(156) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยเชิงคุณภาพ ปีงบประมาณ 2560 : (ตอนที่ 3) ความสำเร็จของ CBR ที่ชุมชนคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่


ทีมวิจัยเข้าไปทำ CBR ชุมชนนี้เมื่อ 2 ปีก่อน .. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนนี้ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนได้เองอย่างต่อเนื่อง

บันทึกนี้เป็นตอนที่ 3 ของการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยเชิงคุณภาพ ปีงบประมาณ 2560 ดิฉันขอนำเสนอประเด็นการวิพากษ์ของวิทยากร ผู้จัดและผู้ร่วมประชุมเท่าที่เก็บประเด็นได้ ดังนี้

ชื่อเรื่อง

การศึกษาความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อการฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยจิตเวช อย่างยั่งยืนตามแนวคิด CBR : กรศึกษาชุมชนคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ที่มา

ตั้งชื่อเรื่องได้ชัดเจนแล้ว X = การฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างยั่งยืนตามแนวคิด CBR

Y = ความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนต้นแบบฯ

ความสำคัญของปัญหา

ทีมวิจัยเข้าไปทำ CBR ชุมชนนี้เมื่อ 2 ปีก่อน ปัจจุบันชุมชนยังคงขับเคลื่อนต่อได้เอง โดยปีนี้ชุมชนได้รับรางวัลภาครัฐแห่งชาติ รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ จากปัญหาของชุมชนที่มีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชมากเป็นอันดับหนึ่งของ จ.กระบี่ (100 คน) และเคยมีจำนวนผู้ป่วย re-admit มากที่สุด หลังจากทำ CBR แล้ว ปัจจุบันไม่มีผู้ป่วยขาดยาและไม่มี re-admit เลย ชุมชนยังคงมีส่วนร่วมดูแลกันเองได้อย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยจึงอยากศึกษาประสบการณ์ความสำเร็จว่า อะไรคือปัจจัยสำคัญ

มีผู้สงสัยว่าผู้วิจัยเป็นผู้เข้าไปทำ CBR เอง เหตุใดไม่ทราบว่าอะไรคือปัจจัยของความสำเร็จ เรื่องนี้อธิบายว่าผู้วิจัยทำ CBR ในหลายชุมชน แต่ชุมชนอื่นขับเคลื่อนต่อไปได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น จึงต้องการศึกษาเชิงคุณภาพ (พิสูจน์ด้วยงานวิจัย) เพื่อถอดรหัสออกมาเป็น model เพื่อนำไปขยายผลในชุมชนอื่นต่อไป

โดยสรุป เนื้อหาในงานวิจัยนี้มีทั้งปัจจัยด้านความสำเร็จและความต้องการพัฒนาเพิ่มเติม นำเสนอรายงานทั้งสองด้าน

มีข้อเสนอแนะสำหรับการขยายผล กรณีชุมชนใดมีบริบทคล้ายกัน สามารถนำไปปรับใช้ได้เลย แต่ถ้าบริบทแตกต่างกันมากก็ให้เสนอแนะว่าควรศึกษาอะไรเพิ่มเติมบ้าง (ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป)

เกณฑ์การคัดเข้ากลุ่ม

Key Informant : ระบุให้ชัดเจนว่ามีใครบ้าง ประกอบด้วยใครบ้าง จำนวนเท่าใด ทั้งบุคลากรจากส่วนกลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผู้นำศาสนา ภาคประชาชน กลุ่มครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มเพื่อนบ้าน

แนวคำถาม

  • กลุ่มนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการเขียนให้เห็นภาพใหญ่ก่อน แล้วแตกประเด็นลงมา แต่ละข้อคำถาม จากใครบ้าง หรือจะไล่เรียงลงมาก่อนแล้วคัดแยกในภายหลังก็ได้
  • คำว่ายั่งยืน definition ให้ชัดเจน (สำหรับการศึกษาครั้งนี้) เช่น ชุมชนนี้มีกำเนิดหรือก่อตั้งเป็นชุมชนมานานเท่าใดแล้ว เราทำ CBR เป็นเวลา 2 ปีกว่าหรือ 3 ปี ถ้าชุมชนอื่นมีระยะเวลาขับเคลื่อนต่อสั้นกว่านี้ เราอาจกำหนดคำว่ายั่งยืนว่าคือ 3 ปีก็ได้ เพราะที่ผ่านมาไม่นานเท่านี้ ถือว่าออกตัวก่อนตั้งแต่แรก
  • งานคุณภาพไม่มี definition แต่ประยุกต์ได้ โดยเขียนในบทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ให้สรุปท้ายเรื่อง(ความยั่งยืน)ว่าเกณฑ์ของเราคืออะไร ทำไมต้องเท่านี้ ซึ่งจะนำไปใช้ในการอภิปรายผ]

สิ่งที่ได้เรียนรู้ :

  • ได้เรียนรู้ว่า นักวิจัยทีมนี้มีความมุ่งมั่นและหนักแน่นมาก เมื่อมีผู้วิพากษ์ตั้งข้อสังเกตว่าในเมื่อผู้วิจัยเป็นผู้เข้าไปทำ CBR เอง แล้วจะเข้าไปประเมินเอง เปรียบได้กับสำนวน ‘หมาขี้ยกหางเอง’ และการที่ผู้ปฏิบัติเข้าไปประเมินผลงานตนเอง ส่งผลให้ผลการประเมินไม่น่าเชื่อถือ นักวิจัยสามารถตอบข้อสังเกตได้ชัดเจน ตรงตามวัตถุประสงค์
  • ได้เรียนรู้ว่า กรณีที่นักวิจัยมีความพร้อมทั้งความรู้และประสบการณ์ เมื่อรวมกับการวิพากษ์ในมุมมองที่หลากหลาย ช่วยให้เห็นภาพความสำเร็จของงานวิจัยที่ประกอบด้วยภาพบวกและข้อจำกัดชัดเจนขึ้น
  • และได้รับรู้ถึง 'พลังบวก' อันเกิดจากความภาคภูมิใจของทีมวิจัย กรณีมีโอกาสดำเนินการต่อยอดจากความสำเร็จเดิม

หมายเลขบันทึก: 626931เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2017 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2017 00:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมเคยสะดุด เจ็บหนักในการเป็น CBR ทำงานไปดีๆ ร่วมกับนักวิจัยไทบ้าน แต่จู่ๆ การเมืองก็ผุดขึ้นมาอย่างมหัศจรรย์ กว่าจะข้ามพ้นกันได้ ก็ใช้พลังมหาศาลเลยครับ การข้ามพ้นก็มีทั้งที่ถอดใจและเติบโต --

ขอบพระคุณ..คุณดารณีมากนะคะที่ช่วยสะท้อนมุมมองให้นักวิจัยและได้แชรืไว้ในgotoknowปัจจุบันงานวิจัยชิ้นนี้ได้คลอดเล่มเรียบร้อยแล้วค่ะ ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอแบบoral ในงานประชุมวิชาการ 100 ปี กระทรวงสาธารณสุข 2561 และ ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอแบบoral ในงานประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ กรมสุขภาพจิตด้วยค่ะ เมื่อเดือนสิงหาคม 251 ที่ผ่านมา อีกทั้งได้นำไปแลกเปลี่ยนวิชาการ ในประเทศเวียดนามด้วยค่ะขอบพระคุณโอกาสที่ดีงามที่ได้ไปเรียนรู้การเขียนงานวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้ ขอบพระคุณผู้จัดกรมสุขภาพจิต และทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมวิพากษ์ด้วยกัน

ขอบพระคุณ..คุณดารณีมากนะคะที่ช่วยสะท้อนมุมมองให้นักวิจัยและได้แชรืไว้ในgotoknowปัจจุบันงานวิจัยชิ้นนี้ได้คลอดเล่มเรียบร้อยแล้วค่ะ ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอแบบoral ในงานประชุมวิชาการ 100 ปี กระทรวงสาธารณสุข 2561 และ ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอแบบoral ในงานประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ กรมสุขภาพจิตด้วยค่ะ เมื่อเดือนสิงหาคม 251 ที่ผ่านมา อีกทั้งได้นำไปแลกเปลี่ยนวิชาการ ในประเทศเวียดนามด้วยค่ะขอบพระคุณโอกาสที่ดีงามที่ได้ไปเรียนรู้การเขียนงานวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้ ขอบพระคุณผู้จัดกรมสุขภสพจิต และทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมวิพากษ์ด้วยกัน

ดิฉันรู้สึกยินดีกับคุณ nootnaka57 ด้วยนะคะ ที่มีโอกาสตอบสนองแรงผลักดันภายใน อย่างมีความ(ฮา) สร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนมากมาย ดิฉันเสียดายโอกาสที่ไม่สามารถเข้าใกล้งานใน field ที่ตนเองรักได้ ทำได้แค่เก็บเล็กเก็บน้อยมาเผยแพร่ในวงกว้าง ขอแสดงความยินดีอีกครั้งนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท