งานบริหารทั่วไปในโรงเรียน




งานบริหารทั่วไปในโรงเรียน

ดร. ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

เดิมงานบริหารในโรงเรียน มี 6 งาน คือ งานหลัก ได้แก่งานวิชาการ งานสนับสนุนได้แก่
งานวิชาการ ใช้เวลาบริหารประมาณสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมงสำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่มาก และขนาดใหญ่่
งานกิจการนักเรียน ใช้เวลาบริหารประมาณ 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เท่ากันทุกขนาด งานบุคลากร ใช้เวลา
ในการบริหารสัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง งานธุรการและการเงิน ใช้เวลาบริหาร 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับ
โรงเรียนขนาดใหญ่มาก ขนาดใหญ่ และขนาดกลาง และ 3 ชั่วโมงสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก งานอาคารสถานที่
ใช้เวลาบริหาร 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่มาก ขนาดใหญ่ 3 ชั่วโมง สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
งานความสัมพันธ์กับชุมชน ใช้เวลาบริหาร 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับโรงเรียนชนาดใหญ่และใหญ่มาก
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับโรงเรียนขนาดกลาง และ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
ปัจจุบัน งานบริหารในโรงเรียน มี 4 งานใหญ่ ๆ คือ งานวิชาการ งานบริหารบุคคล บริหารงบประมาณ และบริหารทั่วไป

งานด้านการบริหารทั่วไป เป็นภารกิจหนึ่งของโรงเรียนในการสนับสนุน ส่งเสริมการปฏิบัติงานของโรงเรียนให้บรรลุตามนโยบาย และมาตรฐานการศึกษาที่โรงเรียนกำหนดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น การดำเนินงานธุรการ งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานงานพัฒนาระบบและเครือข่าย ข้อมูลสารสนเทศ การประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร

งานเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการงบประมาณ บุคลากรและบริหารทั่วไป การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การจัดทำสำมะโนผู้เรียน การรับนักเรียน การส่งเสริมและประสานงาน การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา งานส่งเสริมงานกิจการนักเรียน การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา การส่งเสริม สนับสนุน และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา

งานประสานราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานอื่น การจัดระบบการควบคุมในหน่วยงาน งานบริการสาธารณะซึ่งคุณครูควรที่จะได้รับรู้แนวปฏิบัติในการปฏิบัติราชการ ดังนี้

1. การกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ

2. การเปิดและปิดสถานศึกษา

3. การชักธงชาติ

4. การสอบ

5. การพานักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานศึกษา

6. การจัดระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษา

7. การลงโทษนักเรียน

8. ความสัมพันธ์กับชุมชน

9. สิทธิทางการศึกษาสำหรับคนพิการ

1. การกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ

ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษา มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามระเบียบ

กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา ดังนี้

1. ให้สถานศึกษาเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. พักกลางวันเวลา

12.00-13.00 น. เป็นเวลาทำงานตามปกติ โดยมีวันหยุดราชการประจำสัปดาห์คือ วันเสาร์และวันอาทิตย์

หยุดราชการเต็มวันทั้งสองวัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เวลาทำงานในสถานศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลง

ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้บริหารสถานศึกษา

2. วันปิดภาคเรียนให้ถือว่าเป็นวันพักผ่อนของนักเรียน ซึ่งสถานศึกษาอาจอนุญาต

ให้ข้าราชการหยุดพักผ่อนด้วยก็ได้ แต่ถ้ามีราชการจำเป็นให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการเหมือนการมาปฏิบัติราชการตามปกติ ถ้าไม่มาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของหัวหน้าสถานศึกษา จะมีความผิดเพราะเคยมี

คำพิพากษาศาลปกครองได้พิพากษาไว้แล้ว

3. วันที่สถานศึกษาทำการสอนชดเชยหรือทดแทน เนื่องจากสถานศึกษาสั่งปิด

ด้วยเหตุพิเศษหรือกรณีพิเศษต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นวันทำงานปกติตามระเบียบนี้ (อ้างอิงจาก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. 2547)

2. การเปิดและปิดสถานศึกษา

ช่วงเวลารอบปีการศึกษาหนึ่ง ถือว่าวันที่ 16 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มต้นปีการศึกษา

และวันที่15 พฤษภาคมของปีถัดไป เป็นวันสิ้นปีการศึกษา ซึ่งในรอบปีการศึกษาหนึ่งทางสถานศึกษาได้กำหนดวันเปิดและปิดสถานศึกษาเป็น 2 ภาคเรียน คือ

  • ภาคเรียนที่หนึ่ง วันเปิดภาคเรียน วันที่ 16 พฤษภาคม วันปิดภาคเรียน วันที่ 11
  • ภาคเรียนที่สอง วันเปิดภาคเรียน วันที่ 1 พฤศจิกายน วันปิดภาคเรียน วันที่ 1

ตุลาคม

เมษายนของปีถัดไป

ในการเปิดปิดสถานศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ

ส่วนราชการเจ้าสังกัด เป็นผู้กำหนดตามที่เห็นสมควรอ้างอิงจาก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษาการเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2549

3. การชักธงชาติ

ธงชาติไทยถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นไทย ที่จะสร้างความรู้นึกนิยมและ

ภูมิใจในความเป็นชาติไทย กระทรวงศึกษาธิการจึงร่างระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษาเพื่อกำหนดให้สถานศึกษามีการชักธงชาติขึ้นและลงตามเวลาในแต่ละวัน โดยกำหนดเวลาชักธงชาติขึ้นและลงดังต่อไปนี้

1. ในวันเปิดเรียน ชักขึ้นเวลาเข้าเรียน และชักลงเวลา 18.00 น.

2. ในวันปิดเรียน ชักขึ้นเวลา 08.00 น. และชักลงเวลา 18.00 น.

สถานศึกษาใดมีความจำเป็นไม่อาจจะชักธงชาติขึ้นและลงตามเวลาที่กำหนดไว้ใน

ข้อ 1 หรือข้อ 2 ได้ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสม

การลดธงครึ่งเสา ในกรณีที่ทางราชการให้ลดธงครึ่งเสา เมื่อธงถึงยอดเสาแล้วจึง

ลดลงมาโดยเร็วให้อยู่ในระดับความสูง 2 ใน 3 และเมื่อจะลดธงลงให้ชักขึ้นโดยเร็วจนถึงยอดเสาก่อนจึงลดลง อ้างอิงจาก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547

4. การสอบ

ในการดำเนินการจัดการสอบทุกประเภท ผู้ทำหน้าที่กำกับการสอบมีส่วนสำคัญที่จะทำให้

การดำเนินการสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้กำกับการสอบจึงจำเป็นต้องทราบถึงข้อปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับหน้าที่ของตนเองทั้งในด้านที่พึงกระทำและไม่พึงกระทำดังต่อไปนี้

  • ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการสอบ ไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาเริ่ม
  • กำกับการสอบ ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่อธิบายคำถามใด ๆ ใน
  • ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนแก่ผู้เข้าสอบ รวมทั้งไม่กระทำการใด ๆ
  • แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ตามแบบที่ส่วนราชการหรือสถานศึกษากำหนด
  • ผู้กำกับการสอบมีความประมาทเลินเล่อหรือจงใจ ละเว้นหรือรู้เห็นแล้วไม่

สอบตามสมควร หากไม่สามารถปฏิบัติได้ด้วยเหตุผลใด ๆ ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยด่วน

ข้อสอบแก่ผู้เข้าสอบ

อันเป็นการทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับการสอบไม่สมบูรณ์

หากผู้กำกับการสอบไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาความผิดและลงโทษตามควรแก่กรณี

ปฏิบัติตามหน้าที่หรือไม่รายงานจนเป็นเหตุให้มีการทุจริตในการสอบเกิดขึ้น ถือว่าเป็นการประพฤติผิดวินัยร้ายแรง อ้างอิงจาก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้กำกับการสอบ พ.ศ. 2548

5. การพานักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานศึกษา

การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา หมายความว่า การที่ครู อาจารย์

หรือหัวหน้าสถานศึกษา พานักเรียนและนักศึกษาไปทำกิจกรรมการเรียนการสอนนอกสถานศึกษาตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งอาจไปเวลาเปิดทำการสอนหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่รวมถึงการเดินทางไกลและการเข้าค่ายพักแรมของลูกเสือ ยุวกาชาด และเนตรนารี และการไปนอกสถานที่ตามคำสั่งในทางราชการ

หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการพานักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานที่ตามระเบียบ

กระทรวงศึกษาว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ. 2548 มีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้

ขั้นตอนการขออนุญาตพานักเรียนไปนอกสถานศึกษา จำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

(1) การพาไปนอกสถานศึกษาไม่ค้างคืน

ครูผู้รับผิดชอบโครงการทำเรื่องเสนอ ➝ ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาอนุญาต

(2) การพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน

ครูผู้รับผิดชอบโครงการทำเรื่องเสนอ ➝ ผู้บริหารสถานศึกษา ➝ ส่งเรื่อง

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาอนุญาต

(3) การพาไปนอกราชอาณาจักร

ครูผู้รับผิดชอบโครงการทำเรื่องเสนอ ➝ ผู้บริหารสถานศึกษา ➝ ส่งเรื่องเข้า

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อดำเนินการตามขั้นตอน

ข้อกำหนดตามระเบียบที่ควรทราบ

  • ครูผู้ควบคุมจำเป็นต้องมีครูที่เป็นผู้ช่วยผู้ควบคุม เพื่อดูแลในการเดินทางโดย
  • ทำการขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอคำแนะนำ

กำหนดให้ครูหนึ่งคนต่อนักเรียนไม่เกิน 30 คน

หรือขอความร่วมมือและต้องทำป้ายแสดงให้เห็นว่ายานพาหนะนั้นบรรทุกนักเรียน

ในการดำเนินการทุกขั้นตอน ต้องทำการขออนุญาตผู้ปกครองของนักเรียนทุกครั้ง และ

หลังจากกลับมา ต้องรายงานผลการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษาให้กับผู้สั่งอนุญาตทราบ อ้างอิงจาก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษาพ.ศ. 2548

6. การจัดระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษา

กิจกรรมแนะแนว หมายความว่า กิจกรรมที่เกี่ยวกับงานแนะแนว การให้คำปรึกษา

และฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัย

แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง

โรงเรียนต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและ

ฝึกอบรมแก่นักเรียนและผู้ปกครอง โดยมีสาระสำคัญดังนี้

  • พัฒนาระบบงานแนะแนวที่จะช่วยเหลือดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล ครูทุกคน
  • สำรวจ เฝ้าระวัง และติดตามนักเรียนที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด เพื่อจัดกิจกรรม
  • แจ้งให้ผู้ปกครองของนักเรียนที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดทราบถึงพฤติกรรมและ
  • จัดให้มีมาตรการส่งเสริมความปลอดภัย ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรง
  • สนับสนุนให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการส่งเสริมความ
  • จัดให้มีระบบการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานต่อ
    • แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเกินกว่าปกติ อันมีผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจของ

มีบทบาทในการแนะแนว รู้จักและเข้าใจผู้เรียน ค้นพบและจัดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้คำปรึกษาด้านการดำรงชีวิต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการศึกษาต่อและการมีงานทำ โดยให้มีระบบดูแลตั้งแต่แรกเข้า เพื่อติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องจนจบการศึกษา

ในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

โดยมีแผนงาน ผู้รับผิดชอบ และการติดตามตรวจสอบ

ประพฤติและความปลอดภัยของนักเรียน

หน่วยงานต้นสังกัดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง อ้างอิงจาก กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง พ.ศ. 2548

7. การลงโทษนักเรียน

การลงโทษนักเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียน

และนักศึกษา(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 มีข้อกำหนดไว้ดังนี้

โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำผิด มี 5 สถาน ดังนี้

1. ว่ากล่าวตักเตือน

2. ทำทัณฑ์บน

3. ตัดคะแนนความประพฤติ

4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

5. พักการเรียน

การพักการเรียน ให้ทำได้ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

ผู้อื่น

5.2 แสดงพฤติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอย่างร้ายแรง

5.3 แสดงพฤติกรรมรุนแรงที่อาจละเมิดสิทธิของผู้อื่น

5.4 กระทำการที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม

การให้พักการเรียนจะสั่งพักการเรียนครั้งหนึ่งได้ไม่เกิน 7 วัน โดยให้เป็นอำนาจ

ของคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้พิจารณา โดยความเห็นชอบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลแล้วแต่กรณี

การดำเนินการเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

1. ทำคุณประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น ทำความสะอาดโรงเรียน ฯลฯ

2. พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เช่น เข้าค่ายอบรมหลักสูตรคุณธรรม

3. ส่งจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อการบำบัดฟื้นฟู ซึ่งการดำเนินการในส่วนนี้

จำเป็นต้องทำร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับบิดามารดา ผู้ปกครองนักเรียน

อ้างอิงจาก 1. ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548

2. ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2550

8. ความสัมพันธ์กับชุมชน

การบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนเป็นการดำเนินงาน

ของบุคคลในสถานศึกษาในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนสำหรับบุคคลในสถานศึกษานั้น ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งครู อาจารย์ทุกคน ย่อมจะดำเนินงานในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนด้วย เช่น การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยสอนให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ที่บ้าน หรือนำไปใช้ในชุมชน หรือนำความรู้ไปช่วยแก้ปัญหาในชุมชน บุคคลในสถานศึกษาไปร่วมกิจกรรมในชุมชน สถานศึกษาขอความช่วยเหลือจากชุมชน สถานศึกษาให้ความช่วยเหลือชุมชนสถานศึกษาใช้ทรัพยากรในชุมชน เป็นต้น

การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนจะช่วยพัฒนาคนให้มีคุณภาพหรือเป็นคนเก่ง คน

ดีได้ เช่นการสอนให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ที่บ้าน หรือนำไปใช้ในชุมชน ไม่ใช่สอนให้ท่องจำ ไม่ใช่สอนให้นำความรู้ไปสอบ สอบแล้วก็ลืมหมด หรือการสอนให้นักเรียนนำความรู้ไปช่วยแก้ปัญหาในชุมชนได้หรือการเชิญปูชนียบุคคลในชุมชนมาให้ความรู้แก่ผู้เรียนย่อมจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้กว้างขวางขึ้นยิ่งไปกว่านั้นการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนจะต้องดำเนินงานไปพร้อม ๆ กับการบริหารงานด้านอื่น ๆ อย่างเท่าเทียมกัน จึงจะช่วยพัฒนาคนให้มีคุณภาพคือเป็นทั้งคนเก่งและคนดีได้

การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ถ้าหากคุณครูจะดำเนินการอย่างจริงจังและจริงใจ

จะช่วยแก้ปัญหาการศึกษาได้อย่างดี โดยในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนจะดำเนินงานได้หลากหลาย ดังนี้

  • การสอนให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในครอบครัวและชุมชน เช่น การละเว้นจาก
  • สถานศึกษาขอความร่วมมือจากชุมชน ซึ่งจะขอความร่วมมือจากชุมชนใน
    • ขอความร่วมมือในด้านการเป็นวิทยากร หรือเป็นแหล่งศึกษาหา
  • สถานศึกษาให้ความช่วยเหลือหรือบริการชุมชน ซึ่งอาจจะดำเนินการได้
    • จัดให้มีการสอนหรือฝึกอบรมเกี่ยวกับวิชาชีพให้กับประชาชนในชุมชน เช่น
    • ให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้ และเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ แก่ประชาชนใน
    • จัดบริการข่าวสารเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน เช่น
    • การเป็นผู้นำและให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน สถานศึกษาจะ

ยาเสพติด การลดละเลิกอบายมุข การลดละเลิกใช้ยาฆ่าแมลง การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า การปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกป่ารักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เนื้อหาวิชาเหล่านี้เมื่อผู้เรียนเรียนในสถานศึกษาแล้ว ผู้สอนจะย้ำให้ผู้เรียนนำไปใช้ในครอบครัวและชุมชน และติดต่อประสานงานกับผู้ปกครองให้อบรมดูแลว่าผู้เรียนว่านำความรู้ไปใช้หรือไม่ อย่างไรอีกด้วย

ด้านต่าง ๆ ได้ คือ

ความรู้ เช่นในชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ศิลปินพื้นบ้าน ช่างทอผ้า ช่างจักสาน ช่างแกะสลัก ช่างปั้น และช่างตัดผม เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้อย่างดียิ่ง จะดำเนินการได้โดยเชิญมาเป็นวิทยากรหรือให้ผู้เรียนไปศึกษาไปฝึกงานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้

จากธนาคาร บริษัทห้างร้าน ในชุมชนเพื่อนำมาใช้จ่ายในสถานศึกษา หรือเป็นเงินทุนสำหรับผู้เรียน

ที่ยากจน ขอบริจาคหนังสือ เครื่องเขียนจากสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ ร้านจำหน่ายเครื่องเขียนแบบเรียน

ขอบริจาคข้าวสาร ผัก ผลไม้ ไข่ไก่ จากประชาชนในชุมชนเพื่อนำมาทำอาหารกลางวันแก่ผู้เรียน

ในสถานศึกษา เป็นต้น

หลากหลาย เช่น

การตอนติดตา ต่อกิ่งต้นไม้ การเกษตรผสมผสาน การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ การตัดเย็บเสื้อผ้า การทำอาหาร ทำขนม การใช้คอมพิวเตอร์ การแก้และซ่อมเครื่องยนต์ เป็นต้น

ชุมชนเช่น ความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยารักษาโรค (ยาชุด ยาแก้ปวดต่าง ๆ) โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ การรักษาโรคแบบธรรมชาติบำบัด อันตรายจากยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ การเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรรมทางเลือก เป็นต้น

สถานศึกษาทำหอกระจายข่าว แล้วถ่ายทอดเสียงจากรายการวิทยุที่เป็นความรู้เพื่อประชาชนจะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรืออ่านข่าวสารความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัย เป็นต้น

ดำเนินการได้โดยจัดโครงการพัฒนาชุมชน โดยชุมชนสนับสนุนด้านบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ เช่น ขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน ขุดคูระบายน้ำ ซ่อมสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน ทำความสะอาดวัดและตลาด เป็นต้น

  • บริการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ของสถานศึกษาแก่ประชาชนในชุมชน เช่น ให้
  • การออกเยี่ยมเยียนผู้ปกครอง และผู้เรียนตามบ้าน เช่น เมื่อผู้เรียนเจ็บป่วย หรือ
  • การประชาสัมพันธ์สถานศึกษา เช่น จัดให้มีสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารของ
  • การเชิญผู้ปกครองและประชาชนในชุมชนมาประชุม เช่น ในวันปฐมนิเทศ
  • การรายงานผลการเรียนและอื่น ๆ ให้ผู้ปกครองทราบ เช่น การรายงานเป็น
    • รายการสิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อทางการศึกษาประสงค์จะขอยืมตาม

ประชาชนในชุมชนใช้หอประชุม ใช้ห้องสมุด ใช้ห้องพยาบาล ใช้โรงอาหาร และใช้สนามกีฬา เป็นต้น

ผู้สอนไปแนะนำผู้เรียนทำแปลงเกษตรที่บ้าน รวมทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เช่น ร่วมงานการทอดกฐินที่วัด ร่วมงานมงคลในชุมชน เป็นต้น

สถานศึกษาอาจทำในรูปของจดหมายข่าว วารสาร จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อสอบถาม หรือให้ความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อสถานศึกษา

นักเรียนใหม่วันเปิดเรียนในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา เป็นต้น

ประจำวันหรือการทำสมุดพกประจำตัวนักเรียน ซึ่งจะมีทั้งผลการเรียน ความประพฤติ สุขภาพ และอื่น ๆ

9. การใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในงานวิชาการ แบ่งออกได้เป็น 4 ข้อย่อย ดังนี้

9.1 ทรัพยากรบุคคล ได้แก่ นักวิชาการ ครู อาจารย์จากสถานศึกษาอื่น

ศิลปินพื้นบ้าน ผู้อาวุโส ผู้เป็นปูชนียบุคคลในหมู่บ้าน ผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งนำมาใช้ในลักษณะขอคำปรึกษาและ ข้อเสนอแนะ หรือเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เรียน เป็นต้น

9.2 ทรัพยากรวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ โสตทัศนูปกรณ์ สถานศึกษาอื่น

นำมาใช้ในลักษณะของการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การศึกษา การร่วมมือทางวิชาการ เป็นต้น

9.3 ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเล ปะการัง หิน แร่ธาตุ สัตว์

ป่า สมุนไพรซึ่งจะนำมาใช้ในลักษณะเป็นสื่อการเรียนการสอน การไปทัศนศึกษา การช่วยกันอนุรักษ์ไว้

เป็นต้น

9.4 ทรัพยากรสังคม ได้แก่ วันสำคัญ ศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรมพื้นบ้าน

โบราณสถานโบราณวัตถุ ประเพณีต่าง ๆ ซึ่งจะนำมาใช้ได้ในลักษณะให้ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง, จัดนิทรรศการ, การศึกษาหาข้อมูลเพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เป็นต้น

10. การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ความใกล้ชิดและเป็นกันเองของบุคลากรกับ

ชุมชนถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนอย่างแนบแน่น โรงเรียนเรานั้นมีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับชุมชนหลายงานด้วยกัน คือ

10.1 งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูทุกคนจะต้องมีเด็กที่ต้องดูแล

ด้วยการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนของบุคลากรทุกท่านเพื่อได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหา ความพึงพอใจและความต้องการของชุมชนต่อโรงเรียน และโรงเรียนต่อชุมชน จึงเป็นส่วนหนึ่งให้ผู้ปกครองนักเรียน และครูได้มีส่วนปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

10.2 การต้อนรับผู้ปกครองที่เข้ามาสู่สถานศึกษาด้วยไมตรีจิตที่ดี ทักทาย

พูดคุยแนะนำข้อมูลด้วยความเป็นกันเอง

10.3 การมีโอกาสที่ได้พบปะสังสรรค์กับชุมชนนอกสถานศึกษา

อ้างอิงจาก1. รองศาสตราจารย์หวน พินธุพันธ์ การบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

2. นายสมชาย ลิ้มประจันทร์ โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา

9. สิทธิทางการศึกษาสำหรับคนพิการ

จากรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 กล่าวว่า “บุคคลย่อมมีมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 ได้กล่าวถึงการศึกษาสำหรับคนพิการว่าคนพิการมีสิทธิที่จะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อทางการศึกษาบริการต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนของคนพิการและยังมีสิทธิได้รับการจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการในการจัดการศึกษา โดยคำนึงถึงความเสมอภาคและความเป็นธรรม

นิยาม “คนพิการ” หมายความว่า คนพิการที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการ

ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ หรือบุคคลที่สถานศึกษารับรองว่าเป็นคนพิการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

การขอรับเงินอุดหนุนการศึกษา มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

1. คนพิการหรือผู้ปกครอง ยื่นคำขอต่อสถานศึกษา พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้

1.1 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลซึ่งจัดทำโดยสถานศึกษาที่รับคน

พิการเข้าศึกษา

1.2 จำนวนเงินอุดหนุนทางการศึกษาที่ประสงค์ขอรับ

2. การพิจารณาเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของ

กระทรวงการคลัง

การขอยืมสิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อทางการศึกษา มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

1. คนพิการหรือผู้ปกครอง ยื่นคำขอต่อสถานศึกษา พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้

1.1 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลซึ่งจัดทำโดยสถานศึกษาที่รับคน

พิการเข้าศึกษา

รายการ ในบัญชี ก.

  • สถานศึกษาตรวจสอบหลักฐานให้เรียบร้อยและส่งคำขอ พร้อมด้วยเอกสาร

และหลักฐานไปยังศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหรือศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลางเพื่อพิจารณาอนุมัติเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ให้คนพิการหรือผู้ปกครอง ทำสัญญายืม สัญญาค้ำประกัน และการคืนสิ่งของที่ยืมให้เป็นไปตามระเบียบ

การขอยืมเงินเพื่อจัดซื้อและขอรับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลือ

อื่นใดทางการศึกษา มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

1. คนพิการหรือผู้ปกครอง ยื่นคำขอต่อสถานศึกษา พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้

1.1 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลซึ่งจัดทำโดยสถานศึกษาที่รับคน

พิการเข้าศึกษา

และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา

จะขอยืมเงินเพื่อจัดซื้อตามบัญชี ก. และบัญชี ค.

จะขอรับตามบัญชี ข. และบัญชี ค.

  • สถานศึกษาตรวจสอบหลักฐานให้เรียบร้อยและส่งคำขอ พร้อมด้วยเอกสาร
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษส่งคำขอ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานที่ถูกต้อง
  • คณะกรรมการพิจารณาคำขอและส่งต่อให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษใน
  • หลังจากการพิจารณาแล้ว แจ้งผลไปยังศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อแจ้งข้อมูล
  • เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ให้คนพิการหรือผู้ปกครอง ทำสัญญายืมและสัญญา
  • ให้คนพิการหรือผู้ปกครองจัดซื้อสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ และบริการทาง
  • เมื่อจ่ายเงินเพื่อจัดซื้อสิ่งของเรียบร้อยแล้ว ให้ส่งใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐาน
  • ในกรณีที่ยังมีเงินยืมเหลืออยู่ ให้คืนเงินตามจำนวนที่เหลือแก่สถานศึกษา

และหลักฐานไปยังศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหรือศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง

ครบถ้วนไปยังคณะกรรมการภายในวันที่ 20 สิงหาคมของทุกปี

สังกัด สพฐ. พิจารณา

ต่อไปยังสถานศึกษา เพื่อดำเนินการแจ้งให้คนพิการทราบโดยเร็ว

ค้ำประกันและการใช้คืนเงินยืม

การศึกษาตามที่คณะกรรมการอนุมัติภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบ

การจ่ายเงินให้สถานศึกษาภายในเจ็ดวันนับจากวันที่จ่ายเงิน

ภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันที่จัดซื้อ อ้างอิงจาก กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ. 2550

เอกสารอ้างอิง

คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2552

หมายเลขบันทึก: 625132เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2017 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2017 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท