ระบบปัญญาประดิษฐ์ และระบบผู้เชี่ยวชาญ


ปัญญาประดิษฐ์ และระบบผู้เชี่ยวชาญ

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)

คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

เป้าหมายคือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์(ทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์) โดยให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์ ดังต่อไปนี้ ระบบต่างๆจะต้องมีความสามารถเข้าใจภาษามนุษย์ ซึ่งการทำงานที่ต้องใช้การประสานงาน ระหว่างส่วนต่างๆ (โรโบติก - Robotics) ใช้อุปกรณ์ที่สามารถรับทราบ และตอบสนอง ด้วยพฤติกรรม และภาษา (ระบบการมอง และ การออกเสียง) การเลียนแบบความเชี่ยวชาญและการตัดสินใจของมนุษย์ (ระบบผู้เชี่ยวชาญ) ระบบดังกล่าว ยังต้องแสดง ความสามารถทางตรรกะ การใช้เหตุผล สัญชาตญาณ และใช้หลักการสมเหตุสมผล (common sense) ที่มีคุณภาพ ในระดับเดียวกับมนุษย์

ความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ได้เริ่มการศึกษาในปี ค.ศ.1950 โดยอาจารย์จากประเทศอเมริกาและอังกฤษ นิยามของปัญญาประดิษฐ์ได้ถูกกำหนดขึ้นในปี 1956 โดย John McCarthy ได้มีการศึกษาและพัฒนางานด้านปัญญาประดิษฐ์และได้มีการตั้งเกณฑ์ทดสอบเพื่อที่จะระบุว่าเครื่องจักรกลหรือระบบคอมพิวเตอร์สามารถคิดได้เหมือนมนุษย์ออกมาโดย Alan Turing นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แต่จนบัดนี้เครื่องจักรกลหรือระบบคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่สามารถผ่านเกณฑ์ของ Alan Turing ได้เลย ณ ปัจจุบันระบบปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถสร้างคำตอบที่แปลกใหม่หรือคำตอบที่มาจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ของระบบเองได้ เพียงแต่เป็นการลอกเลียนความสามารถของมนุษย์ได้เท่านั้น

ปัญญาประดิษฐ์

AI คืออะไร?

AI : Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดย คำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

Acting Humanly : การกระทำคล้ายมนุษย์ เช่น

- สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้

- มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็นรับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)

- หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ

- machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent (agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลคือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ในระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ในเกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น

ปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษา

1. ปัญญาประดิษฐ์ กับการศึกษา

2. “ปัญญาประดิษฐ์ ” คืออะไร ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสินใจของมนุษย์ (Laudon & Laudon , 2001)

3. “ปัญญาประดิษฐ์ ประยุกต์ใช้ในการศึกษา” ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) เป้าหมายหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ คือ การสร้างโปรแกรมที่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ ไม่เพียงแต่เข้าใจที่จะสามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงความฉลาดของมนุษย์แต่ยังสร้างความสำเร็จในการเพิ่มความสามารถ และเพิ่ม ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย(Luger and Stubblefield,1993,p.17)

4. “ตัวอย่างปัญญาประดิษฐ์ ประยุกต์ ใช้ ในการศึกษา” ระบบจำลองสถานการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการ สนทนาภาษาอังกฤษาที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดย ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร

5. "ระบบจำลองสถานการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะ การสนทนาภาษาอังกฤษ" คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ภายในสถาบันฯ โดยมีลักษณะพิเศษคือสามารถรู้จำเสียงพูดของมนุษย์ได้และสามารถแสดงเรื่องราวของเหตุการณ์ผ่านการ์ตูนแอนนิเมชัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะการสนทนาอังกฤษผ่านสิ่งแวดล้อมที่จำลองมาจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่นการเดินทางไปต่างประเทศ การฝึกงานในบริษัทต่างสาขา และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ผู้เรียนอาจพบเจอในชีวิตจริงได้

6. ระบบจำลองสถานการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษ

7. อ้างอิง• Business Information Technology.ภาษาธรรมชาติ.ค้นข้อมูลเมื่อ 24 มกราคม 2555.จาก http://www.phrae.mju.ac.th/Teacher/bu- nga/AI/AI4.html• สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์(PIM) คว้ารางวัลรองชนะเลิศ.ค้นข้อมูลเมื่อ 24 มกราคม 2555.จาก http://www.kspthailand.com/eng/news_detail.php?id=...

8. ผู้จัดทำ.นายนราธิป สถาพรพรสุ ข 543050223-0 .นางสาวสศิพร ลวงงาม 543050235-3 . นางสาวอภิรมย์รัช เรืองประทุม 543050550-5

สรุป ความ เจริญก้าวหน้า ของคอมพิวเตอร์ เป็นไปใน ทุกด้าน ทั้งทางด้าน ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ การที่มีพัฒนาการ เจริญก้าวหน้า จึงทำให้ นักคอมพิวเตอร์ตั้งความหวัง ที่จะทำให้ คอมพิวเตอร์ มีความฉลาด และช่วยทำงาน ให้ มนุษย์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะวิทยาการ ด้านปัญญา ประดิษฐ์(Artificial Intelligence : AI) ซึ่งเชื่อกันว่า จะ เป็นวิทยาการที่ จะช่วยให้มนุษย์ใช้คอมพิวเตอร์ แก้ปัญหาต่างๆ ที่สำคัญ เช่นการให้ คอมพิวเตอร์ เข้าใจ ภาษา มนุษย์รู้จักการ ใช้เหตุผล การเรียนรู้ ตลอดจนการ สร้างหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์มีความหมายถึง การสร้าง เครื่องจักร ให้สามารถ ทำงาน ได้เหมือนคน ที่ใช้ปัญญา หรืออาจ กล่าวได้ว่า เป็นการ ประดิษฐ์ปัญญา ให้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ คอมพิวเตอร์ สามารถจำลอง การทำงานต่างๆ เลียนแบบ พฤติกรรม ของคน โดยเน้นแนวคิด ตามแบบ สมองมนุษย์ ที่มีการวาง แผนการเรียนรู้ การให้เหตุผล การ ตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจน การเลือกแนวทาง ดำเนินการใน ลักษณะคล้ายมนุษย์ ความรู้ ทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์ จึงรวมไปถึง การสร้างระบบ ที่ทำให้ คอมพิวเตอร์ สามารถ มองเห็น และ จำแนกรูปภาพ หรือสิ่งต่างๆ ออกจากกัน ในด้าน การฟังเสียง ก็รับรู้ และแยกแยะเสียง และจดจำคำพูด และเสียง ต่างๆ ได้ การสัมผัส และรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร จะต้องมี กระบวนการ เก็บความรอบรู้ การถ่ายทอด การแปลความ และ การนำเอา ความรู้มา ใช้ประโยชน์ หากให้คอมพิวเตอร์ รับรู้ข่าวสาร และเหตุการณ์ ต่างๆ แล้ว ก็สามารถนำเอา ความรู้ต่างๆ เหล่านั้น มา ประมวลผล ได้ ก็จะ มีประโยชน์ได้มาก เช่น ถ้าให้คอมพิวเตอร์ มีข้อมูล เกี่ยวกับคำมีความเข้าใจในเรื่อง ประโยค และความหมายแล้ว สามารถ ประมวลผล เข้าใจประโยค ที่รับเข้าไป การประมวลผล ภาษาในลักษณะ นี้ จึงเรียกว่า การประมวลผล ภาษาธรรมชาติ โดยจุดมุ่งหมาย ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ มีความสามารถ ในการใช้ภาษา เข้าใจภาษา และนำไปประยุกต์ งานด้านต่างๆ เช่น การตรวจสอบ ตัวสะกดใน โปรแกรมประมวลคำตรวจสอบการ ใช้ประโยคที่กำกวม ตรวจสอบ ไวยากรณ์ ที่อาจผิดพลาด และหากมี ความสามารถ ดีก็จะนำไปใช้ ในเรื่อง การ แปลภาษาได้ ปัญญาประดิษฐ์จึงเป็นเรื่องที่ นักวิจัย ได้พยายาม ดำเนินการ และสร้างรากฐาน ไว้สำหรับอนาคต มีการคิดค้น หลักการ ทฤษฎี และวิธีการต่างๆ เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถทำงาน อย่างมีเหตุผล มีการพัฒนา โครงสร้างฐาน ความรอบรู้ ปัญญาประดิษฐ์เป็นวิชาการ ที่มีหลักการต่างๆ มากมาย และมีการนำออกไป ใช้บ้างแล้ว เช่น การแทน ความ รอบรู้ด้วยโครงสร้าง ข้อมูล ลักษณะพิเศษ การคิดหาเหตุผล เพื่อนำข้อสรุป ไปใช้งาน การค้นหา เปรียบเทียบ รูปแบบ ตลอดจน กระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นประโยชน์ อย่างมีขั้นตอน เพื่อให้ เครื่องคอมพิวเตอร์สะสมความรู้ได้ เอง อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/ http://www.kitty.in.th/index.php?room=article&id=6...

ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System

ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือระบบคอมพิวเตอร์ ที่จำลองการตัดสินใจของมนุษย์ ผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง โดยใช้ความรู้และการสรุปเหตุผลเชิงอนุมาน (inference) ในการแก้ปัญหายากๆ ที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ระบบผู้เชี่ยวชาญได้ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้งานในระบบต่างๆ อย่างแพร่หลายมากว่า 30 ปี ไม่ว่าจะเป็นในแวดวงธุรกิจ การแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น

ระบบ ES หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ

จัดเป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งที่นำวิทยาการของปัญหาประดิษฐ์เข้ามาใช้จัดการสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสนเทศที่เป็น องค์ความรู้ (knowledge) ในเฉพาะสาขาหรือเฉพาะด้าน ดังนั้นระบบผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างฐานความรู้ (knowledge base) และ กลไกในการตั้งคำถาม และหาคำตอบ (จาก knowledge base) ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการถามและตอบสิ่งที่ถามเสมือนหนึ่งคุยกับผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ

ส่วนประกอบของ Expert System ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1. ฐานความรู้ (knowledge base)

2. เครื่องอนุมาน (inference engine)

3. ส่วนดึงความรู้ (knowledge acquisition subsystem)

4. ส่วนอธิบาย (explanation subsystem)

5. การติดต่อกับผู้ใช้ (user interface)

1. ฐานความรู้ (knowledge base)

ส่วนที่เก็บความรู้ทั้งหมดของผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมจากการศึกษาและจากประสบการณ์ โดยมีการกำหนดโครงสร้างของข้อมูล (Data Structure) ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน โดยฐานความรู้จะรวบรวมตรรกะ (Logic) ในการปฏิบัติงาน

2. เครื่องอนุมาน (inference engine)

เป็นส่วนควบคุมการใช้ความรู้ในฐานความรู้ เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จะทำหน้าที่ตรวจสอบกฎเกณฑ์ที่อยู่ในฐานความรู้ โดยการใช้เหตุผลทางตรรกะสำหรับแต่ละเหตุการณ์ ซึ่งมักจะอยู่ในลักษณะ ถ้า…แล้ว…

3. ส่วนดึงความรู้ (knowledge acquisition subsystem)

เป็นส่วนที่ดึงความรู้จากเอกสาร ตำรา ฐานข้อมูล และเชี่ยวชาญ ทีมพัฒนาจะทำการจัดความรู้ที่ได้มาให้อยู่ในรูปที่เข้ากันได้กับโครงสร้างของฐานความรู้ เพื่อที่จะได้สามารถบรรจุความรู้ที่ได้มาลงในฐานความรู้ได้

4. ส่วนอธิบาย (explanation subsystem)

เป็นส่วนที่อธิบายถึงรายละเอียดของข้อสรุปหรือคำตอบที่ได้มานั้น มาได้อย่างไร และทำไมถึงมีคำตอบเช่นนั้น

5. การติดต่อกับผู้ใช้ (user interface)

เนื่องจากผู้ใช้จะมีความรู้ในงานสารสนเทศที่แตกต่างกัน หรือผู้ใช้บางคนไม่เคยชินกับการรับคำแนะนำจากระบบสารสนเทศ ตลอดจนผู้ใช้มีความต้องการที่หลากหลาย ดังนั้นผู้พัฒนาระบบจึงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการติดต่อระหว่าง ES กับผู้ใช้ ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง ES กับผู้ใช้ที่มีความสะดวก ทำให้ผู้ใช้เกิดความพอใจและสามารถใช้ระบบจนเกิดความชำนาญ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ

ระบบ ES หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการ วิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหา ต่างๆ ได้จากฐาน ความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรคหรือเครื่อง คอมพิวเตอร์ ทำนายโชคชะตา เป็นต้น


ส่วนที่หนึ่ง การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system development) พัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ซึ่งเป็นวิศวกรที่มีความรู้ (Knowledge engineer) แล้วพัฒนาเป็นโปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system shell) ซึ่งเป็นตัวช่วยในการทำงานแล้วได้มาซึ่งความรู้ (Knowledge acquisition) ซึ่งนำไปเก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งของฐานความรู้ (Knowledge base)

ส่วนที่สอง ระบบผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติการ (Operational expert system) เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ทำหน้าที่คุมการทำงานของซอฟต์แวร์
ทั้งหมด รวมทั้งการปฏิบัติงานของโปรแกรมด้วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเครื่อง คอมพิวเตอร์จะให้คำแนะนำ (Facts of immediate problem) เข้าไปจากตัวเชื่อมผู้ใช้ (User interface) ไปที่เครื่องช่วยอธิบาย (Explanation facility) ไป 2 ทางคือ กลไกอนุมาน (Inference engine) หาจากหน่วยความจำ (Working memory) และเป็นฐานความรู้ (Knowledge base)

การพัฒนา


1. การวิเคราะห์ปัญหา

ดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ในสถานการณ์จริง โดยทำความเข้าใจกับปัญหา จัดขั้นตอนในการแก้ปัญหา การกำหนดรูปแบบของการให้คำปรึกษา ตลอดจนรวบรวมความรู้ และความเข้าใจในสาระสำคัญที่จะนำมาประกอบการพัฒนาระบบ และต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นสำคัญ

2. การเลือกอุปกรณ์

พิจารณาความเหมาะสมของส่วนประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

2.1 การแสดงความรู้

2.2 การติดต่อกับผู้ใช้

2.3 ชุดคำสั่ง

2.4 การบำรุงรักษาและการพัฒนาระบบ

3. การถอดความรู้

ผู้พัฒนาระบบต้องทำการสังเกต ศึกษา และทำความเข้าใจกับความรู้ที่จะนำมาพัฒนาเป็น ES จากแหล่งอ้างอิง หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น เพื่อการกำหนดขอบเขตที่เหมาะสมของระบบ

4. การสร้างต้นแบบ

นำส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมามาประกอบการสร้างต้นแบบ พร้อมทั้งทดสอบการทำงานของต้นแบบที่สร้างขึ้นว่าสามารถทำงานได้ตามที่ไว้วางแผนไว้หรือไม่

5. การขยาย การทดสอบและบำรุงรักษา

หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้นและสามารถผ่านการทดสอบการทำงานแล้ว เพื่อที่จะได้ระบบสามารถนำไปใช้สภาวะการณ์จริงได้ ก็จะต้องทำการขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นจากต้นระบบ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นฐานความรู้

คุณสมบัติของระบบผู้เชี่ยวชาญ

ต้องสามารถเรียนรู้สิ่งที่ผ่านมาได้ หรือสามารถเข้าใจจากประสบการณ์

ต้องสามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ได้

ต้องสามารถคิดโดยใช้หลัการของเหตุผลได้

ต้องสามารถประยุกต์ให้สามารถใช้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวได้ให้เป็นประโยชน์ได้

ต้องสามารถคิดอะไรต่างๆได้ด้วยตัวเอง หรือการมีความคิดเป็นของตัวเอง

ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System)


ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญเสียไป เมื่อเกิดการลาออกของพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ

ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพ และมีศักยภาพในการนำมาใช้งานได้อย่างทันท่วงทีเมื่อต้องการ

ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่

ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อาจเกิดกับมนุษย์ เช่น ความเมื่อยล้า ความสับสนวุ่นวาย หรือปัญหาอารมณ์

ใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า

Animal Expert System



บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ครูต้น กฤษดา สุนทร 5211181218 ใน การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

หมายเลขบันทึก: 355191, เขียน: 7 ปีที่แล้ว, แก้ไข, 4 ปีที่แล้ว, สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน, อ่าน: คลิก

คำสำคัญ (Tags) #uncategorized#ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system : es)

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/355191

หมายเลขบันทึก: 628117เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2017 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2017 10:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท