​สรุปการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 70


ต้องมีความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการคลัง ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อพัฒนากําลังคนด้านสขุ ภาพและยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ

สรุปการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 70

โดย ศาสตราจารย์เรืออากาศเอกหญิงแพทย์หญิงวณิชา ชื่นกองแก้ว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และเลขานุการมูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (ศสช)

ตามธรรมนูญขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ระบุให้มีการจัดประชุมสมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly) เป็นประจําทุกปี ปีละหนึ่งครั้ง เพื่อให้ประเทศสมาชิกร่วมกันกําหนดทิศทางและนโยบายสุขภาพโลก โดยการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 70 นี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ.2560 ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม 194 ประเทศ คณะผู้แทนไทยนําทีมโดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประเด็นสุขภาพนั้นเป็นความเชื่อมโยงในหลายมิติ องค์ประกอบของผู้เข้าร่วมประชุมจึงมาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 53 คน ได้แก่ ทีมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข คณะผู้แทนถาวรไทยประจําสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ทีมนักวิชาการที่ทํางานด้านเนื้อหาสาระเพื่อสรุปท่าทีของประเทศและแสดงถ้อยแถลง (intervention) ซึ่งนําทีมโดยผู้ทรงคุณวุฒิของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ และนายแพทย์วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร สังกัดสํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ นายแพทย์สมศักดิ์ อคั รศิลป์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยในการเข้าร่วมประชุมทุกคนจะต้องได้รับตราสารแต่งตั้งเป็นผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศ (credential)

พิธีเปิดการประชุมสมัชชาอนามัยโลก

สุนทรพจน์ โดย ดร. มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก

ดร. มาร์กาเร็ต ชาน กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดประชุม สรุปใจความดังนี้ กล่าวถึงการทํางานในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินปี 2551 องค์การอนามัยโลกต้องรัดเข็มขัดในการบริหารจัดการ หลังจากนั้นองค์การต้องเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติต่างๆ เช่น ในปี พ.ศ. 2559 เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายข้ามชาติ ทําให้มีการโจมตีสถานบริการด้านสุขภาพจํานวนมากกว่า 300 ครั้ง ครอบคลุมถึง 20 ประเทศ ปี พ.ศ. 2555 อุบัติการการเกิดโรคติดเชื้อใหม่ เช่น โรค MERS ในปี พ.ศ. 2556 โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H7N9 ในปีพ.ศ. 2557 โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า ทําให้มีการผลิตวัคซีนป้องกันโรคอีโบล่าในเวลาต่อมา

เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ทําให้องค์การอนามัยโลกมีประสบการณ์อย่างมากในการค้นคว้าวิจัย และพัฒนานวัตกรรม ทําให้เกิดกลุ่มสมาพันธ์ตั้งรับผลกระทบต่อวิกฤตโลกดังกล่าว

สิ่งที่สําคัญอีกประการหนงึ่ คือการพัฒนายาและยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง เพื่อรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ในปีพ.ศ. 2556 องค์การอนามัยโลกได้รับมติปัญหาสุขภาพจิต เป็นประเด็นรีบด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขการผลักดันมติสหประชาชาติเรื่องสุขภาพดีถ้วนหน้ามุ่งสู่การพฒั นาที่ยั่งยืนค.ศ.2030 ด้วยหลัก 5P คือ People, Planet, Peace, Prosperity, และ Partnership

ก้าวต่อไปขององค์การอนามัยโลกมุ่งเน้นประเด็นการกําจัดภาวะเด็กอ้วน ซึ่งเป็นภาวะทที่ ําให้เกิดโรคชนิดไม่ติดต่อเพื่มขึ้น การกําจัดโรคโปลิโอ โรค Dracunculiasis และมุ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการรักษาโรค การเกิดการเกิดสิ่งใหม่ใหม่ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินทางปัญญา การสร้างกรอบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อพัฒนายาปฏิชีวนะชนิดที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการรักษาการติดเชื้อใน กระแสเลือด ยาและเวชภัณฑ์ในการรักษาโรคมะเร็งที่มีราคาไม่แพง การทําให้เกิดความร่วมมือจากองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ

ดร. มาร์กาเร็ต ชาน กล่าวจบสุนทรพจน์ด้วยการขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการทําให้เกิดการพัฒนาทางด้านสุขภาพในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา

ถ้อยแถลงโดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ในพิธีเปิดประชุม ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร ได้กล่าวถ้อยแถลงที่จะผลักดันให้ประเทศไทยประสบความสําเร็จในวาระ”การสร้างระบบเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นในช่วงเวลาของการพัฒ นาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030” (Building Better Systems for Health in the Age of Sustainable Development) ซึ่งต้องอาศัยแรงผลกั ดัน 3 ด้าน คือ

1. การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน เพื่อร่วมกําหนดนโยบายสาธารณะทางด้านสุขภาพ เวทีสมัชชาสุขภาพประเทศไทยเป็นตัวอย่างความสําเร็จด้านนี้

2. การมีวิสัยทัศน์ และความไว้วางใจกัน เป็นหลักสําคัญในการทํางานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 3. ต้องมีความโปร่งใสและเชื่อถือได้

“Health in All policies and All in Health Policy” ทุกนโยบายต้องเกี่ยวข้องกับสุขภาพและภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในนโยบายสุขภาพเพื่อมุ่งสู่ความสําเร็จ

การเลือกตั้งผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก

ประเด็นที่สําคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ การเลือกตั้งผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสมัชชาอนามัยโลก เดือน ม.ค. 2560 มีผู้สมัครที่ได้รับการเลือกเข้ารอบสุดท้าย 3 ท่าน ได้แก่

  • ดร. เท็ดรอส แอดานอม เกเบรเยซัส 

  • ดร. เดวิด เเนโบโร 

  • ดร.ซาเนีย นืชธาร์ 


โดยมีระเบียบในการสรรหาดังนี้ การเลือกตั้งรอบนี้มีจํานวนประเทศที่มีสิทธลิ์ งคะแนนเสียงเลือกตั้ง 18ุ6 ประเทศ ไม่มีผู้แทน 1 ประเทศ เหลือจํานวนประเทศที่มลี งคะแนนเสียงเลือกตั้ง 18ุ5 ประเทศ
รอบที่ 1 คัดเหลือผู้สมัคร 2 ท่านที่ได้คะแนนสูงสุด และได้คะแนนอันดับ 2

ผลการเลือกตั้งรอบที่ 1 ดร. เท็ดรอส แอดานอม เกเบรเยซัส ได้ 95 คะแนน 2. ดร.เดวิด เเนโบโร ได้ 52 คะแนน 3. ดร.ซาเนีย นืชธาร์ ได้ 38 คะแนน
รอบที่ 2 คัดเหลือผู้สมัคร 1 ท่านที่ได้คะแนนเสียง จํานวน 2/3 ของจํานวนประเทศที่มีสิทธลิ์ งคะแนนเสียงเลือกตั้ง 183 ประเทศ (122 ประเทศ)

ผลการเลือกตั้งรอบที่ 2 มปี ระเทศที่ไม่ลงคะแนนเสียง 2 ประเทศ
1 ดร. เท็ดรอส แอดานอม เกเบรเยซัส ได้ 121 คะแนน 2. ดร.เดวิด เเนโบโร ได้ 62 คะแนน
รอบที่ 3 คัดเหลือผู้สมัคร 1 ท่านที่ได้คะแนนเสียงจํานวน 1/2 (98 ประเทศ)
ผลการเลือกตั้งรอบที่ 3 1 ดร. เท็ดรอส แอดานอม เกเบรเยซัส ได้ 133 คะแนน 2. ดร.เดวิด เเนโบโร ได้ 50 คะแนน ผลการเลือกตั้งรอบที่ 3 ถือเป็นสิ้นสุด
รอบที่ 4 คัดเหลือผู้สมัคร 1 ท่านที่ได้คะแนนเสียงข้างมาก

สาระสําคัญของประเด็นหรือร่างมติที่เสนอ การประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 70

ระเบียบวาระกําลังคนและแผนปฏิบัติ 5 ปี ตามข้อเสนอคณะกรรมาธิการการระดับสูงว่าด้วยการเพิ่มอัตรากําลังคนด้านสุขภาพเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ความเดิม องค์การอนามัยโลกสํานักงานใหญ่ ณ นครเจนีวาได้จัดการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 66 ณ Palais des Nationals นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส พ.ศ. 2556 คณะผู้แทนไทยร่วมกับภาคีประเทศสมาชิกทั้ง 6 ภูมิภาคได้เสนอมติ Transformative Health Workforce Education in support of the Universal Health Coverage {A66/A/CONF./2 Rev1}/ โดยสรุปมติดังกล่าวเสนอให้ประเทศสมาชิกสร้างเสริมพัฒนาการศึกษาบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ผลักดันให้เป็นนโยบายแห่งชาติเพื่อสนับสนุน Universal Health Coverage และรายงานผลการประเมินสถานการณ์ และแผนงานในการขับเคลื่อนนโยบายระดับชาติตามมติในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 69 ในปี พ.ศ. 2559 และรายงานยุทธศาสตร์โลกว่าด้วยการปฏิรูประบบการผลิตบุคลากรสุขภาพรวมทั้งรายงานผลการปฏิบัติตามมติในการประชุมสมัช ชาอนามัยโลกครั้งที่ 70 ในปี พ.ศ. 2560

ในปีพ.ศ. 2560 ได้มีการเสนอร่างมติ ระเบียบวาระกําลังคนและผลการปฏิบัติตามข้อเสนอคณะกรรมาธิการการระดับสูงว่าด้วยการเพิ่มอัตรากําลังคนด้านสุขภาพเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

สาระสําคัญของวาระ

“คณะกรรมาธิการการระดับสูงว่าด้วยการเพิ่มอัตรากําลังคนด้านสุขภาพเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”ซึ่งแต่งตั้งโดย เลขาธิการสหประชาชาตินายบันคีมูน สืบเนื่องจากมติสหประชาชาติ UNGA A/RES/70/183 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมกันจัดทําข้อเสนอแนะเพื่อกระตุ้นและเป็นแนวทางในการจ้างงานบุคลากรทางด้านสุขภาพและสังคมอย่างน้อยที่สุด 40 ล้านตําแหน่ง เพื่อลดการขาดแคลนอัตรากําลังคนด้านสุขภาพ จํานวน 18 ล้านคนโดยเฉพาะในประเทศ low- และ lower- middle- income countries ภายในปี ค.ศ.2030

คณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว เสนอข้อคิดเห็นว่าการให้มีการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (SDG) ในด้านการขจัดภาวะยากจน (SDG 1) เกิดสุขภาวะที่ดี (SDG 3) การศึกษาเรียนรอู้ ย่างมีคุณภาพ (SDG 4) ความเสมอภาคทางเพศ (SDG 5) และภาวะการมีงานทําที่เหมาะสมและการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ (SDG 8) ประเทศสมาชิกจะต้องมีการเพิ่มการลงทุนด้านกําลังคนด้านสุขภาพเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

คณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ริเรื่มก่อตั้งโดย นาย Francois Hoolande ประธานาธิบดีประเทศฝรั่งเศส และนาย Jacob Zuma ประธานาธิบดีประเทศแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ โดยมผี ู้อํานวยการใหญอ่ งค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) และเลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co- operation and Development: OECD) และผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกเป็นเจ้าภาพร่วม ภาคส่วนด้านสุขภาพเป็นภาคส่วนที่สําคัญที่ทําให้เกิดการจ้างงานและทําให้เศรษฐกิจขยายตัว ภาคส่วนด้านสุขภาพของโลกขยายตัว 5.8 trillion USD ต่อปี นอกจากนี้พบว่าการจ้างงานทางด้านสุขภาพและสังคมเพิ่มขึ้น 48% ในช่วงปี พ.ศ.2543 - 2557 ในขณะที่ การจ้างงานทางภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมลดลงอย่างเห็นได้ชัด ความต้องการการบริการทางด้านสุขภาพของประเทศสมาชิกกลุ่ม OECD เพิ่มขึ้นทําให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยประมาณการ ว่าถ้ามีการจ้างงานทางด้านสุขภาพ1คนจะทําให้มีการจ้างงานทางด้านอื่นเพิ่มขึ้น 1-2 คน

ถ้าประชากรมีสุขภาพดีจะทําให้ภาคเศรษฐกิจขยายตัว โดยประมาณการว่า 1 ใน 4 เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2543 - 2554 ในประเทศ low- และ middle- income countries ทําให้ภาคสุขภาพพัฒนาดีขึ้น ถ้ามีการลงทุนด้านสุขภาพ 1 ส่วนจะทําให้เศรษฐกิจดีขึ้น 9 ส่วน นอกจากนี้ยังพบว่าช่วงชีวิตของประชากรเพิ่มขึ้น 1 ปี จะทําให้ GDP per Capita เพิ่มขึ้น 4%

ในประเทศที่มีอัตราการเกิดสูง อัตราการตายของเด็กแรกเกิดที่ลดลง ส่งผลให้มีการตัดสินใจวางแผนครอบครัวได้ดีขึ้น การลงทุนในระบบสุขภาพมีผลทําให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นเป็นทวีคูณ ดังนั้นการลงทุนโดยการสร้างงานที่เหมาะสมให้กับบุคลากรทางด้านสุขภาพช่วยส่งเสริมการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การปกป้องสังคมและสังคมที่เป็นเอกภาพ ทําให้เกิดนวัตกรรมและความมั่นคงทางด้านสุขภาพตามมา

แต่ปัจจุบันโลกเราประสบปัญหาการขาดแคลนกําลังคนที่มคี ุณภาพ นโยบายการลงทุนด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรสร้างสุขภาพจะทําให้เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ จากเหตุผลดังกล่าวทําให้คณะกรรมาธิการฯ ร่วมกันเสนอข้อเสนอแนะ 10 ข้อ และจัดเวทีเพื่อวิเคราะห์แผนปฏิบัติการ 5 ปี เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการนําไปปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบวาระเพื่อความยั่งยืน 2030 นอกจากนี้ข้อเสนอแนะดังกล่าวต้องอาศัยการรักษาสิทธิมนุษยธรรม ธรรมาภิบาลที่ดี ความยึดมั่นในทางการเมือง ความร่วมมือระหว่างองค์กรและหน่วยงานต่างๆ

ข้อเสนอแนะ 10 ข้อเพื่อทําให้เกิดการปฏิรูปกําลังคนด้านสุขภาพสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่

สําหรับข้อแนะนําที่ 1-6 เป็นความต้องการที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจ้างงานทางด้านสุขภาพ การศึกษา การให้บริการทางด้านสุขภาพเพื่อทําให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด

1. การสร้างงาน เพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการสร้างงานสําหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพที่เหมาะสมโดยเฉพาะสําหรับสตรีและเด็กรวม ถึงมี ทักษะ จํานวน และทํางานในสถานที่ท่ีเหมาะสม

2. ความเท่าเทียมกันทางเพศและสิทธิสตรี

ส่งเสริมและสนับสนุนให้สตรีมีบทบาทในเรื่องของเศรษฐกิจให้สตรีเป็นผนู้ ําและได้รับการศึกษาและทํางานเหมือนกับผู้ชาย

3. การศึกษาเรียนรู้และฝึกอบรมทักษะ

เป็นการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ได้คุณภาพสูงสุดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทําให้บุคลากรด้านสุขภาพมีสมรรถนะที่เหมาะสมกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน

4. องค์กรและการบริการทางด้านสุขภาพ

การบริการทางด้านสุขภาพในปัจจุบันยึด การดูแลส่งเสริมและป้องกันมีบทบาทที่สําคัญมากกว่า การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ใช้เป็นศูนย์กลางการรักษา รวมทั้งการส่งเสริมการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์กันใช้ชุมชนเป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะในบริเวณที่อยู่ห่างไกล

5. เทคโนโลยี

ช่วยทําให้เกิดประสิทธิภาพเมื่อนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการศึกษาทางด้านสุขภาพ รวมทั้งการให้บริการผู้ป่วยโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีระบบข่าวสารที่ถูกต้องแม่นยํา

6. ภาวะวิกฤตทางสาธารณสุขและหลักมนุษยธรรม

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการลงทุน การพัฒนากําลังคนทางด้านสุขภาพเพื่อตอบสนองต่อภาวะวิกฤตด้วยหลักมนุษยธรรม การคุ้มครองและป้องกันบุคลากรทางด้านสุขภาพให้มีความมั่นคง ปลอดภัย

ข้อเสนอแนะข้อ 7-10 มุ่งเน้นการทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จําเป็น

7. งบประมาณ และการคลัง

การจัดสรรงบประมาณจากแหล่งทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ภาครัฐบาลและภาคเอกชนอย่างเหมาะสม ปฏิรูปการเงินการคลังทางด้านสุขภาพที่จําเป็นลงทุนสร้างบุคลากรทางด้านสุขภาพที่มีทักษะและจํานวนท่ีเหมาะสมกับงาน

8. พันธมิตรและความร่วมมือ

เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆทั้งในระดับประเทศภูมิภาคและระดับสากล สนับสนุนให้ภาคสังคม สภาองค์กรทางวิชาชีพต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการลงทุนการสร้างบุคลากรทางด้านสุขภาพ เสนอให้เป็นยุทธศาสตร์และ มีแผนปฏิบัติการ

9. การเคลื่อนย้ายกําลังคนระดับสากล

การพัฒนาบุคลากรทางด้านสุขภาพให้มีคุณภาพทักษะโดยให้ประเทศต้นทาง ในประเทศปลายทางได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน

10. ข่าวสาร ข้อมูลและความรับผิดชอบในภาระหน้าที่

ทําการศึกษา วิจัยค้นคว้า วิเคราะห์ตลาดแรงงานทั้งด้านสุขภาพโดยใช้ harmonized matrix และวิธีการ การเสริมความเข้มแข็งของหลักฐาน ภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบและแผนปฏิบัติการ

แผนปฏิบัติการที่ต้องกระทําทันที ระหว่างเดือนตุลาคม 2016 ถึงเดือนมีนาคม 2018 ได้แก่

  • ผู้นําทางการเมือง นําข้อเสนอแนะดังกล่าวมาตัดสินใจร่วมกัน 
และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้คํามั่นสัญญาในการดําเนินการปฏิบัติตามข้อแนะนํา 

  • เลขาธิการใหญ่ประจําองค์การสหประชาชาติ 
พิจารณาสร้างกรอบสําหรับความรับผิดชอบในภาระหน้าที่โดยรวมข้อแนะนําอยู่ในกรอบดังกล่าว 

  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการคลัง ร่วมกันพัฒนาแผนปฏิบัติการและให้คํามั่นสัญญา ในการพิจารณางบประมาณเพื่อนําไปสู่การพัฒนาการศึกษาบุคลากรทางด้านสุขภาพ ทักษะและการสร้างงาน เร่งการปฎิบัติการและรายงาน national health workforce account 

  • ชุมชนระหว่างประเทศสนับสนุนทางด้านการเงินการคลังเพื่อที่จะพัฒนาการศึกษาทั้งอาชีวศึกษาและการศึกษาวิชาชีพใน ประเทศ lower- income countries 


5. IOL, OECD, WHO และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้พัฒนาแผนปฏิบัติการ 5 ปี ซึ่งสอดคล้องกับ ข้อเสนอแนะทั้ง 10 ข้อปฎิบัติการเพื่อให้คํามั่นสัญญาและสนับสนุนทั้งในระดับชาติภูมิภาคและระดับสากล เป็นแลกเปลี่ยนข้อมูลในตลาดแรงงานโดยมี Global Health Observatory เป็นเจ้าภาพ เกิดเวทีระดับโลกเรื่องการเคลื่อนย้ายกําลังคน

โดยสรุปคณะกรรมาธิการให้ปฏิรูปกําลังคนอย่างยั่งยืนเพื่อให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพดีขึ้นมีสุขภาพว่าที่ดี สังคมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ในศตวรรษที่ 21 ความท้าทายทางด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กันในแผนโครงสร้างของประชากร ระบาดวิทยา การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ดังนั้นการพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ จึงเน้นทางด้านส่งเสริมป้องกันโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีโรงบาลชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

แผนปฏิบัติการ 5 ปี ดังเอกสารแนบ

วาระนี้เป็นการรับรองข้อมติ Human resources for health and implementation of the outcomes of the United Nations’ High-Level Commission on Health Employment and Economic Growth เอกสาร A70/A/CONF./5 ซึ่งไทยกล่าวถ้อยแถลงชื่นชม ILO, OECD และ WHO ร่วมกันประสานงานกับคณะกรรมาธิการร่างแผนปฏิบัติการ 5 ปีเพื่อเสนอให้ประเทศสมาชิกให้การรับรอง ไทยขอแก้ไขร่างมติ OP 4, subparagraph 1c และเพิ่ม 4BIS โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศมัลดีฟ และภูฏาน โดยประเทศอินเดีย บังคลาเทศและนิวซีแลนด์ขอแก้ไขในลักษณะเดียวกัน และร่างมติผ่านการรับรอง ใน Com A ในวันที่ 25 พ.ค. 2560 WHA70.

บทบาทและท่าทีของประเทศไทย (แนบ intervention)

ถ้อยแถลงโดยทีมไทย

13.1 Human resources for health and implementation of the outcomes of the United Nations’ High-Level Commission on Health Employment and Economic Growth

Document A70/18

Intervention by Thai delegation

Delivered by Professor Wanicha Chuenkongkaew Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, SG, National Health Professional Reform Foundation

Chair,

Thailand commends the Secretariat for the draft Five-year action plan for Health Employment and Inclusive Economic Growth jointly worked by ILO, OECD, and WHO through extensive consultations.

The five work streams in the proposed action plan enhances synergies with a) HEEG recommendation in particular immediate actions, b) WHO’s global strategy on HRH 2030 and c) strengthening nursing and midwifery thematic area.

As health care providers are the cutting edge in achieving SDGs 3, 4, 5 and 8; therefore strengthening health workforce through this action plans is critical.

Thailand reiterates our concern that a few important components on the draft that must be taken seriously by WHA, for example,

Firstly, the clearly defined deliverables, key indicators and timeline of implementation should be set out in Table 3 immediately before the UNGA in September 2017, it should not be delayed until the annual operational plan.

There is a need to harmonize and synergize the action plan with existing commitments; such as the specific milestones in global strategies on HRH: Workforce 2030 as adopted by WHA69.19, the WHO Global Code of Practice on the International Recruitment of Health Personnel adopted by WHA63.16, and the WHO 2010 recommendations on Increasing access to health workers in remote and rural areas. We urge that rural retention rate should be crucially added in Table 3 on deliverable 3.

Secondly, the commission’s recommendation is one of global health contributions by the Foreign Policy and Global Health group. WHO should involve more key partners such as World Bank, UNESCO, in addition to Ministries of labour; and finance

Thirdly, my delegation requests the secretariat to amend the draft resolution as followed:.

Operative paragraph 4, sub paragraph (1)(c), to add “including inter-professional education” after and training, and add “and health systems” before based settings.

It would read:

Catalyse the scale-up and transformation of professional, technical and vocational education and training, including inter-professional education, particularly training in community- and health systems-based settings.

Operative paragraph 4, to insert new subparagraph (4) Bis to read --

(4) Bis to accelerate monitoring progress of health workforce with the application of national health workforce account and ensure appropriate number, competency and equitable distribution;

Importantly, Member States have to translate this Five-year action plan into effective implementation for good outcomes.

Thank you, Chair

สรุปผลลัพธ์ของวาระ:

ที่ประชุมมีมติรับรอง

ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงสาธารณสุข (ระบุ กรม/กอง หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง)

การทํางานในระดับประเทศ

  • วางแผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ 20 ปี เข้ากับยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศ 20 ปี จากภาคผู้ผลิตและผู้ใช้ที่สอดคล้องกัน 

  • สนับสนุนงบประมาณเพื่อเพิ่มการจ้างงานบุคลากรทางสุขภาพ โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร 

  • สนับสนุนความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการคลัง ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อพัฒนากําลังคนด้านสขุ ภาพและยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ 

  • พัฒนาศักยภาพและสมรรถนะทีมบุคลากรสุขภาพสหวิชาชีพ 
เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนและระบบสุขภาพเป็นฐานการเรียนรู้ ตอบสนองต่อนโยบาย Primary Care Cluster 


การทํางานในระดับนานาชาติ


1. ขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงระบบการ พัฒนากําลังคนสุขภาพของประเทศ และภูมิภาคกับองค์กรระหว่างประเทศ

เป็นที่ประจักษ์ว่า ประเทศไทยได้รับการยกย่องจากเวทีนี้ว่าเป็นประเทศต้นแบบของสุขภาพโลก ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยมีบทบาทอย่างมากในเวทีนโยบายสุขภาพระดับสากล เบื้องหลังของความสําเร็จดังกล่าวเกิดจากปัจจัยที่สําคัญคือ การสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง เรียนรู้ได้จากการเตรียมความพร้อมทางด้านวิชาการทั้งก่อน ขณะ และภายหลังการประชุม ด้วยระบบพี่เลี้ยงโดยผู้ทรงคุณวุฒิและรุ่นพี่อาวุโสที่ยึดหลักการทํางานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ถ่ายทอดวิชาการทั้งเนื้อหาสาระโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และกระบวนการทํางาน การถ่ายทอดชั้นเชิงและกลยุทธ์ในวิธีการทํางาน การเจรจาต่อรองเชงิ ทางการทูต การตัดสินใจ การรู้เท่าทันในเชิงวิชาการ การบริหารจัดการ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ทําให้นักวิชาการรุ่นเยาว์เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์จริง

สิ่งที่สําคัญที่สุดของการประชุมสมัชชาอนามัยโลกที่ประเทศไทยได้รับ
คือการที่นักวิชาการเหล่านี้ร่วมกับนักวิชาการในสถาบันการศึกษา นําข้อเสนอและผลการประชุมมาขับเคลื่อนนโยบายทางด้านสุขภาพภายในประเทศ และภูมิภาคให้เกิดผลปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อความมั่นคงทางด้านสุขภาพของสังคมไทยและสังคมโลก

WHA70 Reflection สําหรับการประชุม AAR วันที่ 7 มิถุนายน 2560


ปัจจัยความสําเร็จในการเสนอขอแก้ไขร่างมติ 13.1 เรื่อง Health employment and economic growth HEEG ได้แก่

  • PEOPLE ขอขอบคุณท่านรัฐมนตรี ท่านปลัด ท่านรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อ สุวิทย์ อ วิโรจน์ ท่านทูต ท่าน อ อุดม อธิการบดี ที่มอบโอกาสให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมไทยในการเรียนรู้ WHA 70 ในครั้งนี้ ขอบคุณผู้บริหารทุกท่านคุณหมอภูษิต อ บุ๋ม คุณหมอนคร คุณหมออัทยา คุณตุ่ม คุณเบญ คุณเอื้องที่สนับสนุน ช่วยเหลือในทางวิชาการและ logistics เป็นอย่างยิ่ง ขอบคุณ อ วิโรจน์ รวมทั้ง อ. ตวง และ อ. ริสา ที่ช่วยแนะนํา แก้ไข text ให้สมบูรณ์และสวยที่สุดค่ะ. และขอบคุณน้องทีมไทยทุกท่านที่ช่วยเหลือเป็นกําลังใจกันและกัน ขอบคุณหมอกูป และ หมอปุ๊ก ที่ได้ทํา agenda ER และ IHR และ eye health care ร่วมกัน 

  • PROSPEROSITY of participation สําหรับความรับผิดชอบหลักในการทํา intervention 13.1 เป็นการรับรองร่างมติของ HEEG commission ที่ริเริ่มโดยประเทศฝรั่งเศสและแอฟริกาใต้ ได้เสนอ recommendation 10 ข้อ และ 5 year action plan ก่อนที่จะไปนําเสนอในเวที UNGA ปีนี้ ในระยะสองปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้เข้ารว่ มการประชุม high level meeting นําทีมโดยท่าน รมต และ ประเทศไทยได้เสนอ contribution ทาง online เรื่อง HRH ภายในประเทศเองได้มีการประชุม internal teleconference ภายในทีม เป็นระยะโดยตลอด จากการสนับสนุนของ อ สุวิทย์ อ วิโรจน์ อ วีรศักดิ์ อ ทินกร คุณหมอปูน 


PARTNERSHIP ข้อกังวล ของทีมไทยคือต้องการให้มีการ implementation และ concrete outcome มากกว่า ยุทธศาสตร์เพียงการจัดประชุมโดยทีม secretariat ซึ่ง GHWA/WHO เคยใช้จนในที่สุดต้องยุบหน่วยงานไป นอกจากนี้ประเด็นการเพิ่มการจ้างงานบุคลากรทางด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่รวย จะยิ่งทําให้เกิดการดูดแรงงานจากประเทศที่จนเพิ่มขึ้นหรือไม่ ทีมไทยจึง ต้องการเป้าหมายที่ชัดเจน ในแผนปฏิบัติการนี้ ซึ่งแตกต่างกับข้อเสนอของกลุ่มประเทศที่สนับสนุนร่างมตินี้เช่น EURO AFRO และ EMRO ที่เสนอ เป็น ROV ประเทศ USA และ Australia ที่ รับรองร่างมติอย่างเต็มที่ ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และ SEARO มีข้อกังวลคล้ายกับประเทศไทย

PEACE under strategy of "playing game by ear" ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่เสนอขอแก้ไข text เพิ่มเติมเนื่องจากทีมไทยได้เคยขอเสนอแก้ไขไปแล้ว 2 ครั้ง เมื่อ 2 สัปดาห์ ก่อนการประชุม WHA แต่ได้รับการแก้ไขเพียงบางส่วนเท่านั้น อ วิโรจน์ แนะนําให้เสนอ intervention โดย play by ear เนื่องจากประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม FPGH จึงไม่สามารถคัดค้านได้ ดังนั้นก่อนวาระ 13.1 จะเข้าที่ประชุม อ สุวิทย์จึงแนะนําให้ใช้กลยุทธ์ การพูดคุย เจรจาต่อรองและ lobby กลุ่มประเทศ SEARO ทีละประเทศ ให้สนับสนุนการขอเเก้ไข text ของทีมไทย strong มากขึ้น เพราะไม่มี ROV ของ SEARO การเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เนื่องจากวาระนี้เข้าที่ประชุมช่วงที่มีการต่อเวลาการประชุมจนถึงทุ่มครึ่ง ทําให้ได้เรียนรู้ประเทศพันธมิตรที่อยู่รอ เพื่อสนับสนุนการทํา intervention ของทีมไทย และทําให้การเจรจนาต่อรองกับประเทศฝรั่งเศสและแอฟริกาใต้ เพื่อขอแก้ไขร่างมตินอกรอบจนประสบความสําเร็จได้ง่ายขึ้น

PLANET การเรียนรู้ ในยุคโลกาภิวัตน์ คือ "ถามคือสอน สะท้อนคือเรียน" เป็นหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การเข้าร่วมทีมไทยใน WHA แต่ละครั้งจะได้สิ่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากการเรียนจากภาคปฏิบัติโดยตรง (workplace based learning) และนํากลับมาสะท้อนย้อนคิด

Dr.Viroj’s kind advice: I cannot agree more with Aj Wim analysis. It gives a strong message that the FPGH group has flexibility and at the same time leave rooms for listening to different views among the seven. This means collaborations within common views and managed to reconcile the differences.

หมายเลขบันทึก: 629611เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2017 05:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2017 05:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท