OTกับการขับเคลื่อนสุขภาวะไทย


กิจกรรมบำบัด จะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทย ทั้งในและนอกโรงพยาบาลอย่างไร

กิจกรรมบำบัดเป็นวิชาชีพเฉพาะทางด้านสุขภาพที่ให้บริการต่อบุคคลทุกช่วงวัยที่มีความบกพร่องด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้หรือทุพพลภาพอย่างชั่วคราวหรือถาวร โดยกระบวนการประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้บุคคลสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้สอดคล้องกับความต้องการส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อม รวมถึงมีความพึงพอใจในการดำเนินชีวิต ”(WFOT, oo; พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ(ฉบับที่๔)..๒๕๕๖)

" ตามองค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมมายของ สุขภาวะ คือ “สุขภาพที่มีความสมบูรณ์ของคนใน 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณ(ปัญญา อย่างสมดุลแล้ว

จากการโต้วาทีวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ของนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4

รอบแรก OT in community based VS OT in hospital based

รอบสอง Blended classroom VS Traditional classroom

ในรอบแรกโต้วาทีถึงบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดที่ทำงานในชุมชนและในโรงพยาบาลว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ในส่วนของนักกิจกรรมบำบัดในชุมชน ข้อดีคือ ในบริบทของชุมชนนักกิจกรรมบำบัดสามารถฟื้นฟูผู้รับบริการในบริบทจริงๆของผู้รับบริการซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพในส่วนที่ผู้รับบริการต้องการในการดำเนินชีวิตในบริบทนั้นๆ รวมทั้งสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้รับบริการ ในส่วนข้อเสียของการบริการในบริบทชุมชน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการให้บริการมีไม่ครบเท่ากับในโรงพยาบาล และในผู้รับบริการระยะแรกที่ต้องได้รับการเฝ้าระวังอาการซึ่งต้องอยู่ในสถานที่สะอาด ปลอดภัย และสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นในบริบทชุมชนจึงไม่เหมาะกับผู้รับบริการระยะแรก ต่อมาเป็นข้อดีและข้อเสียการทำงานของนักกิจกรรมบำบัดในบริบทโรงพยาบาล ข้อดีคือ ในบริบทโรงพยาบาลมีทีมสหวิชาชีพ และเครื่องมือ ที่พร้อมสำหรับสถานการณ์การต่างๆ ส่วนข้อเสียคือ เมื่อผู้รับบริการกลับสู่ชุมชนต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้นๆ ซึ่งการฟื้นฟูในโรงพยาบาลอาจจะไม่ได้คำนึงสภาพแวดล้อมที่ผู้รับบริการอาศัยดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดควรไปติดตามผลการรักษาและสภาพแวดล้อมที่ผู้รับบริการอาศัยหลังจากผู้รับบริการออกจากโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปทำกิจกรรมดำเนินชีวิตในสิ่งแวดล้อมจริงและจะได้ช่วยเหลือผู้รับบริการหากมีปัญหาในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถดำรงชีวิตได้อย่างไม่พึ่งพาคนอื่น

ในรอบสองได้มีการโต้วาทีเกี่ยวระบบการศึกษาแบบBlendedและTraditionalในสังคมไทยการเรียนรู้แบบผสมผสาน(Blended learning) คือการนำบทเรียนออนไลน์และการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมาประยุกต์ใช้ และมีการเพิ่มชั้นเรียนที่นำประเด็นมาถกเถียงกัน(Discussion class)ระหว่างนักศึกษากันเองโดยมีอาจารย์คอยดูแลและตอบคำถามในสิ่งที่นักศึกษาไม่เข้าใจ ส่วนการเรียนแบบดั้งเดิม(Traditional learning)ที่จะเน้นการเรียนบรรยายเป็นหลัก หากมีการนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนในบางรายวิชาจะช่วยทำให้นักศึกษามีความเข้าใจได้มากขึ้น

ระบบการศึกษาทั้ง2แบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันทั้งขึ้นอยู่กับสไตล์การเรียนของแต่ละบุคคลที่จะปรับรูปแบบในการศึกษาของตัวเองเพื่อให้ตัวเองได้เข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น บางคนอาจจะมีสมาธิมากกว่าถ้ามีผู้เชียวชาญเป็นผู้อธิบาย แต่ในมุมกลับกันบางคนอาจจะมีสมาธิมากกว่าถ้าได้นั่งเรียนผ่านคอมพิวเตอร์คนเดียว จะเห็นได้ว่ารูปแบบรับข้อมูล และความชอบของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนแบบไหนดีกว่ากัน นอกจากนี้เรื่องของสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละประเทศที่แตกต่างกันก็มีผลกับรูปแบบการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น ในทวีปยุโรปส่วนมากจะเน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบBlended แต่ในทวีปเอเชียจะเน้นแบบTraditional

วารสารวิชาการเพิ่มเติม

"Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS"

ได้สรุปไว้ว่า การสนับสนุนให้ผู้รับบริการสร้าง เอกลักษณ์การประกอบอาชีพ(occupational

Identity) , ความสามารถในการประกอบอาชีพ(occupational competence) และการรับรู้ของระบบของการประกอบอาชีพ(สิ่งแวดล้อม) (perception of occupational settings (environment))จะส่งผลดีต่อการสร้างความเข้าใจในประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเกี่ยวกับความพยายามที่จะกลับเข้าสู่บทบาทเดิม

"Occupational transformation: Parental influence and social cognition of young adults with autism"

วารสารวิชาการฉบับนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมที่เป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลและเด็กออทิสติกวัยรุ่นที่มีความสามารถสูง ได้ข้อสรุปว่า ความสำคัญการกระตุ้นส่งเสริมของผู้ปกครองและผู้ดูแลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของบทบาท

จากที่ได้กล่าวข้างต้นมาทั้งหมด การส่งเสริมสุขภาวะของคนไทยนั้นต้องทำร่วมกันในด้านจิตใจ ร่างกาย สังคม และ และวิญญาณ(ปัญญา) นักกิจกรรมบำบัดจึงมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริม

ให้ผู้รับบริการได้ทำในสิ่งที่ผู้รับบริการสนใจ และพัฒนาศักยภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจให้บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีความสามารถและพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงปรับสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพและสังคมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ

อ้างอิง

1. Loukas, Kathryn M."Occupational transformation: Parental influence and social cognition of young adults with autism". University of New England, Portland, ME, USA | Port Resources, Portland, ME, USA | Department of Occupational Therapy, University of New England, Portland, ME, USA. 2015

2. Braveman,Brent.

"Occupational identity, occupational competence and occupational settings

(environment): Influences on return to work

หมายเลขบันทึก: 623236เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 02:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 02:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท