กระบวนการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย : ภูเขากั้นเส้นทางสู่ World Class Research University



กระบวนการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทย ส่วนที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเอกชน เหมือนกันหมด คือตั้งคณะกรรมการสรรหา กำหนดวิธีการสรรหาให้ประชาคมภายในมหาวิทยาลัยเสนอชื่อ คณะกรรมการสรรหาเอารายชื่อมาเลือกไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อเชิญท่านเหล่านั้นมาพูดคุยว่าหากได้รับเลือกจะทำงานอย่างไร และเชิญตัวแทนฝ่ายต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมาให้ความเห็น เพื่อประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการสรรหา


ทั้งหมดนั้นในความเป็นจริงเป็นกระบวนการทางการเมืองในมหาวิทยาลัย มีการหาเสียง มีการรวมกลุ่ม ซึ่งหากคิดให้ดีๆ จะเห็นว่า เป็นกระบวนการเพื่อผลประโยชน์ของประชาคมมหาวิทยาลัย มากกว่าเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัย ซึ่งในปัจจุบันต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง (disruptive change)


ระบบการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นผลของขบวนการคนหนุ่มสาวยุค ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่ต่อต้านอำนาจเผด็จการ และต้องการให้การบริหารมหาวิทยาลัย “เป็นประชาธิปไตย” โดยคิดว่าจะหลบจากอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยม สู่อำนาจของฝ่ายก้าวหน้าได้


บัดนี้ เวลาผ่านมากว่า ๔ ทศวรรษ โลกมันเปลี่ยนมากจนแนวทางที่สี่สิบปีก่อนถือว่าก้าวหน้า กลายเป็นอนุรักษ์นิยมในสายตาของผม (ซึ่งอาจจะตาเอียงก็ได้)

ผมมองว่า หากไม่เปลี่ยนแปลงวิธีสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้เปิดโอกาสเอาคนเก่งจากนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งจากนอกประเทศ มาเป็นผู้นำ มหาวิทยาลัยไทยจะไม่มีวันพัฒนาเป็น “มหาวิทยาลัยระดับโลก” อย่างแท้จริงได้



วิจารณ์ พานิช

๑๔ ม.ค. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 622367เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2017 01:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2017 01:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่งเป็นระบบที่ต้องปฏิรูป เพราะว่าอยู่ที่สภามหาวิทยาลัยจะเอาใคร

เพราะว่าสามารถรวมกลุ่มเป็นเสีงส่วนใหญ่ได้ ปัญหาจึงเกิดตามมหาวิทยาลัยถึงกับต้องใช้ ม.๔๔

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท