เต๋าแห่งฟิสิกส์ ตอนที่ 1 : บททั่วไป


เต๋าแห่งฟิสิกส์ ตอนที่ 1 : บททั่วไป

15 เมษายน 2560

ยังอยู่ในความทรงจำตลอดเวลากว่า 40 ปีเศษ หนังสือขายดี (bestseller) ในสหรัฐอเมริกาเรื่อง “เต๋าแห่งฟิสิกส์” The Tao of Physics [1] นี้เขียนโดย Fritjof Capra (ฟริตจอฟ คาปร้า) ตีพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี 1975 (พ.ศ. 2518) โดยสำนักพิมพ์ Shambhala Publications USA. ปกแข็งขนาด 356 หน้า (pp.) เป็นบทสำรวจความคล้ายกันระหว่างฟิสิกส์สมัยใหม่ กับ เวทย์มนต์ลึกลับของตะวันออก (An Exploration of the Parallels Between Modern Physics and Eastern Mysticism) ว่าเป็น “การเชื่อมโยงของตะวันตกกับตะวันออก” “พยายามมองวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ แบบองค์รวมเหมือน ชาวตะวันออก” ซึ่งได้มีการตีพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษถึงปี 2000 จำนวน 14 ครั้ง พิมพ์ซ้ำอีก 43 ครั้งและได้แปลออกเป็นภาษาต่างๆ 23 ภาษา (43 editions in 23 languages) แม้ว่าช่วงตีพิมพ์แรกๆจะใช้ต้นทุนนัก จนหนังสือขายดีแบบปากต่อปาก (an underground bestseller by word of mouth) สำนักพิมพ์อเมริกันจึงรับไปพิมพ์จำหน่าย [2]

ผู้เขียนชื่อ Fritjof Capra (ฟริตจอฟ คาปร้า : 1939-ปัจจุบัน) เป็นนักฟิสิกส์และนักปรัชญาสังคมชาวออสเตรีย (Ph.D., physicist and systems theorist) เขาเกิด และใช้ชีวิตวัยเยาว์ในชนบทอย่างใกล้ชิดธรรมชาติ เขาเป็นผู้ซึ่งโด่งดังมากในช่วงทศวรรษ 1980 ผลจากการแสวงหาแห่งยุคแห่งบุปผาชน ยุคแห่งการแสวงหาสันติภาพ

ทั้งเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีในยุคหลังไอน์สไตน์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เขาเข้าใจทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีควอนตัมอย่างลึกซึ้งที่สุดคนหนึ่งของโลก

เขาเขียน ธันวาคม 2517 (1974) มีปราชญ์ตะวันออกสองท่านช่วยคือ ฟิรอซ เมห์ทา (Phiroz Mehta) แนะนำแง่มุมศาสนาในอินเดีย และ หวิวซิ่วฉี (Liu Hsiu Chi) อาจารย์สอนไท้จี แนะนำเกี่ยวกับเต๋า

ในไทยแพร่หลาย ปี 2525-2526 เพราะเริ่มแปลปี 2527 ในจุลสาร “วิถี” ชมรมพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระประชา ปสันนธัมโม เขียนคำนิยม 25 มกราคม 2527 และ ดร.ระวิ ภาวิไล 12 มกราคม 2527

วเนช ผู้แปล จบการศึกษาเภสัชบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเภสัชกรชุมชน ชมรมพุทธ ทำงานร่วม ดร.ระวี ภาวิไล แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory) และทฤษฎีสัมพันธภาพ (Relativity Theory)

“..นับพันปีมาแล้ว ผู้บรรลุธรรมทางตะวันออกเชื่อว่า โลกคือความกลมกลืนของสรรพสิ่ง ปัจจุบัน ฟิสิกส์ หัวขบวนของวิทยาศาสตร์ได้วิวัฒนาการตัวเองจนทำลายรากฐานแบบเดิม ๆ ของวิทยาศาสตร์ลง และได้แสดงให้เห็นว่าภูมิปัญญาของฟิสิกส์ใหม่กับภูมิปัญญาของศาสนาตะวันออกแต่ดั้งเดิม เป็นคนละด้านของเหรียญเดียวกัน จากตะวันตก สู่ตะวันออก จากวัตถุ สู่จิต จากอนาคต สู่อดีต เส้นแบ่งแยกที่มีอยู่ในสามัญสำนึกของเราได้ถูกทำลายลงและเปิดทางให้ เต๋าและฟิสิกส์ ได้แสดงความเป็นหนึ่งเดียวของทั้งสอง เป็นหนังสือคลาสสิกสำหรับผู้ค้นหาคำอธิบายวิกฤตการณ์สังคมอย่างลุ่มลึกที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งในโลก..”

รากฐานวิชาฟิสิกส์ในศตวรรษที่ 20 คือ ทฤษฎีควอนตัม และทฤษฎีสัมพันธภาพ โลกทัศน์คล้ายคลึงกับโลกทัศน์ของชาวฮินดู พุทธ และเต๋า ในคัมภีร์พระเวท พระสูตร คัมภีร์อี้จิง (I Ching) เอาสองทฤษฎีมาอธิบายปรากฏการณ์ในโลกของอนุภาค “อะตอม” (Atom) ที่เล็กมาจนมองไม่เห็น ฟริตจอฟ คาปร้า ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือของเขาว่า “การค้นพบกลศาสตร์ควอนตัมและทฤษฎีสัมพัทธภาพได้เปิดสองทางเลือกที่แตกต่างกันมากแก่นักฟิสิกส์ หาก จะกล่าวอย่างสุดโต่งแล้ว ทางหนึ่งจะนำเราเข้าหาพระพุทธเจ้า และอีกทางหนึ่งก็คือเข้าหาระเบิด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพวกเราเองว่าจะเลือกเดินทางไหน” [3]

นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายว่า “สัมพันธภาพทุกอย่างเป็นสิ่งแน่นอน แตกต่างจากหลักควอนตัมที่ใช้แต่ความน่าจะเป็น การสุ่มและการมีสองสถานะได้ในเวลาเดียวกัน อีกอย่างสัมพันธภาพอธิบายได้แต่วัตถุขนาดใหญ่ ภายใต้แรงโน้มถ่วงเป็นหลัก ต่างจากควอนตัมที่อธิบายแต่สิ่งเล็กๆ” เป็น Main Concept ของสองทฤษฎีเลยครับที่ขัดแย้งกัน เรื่องการได้มาซึ่งค่าของปริมาณทางฟิสิกส์หนึ่งๆ สัมพัทธภาพ: การวัดค่ามีความแม่นยำ และการวัดไม่กระทบระบบ ควอนตัม: การวัดค่ามีความไม่แน่นอน และการวัดกระทบระบบเสมอ” [4]

ฟริตจอฟ คาปร้า กล่าวว่า วิชาฟิสิกส์ ไม่ต้องการความลึกลับ และความลึกลับก็ไม่ต้องการฟิสิกส์ แต่สำหรับมนุษยชาติแล้วต่างต้องการทั้งสองสิ่ง (“Physicists do not need mysticism,” Dr. Capra says, “and mystics do not need physics, but humanity needs both.”)

เขามองเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างปรัชญาตะวันออกกับฟิสิกส์สมัยใหม่ เห็นจุดร่วมและความเหมือนที่ “ความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งของสรรพสิ่ง”

ผลงานโด่งดัง 3 เรื่องของคาปร้า

สรุปผลงานดังของฟริตจอป คาปร้า นอกจากหนังสือ (1) “เต๋าแห่งฟิสิกส์” (The Tao of Physics ; 1975) เป็นงานที่กล่าวถึงความสอดคล้องระหว่างแนวคิดตะวันออก (รวมทั้งพระพุทธศาสนาด้วย) กับฟิสิกส์แนวใหม่หรือควอนตัมฟิสิกส์ คาปร้า ยังมีหนังสืออีกสองเล่ม คือ (2) “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” (The Turning Point : Science, Society, and the Rising Culture, 1982) กล่าวถึงจุดติดตันของกระบวนทัศน์แบบเก่าที่ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบวิทยาศาสตร์ของเบคอน เดคาร์ตส์ และนิวตัน และสังคมโลกกำลังเคลื่อนย้ายเข้าสู่กระบวนทัศน์ใหม่ที่ตั้งอยู่บนฐานของฟิสิกส์ใหม่ หรือกระบวนทัศน์แบบองค์รวม (holistic view) และ (3) “ภูมิปัญญาแห่งศตวรรษ” (Uncommon Wisdom : January 1, 1988) [5] แปลเป็นไทยแล้วโดยวิศิษฐ์ วังวิญญู เป็นงานที่เล่าถึงความเป็นมาของงานเรื่องเต๋าแห่งฟิสิกส์ เป็นการกล่าวถึงประสบการณ์ที่เขาได้สนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะใหม่ ๆ กับบุคคลสำคัญของโลก เช่น เวอร์ ไฮเซนเบิร์ก เดวิด บอร์ม เจ. กฤษณะมูรติ และจอฟฟรีย์ ชิว เป็นต้น จนตกผลึกออกเป็นหนังสือเรื่อง “เต๋าแห่งฟิสิกส์” ทั้ง 3 เรื่องนี้ ได้กล่าวถึงพระพุทธศาสนาพร้อมกันไปกับลัทธิเต๋า และฮินดู ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอนำงานทั้ง 3 เรื่องนี้มาเสนอในฐานะเป็นตัวแทนแนวโน้มวรรณกรรมพระพุทธศาสนาในประเทศตะวันตก

หรือ ที่มีมีผู้เรียกว่า เป็นโลกทัศน์สองแบบ “ควอนตัมกับดอกบัว” [6] อันได้แก่ “ดอกบัว” (Lotus) อันหมายถึงโลกทัศน์แบบพุทธ และ “ควอนตัม” (Quantum) ซึ่งหมายถึง โลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ใหม่ในแบบกลศาสตร์ควอนตัม

ทั้งสามเล่มนี้มีแปลเป็นภาษาไทยและนักศึกษาระดับปริญญาโทปริญญาเอกในหลายมหาวิทยาลัยไทยต้องอ่าน

นอกจากนี้ มีเด่นผลงานที่ (4) The Web of Life (1997) และ ผลงานที่ (5) The Hidden Connections: A Science for Sustainable Living (2004) สิ่งที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดของสิ่งที่คาปร้านำเสนอทั้งหมดคือกระบวนทัศน์แบบองค์รวม (Holistic view) ที่ตรงข้ามกับกระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ยุคเก่า ที่มองสรรพสิ่งแบบแยกส่วน (Reduction)

ฟิสิกส์คืออะไร [7]

มีคำถามว่า “ฟิสิกส์คืออะไร” ก็เพราะความอยากรู้อยากเห็นและความช่างสังเกตเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดการศึกษา ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาด้วยวิธีการต่างๆ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าเรียนรู้สำหรับทุกคน โดยเฉพาะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า ฟิสิกส์

ฟิสิกส์ (Physics) เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาธรรมชาติของสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การค้นคว้าหาความรู้ทางฟิสิกส์ทำได้โดยการสังเกต การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นทฤษฎี หลักการหรือกฎ ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือทำนายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และความรู้นี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

(1) ฟิสิกส์ คือ การศึกษากฎธรรมชาติ (2) ฟิสิกส์ คือ วิทยาศาสตร์ที่อธิบายวัตถุและพลังงาน (3) ฟิสิกส์ คือ พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทั้งมวล (4) ฟิสิกส์ คือ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาและรวบรวมจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Principle of Physics Frederick J. Bueche)

ฟิสิกส์ คือ วิทยาศาสตร์ที่อาศัยการทดลอง อะไรก็ตามที่ต้องเรียนรู้โลกทางกายภาพ จะเรียนรู้ผ่านการทดลอง (University physics Sear / Zemansky, Young.)

ฟิสิกส์คือธรรมชาติ

ฟิสิกส์ (อังกฤษ: Physics, กรีก: phusikos, “เป็นธรรมชาติ” และ กรีก: phusis, “ธรรมชาติ”) เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน (matter and energy) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน [8]

เนื้อหาหัวข้อในฟิสิกส์ [9]

(1) การวัด (Measures) (2) กลศาสตร์ (Mechanics) : มวล (Mass) แรง (Force) และ การเคลื่อนที่ (Motion), งาน (work หรือ งานเชิงกล ในทางฟิสิกส์) และ พลังงาน (energy), โมเมนตัม, สมบัติของสสาร (matter) ก๊าซ ของเหลว (Liquids) ของแข็ง (solid) ของไหล (Fluid) ความร้อน/อุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics) (3) คลื่น (Waves) : สมบัติของคลื่น, เสียง, แสง (4) แม่เหล็กไฟฟ้า (Electro Magnetics) : ไฟฟ้าสถิตย์, กระแสไฟฟ้า, แม่เหล็ก-ไฟฟ้า, ไฟฟ้ากระแสสลับ, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (5) นิวเคลียร์ฟิสิกส์ (Nuclear physics) : อะตอม อิเล็กตรอน, นิวเคลียร์ กัมมันตภาพรังสี

What is Physics?

Physics is a natural science based on experiments, measurements and mathematical analysis with the purpose of finding quantitative physical laws for everything from the nanoworld of the microcosmos to the planets, solar systems and galaxies that occupy the macrocosmos. [10]

Physics ; The science of matter and energy and of interactions between the two, grouped in traditional fields such as acoustics, optics, mechanics, thermodynamics, and electromagnetism, as well as in modern extensions including atomic and nuclear physics, cryogenics, solid-state physics, particle physics, and plasma physics. (Physics, Define Physics at Dictionary.com) [11]

Physics ; the branch of science concerned with the nature and properties of matter and energy. The subject matter of physics, distinguished from that of chemistry and biology, includes mechanics, heat, light and other radiation, sound, electricity, magnetism, and the structure of atoms. [12]

Physics ; the science that deals with matter, energy, motion, and force. [13]

Contemporary Research fields in Physics : the major fields of physics, along with their subfields are ; Field/Subfields [14]

(1) Nuclear and particle physics : Nuclear physics, Nuclear astrophysics, Particle physics, Particle astrophysics, Particle physics phenomenology

(2) Atomic, molecular, and optical physics : Atomic physics, Molecular physics, Atomic and Molecular astrophysics, Chemical physics, Optics, Photonics

(3) Condensed matter physics : Solid state physics, High pressure physics, Low-temperature physics, Surface Physics, Nanoscale and Mesoscopic physics, Polymer physics

(4) Astrophysics : Astronomy, Astrometry, Cosmology, Gravitation physics, High-energy astrophysics, Planetary astrophysics, Plasma physics, Solar physics, Space physics, Stellar astrophysics

(5) Applied Physics : Accelerator physics, Acoustics, Agrophysics, Biophysics, Chemical Physics, Communication Physics, Econophysics, Engineering physics, Fluid dynamics, Geophysics, Laser Physics, Materials physics, Medical physics, Nanotechnology, Optics, Optoelectronics, Photonics, Photovoltaics, Physical chemistry, Physics of computation, Plasma physics, Solid-state devices, Quantum chemistry, Quantum electronics, Quantum information science, Vehicle dynamics

การสนทนาแบบโบห์ม (Bohm's Dialogue) [15]

ขอแถมท้ายแนวคิดที่ทันสมัย แนวเดียวกับแนวคิดแบบองค์รวม (Holistic) ของคาปร้า ก็คือ แนวคิด “การสนทนาแบบโบห์ม” หรือ Bohm's Dialogue หรือ Bohm Dialogue หรือ Bohmian Dialogue หรือ "Dialogue in the Spirit of David Bohm" (1996 : ตีพิมพ์หลังการตาย 4 ปี)

เดวิด โบห์ม (David Bohm : 1917 - 1992) เป็นนักฟิสิกส์และนักปรัชญาชาวอเมริกันเชื้อสายยิวที่มีชื่อเสียง เกิดที่รัฐเพนซิลเวเนีย บิดาของโบห์มเปิดร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ช่วยพระในศาสนายิว (rabbi) ในโบสถ์ท้องถิ่นด้วย เขาเสนอผลงานทางสังคมศาสตร์ภายใต้กระบวนทัศน์แบบองค์ รวมเช่นเดียวกับคาปร้า แต่มีจุดเน้นที่การสื่อสาร (Communication) ของมนุษย์ โบห์มเชื่อว่า การสื่อสารที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนทัศน์แบบองค์รวมนี้จะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ ของมนุษยชาติตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร ไปจนถึงปัญหาในระดับประเทศและระหว่างประเทศ โบห์มเขียนหนังสือแนวนี้หลายเล่ม แต่เล่มที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ “On Dialogue” น่าสังเกตว่าหนังสือเล่มนี้ได้รับการต้อนรับดีมากเนื่องจากไม่ได้เป็นหนังสือที่เสนอ “แนวคิด” ในเชิงทฤษฎีเท่านั้น แต่ได้เสนอ “วิธีปฏิบัติ” เลย นั่นคือวิธีปฏิบัติการสื่อสารเพื่อความสมานฉันท์ของมนุษยชาติ ที่ต่อมาเรียกกันว่า Bohm’s Dialogue หรือเรียกสั้นๆ ว่า Dialogue

โบห์ม เป็นศาสตราจารย์เกษียณอายุ (Emeritus Professor of Theoretical Physics) ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน เขาจบปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์ทฤษฎีที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ และได้เป็นผู้ช่วยศาตราจารย์ทำงานร่วมกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (1879-1955) ที่มหาวิทยาลัยปรินส์ตัน รัฐนิวเจอร์ซี โบห์มเป็นผู้อธิบายทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory) ให้แก่ไอน์สไตน์และเป็นคนแรกที่แต่งตำราทฤษฎีควอนตัม คำอธิบายทางทฤษฎีเกี่ยวกับปรากฏการณ์อิเล็กตรอนของโบห์มชิ้นหนึ่งมีชื่อเรียกในวงการฟิสิกส์ว่า Bohm Diffusion

หนังสือเล่มสุดท้ายที่บูรณาการแนวคิดจากเล่มก่อนและวิธีการสนทนาที่โบห์มเสนอ คือ “On Dialogue” (1996) หนังสือของโบห์มแทบทุกเล่มได้รับการแปลออกเป็นหลายภาษา

แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อโบห์ม คือ Jiddu Krishnamurti (ชิททู กฤษณะมูรติ : 1895 – 1986) [16] นักปรัชญา นักพูด นักเขียนและนักคิดอิสระ ชาวอินเดีย ที่โบห์มได้ติดตามศึกษา

ผู้ที่กฤษณมูรติเคารพเป็นพิเศษ คือ พระพุทธเจ้า เขาประกาศชัดเจนว่าไม่ต้องการก่อตั้งศาสนาใหม่ แต่สิ่งที่เขาสนใจเพียงประการเดียว คือ “ปลดปล่อยมนุษย์” ให้เป็นอิสระ โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ เขาก่อตั้งมูลนิธิกฤษณมูรติขึ้น

โบห์มบอกว่า การเห็นกระบวนการทำงานของการคิดของเราจึงเปรียบเหมือนการเห็นความลับของนักมายากล ที่เมื่อเห็นแล้วก็ไม่ใช่ความลับอีกต่อไป กุญแจสำคัญอยู่ที่การที่ทุกคนได้เห็นความลับนี้ด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจึงจะเกิดขึ้น นั่นคือโลกจะถูกสร้างขึ้นโดยการเห็นกระบวนการคิด ปล่อยวางอคติทั้งปวง แล้วมาเรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์ร่วมกัน โบห์มไม่ได้บอกว่า Dialogue เป็นคำตอบสุดท้ายในการแก้ปัญหาของมนุษยชาติ แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

โบห์มเริ่มคิดว่าปัญหาของมนุษยชาติจะแก้ไขได้ด้วยการสื่อสารในแบบที่ต่อมาเขาเรียกว่า Dialogue มาตั้งแต่ปี 1983 (Bohm, Factor and Garrett, 1991) แต่หนังสือ On Dialogue ของเขาเพิ่งได้รับการพิมพ์เผยแพร่เป็นทางการครั้งแรกในปี 1996 หลังจากโบห์มเสียชีวิตแล้ว 4 ปี โดยสำนักพิมพ์ Routledge มี Lee Nichol เป็นบรรณาธิการและเขียนคำนำ

วิธีการสนทนาแบบโบห์ม

แม้จะไม่มีกฎตายตัว (no firm rule) ว่าจะ ต้อง ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะหัวใจของการสนทนาแบบนี้คือการเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมสนทนาแบบโบห์มจะต้องฝึกตัวเองให้มีอุปนิสัยต่อไปนี้ 4 ขั้นตอน คือ

(1) ไม่ด่วนสรุป (suspending of judgment) การชะลอการตัดสินคำพูดและความคิดของผู้อื่นทำให้ใจเราเปิด เราจะ ได้ยิน และเข้าใจทัศนะของทุกคนได้ดีขึ้น เป็นการได้ยินในแบบใหม่ที่เราอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน เราจะได้ยินสิ่งที่คนอื่นพูดอย่างแท้จริง โบห์มบอกว่า “...ในกลุ่มสนทนา เราจะไม่ตัดสินว่าจะทำอะไรทั้งสิ้น อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก มิฉะนั้นเราจะไม่เป็นอิสระ เราต้องมีที่ว่างที่ไม่ผูกพันกับอะไรทั้งสิ้น แม้กระทั่งกับข้อสรุป กับข้อที่ว่าต้องพูดและไม่พูดอะไร มันเปิดและเป็นอิสระ...” นอกจากนี้ การไม่วิพากษ์วิจารณ์ ไม่ตัดสิน ยังช่วยสร้างบรรยากาศแห่งความไว้วางใจกันในกลุ่มสนทนา

(2) ฟังลึก (deep listening) ในการสนทนาแบบโบห์มเราฟังทั้งสิ่งที่เราชอบและไม่ชอบ ไม่โจมตีความคิดที่ไม่เห็นด้วย นั่นคือ ฟังโดยไม่ต้องไปให้คุณค่าว่าดีหรือเลว น่าเชื่อหรือไม่น่าเชื่อ แต่ละคน ฟัง เพื่อให้ ได้ยิน ทั้ง ความหมาย (meaning) ที่แท้จริงที่แต่ละคนสื่อ และทั้ง ความหมาย ที่คลี่ (unfold) ออกมาจากสนทนาของกลุ่ม

(3) ค้นหาข้อสมมุติฐานของตน (Identifying Assumption) เราเห็นโลกตามข้อสมมุติฐานของเราและเราก็แสดงออกต่อคนอื่นตามสมมุติฐานนั้น โดยที่เราเองไม่เห็นข้อสมมุติฐานที่อยู่ในตัวเรา การเรียนรู้ที่จะค้นให้พบข้อสมมุติฐานของตัวเอง ซึ่งทำได้โดยการฝึกสังเกตความคิด ไล่ให้ทันความคิดของตัวเอง “...เราสามารถชะลอกระบวนการคิดให้ช้าลงเพื่อให้สามารถสังเกตความคิดขณะที่กำลังเกิดขึ้น...” (การมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ???) การเห็นข้อสมมุติฐานของตัวเองจะทำให้เราสามารถมองโลกแตกต่างออกไป และจะทำให้เราเคารพคนอื่น ยอมรับคนอื่น แม้กระทั่งคนที่คิดต่างจากเรา มองเห็นว่าทุกคนที่แตกต่างกันนั้นล้วนสามารถมีส่วนในการเรียนรู้และสร้างสรรค์ได้

(4) ติดตามตรวจตราและไตร่ตรอง (Inquiry and Reflection) เมื่อเราไม่เข้าใจในความหมายที่คนอื่นพูด เราสอบถามเพื่อหาคำตอบอย่างบริสุทธิ์ใจที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้เกิดการค้นหาและเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งต่างจากการตั้งคำถามเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ที่จะทำให้ผู้ร่วมสนทนารู้สึกถูกคุกคาม ไม่ปลอดภัย แต่เป็นการตั้งคำถามเพื่อขุดความคิดความเห็นที่ใหม่ๆ ที่อยู่ลึกลงไปขึ้นมา เป็นคำถามที่ช่วยให้ทุกคนในกลุ่มได้ไตร่ตรองและพัฒนาความเข้าใจร่วมกันไปด้วย


[1] Fritjof Capra, The Tao of Physics (เต๋าแห่งฟิสิกส์), WILDWOOD HOUSE , LONDON, 1975, http://v1.midnightuniv.org/midschool2000/newpage20... & เต๋าแห่งฟิสิกส์, ฟริตจอฟ คาปร้า เขียน วเนช แปล, http://www.electron.rmutphysics.com/news/index.php...

& The Tao of Physics: An Exploration of the Parallels Between Modern Physics and Eastern Mysticism Paperback – September 14, 2010, https://www.amazon.com/dp/1590308352/ref=cm_sw_su_...

& เต๋าแห่งฟิสิกส์, The Tao of Physics, ฟริตจอฟ คาปร้า, คัดลอกจาก http://www.rit.ac.th/homepage-sc/charud/scibook/ta... , http://www.dharma-gateway.com/misc/misc_tao_of_phy... 

& เต๋าแห่งฟิสิกส์ (บทที่ 1-13) โดย ฟริตจอฟ คาปรา, คัดลอกจาก http://www.rit.ac.th/homepage-sc/charud/scibook/tao%20of%20physics , ใน dharma-gateway : ประตูสู่ธรรม : เครือข่ายเว็บธรรมะ - ธรรมะไทย : แหล่งข้อมูลและความรู้เรื่องพระพุทธศาสนา,
http://www.dharma-gateway.com/misc/misc_tao_of_physics_01.htm  

[2] The Tao of Physics, https://en.wikipedia.org/wiki/The_Tao_of_Physics

[3] วรกฎ ไทยเครือวัลย์ ถึง Tilopa House, 28 มีนาคม 2556,เฟซบุ๊ค

[4] สัมพัทธภาพกับควอนตัม, เวบ panthip, 11 พฤศจิกายน 2556, https://pantip.com/topic/31227872

[5] หนังสือภูมิปัญญาแห่งศตวรรษ (Uncommon Wisdom), 23 กุมภาพันธ์ 2560, http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640437 & ภูมิปัญญาแห่งศตวรรษ: บทสนทนาข้ามพรมแดนความรู้ของผู้ทรงปัญญา จุดเกิดแห่งเต๋าแห่งฟิสิกส์ ('Uncommon Wisdom: Conversations With Remarkable People'), ผู้แต่ง : ฟริตจอฟ คาปร้า, ผู้แปล : วิภาดา กิตติโกวิท, สำนักพิมพ์ : มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 2552 (ครั้งแรกใช้ชื่อ จุดเกิดเต๋าแห่งฟิสิกส์), พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 2558, http://zombie-books.com/product/conversations-with-remarkable-people/?add_to_wishlist=5196

[6] นพรัตน์ รัตนพงศ์ผาสุข, ควอนตัมกับดอกบัว, GotoKnow, 13 พฤษภาคม 2553, https://www.gotoknow.org/posts/358141 & พระพุทธศาสนากับทฤษฎีควอนตัม, สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสงขลา, 27 กรกฎาคม 2558, http://ska.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=283:2015-07-27-01-24-16&catid=95:2015-07-27-01-26-17&Itemid=199 & พระพุทธศาสนากับทฤษฎีควอนตัม : ความเหมือนที่แตกต่าง, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระธรรมโกศาจารย์, (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ที่มา: สารนิพนธ์), http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=686&articlegroup_id=21

[7] ฟิสิกส์คืออะไร ?, https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/general/what....

[8] ฟิสิกส์, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, https://th.wikipedia.org/wiki/ฟิสิกส์

[9] ฟิสิกส์, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, https://th.wikipedia.org/wiki/ฟิสิกส์

[10] What is Physics?, NTNU : Norwegian University of Science and Technology, https://www.ntnu.edu/physics/what

[11] http://www.dictionary.com/browse/physics

[12] http://www.dictionary.com/browse/physics

[13] http://www.dictionary.com/browse/physics

[14] Physics, From Wikipedia, the free encyclopedia, https://en.wikipedia.org/wiki/Physics

[15] การสนทนาแบบโบห์ม Bohm's Dialogue, https://090803.wikispaces.com/file/view/การสนทนาแบบโบห์ม.docx & Bohm Dialogue, From Wikipedia, the free encyclopedia, https://en.wikipedia.org/wiki/Bohm_Dialogue

[16] กฤษณมูรติ, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, https://th.wikipedia.org/wiki/กฤษณมูรติ

หมายเลขบันทึก: 627540เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2017 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2020 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท