นิยามใหม่ของ “ประวัติศาสตร์”



ผมได้แนวความคิดในช่วงเช้าวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๐ ระหว่างนั่งอยู่บนเวที ใน งานเปิดตัวหนังสือและเสวนาทางวิชาการ “อโยธยาศรีรามเทพนครอมรทวาราวดี มรดกความทรงจำแห่งสยามประเทศณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๔ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ฟังการเสวนาระหว่างนักประวัติศาสตร์ใหญ่สามท่าน คือ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว., ดร. เตช บุนนาค, และ รศ. ดร. ธีรวัต ณ ป้อมเพชร โดยผมร่วมเสวนาในฐานะ “ผู้เสพ” ประวัติศาสตร์


ฟังแล้วผมตีความว่า ประวัติศาสตร์ เป็นศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ไปตามหลักฐานใหม่ที่หาได้ และมีความน่าเชื่อถือกว่าหลักฐานเก่า หรือเพิ่มเติมจากหลักฐานเก่า


ประวัติศาสตร์ไม่ใช่ความจริง แต่มาจากการตีความ โดยอาศัยข้อมูลหลักฐาน หลัก.ฐานเดียวกัน ต่างคนอาจตีความต่างกัน และเมื่อมีหลักฐานอื่นเพิ่มขึ้น การตีความก็แตกต่างออกไป


ที่ผ่านมา เรามีสำนักประวัติศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อ สร้างศรัทธาต่อสถาบัน ประวัติศาสตร์ไทยที่ผมเคยเรียนมาสมัยเป็นเด็ก จึงเป็นประวัติศาสตร์ที่หยุดนิ่ง อ้างว่าเป็นความจริง


แต่เมื่อได้มาฟังนักประวัติศาสตร์ใหญ่ ๓ คนเสวนากัน ผมจึงนิยามประวัติศาสตร์ใหม่ดังกล่าว



วิจารณ์ พานิช

๒๖ ม.ค. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 623408เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2017 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2017 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท