แนวทางปฏิบัติการปรับปรุงซ่อมแซมสนามบิน สิ่งอำนวยและสิ่งติดตั้ง ณ สนามบินสาธารณะ


1. ข้อกำหนดใน พรบ.การเดินอากาศ มาตรา ๖๐/๖ (๒) ๖๐/๑๐ 2. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน กบร. ฉบับที่ ๘๑ ข้อ ๒ 3. เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ 4. ระเบียบกระบวนการดำเนินงานสนามบิน

แนวทางปฏิบัติการปรับปรุงซ่อมแซมสนามบิน สิ่งอำนวยและสิ่งติดตั้ง ณ สนามบินสาธารณะ

ในส่วนของกฎระเบียบที่ใช้อ้างอิง :

๑. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หากสนามบินมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งติดตั้ง อุปกรณ์ ที่แตกต่างจากเดิมในการออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบิน หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งติดตั้ง อุปกรณ์ มีผลให้การดำเนินงานของสนามบินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในการออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบิน จะต้องแจ้ง กพท. เพื่อพิจารณาตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานข้อกำหนดในมาตรา ๖๐/๖ (๒) และ ๖๐/๑๐ แห่ง พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.๒๔๙๗ ตามลำดับ ทั้งนี้ กพท.จะพิจารณาคุณลักษณะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น โดยไม่ให้ความเห็นชอบการออกแบบและก่อสร้างทางวิศวกรรม

๒. ส่วนการพิจารณาให้ความเห็นชอบคู่มือการดำเนินงานสนามบิน (Aerodrome Manual) ที่มีการปรับเปลี่ยนคู่มือให้เป็นปัจจุบัน เนื่องจากคู่มือการดำเนินงานสนามบินเป็นเอกสารอ้างอิงและเป็นรายการในการตรวจสอบการคงไว้ซึ่งมาตรฐานการรับรองการดำเนินงานสนามบินและระดับการบริการในเขตการบินของสนามบิน ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในคู่มือฯจะเป็นเอกสารอ้างอิงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ ในการประเมินความเหมาะสมของสนามบินและความเหมาะสมของผู้ดำเนินงานสนามบิน รวมทั้งเอกสารอ้างอิงอันเป็นที่ยอมรับระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่และ ผู้ดำเนินงานสนามบินในเรื่องมาตรฐานเงื่อนไข และระดับการให้บริการซึ่งต้องคงไว้ที่สนามบินตามกำหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ ๘๑ ข้อ ๒ ดังนั้น หากการเปลี่ยนแปลงคู่มือฯในส่วนของการดำเนินงานที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและการดำเนินงานของสนามบินแตกต่างไปจากเดิมในการออกใบรับรองหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เคยเห็นชอบแล้ว จะต้องแจ้ง กพท. ทราบและเห็นชอบก่อนดำเนินการ ตามมาตรา ๖๐/๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗


๓. ให้สนามบินดำเนินการตามคู่มือสนามบิน หัวข้อที่ ๔.๘ เรื่องความปลอดภัยในการก่อสร้างและบำรุงรักษาบริเวณท่าอากาศยาน ตามคู่มือสนามบินที่ กพท.ได้รับการรับรองโดยนำส่งแผนการดำเนินงานตลอดจนวิธีการปฏิบัติงานตามแผน ที่ได้เลือกจากการประเมินความเสี่ยงจนได้วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด มานำเสนอรายละเอียดแผนการดำเนินงานต่อทาง กพท. ก่อนที่จะดำเนินการเริ่มแผนฯ และเมื่อดำเนินงานตามแผนฯแล้วให้ กพท. ตรวจสอบก่อนเปิดใช้งาน

๔. ให้สนามบินมีการดำเนินการตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ได้ข้อ ๒ หากในการเดินอากาศ ใช้งานไม่ได้จะต้องแจ้ง แก่ กพท. พร้อมแนวทางป้องกันแก้ไข ข้อ ๔ การเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องอำนวยจะต้องแจ้ง กพท. และได้รับหนังสือให้เปลี่ยนแปลงจาก กพท. ก่อนดำเนินการ รวมถึงการแจ้งข้อมูล NOTAM หาก VIISUAL AIDS ไม่สามารถให้บริการได้ และการประเมินและวิเคราะห์ความปลอดภัย ตามข้อ 13 และ ข้อ 14

๕. สนามบินมีการดำเนินการตามระเบียบกระบวนการดำเนินงานสนามบินในหัวข้อที่ ๑๔ (๑) (๒) (๓) และ (๔) เพื่อให้เกิดวิธีการปฏิบัติที่ปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างต่อไปและมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติม จากการขับเคลื่อนระบบการจัดการด้านนิรภัย

..........................................................................................................................................

กรณี กรมท่าอากาศยานมีการปรับปรุงด้านกายภาพเครื่องช่วยหรือวิธีการปฏิบัติในเขตการบิน นั้น

AGA พิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2558 มาตรา 45
กำหนดให้สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ให้บริการแก่สาธารณะซึ่งดำเนินการโดยส่วนราชการ
อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับยังคงดำเนินการได้ต่อไป
และให้ผู้อำนวยการตรวจสอบ...

1. ระบบการจัดการด้านนิรภัย

2. การรักษาความปลอดภัย

3.  ระบบการตรวจสอบภายใน

4. ระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการการดำเนินงาน

5. คู่มือการดำเนินงานของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต และ..

6. มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยอื่นๆ

ว่าเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศหรือไม่

ทั้งนี้
AGA ไม่ขัดข้องในการให้ ทย. ออกประกาศข้อมูลการบินได้

โดยขอให้ ทย. จัดส่ง...เอกสารด้านล่างนี้ ให้กับ AGA พิจารณาตรวจสอบ

1. เอกสารรายละเอียดการดำเนินงานของโครงการ

2. รายงานประเมินความเสี่ยง ... 

3. กำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในขณะก่อสร้าง

 หมายเหตุ

กรณี เมื่อ ปลายปี 2558 ถึง ต้นปี 2559 นั้น ทภก. มีแผนดำเนินโครงการ ก่อสร้างหลุมจอดเพิ่ม จึงได้นำส่ง รายงาน(แบบฟอร์ม)ประเมินความเสี่ยง และ ทภก. ได้แนบรายงานการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยสนามบิน Airport Safety Team ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆทุกหน่วยที่ปฏิบัติงานภายในเขตการบินของสนามบิน ทภก. ได้แก่  สายการบิน(Safety Pilot)  อุตุนิยมวิทยาการบิน บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการสนามบิน ดำเนินการวิเคราะห์ควบคุมความเสี่ยง ตามระบบการจัดการด้านนิรภัย

และ เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วนให้ ทย. ประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการไปก่อน




ดูแผนภูมิชัดๆคลิ้กที่นี่ (PDF) 20170604162142.pdf


ดูแผนภูมิชัดๆคลิ้กที่นี่ (PPT) 20170604162316.pptx

หมายเลขบันทึก: 629292เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2017 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2017 04:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

.........บทความนี้จะได้ปรับปรุงรายละเอียด บางอย่างเพิ่มเติมครับ จะแจ้งให้ทราบในโอกาส (Revision1.1) ต่อไปติดตามครับ
..... สำหรับสนามบินที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรับรอง และที่เข้าสู่แต่ยังมิได้ใบร้บรอง ก็จะใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำ คู่มือสนามบินหัวข้อ 4.8 ให้สมบูรณ์ครบถ้วนขึ้นได้ครับ

แผนภูมิก้างปลาแสดงขั้นตอนการปิดปรับปรุงซ่อมทางวิ่งทางขับลานจอดทั้งหมดหรือบางส่วน

https://drive.google.com/open?id=0B4RmfHD2uWgbRUhI...



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท