ครู วิชาชีพชั้นสูง วิชาชีพสร้างบุญและวางรากฐานให้กับทุกคน


ครู วิชาชีพชั้นสูง วิชาชีพสร้างบุญและวางรากฐานให้กับทุกคน


ดร.ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

คนเราทุกคน ทุกอาชีพในโลกนี้ ต้องมีครูเป็นที่พึ่งมาก่อน อย่างน้อยก็บิดามารดา และ

ครู อาจารย์

คำว่า ครู หรือ คุรุ มาจากคำว่า คุรุ หรือ ครุ คือผู้ที่หนักในวิชาความรู้ ในคุณธรรม และใน

ภารกิจการงาน รวมทั้งการทำหน้าที่สร้างสรรค์ ยกย่องเชิดชูศิษย์ของตนเอง จากผู้ที่ไม่รู้ให้กลายเป็นผู้รู้

ผู้ที่ไม่มีความสามารถให้มีความสามารถ ผู้ที่ไม่มีความคิดให้มีความคิด ผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม

ให้มีความเหมาะสม และจากผู้ที่ไม่พึงปรารถนาให้เป็นผู้ที่พึงปรารถนา ซึ่งตามนัยของความเป็นครูในภาษาไทย

จึงเป็นผู้ที่ต้องทำงานหนักจริงๆ ส่วนในภาษาอังกฤษมาจากคำว่า TEACHER ก็เช่นเดียวกัน กล่าวคือ

T- Teach E– Example A–Ability C- Characteristic H– Health E- Enthusiasm R - Responsibility


1. TEACH (การสอน)

คุณลักษณะประการแรกของความเป็นครูก็คือ ต้องสอนได้ และสอนเป็น สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิด

กระบวนการเรียนรู้ในตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีได้หลังจากได้รับประสบการณ์ที่ครูได้

จัดให้ โดยการ :

1. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม

2. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนในเรื่องที่สอน

3. สอนศิลปวิทยาให้หมดสิ้น ไม่ปิดบังอำพลางความรู้ไว้

4. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะและสาธารณชน

5. สร้างภูมิคุ้มกันในทั่วทุกสารทิศ (สอนให้รู้จักเลี้ยงตัว รักษาตนในอันที่จะดำเนินชีวิตต่อไปด้วยดี)

และที่สำคัญคือ

6. สอนให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญา อารมณ์ สังคม มีความคิด และสร้างสรรค์สิ่งดีงามออกมา

การสอนของครูแต่ละคนนั้น ขึ้นกับทักษะและลักษณะของตนเอง (Teaching skill and style)

ที่ได้ฝึกฝนอบรมมา เป็นการนำเทคนิควิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านมาผสมผสานให้เหมาะสมสอดคล้องกัน

จึงต้องใช้เทคนิคและทักษะหลายด้านร่วมกับประสบการณ์เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และต้องมุ่งจัดสรร

การเรียนรู้นั้นไปในทิศทางที่ดีและมีคุณธรรมในสังคม บทบาทการสอนของครูจึงต้องดำเนินการโดย

1. จัดการเรียนรู้ สอนเนื้อหาวิชาการตามหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย เป็นอย่างดี

ก่อนที่จะสอน ครูจะต้องมีการเตรียมการสอนอย่างเป็นอย่างดี ตั้งแต่การทำแผนจัดการเรียนรู้

หรือแผนการสอนรายชั่วโมง การดำเนินการสอน และการประเมินผล มีการปรับปรุงพัฒนา และสร้างผลงาน

ทางวิชาการอยู่เสมอ

2. สอนและปลูกฝังทักษะการปรับตัวให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข

3. อบรมสั่งสอนให้ให้เจริญเติบโต มีความคิด มีเหตุผล และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฉลาดทาง

อารมณ์และเฉียบคมทางสติปัญญา


2. EXAMPLE (เป็นตัวอย่าง)

ผู้เรียนโดยทั่วไปนั้นจะ “เรียน” และ “เลียนแบบ” จากครู การทำตัวเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี

จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าคำสอน มีอิทธิพลมากกว่าการบอกกล่าวเฉยๆ เพราะการแสดงต้นแบบให้เห็นด้วยสายตานั้นเป็นภาพที่มองเห็นชัดเจนและง่ายต่อการลอกเลียนยิ่งกว่าการรับฟังและบอกเล่าอย่างปกติ ถ้า

ต้องการให้ผู้เรียนเป็นอะไร จงพยายามแสดงออกเช่นนั้นทั้งในการดำเนินชีวิตและการแสดงพฤติกรรมออกมา

การวางตัวของครูเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้เรียนได้มาก แม้ว่าผู้เรียนจะมีความคิด ความอ่านของตนเองที่ไม่ต้องการเลียนแบบผู้ใหญ่ทุกประการเหมือนเด็กเล็ก แต่ครูก็ คือครูที่ผู้เรียนพิจารณาว่ามีความหมายสำคัญอยู่มาก โดยเขาจะสนใจและเฝ้าสังเกตนับตั้งแต่การแต่งกาย ไปจนถึงการประพฤติปฏิบัติ จะเป็นประสบการณ์ให้เขาได้พิจารณา นอกจากนี้การรู้ตัวเองของครู การแนะนำให้ผู้เรียนประพฤติให้เหมาะสม ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ครู (ตัวเรา) ต้องประพฤติและปฏิบัติตนให้เหมาะสมด้วย


3. ABILITY (ความสามารถ)

คำว่า “ความสามารถ” หมายถึงกำลังที่มีจริงในการแสดงหรือในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำทางกายหรือทางจิตใจ และไม่ว่ากำลังนั้นจะได้มาจากการฝึกฝนอบรมหรือไม่ก็

ตาม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความสามารถทั่วไป (general ability) และความสามารถพิเศษ

(specific ability) นอกจากนั้นครูจะต้องทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่หรือนวัตกรรมทางการศึกษา

(Innovation in Teaching) เพื่อจะช่วยปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนให้ดี

ยิ่งขึ้นไป การเรียนการสอนก็เช่นเดียวกับการวินิจฉัย การรักษาโรคทางการแพทย์หรือจะสมมติเป็นการปรุง

อาหารในครัวก็ได้ ที่จะต้องแสดงฝีมืออย่างเต็มที่ให้ได้อาหารอร่อยที่สุด

ดังนั้นครูจึงต้องประเมินตัวเอง ประเมินการสอน และปรับปรุงข้อบกพร่องของสิ่งที่ตนสอนไปเสมอ

(diagnosis and treatment of course defects) เพื่อให้ผลการสอนดีที่สุด

นอกจากครูจะต้องเข้าใจบทบาทความเป็นครูของตนเองแล้ว (teacher’s role) ครูควรจะมี

ความสามารถดังนี้

-จิตวิทยาการเรียนรู้ (psychology of learning)

-การกำหนดวัตถุประสงค์ของการสอนอย่างชัดเจน (specific of objectives)

-การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

- การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (learning activities)

- การนำโสตทัศนูปกรณ์มาช่วยสอน (the application of audiovisual aids)

-การจัดทำแผนการสอน (course syllabus and Lesson planning)

-การประเมินการเรียนการสอน (assessment)

4. CHARACTERISTIC (คุณสมบัติ)

ความหมายที่ใช้กันโดยทั่วๆไป หมายถึง คุณภาพหรือคุณสมบัติที่สังเกตได้ชัดเจนในตัวบุคคล ทำให้

ทราบได้ว่า บุคคลนั้นแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆอย่างไร ความหมายเฉพาะ อุปนิสัยหมายถึง ผลรวมของนิสัยต่างๆ ที่บุคคลมีอยู่ หรือผลรวมของลักษณะของพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล ตามความเข้าใจของคนทั่วไป

คำว่าอุปนิสัยนี้แฝงความหมายของคุณธรรมจรรยาในตัวด้วย เช่น เราพูดว่าเขาผู้นั้นมีอุปนิสัยดี เป็นต้น ใน

คุณสมบัติของความเป็นครู สิ่งสำคัญคือ ครูจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน ต่อวิชาที่สอน และต่องานที่ทำ


5. HEALTH (สุขภาพดี)

ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ การมีสุขภาพดี หมายถึงการไม่มีโรค มีสภาพร่างกายแข็งแรง

และจิตใจเข้มแข็งพอที่จะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ผู้ที่เป็นครูนั้นต้องทำงานหนัก ดังนั้น สุขภาพ

ทางด้านร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่าคือสุขภาพจิต คงเคยได้ยินคำว่า “จิตเป็นนาย กายเป็น

บ่าว” หรือ “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน” ดังนั้นครูนอกจากจะรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงแล้ว
จำต้องฝึกจิตให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วย จิตดีนั้นไม่เพียงแต่ไม่เป็นโรคจิตโรคประสาทเท่านั้น แต่เป็น

ผู้ที่มีสมรรถภาพ มีการงานและมีชีวิตที่เป็นสุขทำประโยชน์ต่อสังคมด้วยความพอใจ สามารถปรับตัวให้เข้ากับ

สิ่งแวดล้อม รวมทั้งต่อบุคคลที่เราอยู่ร่วมและต่อสังคมที่เราเกี่ยวข้อง โดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น


6. ENTHUSIASM (ความกระตือรือร้น)

ความกระตือรือร้นของครูนั้น อาจจะเป็นการใฝ่หาความรู้ใส่ตน เพราะจะต้องถือว่าการใฝ่หาความรู้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของการพัฒนาตน (Learning to teach is a process of self-development) การเพิ่มพูนความรู้มีหลายรูปแบบ เช่น การประชุมสัมมนา อบรมระยะสั้น และการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต จะทำให้ครูที่ขาดความรู้ในเรื่องที่ตนสอนได้มีความรู้เพิ่มเติมและทำให้มีความมั่นใจในการสอนมากขึ้นความกระตือรือร้นของครูนั้น ไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาตัวครูเท่านั้น แต่จะต้องมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วย


7. RESPONSIBILITY (ความรับผิดชอบ)

ครูที่ดีจะต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนตามที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นอย่างดี รวมทั้งยอมรับผลแห่งการกระทำนั้นๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขการสอนของครู

คำถามต่อไปนี้จะบ่งชี้ว่าครูท่านนั้นเป็นครูที่ดีหรือไม่ รวมทั้งตัวเราเองที่เป็นครูด้วย ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

การสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self learning)

1. ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเกี่ยวกับวิชาการที่เรียนหรือไม่ ?

2. ให้ผู้เรียนค้นคว้าเพื่อตอบคำถามหรือเพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมหรือไม่ ?

3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด และฝึกทักษะในการทำงานหรือไม่ ?

การประเมินและการบอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลงานที่ทำ (Feed back)

4. บอกผู้เรียนหรือไม่ว่าเมื่อมอบหมายงานให้ทำแล้ว เขาทำงานเป็นอย่างไร?

5. อธิบายให้ผู้เรียนทราบหรือไม่ถึงข้อบกพร่องต่างๆ ที่ทำ ?

6. อธิบายให้ผู้เรียนทราบหรือไม่ ว่าทำอย่างไรจึงจะทำได้ดีกว่านี้ ?

การให้ความกระจ่างชัดในการสอน (Clearity)

7. สังเกตหรือไม่ว่าผู้เรียนทุกคนสามารถได้ยินและมองเห็นชัดเจน ?

8. ใช้คำพูดง่ายๆ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนหรือไม่ ?

9. ใช้อุปกรณ์การสอนเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีความหมายยิ่งขึ้นหรือไม่ ?

การทำให้การสอนมีความหมายมากขึ้น (Making your meaningful)

10. ได้สอนโดยเชื่อมโยงบทเรียนที่สอนกับสภาพที่ผู้เรียนเป็นอยู่หรือไม่ ?

11. ได้ยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นภาพพจน์กระจ่างขึ้นหรือไม่ ?

12. ได้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสอนกับงานที่ผู้เรียนจะต้องกระทำหรือไม่ ?

13. ได้สรุปเพื่อให้ผู้ได้แนวคิดที่ดีอีกครั้งหรือไม่ ?

จะต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเรียนรู้เรื่องสิ่งที่สอน (Ensuring mastery)

14. ได้ตรวจสอบหรือไม่ ? ว่าผู้เรียนทุกคนเข้าใจในทุกๆเรื่อง ทุกๆจุดที่สอน ?

15. เคยตรวจสอบหรือไม่ว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถฝึกทักษะได้หรือไม่ ?

จะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน (Individual differences)

16. ยินยอมให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ทำงานตามความสามารถและใช้เวลาที่ไม่เท่ากันหรือไม่ ?

17. เคยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยวิธีแตกต่างกันออกไปหรือไม่ ?

18. เคยใช้วิธีสอนหลาย ๆ วิธีหรือไม่ ซึ่งวิธีสอนมีหลายวิธี ดังนี้

-อธิบายจากหนังสือแล้วให้ผู้เรียนไปอ่านเองนอกเวลา

-อธิบายจากหนังสือแล้วให้อ่านหนังสือพร้อมกัน

-วิธีประชุมกลุ่มให้ผู้เรียนออกความคิดเห็นอภิปรายร่วมกัน

-การแสดงหรือเล่นละครสั้นๆ

-สอนจากเหตุการณ์หรือประสบการณ์

-ใช้กรณีศึกษา

-ใช้วิธี constructivism

-ทำรายงานค้นคว้าเป็นรายบุคคล

-ทำรายงานค้นคว้าเป็นกลุ่ม

-วิธีสาธิต

-ให้มีการฝึกปฏิบัติ

-ให้ทำโครงการหรือโครงงาน

-การทัศนศึกษา

-จัดหาประสบการณ์ตรง (first hand experience) ทั้งในห้องเรียนและนอก

ห้องเรียนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน

-ใช้วิธีการปฏิบัติให้เกิดกระบวนการทางปัญญา เป็นต้น

ให้การดูแลผู้เรียนทุกคน (Caring)

19. เคยให้ความมั่นใจแก่ผู้เรียนหรือไม่ว่าครูรักผู้เรียนทุกคนไม่ว่าจะทำดีหรือไม่?

20. แสดงให้ผู้เรียนเห็นหรือไม่ว่าสนใจและเตรียมสอนอย่างดีตลอดช่วงเวลาที่สอน?

21. เคยฟังความคิดเห็น หรือให้ผู้เรียนวิจารณ์การสอนบ้างหรือไม่?

ดังนั้น การเป็นครูมืออาชีพใช่ว่าจะเป็นกันได้ง่าย ๆ เพราะงานครูเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และหนัก ๆ กว่า

งานใด ๆ เป็นงานสร้างและพัฒนาคน และองค์ประกอบแรกที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคือ สติปัญญาซึ่งต้อง

ยอมรับความเป็นจริงว่า โดยรวมผู้เรียนส่วนใหญ่มิได้มีระดับสิติปัญญาดีเลิศ ดังนั้นการจะพัฒนาพวกเขาจึงต้อง

อาศัยครู อาศัยพวกเราท่าน เป็นหลัก เพราะอย่างน้อยก็มีส่วนแบ่งประมาณ 30-40 % ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้

ของพวกเขา จึงใคร่ขอให้ทุกท่านที่เป็นครูจงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นครู ตามข้อเขียนที่ได้กล่าวถึง

ทั้งหมด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาตัวของท่านเอง

การสอนที่มีคูณภาพ

การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน และในองค์ประกอบนี้ครู-อาจารย์ผู้สอนและพฤติกรรมการสอนที่แสดงออกมา จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพหรือความสำเร็จในการเรียนรู้ของนักศึกษา ท่านเป็นครู-อาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จนั้น ได้เคยตรวจสอบพฤติกรรมการสอนของตัวท่านเองบ้างหรือไม่ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับใด ? คุณภาพในที่นี้หมายถึงคุณภาพตามเกณฑ์ที่ผู้คนทั่วไปพอใจหรือตามที่หน่วยงานที่น่าเชื่อถือเป็นผู้กำหนดขึ้นมา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากพฤติกรรมการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือสอนตรง หมายถึง การใช้วิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาขั้นต้น เป็นการพัฒนาทางสมองในการเก็บรักษาเรื่องราว ข้อมูล เท็จจริง เน้นความสามารถในการจำความรู้ต่างๆ เช่น การจำกฎหลักเกณฑ์ ทฤษฎีต่างๆ ได้ หากพิจารณาการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการเรียนการสอนแล้วอยู่ในระดับ0 -20%

สอนอธิบายขยายความ หมายถึง การสอนให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหา ความรู้ สามารถอธิบาย แปลความหรือขยายความด้วยคำพูดของตนเองได้ การสอนระดับนี้เป็นการเน้นพัฒนาการ ความสามารถในการสื่อความหมายระหว่างตนเองกับผู้อื่น หากพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการดำเนินการเรียนการสอนแล้ว อยู่ในระดับ 21-40%

สอนคิด หมายถึง การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นส่วนประกอบย่อยๆ หรือความรู้ด้านต่างๆ พร้อมทั้งสามารถเปรียบเทียบความแตกต่าง คล้ายคลึงกันของส่วนประกอบย่อยๆ หรือความรู้ด้านต่างๆ เหล่านั้นด้วย หากพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการดำเนินการเรียนการสอนแล้วอยู่ในระดับ 41-60%

สอนสร้าง หมายถึง การพัฒนาความสามารถในการบอกความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของส่วนประกอบย่อย ๆ หรือความรู้หลาย ๆ ด้าน และสามารถนำไปอธิบายให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา หรือนำไปใช้ได้ หากพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการดำเนินการเรียนการสอนแล้ว อยู่ในระดับ 61-80%

สอนค้นพบ หมายถึง การพัฒนาความสามารถในการสังเคราะห์ หรือการรวมส่วนประกอบย่อย ๆของความรู้หลาย ๆ เรื่องให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ หรือสามารถแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่ต้องใช้ความสามารถในการคิดเป็นอย่างมาก เป็นการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถประเมินค่าสิ่งต่างๆ ได้ หากพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการดำเนินการเรียนการสอนแล้วอยู่ในระดับ 81-100%

ดังนั้น วิชาชีพครูจึงเป็นวิชาชีพชั้นสูง (profession) ที่ได้รับการยอมรับมาช้านานตั้งแต่

โบราณกาลก่อนพุทธกาลด้วยซ้ำไป และพระพุทธเจ้า ได้รับการยอมรับและขนานนามว่า เป็น

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สำหรับประเทศไทยได้มีการจุดประกาย เมื่อมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข

เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากร

ทางการศึกษา พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 วิชาชีพชั้นสูง เช่น วิชาชีพครู มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่

6 ประการคือ

1. วิชาชีพที่ให้การบริหารแก่สังคมในลักษณะที่มีความจำเป็นและเจาะจง (social service)

2. สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ

(intellectual method)

3. สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้ กว้างขวางลึกซึ้ง

โดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร (long period training ) เช่น หลักสูตรครู 5 ปี ดังเช่นวิชาชีพ

แพทยศาสตร์ เป็นวิชาชีพชั้นสูง ก็ใช้เวลา 6 ปี

4. สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพนั้น ๆ ตามมาตรฐานของ

วิชาชีพ (Professional autonomy)

5. วิชาชีพครูต้องมีจรรยาบรรณ (professional ethics) และ

6. วิชาชีพครูจะต้องมีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์ จรรโลงความเป็น

มาตรฐานวิชาชีพ (professional institute) เช่น คุรุสภา มหาวิทยาลัยที่ผลิตวิชาชีพครู เป็นต้น

ความเป็นมืออาชีพ (professional) โดยเฉพาะอาชีพครู จึงมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ

1. บุคคลนั้นต้องยึดถืออาชีพนั้น ๆ ให้สอดคล้องกับวิชาชีพของตน

2. บุคคลนั้นจะต้องมีความรู้ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และมีทักษะที่เหมาะสมต่อวิชาชีพนั้น ๆ

3. บุคคลนั้นจะต้องมีจิตวิญญาณต่ออาชีพ กล้ารับผิดชอบ กล้าเผชิญต่อผลการกระทำอันเนื่องมาจากภารกิจที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

ดังนั้น วิชาชีพครู จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูง เป็นวิชาชีพที่สามารถสร้างบุญและ

วางรากฐานสิ่งที่ดีงาม ให้กับทุกคนในสังคมโลก

ความเป็นครูมืออาชีพ จึงควรที่จะต้องยึดถือและปฏิบัติให้เกิดความสัมพันธ์กับมาตรฐานของ

วิชาชีพครู ซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อครูทุกคน ทั้งนี้เนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ก็ดี

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และดิจิทัลก็ดี ทำให้วิชาชีพครู มีความจำเป็นที่บุคคลจักต้อง

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกระดับ ให้มีความสำนึกต่อบทบาทและภารกิจต่าง ๆ ที่มีต่อสังคมให้มากขึ้น

ปัจจุบัน สังคม องค์การ หน่วยงาน และหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ มีความต้องการ “ครูมืออาชีพ”

มิใช่เพียงแต่มี “อาชีพครู” เกิดขึ้นเท่านั้น “ครูมืออาชีพ” จักต้องมีลักษณะพื้นฐาน

ในตนอย่างน้อย 3 ประการ คือ

  • ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน
  • ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ
  • ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน

สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ “คุณภาพการสอน” ซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน

ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้

1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน

2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น

3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้

4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน

5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น

6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน

7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน

8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้

ครูสอนดีต้องมีหลักในการสอน

การสอนที่ดีและมีคุณภาพย่อมต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ ๆ 20 ประการ ดังนี้

  • ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง
  • วางแผนการสอนอย่างดี
  • มีกิจกรรม/ทำอุปกรณ์
  • สอนจากง่ายไปหายาก
  • วิธีสอนหลากหลายชนิด
  • สอนให้คิดมากกว่าจำ
  • สอนให้ทำมากกว่าท่อง
  • แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร
  • ต้องชำนาญการจูงใจ
  • อย่าลืมใช้จิตวิทยา
  • ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน
  • ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์
  • เฝ้าตามติดพฤติกรรม
  • อย่าทำตัวเป็นทรราช
  • สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว
  • ประพฤติตัวตามที่สอน
  • อย่าตัดรอนกำลังใจ
  • ให้เทคนิคการประเมิน
  • ผู้เรียนเพลินมีความสุข
  • ครูสนุกกับการเรียน

(รศ.ดร.ทองคูณ หงส์พันธุ์, 2544)


สรุป

การที่จะเป็นครูที่ดีนั้น ไม่ใช่ว่า ใครก็เป็นได้ แต่ต้อง สอนเป็น ถ่ายทอดเป็นถือว่าเป็นภารกิจหลักของครู
ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียนและเยาวชนของชาติ
การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า คุณภาพของเด็ก สะท้อน คุณภาพของครู หรือ “ถ้าอยากรู้ว่า ครูเป็นอย่างไรนั้น ให้ดูเด็กที่ได้อบรมสั่งสอนมา” ดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตา และ กัลยาณมิตร ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป ผู้ที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูทุกท่าน ล้วนแต่มีความต้องการให้ลูกศิษย์ประสบผลสำเร็จในการเรียนและในชีวิตของเขาทั้งสิ้นความสำเร็จนั้นได้มีการทดสอบจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากครู อาจารย์ ดังนั้นเมื่อรู้แล้วว่าพฤติกรรมการสอนใดที่จะส่งผลต่อพวกเขา จึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง มีคำกล่าวว่า "การพัฒนาชาติให้เริ่มที่ประชาชน จะพัฒนาคนให้เริ่มที่ใจ จะพัฒนาอะไรให้เริ่มที่ตัวเองก่อน"หรือ “อนาคตของชาติ อยู่ในกำมือของเด็กและเยาชน แต่อนาคตเด็กและเยาวชน อยู่ในกำมือครู และผู้เกี่ยวข้องทุกคน” ดังนั้น ขอให้ครูเราจงรวมพลัง สร้างสรรค์ พัฒนาอาชีพครู เป็นครูมืออาชีพ และทำวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นต่อไปเพื่อสร้างบุญและวางรากฐานให้กับทุกคนเป็นคนดีของชาติต่อไป




หมายเลขบันทึก: 626344เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2017 02:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2017 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท