ผู้บริหารกับสินบน


หาร



ผู้บริหารกับสินบน

ดร. ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

-------------

ใครว่า สินบน ไม่สำคัญ สินบน ถือว่าสำคัญมากครับ การเป็นผู้บริหารหรือผู้ปกครองคน ถ้าเราตกอยู่ในอำนาจสินบน บางครั้งอาจจะทำให้การวินิจฉัยคดีความหรือการตัดสินใจต้องผิดพลาดไปด้วย ทำให้ต้องเสียความยุติธรรมไป นับว่าเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากและเป็นตราบาปอีกด้วย ดังนิทานปรัมปราที่เล่ากันมาว่า

สมัยที่คนไทยเราเข้ามาก่อตั้งชาติไทยใหม่ๆ ซึ่งอพยพจากเขาอัลไต และในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ก็ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในไทยด้วยเหมือนกัน

คนไทยเรายึดอาชีพทำนาทำไร่ คนจีน ชอบทำมาค้าขาย เช่น ค้าขายถ้วยชามสังคโลกและในขณะเดียวกันก็ตกเบ็ดหาปลากินด้วย

ตี๋ และทิดมี บ้านอยู่ใกล้กัน ตี๋และทิดมี ชอบตกเบ็ดหาปลาเป็นอาชีพ

วันหนึ่ง ทิดมีเห็นตี๋ได้ปลาเยอะแยะจึงนึกโลภอยากได้ และวางแผนขโมยปลาจากเบ็ดของตี๋ และเวลาขโมยปลาได้แต่ละครั้ง ทิดมีก็จะนำปลาที่ได้จากเบ็ดของตี๋นั้นแหละไปแขวนไว้ที่บ้านผู้ใหญ่บ้านทุกครั้งด้วย

ผู้ใหญ่บ้านก็แปลกใจเหมือนกันว่าใครนำปลามาแขวนไว้ให้เรา แต่ก็ไม่ได้ถามใครหรอกนึกว่าเพื่อนบ้านนำมาให้

ต่อมา ตี๋แปลกใจว่าทำไม่ปลาจึงไม่กินเบ็ด เพราะแต่ก่อนเคยได้ปลาเยอะมากแต่เดี๋ยวนี้กลับไม่ค่อยเห็นปลากินเบ็ด แกคิดว่าคงจะมีคนมาขโมยปลาจากเบ็ดแน่ ๆ จึงวางแผนแอบซุ่มดู และก็เจอทิดมีกำลังขโมยปลาที่เบ็ด ตี๋จึงไปฟ้องผู้ใหญ่บ้าน

ตี๋ : ผู้ใหญ่ครับ ทิดมีขโมยปลาที่ผมใส่เบ็ดไว้ครับ

ผู้ใหญ่บ้าน : ว่าอย่างไรทิดมี เองไปขโมยปลาตี๋จริงหรือ ?

ทิดมี : นิ่ง... สักครู่ก็พูดว่า “คนละครึ่ง”

ผู้ใหญ่บ้านนั่งนึก........ สักครู่ก็พูดว่า “เอาละเมื่อไม่มีพยานหลักฐานแน่ชัดก็เอาไว้ก่อน คราวหน้าค่อยว่ากันใหม่เมื่อจับได้จริง ๆ”

ทิดมีโมโหตี๋ที่ไปฟ้องผู้ใหญ่ จึงไปปาบ้านตี๋ ตี๋ก็มาฟ้องผู้ใหญ่บ้านอีกครั้ง

ตี๋ : ผู้ใหญ่ครับ ทิดมีปาบ้านผมครับ

ผู้ใหญ่บ้าน : จริงไหมทิดมี ที่ตี๋บอกว่าเองไปปาบ้านเขา

ทิดมี : “คนละครึ่ง”

ผู้ใหญ่บ้าน : ก็นึก.... สักครู่ก็ทำเป็นหยิบหนังสือขึ้นมาและทำเป็นอ่านและก็ตัดสินคดีว่า

“ไทยปาบ้านเจ๊ก ไม่ถูกหัวเด็ก ไม่ผิดกฎหมาย”

ตี๋โมโหจึงไปปาบ้านทิดมีบ้าง ทิดมีจึงมาฟ้องผู้ใหญ่บ้าน

ทิดมี : ผู้ใหญ่ครับ ตี๋ปาบ้านผมครับ

ผู้ใหญ่บ้าน : ว่าอย่างไรตี๋ เองไปปาบ้านทิดมีใช่ไหม ?

ตี๋ : ใช่ครับ แต่ก็ไม่ถูกหัวใครครับ

ผู้ใหญ่บ้าน : ทำท่าหยิบหนังสือกฎหมายมาอ่าน และก็ตัดสินว่า

“เจ๊กปาบ้านไทย ไม่ถูกหัวใคร แต่ผีเรือนตกใจปรับห้าสิบบาท”

ตี๋ :ไอ้หยา......ซวยจริงๆ………….


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

“การตกอยู่ในอำนาจของอามิสสินบนหรือเห็นแก่ประโยชน์ที่คนอื่นยื่นให้ แม้จะในทางที่ผิด อาจจะทำให้ผู้มีอำนาจนั้นตัดสินคดีความจากผิดกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องได้ เพราะฉะนั้น พุทธองค์จึงสอนให้เราไม่ให้ตกอยู่ในอคติ 4 คืออย่าลำเอียงเพราะรัก อย่าลำเอียงเพราะโกรธกัน อย่าลำเอียงเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และอย่าลำเอียงเพราะกลัวอิทธิพลของเขา จงตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นที่ตั้ง

จึงจะสามารถทำในสิ่งที่ถูกต้องสมกับว่า ปราบคนพาล อภิบาลคนดี”

คำสำคัญ (Tags): #สินบน#ผู้บริหาร
หมายเลขบันทึก: 625134เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2017 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2017 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท