การจัดการภัยพิบัติ


การจัดการภัยพิบัติโดยภาคประชาชน

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศมีความเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้นเรื่อยเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น การรับมือกับภัยพิบัติด้วยตนเองจึงมีความสำคัญต้องมีทักษะการเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ให้ได้กับธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลง

บทสัมภาษณ์ของดร.สมพร ช่วยอารีย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ได้กล่าวไว้ว่าการจัดการภัยพิบัติด้วยตนเองมีความสำคัญและเป็นแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในรายการกินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ได้กล่าวคำจำกัดความของคำว่า ภัยพิบัติ ไว้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ เช่น อุทกภัยเมื่อต้นปี 2560 ภาคใต้มีคนเสียชีวิตมากถึง 95 คนถือเป็นภัยพิบัติที่รุนแรงการป้องกันภัยพิบัติก็คือการลดความสูญเสียความเสียหายให้เป็นศูนย์ ด้วยการบริหารจัดการตนเองให้รู้เท่าทันธรรมชาติซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นประจำทั้งใน อากาศ พื้นดินและใต้ดิน จะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับภูมิศาสตร์และสถานการณ์ต่างๆ การจัดการภัยพิบัติที่ดีที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุเพราะจะทำให้เรามีเวลาในการรับมือกับภัยพิบัติเหล่านั้นแต่ความเป็นจริงส่วนใหญ่คนมักจะชะล่าใจเพราะไม่ให้ความสำคัญกับการคาดการณ์ สิ่งแรกที่ควรรู้คือ พื้นที่ภูมิศาสตร์ของตนเองว่าตรงไหนที่สูงตรงไหนต่ำ ที่ทางน้ำไหลไปทางด้านไหนลมพัดผ่านไปในทิศทางใด สถิติปริมาณน้ำฝนตกอย่างไร มีป่าไม้มีแหล่งกักเก็บน้ำ มีแหล่งชุมชนตรงไหนบ้าง ซึ่งภัยธรรมชาติแต่ละอย่างมันจะแตกต่างกัน เช่น ดินโคลนถล่มอยู่ที่สูงก็เสี่ยงอยู่ที่ลาดชันก็เสี่ยง แต่ถ้าเกิดสึนามิมาเราอยู่ที่สูงก็ปลอดภัย ถ้าเรารู้เท่าทันมันเราก็จะรับมือกับภัยนั้นนั้นได้ เราต้องพยายามทำความเข้าใจในภูมิศาสตร์ของบ้านเราเอง ในระดับหมู่บ้านตำบลหรือกว้างกว่านั้นคือจะทำให้เรารู้บริบทของภัยที่เสี่ยงต่อบ้านเราต่อพื้นที่ของเรา และภัยที่ไม่มีความเสี่ยงต่อบ้านเรา เราก็ต้องมีความรู้บ้างเพราะทุกคนมีการเดินทางไปในถิ่นที่ไม่ได้อยู่อาศัยต้องรู้ภัยที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นว่ามีอะไรบ้าง เป็นความโชคดีที่เราสามารถมองเห็นการก่อตัวของพายุและเส้นทางการพัดผ่านของพายุจากภาพดาวเทียมสามารถคาดคะเนเหตุการณ์ได้ล่วงหน้า ซึ่งแตกต่างกับสึนามิและแผ่นดินไหวเราจะไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้

การรับรู้ข่าวสารควรรับรู้ข่าวสารให้ครบทุกช่องทางแหล่งข่าวทางราชการและการวิเคราะห์จากตัวเองเพราะแหล่งข่าวกำหนดเขตพื้นที่จังหวัด อำเภอ ภาคแต่ธรรมชาติไม่ได้กำหนด ไว้เหมือนมนุษย์ ตรวจสอบข้อมูลทางโซเชียลมีเดียต้องมีการตรวจสอบและมีความระมัดระวังสูงใน การรับข่าวสารอย่างรู้เท่าทัน ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารสามารถเข้าถึงได้ทุกคนเช่นโทรศัพท์มือถือใช้ในการส่งสารและรับสารสามารถหาข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆได้ การหาข้อมูลและติดตามสถานการณ์ที่ต่อเนื่อง เป็นเรื่องที่ท้าทายของทุกองค์กรรวมถึงภาคประชาชน สามารถจัดตั้งเครือข่าย ป้องกันภัยพิบัติตามลุ่มน้ำหรือลุ่มน้ำย่อยขึ้นมาเองได้โดยไม่ต้องรอภาครัฐ เพราะเรามีข้อมูลของแต่ละพื้นที่อยู่แล้ว ก็สามารถจะเชื่อมโยงกันได้และเห็นภาพรวมของพื้นที่ทั้งหมด สามารถจัดการบริหาร น้ำ หรือภัยพิบัตินั้นนั้นได้ ปัจจุบันโครงการเครือข่าย ภัยพิบัติได้เชื่อมโยงแกนนำและผู้แสดงตนในขณะที่เกิดภัยพิบัติและในอดีต ผนวกกับเครือข่ายภัยพิบัติที่มีอยู่แล้วของแต่ละจังหวัดมารวมกลุ่มเข้าด้วยกันรวมถึงนักวิชาการสื่อมวลชน กลุ่มกู้ภัย โรงพยาบาลเราสามารถบริหารการจัดการข้อมูลรวมถึงความช่วยเหลือด้านอื่นๆจากหน่วยงานเหล่านี้ได้ รูปแบบของภัยพิบัติโดยทั่วไปมีลักษณะ ดังนี้ ต้นลมกลางลมปลายลมคือการก่อตัวต้นลมในทะเล เข้าชายฝั่งแล้วขึ้นแผ่นดิน ส่วน น้ำหลากต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำ ปริมาณน้ำเริ่มสะสมน้ำบนภูเขา กลางน้ำบริเวณที่รับน้ำ ปลายน้ำคือออกสู่ทะเล ซึ่งบางบริบทอาจเกิดภัย ซ้อนทับกันได้เช่นน้ำท่วมดินโคลนถล่มซึ่งในขณะเดียวกันก็อาจเกิดสึนามิ ขึ้นมาด้วยก็ได้ ฉะนั้นพื้นที่ภูมิศาสตร์จึงสำคัญที่เราต้องรู้ชัดว่าพื้นที่เป็นลักษณะอย่างไร เช่น ถ้าฝนตกในพื้นที่ราบ 100 mm มันก็ไม่น่ากลัว เพราะระดับน้ำจะแค่ตาตุ่ม แต่ถ้าฝนตกบนภูเขา 100 mm แล้วมารวมตามร่องน้ำต่างๆไหลลงตามแหล่งชุมชนก็สามารถเกิดภัยพิบัติขึ้นได้ ฉะนั้นสิ่ง สำคัญที่เราต้องรู้คือเข้าใจพื้นที่ รู้เท่าทันจัดการตัวเองได้เตือนตัวเองเป็น บอกข้อมูลกับชุมชนได้ไม่หวังพึ่งความช่วยเหลือ.... สามารถติดต่อศึกษาสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติและพลังงานทดแทนได้ที่ facebook: Somporn Chuai-Aree

คำสำคัญ (Tags): #ภัยพิบัติ
หมายเลขบันทึก: 626360เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2017 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2017 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท