ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๑๘. เน้นความรู้ที่สำคัญยิ่งยวด


บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง


ตอนที่ ๑๘ เน้นความรู้ที่สำคัญยิ่งยวดตีความจาก Element 16 : How will I highlight critical information?


ผมมองว่า ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ การจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ เป็นทักษะชีวิตอย่างหนึ่ง ยิ่งการจัดลำดับความสำคัญของความรู้ยิ่งเป็นทักษะที่สำคัญ เพราะยุคนี้เป็นยุค “ความรู้ท่วมท้น” (knowledge explosion) นักเรียนจึงควรได้รับประโยชน์จากตอนนี้สองชั้น คือได้เรียนความรู้แบบพุ่งเป้าความรู้ที่สำคัญ ไม่ใช่เรียนแบบเประไปหมด กับได้ประโยชน์จากการฝึกทักษะการจัดลำดับความสำคัญของความรู้หรือสารสนเทศ


ครูต้องสอนแบบยกความรู้ที่สำคัญยิ่งยวดมาเน้น และชี้ให้นักเรียนเห็นว่าความรู้ส่วนไหนสำคัญมาก และสำคัญอย่างไร ส่วนไหนสำคัญน้อย หากครูไม่ระมัดระวังเรื่องนี้ นักเรียนก็จะถูกเทความรู้ใส่มากมายจนตั้งตัวไม่ติด และผมขอเพิ่มเติมว่า ครูก็จะรู้สึกว่าสอนไม่ทัน

คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการเน้นความรู้ที่สำคัญยิ่งยวด คือ “ครูจะเน้นความรู้ที่สำคัญยิ่งยวดได้อย่างไร”

ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้เน้นความรู้ที่สำคัญยิ่งยวด มีดังต่อไปนี้




ยุทธศาสตร์กระตุ้นความรู้เดิมนี้ บางวิธีการใช้เวลานิดเดียวในตอนต้นชั่วโมง โดยครูพูดโยงสู่บทเรียนหรือกิจกรรมที่เพิ่งผ่านไป บางกิจกรรมใช้ได้ต่อเนื่องตลอดหน่วยเรียนรู้ เช่นกิจกรรม K-W-L


เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนสามารถอธิบายระดับความสำคัญของความรู้แต่ละชิ้น
  • นักเรียนอธิบายได้ว่า ทำไมบางสาระจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้
  • นักเรียนปรับระดับความสนใจ เมื่อครูสอนความรู้ที่สำคัญยิ่งยวด



วิจารณ์ พานิช

๗ เม.ย. ๖๐

หมายเลขบันทึก: 629620เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2017 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2017 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท