าหนังกลมกล่อมมาก ที่สำคัญคือ แม้ว่ามันจะเป็นหนังซอมบี้ แต่ส่วนตัวขอบอกเลยว่า จริงๆแล้วมันคือหนังครอบครัวที่สามารถพาเด็กๆไปดูได้ เพราะไม่มีเรื่องยาและเรื่องทางเพศ ส่วนฉากจัดการซอมบี้ก็เป็นการจัดการแบบเบาๆไม่โหดร้ายป่าเถื่อนเมื่อเทียบกับการฆ่าซอมบี้ของเรื่องอื่นๆ เพราะตัวละครนำเป็นทั้งเด็ก ผู้หญิง คนแก่ สามีคู่หนึ่ง เด็กนักเรียน คนเห็นแก่ตัว และผู้เป็นพ่อ นั่นเอง มันจึงทำให้โทนหนังอ่อนลงในแง่ของความโหดร้ายมากและประเด็นของหนังทั้งหมดก็คือ เรื่องของครอบครัว มันจึงเป็นหนังที่ส่วนตัวเห็นว่า เป็นหนังที่น่ารักไปโดยปริยาย ทั้งยังนำเสนอความเห็นแก่ตัวของจิตใจมนุษย์ได้ดี เด็กๆไปดูก็สามารถสอนควบคู่กันไปได้ดีเลยหละครับ


อีกส่วนที่ดีของหนังก็คือ มีแคสติ้งนักแสดงที่เหมาะสม เล่นสมบทบาท ไม่เล่นกันจนเกินไป (over acting) กงยู (พระเอก) คู่สามีภรรยา เด็กนักเรียน ม. ปลาย ซูอันลูกสาวของกงยู ฯลฯ หน้าตาดีเป็นธรรมชาติเหมือน เล่นได้สมบทบาทมากๆ


เดี๋ยวมาแวะดูตัวละครแต่ละตัวกันดีกว่า ว่าหนังจะเสนอเรื่องอะไร ไว้ต่อครางหน้านะครับ

.............................

หมายเลขบันทึก: 630312เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2017 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2017 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับ

-เริ่มอ่านและน่าลุ้นครับ

-ตามไปตอน 2 เลย 55

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท