กระบวนการออดิตสนามบินด้าน VISUAL AIDS


ผลงานประเมินเรื่องที่ 1

การตรวจมาตรฐานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ สนามบินเพื่อออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบิน ให้กับสนามบินภายใต้การกำกับของ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ทดม. ทสภ. ทชม. ทหญ. ทภก. ทชร.

ระยะเวลาที่ดำเนินการ 1 ตุลาคม 2554 – 31 กันยายน 2557 (ย้อนหลัง 3 ปี)

ความรู้ทางวิชาการหรือแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการ

1. ICAO ANNEX 14 Volume I Visual Aids for Navigation

2. ICAO ANNEX 10 Radio Navigation Aids

3. Aerodrome Design Manual Document 9157 Part 4 Visual Aids ,Part 5 Frangibility

4. Aerodrome Manual Document 9774 Maintenance of Visual Aids and Electrical System

5. Aerodrome Service Manual ICAO Document 9137

6. Visual Aids Handbook CAP. 637

สรุปสาระและขั้นตอนการดำเนินการ

1. จัดเตรียมเอกสารทางวิชาการ พร้อมทั้งมาตรฐานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. เจ้าหน้าที่เดินทางไปสนามบินพร้อมทั้งประชุมหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสนามบิน เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน

3. สัมภาษณ์ สังเกต ตรวจสอบ วิเคราะห์และหารือแนวทางแก้ไขระยะสั้นระยะกลางและระยะยาว ดังนี้

3.1 พิจารณาตรวจสอบมาตรฐานการปฏิบัติตามคู่มือการดำเนินงานสนามบิน ด้านวิธีการบำรุงรักษาการปรับแต่งเครื่องช่วยฯ ทัศนวิสัย และตรวจความครบถ้วนของวิธีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าสนามบินตอนกลางคืน ขั้นตอนการจับเวลาค่าระยะเวลาการกลับมาติดใหม่ของโคมไฟฟ้าสนามบิน และตรวจขั้นตอนการปฏิบัติงานในการปกป้องพื้นที่รบกวนสัญญาณหน้าสายอากาศของอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

3.2 ตรวจมาตรฐานระบบไฟฟ้าสนามบิน(Airfield Lighting System) ป้าย(Sign) เครื่องหมายบนผิวพื้น(Marking) เครื่องหมายบนวัตถุ(Marker) ระบบนำเครื่องบินเข้าหลุมจอดโดยใช้สายตา(VDGS) ระบบไฟหยุด(Stopbar) ภายในสนามบิน ระบบไฟเตือนสิ่งกีดขวางภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ

3.3 ตรวจสอบระดับการให้บริการของระบบไฟฟ้าสนามบิน ขั้นตอนการออกประกาศนักบิน

๓.๔ ตรวจมาตรฐานการทำเครื่องหมาย และการติดตั้งไฟเตือนกรณีปิดใช้งานทางวิ่ง ทางขับ และลานจอด

3.4. จัดทำสรุปผลการตรวจสอบที่พบว่ามีความแตกต่างจากข้อกำหนดของ ICAO ในเรื่องมาตรฐานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ โดยแบ่งตามลำดับความเร่งด่วนในการปรับปรุงแก้ไข

3.5 ติดตามการปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จทันตามที่ผู้ประกอบการสนามบินและผู้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ สนามบินเชียงรายได้ร่วมประชุมตกลงแผนการปรับปรุงกับคณะกรรมการผู้ตรวจสอบสนามบินไว้ ตรวจสอบสนามบิน(audit) เพื่อออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบิน ณ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ทดม. ทสภ. ทชม. ทหญ. ทภก. ทชร. โดยพิจารณาตรวจสอบ สัมภาษณ์ สังเกต ตรวจสอบ วิเคราะห์และหารือแนวทางแก้ไขระยะสั้นระยะกลางและระยะยาว ดังนี้
6.1 ตรวจลักษณะคุณสมบัติและการติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ระบบไฟฟ้าสนามบิน(Airfield Lighting System) ป้าย(Sign) เครื่องหมายบนผิวพื้น(Marking) เครื่องหมายบนวัตถุ(Marker) ระบบนำเครื่องบินเข้าหลุมจอดโดยใช้สายตา(VDGS) ระบบไฟหยุด(Stopbar) ภายในสนามบิน ระบบไฟเตือนสิ่งกีดขวางภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ 6.2 ตรวจสอบขั้นตอนการบำรุงรักษา การออกประกาศนักบิน ที่เกี่ยวกับเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

6.3 ตรวจพินิจในเวลากลางคืน Runway Inspection (Night)

6.4 ตรวจสอบการทำเครื่องหมายสัญลักษณ์ในแนวเขต Critical Area และ Sensitive Area ตรวจวิธีการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องใน คู่มือการปฏิบัติงานพนักงานควบคุมจราจรทางอากาศ บวท. และระเบียบการขับขี่ยานพาหนะในเขตพื้นที่การบิน

6.5 ตรวจสอบขั้นตอนการปฏิบัติ ในคู่มือสนามบินที่แสดงให้มั่นใจในเรื่องการจัดการการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ ในการรักษาเสถียรภาพของระบบเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ การตรวจพบข้อบกพร่องหรือข้อแตกต่างจากมาตรฐานด้านเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

6.6 สรุปเพื่อแจ้งข้อบกพร่องแก่สนามบินในวันสุดท้ายของการตรวจสอบ (Intermediate Report) ซึ่งทางสนามบินขอรับไว้แก้ไขทั้งหมด ไม่มีข้อบกพร่องใดที่ผู้ตรวจดำเนินการตรวจพบแล้วถูกปฏิเสธการรับดำเนินการแก้ไข เป็นเกณฑ์ที่แสดงถึงปริมาณงานเชิงคุณภาพว่า การตรวจเป็นไปตามหลักการเทคนิคการตรวจออดิต (Audit Technics) มีความแม่นยำในการบ่งชี้สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Not Compliance) หรือบ่งชี้สิ่งอันตราย(Identify Hazards) ได้ถูกต้อง ส่วนปี 2555 - 2557 นี้ ตรวจสอบสนามบินครบ 9 แห่งสำเร็จตามปริมาณและผ่านเกณฑ์การประเมินผลการตรวจสนามบินเชิงคุณภาพ สำเร็จได้ 5 คะแนน โดยวัดจากการที่ไม่มีข้อบกพร่องใดที่ผู้ดำเนินการตรวจสอบพลาดไปหรือไม่เห็นด้วยกับข้อบกพร่องที่ผู้ตรวจพบ และตรวจครบทุกสนามบินรวม 9 แห่งรวมคะแนนที่ได้ 5 คะแนน


การที่สนามบินได้ทราบถึงข้อแตกต่างจากประเทศภาคีสมาชิก ทำให้เกิดการเร่งรัดในการจัดลำดับความเร่งด่วนในการแก้ไข นำสิ่งที่ต้องแก้ไข ไปออกแบบและประเมินเพื่อจัดการด้านงบประมาณในการแก้ไขข้อบกพร่องได้ตามลำดับความเร่งด่วน ทำให้ความสามารถในการรักษาระดับของการให้บริการสนามบินตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกฯ ให้สามารถดำรงเสถียรภาพ และระดับของการให้บริการได้สูง เป็นการลดความสูญเสียโอกาสการให้บริการระบบเครื่องอำนวยความสะดวกฯโดยเฉพาะเที่ยวบินที่ปฏิบัติการบินกลางคืนหรือขณะทัศนวิสัยต่ำ

ความยุ่งยากในการดำเนินการ
การที่แต่ละสนามบินได้ออกแบบลักษณะทางกายภาพ ทางวิ่ง ทางขับ ลานจอด แตกต่างกัน ได้แก่พื้นที่บริเวณที่ติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ที่แตกต่างกัน ความถี่ของเที่ยวบินที่แตกต่าง สภาพอากาศที่แตกต่าง ซึ่งส่งผลต่อสภาพความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าสนามบิน ขนาดของทางวิ่งทางขับและขนาดของระบบไฟฟ้า ป้าย เครื่องหมาย ตลอดจนความเอาใจใส่ในการปฏิบัติงาน และวัฒนธรรมความปลอดภัยที่แตกต่างกัน เป็นตัวแปรอย่างมากที่ทำให้ความตระหนักในการปฏิบัติงานการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ เป็นอุปสรรคที่ทำให้เสถียรภาพและความถี่ในการบำรุงรักษาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกฯ ดำเนินการตามระยะเวลาได้ถี่ถ้วนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

ส่วนตัวแปรที่มีผลกระทบด้านอื่นๆ ได้แก่ การถ่ายทอดการตรวจพินิจของผู้รับการตรวจยังไม่ได้ถูกถ่ายทอดลงสู่ผู้ปฏิบัติงานในด้านการลงพื้นที่ตรวจจริง ผู้ปฏิบัติงานได้รับการอบรมด้านเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบินในด้านทฤษฏีและปฏิบัติยังไม่ครบถ้วนทุกอุปกรณ์ ตัวแปรแหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยหลักในการที่จะทำให้การบรรลุเป้าหมาย(Key Success Factor) มีความยุ่งยากและซับซ้อนซึ่งปัญหาดังกล่าวได้แก้ไขโดยการบริหารความเปลี่ยนแปลง ได้แก่ให้เพิ่มความถี่ในการบำรุงรักษาก่อนฤดูฝน การวิเคราะห์แนวโน้มการลดลงของค่าความต้านทานสายไฟ การจัดการเตรียมพร้อมกรณีไฟฟ้าหลักดับ การถ่ายทอดเทคนิควิธีการซ่อมบำรุงระบบให้ใช้งานได้ขั้นต้น ตลอดจนจัดอบรมถึงระดับผู้รับการตรวจสามารถถ่ายทอดวิธีการปฏิบัติที่ดีให้เจ้าหน้าที่ใหม่ได้เรียนรู้และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ

จากการที่ผู้ตรวจได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการตรวจสนามบินเพื่อออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบิน ซึ่งได้ออกตรวจสนามบิน ทอท. และประกอบกับได้รับการตรวจจากคณะผู้ตรวจออดิตจาก ICAO ในโปรแกรมการตรวจ USOAP ในเดือน ม.ค. 2558 ที่ผ่านมาทำให้ผู้รับการตรวจได้ทราบถึงแนวทางการทำให้มั่นใจว่า การกำกับดูแลผู้ประกอบการสนามบินจะต้องปรับปรุงแก้ไขเรื่อง การฝึกอบรม กฎหมาย คู่มือปฏิบัติการตรวจ และอื่นๆเพิ่มเติมอย่างไร ซึ่งสำหรับด้านการให้บริการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศนั้น จะต้องดำเนินการดังนี้

1. ปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรมผู้ตรวจในแต่ละระดับให้ครบถ้วนในความรู้หลักความรู้เฉพาะวิชาชีพและความเชี่ยวชาญเฉพาะ ตลอดจนอบรมทบทวนความรู้ตามระยะเวลา ออกกฎหมายบังคับให้ครอบคลุมในทุกกระบวนการตรวจสอบ

2. ออกกฎหมายลำดับรองในส่วนของการบริการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ จัดทำเอกสารแนะนำการปฏิบัติงาน การจัดทำคู่มือการตรวจที่แสดงถึงกระบวนการ กลไกการดำเนินการ ขั้นตอนการกำกับตรวจสอบและรายการตรวจสอบที่จะต้องลงลึกถึงขั้นตอนการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้ประกอบการจะปฏิบัติงานได้ครบถ้วนในทุกกระบวนการปฏิบัติงานที่กำหนด

3. จัดให้มีแผนการตรวจติดตามการแก้ไขข้อบกพร่อง มีการเร่งรัดติดตามความก้าวหน้าให้เป็นไปตามแผนการแก้ไข มีกฎระเบียบกระบวนการกำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องเสนอแผนการแก้ไขข้อบกพร่องแก่หน่วยตรวจ และรายงานผู้ตรวจถึงความก้าวหน้าที่ได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องตามระยะเวลา

4. ต้องเร่งจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคการตรวจพินิจ เทคนิคการจัดการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน(Preventive Maintenance) การซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์ (Proactive Maintenance , Preditive Maintenance , Total Maintenance) ของระบบเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศและระบบไฟฟ้าสนามบิน รวมทั้งวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศ เพื่อเป็นช่องทางการพัฒนาคู่มือดำเนินการ พัฒนาระบบการตรวจสอบ และพัฒนาระบบการจัดการการบำรุงรักษาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยั่งยืนร่วมกันทั้งผู้กำกับดูแลและผู้ประกอบการสนามบิน

หมายเลขบันทึก: 624768เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท