ระบบผู้เชี่ยวชาญ


Expert System

ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System

ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือระบบคอมพิวเตอร์ ที่จำลองการตัดสินใจของมนุษย์ ผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง โดยใช้ความรู้และการสรุปเหตุผลเชิงอนุมาน (inference) ในการแก้ปัญหายากๆ ที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ระบบผู้เชี่ยวชาญได้ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้งานในระบบต่างๆ อย่างแพร่หลายมากว่า 30 ปี ไม่ว่าจะเป็นในแวดวงธุรกิจ การแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น

ระบบ ES หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ

จัดเป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งที่นำวิทยาการของปัญหาประดิษฐ์เข้ามาใช้จัดการสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสนเทศที่เป็น องค์ความรู้ (knowledge) ในเฉพาะสาขาหรือเฉพาะด้าน ดังนั้นระบบผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างฐานความรู้ (knowledge base) และ กลไกในการตั้งคำถาม และหาคำตอบ (จาก knowledge base) ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการถามและตอบสิ่งที่ถามเสมือนหนึ่งคุยกับผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ

 

ส่วนประกอบของ Expert System  ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ  ดังนี้

1. ฐานความรู้ (knowledge base)

2. เครื่องอนุมาน (inference engine)

3. ส่วนดึงความรู้ (knowledge acquisition subsystem)

4. ส่วนอธิบาย (explanation subsystem)

5. การติดต่อกับผู้ใช้ (user interface)

 

1. ฐานความรู้ (knowledge base)

    ส่วนที่เก็บความรู้ทั้งหมดของผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมจากการศึกษาและจากประสบการณ์ โดยมีการกำหนดโครงสร้างของข้อมูล (Data Structure) ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน โดยฐานความรู้จะรวบรวมตรรกะ (Logic) ในการปฏิบัติงาน

2. เครื่องอนุมาน (inference engine)

    เป็นส่วนควบคุมการใช้ความรู้ในฐานความรู้ เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จะทำหน้าที่ตรวจสอบกฎเกณฑ์ที่อยู่ในฐานความรู้ โดยการใช้เหตุผลทางตรรกะสำหรับแต่ละเหตุการณ์ ซึ่งมักจะอยู่ในลักษณะ ถ้า…แล้ว…

 

3. ส่วนดึงความรู้ (knowledge acquisition subsystem)

    เป็นส่วนที่ดึงความรู้จากเอกสาร ตำรา ฐานข้อมูล และเชี่ยวชาญ ทีมพัฒนาจะทำการจัดความรู้ที่ได้มาให้อยู่ในรูปที่เข้ากันได้กับโครงสร้างของฐานความรู้ เพื่อที่จะได้สามารถบรรจุความรู้ที่ได้มาลงในฐานความรู้ได้

4. ส่วนอธิบาย (explanation subsystem)

     เป็นส่วนที่อธิบายถึงรายละเอียดของข้อสรุปหรือคำตอบที่ได้มานั้น มาได้อย่างไร และทำไมถึงมีคำตอบเช่นนั้น

5. การติดต่อกับผู้ใช้ (user interface)

   เนื่องจากผู้ใช้จะมีความรู้ในงานสารสนเทศที่แตกต่างกัน หรือผู้ใช้บางคนไม่เคยชินกับการรับคำแนะนำจากระบบสารสนเทศ ตลอดจนผู้ใช้มีความต้องการที่หลากหลาย ดังนั้นผู้พัฒนาระบบจึงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการติดต่อระหว่าง ES กับผู้ใช้ ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง ES กับผู้ใช้ที่มีความสะดวก ทำให้ผู้ใช้เกิดความพอใจและสามารถใช้ระบบจนเกิดความชำนาญ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ

การพัฒนา

1. การวิเคราะห์ปัญหา

      ดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ในสถานการณ์จริง โดยทำความเข้าใจกับปัญหา จัดขั้นตอนในการแก้ปัญหา การกำหนดรูปแบบของการให้คำปรึกษา ตลอดจนรวบรวมความรู้ และความเข้าใจในสาระสำคัญที่จะนำมาประกอบการพัฒนาระบบ และต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นสำคัญ

 

n  2. การเลือกอุปกรณ์

พิจารณาความเหมาะสมของส่วนประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

n  2.1 การแสดงความรู้

n  2.2 การติดต่อกับผู้ใช้

n  2.3 ชุดคำสั่ง

n  2.4 การบำรุงรักษาและการพัฒนาระบบ

 

3. การถอดความรู้

     ผู้พัฒนาระบบต้องทำการสังเกต ศึกษา และทำความเข้าใจกับความรู้ที่จะนำมาพัฒนาเป็น ES จากแหล่งอ้างอิง หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น เพื่อการกำหนดขอบเขตที่เหมาะสมของระบบ

4. การสร้างต้นแบบ

    นำส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมามาประกอบการสร้างต้นแบบ พร้อมทั้งทดสอบการทำงานของต้นแบบที่สร้างขึ้นว่าสามารถทำงานได้ตามที่ไว้วางแผนไว้หรือไม่

5. การขยาย การทดสอบและบำรุงรักษา

     หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้นและสามารถผ่านการทดสอบการทำงานแล้ว เพื่อที่จะได้ระบบสามารถนำไปใช้สภาวะการณ์จริงได้ ก็จะต้องทำการขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นจากต้นระบบ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นฐานความรู้ 

คุณสมบัติของระบบผู้เชี่ยวชาญ

n  ต้องสามารถเรียนรู้สิ่งที่ผ่านมาได้ หรือสามารถเข้าใจจากประสบการณ์

n  ต้องสามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ได้

n  ต้องสามารถคิดโดยใช้หลัการของเหตุผลได้

n  ต้องสามารถประยุกต์ให้สามารถใช้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวได้ให้เป็นประโยชน์ได้

n  ต้องสามารถคิดอะไรต่างๆได้ด้วยตัวเอง หรือการมีความคิดเป็นของตัวเอง

 

ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System)

n  ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญเสียไป เมื่อเกิดการลาออกของพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ

n   ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพ และมีศักยภาพในการนำมาใช้งานได้อย่างทันท่วงทีเมื่อต้องการ

n   ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่

n   ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อาจเกิดกับมนุษย์ เช่น ความเมื่อยล้า ความสับสนวุ่นวาย หรือปัญหาอารมณ์

n   ใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า

n  Animal Expert System

หมายเลขบันทึก: 355191เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2010 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท