เปิดรับข้อเสนอโครงการจัดการศึกษาของบุคลากรสุขภาพแบบสหวิชาชีพ


ข้อเสนอโครงการ IPE ที่มีการใช้ ICT เป็นสื่อในการเรียนการสอนและการประเมินผล นอกจากได้ รับงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานแล้ว ยังมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเข้ารอบชิงชนะเลิศ 3 ทีม สุดท้ายสําหรับการประกวดโครงการ ICT-IPE Challenge ในการประชุมวิชาการประจําปีระดับชาติ "การพัฒนาการ ศึกษาสําหรับบุคลากรด้านสุขภาพ" ครั้งที่ 4 (The 4th Annual National Health Professional Education Reform Forum) ในหัวข้อหลัก “เทคโนโลยีสารสนเทศ เสริมพลัง สร้างวิชาชีพสุขภาพ สู่ประเทศไทย 4.0 (ICT to Empower Health Professional Education to Support Thailand 4.0)” ในระหว่างวันที่ 6 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ ซอยรางน้ํา กรุงเทพฯ

เปิดรับข้อเสนอโครงการจัดการศึกษาของบุคลากรสุขภาพแบบสหวิชาชีพ

มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

คณะอนุกรรมการการศึกษาแบบสหวิชาชีพ (Interprofessional Education—IPE) ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสําหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (2557-2561) เปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการการศึกษาแบบสหวิชาชีพ (IPE)

ความเป็นมา

ในปี พ.ศ.2453 หรือเมื่อกว่าร้อยปีที่ผ่านมานี้ นายอับราฮัม เฟล็กเนอร์(Mr. Abraham Flexner) นักการศึกษาชาวอเมริกัน ไ ด้จัดทํารายงานเกี่ยวกับการศึกษาของบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพและเสนอแนะให้ บูรณาการวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยเข้ากับหลักสูตรการศึกษาของบุคลากรสุขภาพในสถาบันการศึกษา ซึ่งได้นําไปสู่ การปฏิรูปการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรสุขภาพเพื่อดูแลรักษาให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นจนสามารถ เพิ่มอายุขัยของมนุษย์เป็นสองเท่าในช่วงศตวรรษที่ 20

เมื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 บริบททางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี ได้มีการพัฒนาและ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน มนุษย์ก็ต้องประสบกับความท้าทายใหม่ๆ ทางด้านสุขภาพ จาก ความเหลื่อมล้ําทางด้านเศรษฐกิจจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอายุขัยที่ยาวนานขึ้น ตลอดจนการติดต่อสื่อสารอย่าง ไร้รอยต่อทําให้เชื้อโรคแพร่กระจายจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่อื่นๆได้อย่างรวดรวดเร็วและเป็นวงกว้าง ทั้งยังมีอุบัติ การณ์ของโรคเกิดใหม่และเกิดซ้ําขึ้นอีก และด้วยข้อจํากัดทางด้านบุคลากรสุขภาพและเศรษฐกิจทําให้เกิดช่องว่าง และความไม่เสมอภาคในด้านสุขภาพทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาประเทศ

เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ใ นปี พ.ศ.2553 องค์การอนามัยโลกได้มีข้อเสนอมติ WHA66.23 เพื่อให้ประเทศสมาชิกทําการประเมินทบทวนสถานการณ์การจัดการศึกษากําลังคนด้านสุขภาพ รวมทั้งการขับ เคลื่อนเพื่อปฏิรูปการศึกษากําลังคนด้านสุขภาพครั้งใหญ่ทั่วโลก ที่จําเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อการกระจาย ความก้าวหน้าด้านสุขภาพอย่างเสมอภาค หนึ่งในแนวทางการปฏิรูปการศึกษาคือการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพ โดย WHO ได้เสนอแนวทางปฏิบัติไว้ว่า “Interprofessional education occurs when students from two or more professions learn about, from and with each other to enable effective collaboration and improve health outcomes.” 1 “การจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้เรียนจากสองวิชาชีพขึ้นไปได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ เรียนรู้จาก และเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาผลลัพธ์ทาง ด้านสุขภาพ”

ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2557 สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นได้รับรองแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสําหรับ บุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) และแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ พัฒนาการศึกษาสําหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) โดยมี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เป็น ประธานดําเนินการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา สําหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ เพื่อดําเนินการขับเคลื่อนแผน ยุทธศาสตร์ รวมถึง คณะอนุกรรมการการศึกษาแบบสหวิชาชีพ (IPE) ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ เป็นตัวแทนจาก สถาบันการศึกษาและสภาวิชาชีพจากหลากหลายวิชาชีพ รวมถึง สัตวแพทย์ พยาบาล กายภาพบําบัด เทคนิคการ แพทย์ ทันตแพทย์ แพทย์แผนไทย สาธารณสุข เภสัช และ แพทย์ เพื่อดําเนินการขับเคลื่อนการศึกษาแบบสห วิชาชีพ ในสถาบันการศึกษามาเป็นเวลากว่าสองปี โดยได้ร่างตัวอย่างแผนการสอนที่พร้อมนําไปทดลองปรับใช้ สําหรับนิสิตนักศึกษาด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในหลักสูตรต่างๆ ทั้งในระดับชั้นปีแรกๆ (Pre-professional Years) และในระดับชั้นปีก่อนสําเร็จการศึกษา (Professional Years) ซึ่งคณาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาต่างๆ สามารถนําไปพิจารณาใช้จัดการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมใหม่ในรายวิชาที่ปัจจุบันเปิดสอนอยู่แล้ว เป็นกิจกรรม

เสริมหลักสูตร หรือพิจารณาใช้เป็นรายวิชาเลือกและ/หรือเป็นรายวิชาบังคับในหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรปรับปรุง ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อหวังผลสัมฤทธิ์ให้นิสิตนักศึกษาในอนาคตได้มีทักษะความรู้ความสามารถด้านIPEได้ทําการเรียนรู้ จากกันและกัน และเกิดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการการศึกษาแบบสหวิชาชีพ (IPE) ยังมองเห็นโอกาสในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนแบบสหวิชาชีพได้อีก ใ นแง่เนื้อหาและกระบวนการรวมทั้งการประเมินผล เพื่อใช้ในการเรียนการสอน แบบสหวิชาชีพ และกําลังดําเนินการจัดทําคู่มืออาจารย์ผู้สอน คู่มือผู้เรียน หรือตัวอย่างแผนการสอนที่บูรณาการกับ เนื้อหาวิชาที่สําคัญๆ เช่น เวชจริยศาสตร์ ความปลอดภัยของผู้ป่วย การใช้ยาและเทคโนโลยีอย่างสมเหตุผล กฎหมายทางการแพทย์ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี จากการสํารวจข้อมูลเบื้องต้นของสถาบันการศึกษาต่างๆในประเทศไทย คณะอนุกรรมการการ ศึกษาแบบสหวิชาชีพ (IPE) ได้ทราบว่า ในขณะนี้สถาบันการศึกษาต่างๆ ได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบสห วิชาชีพทั้งในรูปแบบกิจกรรมใหม่ในรายวิชาที่ปัจจุบันเปิดสอนอยู่แล้ว กิจกรรมเสริมหลักสูตร รายวิชาเลือกและ/ หรือเป็นรายวิชาบังคับในหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตร ฯลฯ โ ดยความร่วมมือระหว่างสองวิชาชีพหรือมากกว่า และ/ หรือร่วมมือกับสาขาวิชาอื่นๆนอกเหนือจากวิชาชีพสุขภาพ ทั้งนี้หลายสถาบันอาจจะกําลังดําเนินการมาเป็นระยะ เวลายาวนานแล้ว ในขณะที่หลายสถาบันยังอยู่ในขั้นตอนการเริ่มดําเนินการ

การสมัครข้อเสนอโครงการการศึกษาแบบสหวิชาชีพสุขภาพ

เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการศึกษาแบบสหวิชาชีพ และส่งเสริมการเรียนรู้การดําเนินการใน สถาบันการศึกษาต่างๆ คณะอนุกรรมการการศึกษาแบบสหวิชาชีพ (IPE) ภายใต้มูลนิธิพัฒนาการศึกษา บุคลากรสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้เปิดรับข้อ เสนอโครงการการศึกษาแบบสหวิชาชีพ โดยความร่วมมือระหว่างสองวิชาชีพหรือมากกว่า และ/หรือร่วมมือกับสาขา วิชาอื่นๆนอกเหนือจากวิชาชีพสุขภาพ ในประเด็นการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล เช่น การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance—AMR) ความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety) เวชจริยศาสตร์ (Ethics) หรือ ประเด็นอื่นๆ ที่ท่านสนใจจะนําเสนอ ทั้งการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร โ ดยเฉพาะ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เป็นสื่อในการเรียนการสอนและการประเมินผลด้วย โ ดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาหรือ บุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกวิชาชีพได้มีโอกาสเรียนรู้และทํางานร่วมกันผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริม การใช้ประสบการณ์ตรงเพื่อสร้างวงจรการเรียนรู้และตอบสนองต่อความต้องการของสังคม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการ สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ของบุคลากรสุขภาพ ที่สามารถผลิตบุคลากรสุขภาพเพื่อการทํางานร่วมกันแบบ สหวิชาชีพในการบริการทางด้านสุขภาพอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้บุคลากรสุขภาพได้ ทํางานร่วมกัน เพื่อความเสมอภาคในการพัฒนาสุขภาพของประชาชน

ข้อเสนอโครงการจะต้องเป็นการวิจัยหรือการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาแบบสหวิชาชีพที่มุ่งเน้นการฝึก ปฏิบัติหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียน รวมถึงการประเมินผลตามสมรรถนะที่พึงประสงค์ของแต่ละวิชาชีพ (Competency-based assessment) และจะต้องใช้คํานิยาม ดังนี้ “Interprofessional education occurs when students from two or more professions learn about, from and with each other to enable effective collaboration and improve health outcomes.” 3 “การจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้เรียนจาก สองวิชาชีพขึ้นไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เรียนรู้จาก และเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ”

  1. 2 คณะอนุกรรมการการศึกษาวิชาชีพสุขภาพแบบสหสาขาวิชา. 2015. การศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ (Interprofessional Education). http://www.healthprofessionals21thailand.org/wp-co...
  2. 3 World Health Organization. 2010 Framework for Action on Interprofessional Education & Collaborative Practice (WHO/HRH/HPN/10.3). 2of4


เงื่อนไขการสมัครข้อเสนอโครงการ

1. งบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน งบประมาณตามค่าใช้จ่ายจริงในวงเงิน40,000บาท(สี่หมื่นบาทถ้วน)โดยจะต้องมีเอกสารหลกัฐาน การจ่ายเงินที่มีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ ตามสัญญาระหว่างผู้ให้ทุนและผู้รับทุน

2. ระยะเวลาการดําเนินโครงการระยะเวลาจัดทําแผนการสอนจนสามารถพร้อมเปิดใช้จัดการเรียนการสอนจริง

3. ข้อเสนอโครงการ ข้อเสนอโครงการจะต้องประกอบด้วย

  1. 3.1 ชื่อโครงการ
  2. 3.2 รายชื่อผู้ดําเนินโครงการ (ผู้ดําเนินโครงการหลักและผู้ร่วมดําเนินโครงการ)
  3. 3.3 สาขาวิชาที่ร่วมดําเนินโครงการ (ต้องมีสาขาวิชาชีพสุขภาพอย่างน้อยสองสาขาวิชา และ สาขาวิชาที่ร่วมดําเนินโครงการไม่จําเป็นต้องเป็นสาขาวิชาชีพสุขภาพเท่านั้น)
  4. 3.4 ความสําคัญของปัญหา
  5. 3.5 การทบทวนวรรณกรรม
  6. 3.6 ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Learning Outcomes, ELO)
  7. 3.7 วิธีดําเนินการ
  8. 3.8 การประเมินผล (ที่หลากหลายและสอดคล้องกับ ELO)
  9. 3.9 แผนการดําเนินงาน
  10. 3.10 แผนงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน
  11. 3.11 การรับรองจริยธรรมการวิจัย

รายงานผลการดําเนินงานให้ระบุ บทสรุป และ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
4. ข้อเสนอโครงการที่จะได้รับการพิจารณาจะต้องส่งภายในระยะเวลาที่กําหนดเท่านั้น 5. ผลงานวิจัย/นวัตกรรมถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ให้ทุน
6. การตัดสินของคณะกรรมการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด

ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.healthprofessionals21thailand.org/ และส่ง ข้อเสนอโครงการถึง ศ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว ที่ [email protected] cc. [email protected] และ[email protected]ภายในวันที่31กรกฏาคม2560โครงการที่ผ่านการคัดเลอืกในรอบแรกจะต้องนํา เสนอโครงการต่อคณะอนุกรรมการการศึกษาแบบสหวิชาชีพ (IPE) ภายใน เดือนสิงหาคม พ.ศ.2560 วันและ เวลาจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง




กําหนดการโครงการ

1.

31 ก.ค. 60

ส่งข้อเสนอโครงการแบบย่อ (concept note) จํานวน 1-2 หน้า A4 ซึ่งประกอบด้วย ชื่อ โครงการ รายชื่อผู้ดําเนินโครงการ (ผู้ดําเนินโครงการหลักและผู้ร่วมดําเนินโครงการ พร้อม ข้อมูลในการติดต่อ) สาขาวิชาที่ร่วมดําเนินโครงการ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีวิจัย/การ สร้างนวัตกรรม กิจกรรม และผลที่คาดว่าจะได้รับ (ขอให้ท่านระบุด้วยว่าสนใจจะเข้าร่วม ประกวด ICT-IPE Challenge ตามรายละเอียดข้างล่างด้วยหรือไม่) ระบุถึง ศ.พญ.วณิชา ชื่น กองแก้ว โดยส่งมาที่ [email protected] cc. [email protected] และ [email protected]


2.

15 ส.ค. 60

ส่งข้อเสนอโครงการแบบเต็ม frst draft full proposal ระบุถึง ศ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว โดยส่ง มาที่ [email protected] cc. [email protected] และ [email protected]


3.

ส.ค. 60

หัวหน้าโครงการนําเสนอโครงการต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อขอคําแนะนําและปรึกษาหารือ

4.

ก.ย. 60

ประกาศผลการให้ทุนสนับสนุนข้อเสนอโครงการที่ http://www.healthprofessionals21thailand.org/ และ email ของหัวหน้าโครงการ

5.

31 มี.ค. 61

ส่งรายงานผลการดําเนินงาน ระบุถึง ศ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว โดยส่งมาที่ [email protected] [email protected]และ [email protected]


ICT-IPE Challenge

สําหรับข้อเสนอโครงการ IPE ที่มีการใช้ ICT เป็นสื่อในการเรียนการสอนและการประเมินผล นอกจากได้ รับงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานแล้ว ยังมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเข้ารอบชิงชนะเลิศ 3 ทีม สุดท้ายสําหรับการประกวดโครงการ ICT-IPE Challenge ในการประชุมวิชาการประจําปีระดับชาติ "การพัฒนาการ ศึกษาสําหรับบุคลากรด้านสุขภาพ" ครั้งที่ 4 (The 4th Annual National Health Professional Education Reform Forum) ในหัวข้อหลัก “เทคโนโลยีสารสนเทศ เสริมพลัง สร้างวิชาชีพสุขภาพ สู่ประเทศไทย 4.0 (ICT to Empower Health Professional Education to Support Thailand 4.0)” ในระหว่างวันที่ 6 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ ซอยรางน้ํา กรุงเทพฯ การประกวดดังกล่าวจะช่วยเผยแพร่นวัตกรรมในการจัดการเรียน การสอนแบบ IPE โดยใช้ ICT เป็นสื่อ

สอบถามรายละเอียดได้ที่

คุณดุสิตา กระวานชิด Email: [email protected] โทร: 085-345-0138, 097-117 5041


หมายเลขบันทึก: 629274เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2017 05:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2017 05:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท